iFixit เผยแพร่คลิปแกะ iPad mini 7 รุ่นใหม่ โดยประเด็นสำคัญในการตรวจสอบคือ แอปเปิลได้ปรับปรุงปัญหาหน้าจอเด้งสั่นเวลาเลื่อนจอ หรือปัญหา Jelly scrolling ที่พบใน iPad mini 6 ไปหรือไม่ เพราะแอปเปิลไม่ได้อัปเกรดสเป็กของหน้าจอ ยังใช้ Liquid Retina ความละเอียด 2266x1488 เท่าเดิม
ก่อนหน้านี้มีรีวิวจากคนที่ได้ทดสอบใช้งาน iPad mini 7 ก่อน ซึ่งความเห็นค่อนข้างหลากหลาย แต่โดยรวมบอกว่าปัญหาจอเด้งสั่น ลดน้อยลงหรืออาจสังเกตเห็นยากขึ้น
LG Display บริษัทผู้ผลิตจอภาพในเครือ LG เปิดเผยว่าบริษัทได้ตกลงขายโรงงานในจีน ให้บริษัทในเครือของ TCL มูลค่าข้อตกลงอยู่ที่ 2 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ
ส่วนโรงงานที่ขายให้กับ TCL นั้น เป็นโรงงานผลิตจอแบบ LCD และโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองกว่างโจว ซึ่ง LG ถือหุ้น 80% ในโรงงานผลิต LCD และถือหุ้น 100% ในโรงงานผลิตชิ้นส่วน
LG บอกว่าการขายโรงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งตามกลยุทธ์บริษัทที่ต้องการออกจากตลาดจอ LCD ที่มีการแข่งขันสูง เพื่อไปทำตลาดจอ OLED ที่มองว่ามีโอกาสเติบโต
ที่มา: Korea Herald
Nikkei Asia รายงานว่าแอปเปิลมีแผนอัปเกรดให้ iPhone รุ่นใหม่ที่ออกมาทั้งหมดใช้จอ OLED ซึ่งตอนนี้ iPhone ทั้งหมดเป็นจอ OLED อยู่แล้ว ยกเว้น iPhone SE ที่เป็น LCD จึงเป็นข้อมูลยืนยันอีกแหล่งว่า iPhone SE 4 ที่คาดว่าจะออกมาปีหน้าจะใช้จอ OLED
ผลกระทบนี้ทำให้ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนจอ LCD ที่แอปเปิลใช้อยู่ได้แก่ Japan Display (JDI) และ Sharp ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว
ก่อนหน้านี้ทั้ง Mark Gurman แห่ง Bloomberg และ Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเชน ก็ให้ข้อมูลว่า iPhone SE 4 จะใช้จอ OLED ส่วนบอดี้เป็นแบบเดียวกับ iPhone 14 หน้าจอ 6.1 นิ้ว
นวัตกรรมนั้นมาในหลายรูปแบบ และหลายที่ วันนี้ Philips ได้เขย่าตลาด PC Monitor ด้วยการเปิดตัว Philips 24B1D5600 ซึ่งเป็นจอที่ผสมผสาน 2 จอที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างจอ LCD ขนาด 24 นิ้ว ผสมเข้ากับจอแบบ E Ink ขนาด 13 นิ้ว ติดแนบข้างกันรวมร่างกันเป็นหนึ่งเดียว
Samsung Display บริษัทลูกของซัมซุงที่ผลิตชิ้นส่วนหน้าจอ ประกาศปิดสายการผลิตจอ LCD ในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิม 6 เดือน โดยก่อนหน้านี้ซัมซุงบอกว่าจะปิดสายการผลิตทั้งหมดในสิ้นปีนี้
สาเหตุสำคัญที่ซัมซุงหยุดการผลิตจอ LCD เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาจากผู้ผลิตในจีนและไต้หวันที่มากขึ้น ทำให้ส่วนการผลิตจอ LCD ขาดทุน โดยซัมซุงจะไปโฟกัสที่จอ OLED และ QD สำหรับโทรทัศน์แทน
เดิมทีซัมซุงต้องการปิดการผลิต LCD ในปี 2020 แต่สถานการณ์โควิด ทำให้ความต้องการจอ LCD เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจยังทำเงินได้ไปอีกระยะหนึ่ง
ที่มา: The Korea Times
iPad mini 6 เริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าในหลายประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็มีรายงานปัญหาจากผู้ใช้งาน โดยพบอาการภาพเด้งสั่นเหมือนเยลลี่ เพราะแสดงผลตามกันไม่ทันทั้งหมด เกิดขึ้นเวลาปัดเลื่อนหน้าจอ ซึ่งเรียกว่า Jelly scrolling ซึ่งแอปเปิลก็ออกมาชี้แจงปัญหานี้แล้ว
แอปเปิลได้ชี้แจงกับ Ars Technica ว่าอาการ Jelly scrolling เป็นเรื่องปกติของหน้าจอแบบ LCD เพราะใช้วิธีรีเฟรชหน้าจอแยกทีละบรรทัด จึงอาจเกิดดีเลย์ขึ้นได้
ดูตัวอย่างของอาการที่เกิดขึ้นได้ท้ายข่าว
ที่มา: 9to5Mac
Foxconn ยักษ์ใหญ่แห่งวงการผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวัน เตรียมสยายปีกไปตั้งสำนักงานใหญ่ของสาขาสหรัฐอเมริกาแล้ว
ก่อนหน้านี้ Foxconn ไปซื้อตึก 7 ชั้นในเมือง Milwaukee รัฐวิสคอนซิน มารอไว้แล้ว และประกาศใช้งานเป็นสำนักงานใหญ่ของสาขาสหรัฐอเมริกา จะมีพนักงานทำงานในตึกนี้ 500 คน
แต่เท่านั้นยังไม่พอ Foxconn ยังจะสร้างโรงงานผลิตแผงจอ LCD ขนาดใหญ่ 20 ล้านตารางฟุต ในบริเวณใกล้ๆ กัน แผนการนี้จะใช้เวลา 4 ปี เงินลงทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และเกิดการจ้างงานคนถึง 13,000 ตำแหน่งในระยะยาว
Terry Gou ประธาน Foxconn ประกาศแผนการจัดตั้งโรงงานผลิตแพแนลหน้าจอ LCD ในรัฐวิสคอนซินตามนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นเงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะสร้างงานอย่างต่ำ 3 พันตำแหน่งในช่วงแรก
รัฐบาลสหรัฐระบุว่า Foxconn อาจจะสร้างโรงงานเพิ่มเติมในรัฐอิลลินอยส์, อินเดียน่าและมิชิแกน ช่วยสร้างงานไม่ต่ำกว่า 13,000 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ก่อนหน้าการประกาศสร้างโรงงานของ Foxconn หนึ่งวัน ทรัมป์ได้ให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่าแอปเปิลจะสร้างโรงงานเพิ่มอีก 3 แห่ง ซึ่งก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าที่ทรัมป์พูดถึงนั้น คือโรงงานของแอปเปิลเอง หรือโรงงานของซัพพลายเออร์ของแอปเปิลอย่าง Foxconn กันแน่
มีรายงานจากสำนักข่าวเกาหลี The Korea Times ว่าตอนนี้ Samsung กำลังคิดจะแยกธุรกิจของ OLED ออกมาจาก Samsung Display ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ผลิตหน้าจอของ Samsung แล้ว
ในรายงานข่าวนั้นอ้างแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ เผยว่า Samsung Display กำลังจะแยกธุรกิจส่วนของ OLED และส่วนที่เกี่ยวข้องออกมา โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างธุรกิจที่ไม่ทำกำไรของ Samsung Group
ถ้าจำกันได้ เมื่อหลายเดือนก่อน Sharp ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายธุรกิจหน้าจอ LCD ออกไป ตอนนี้มีรายงานว่ามีคนสนใจซื้อธุรกิจ LCD ของ Sharp แล้ว
จากรายงานของ Nikkei ระบุว่า Hon Hai Precision Industry Co หรือที่คุ้นกันในชื่อ Foxconn วางแผนจะระดมทุนเพื่อเข้าซื้อธุรกิจหน้าจอ LCD มาจาก Sharp หลังจากก่อนหน้านี้เคยพูดคุยกันถึงการทำธุรกิจร่วม ก่อนจะจบลงในช่วงปี 2012 เนื่องจากทาง Sharp กังวลว่า Foxconn จะมีอำนาจในการควบคุมธุรกิจมากเกินไป
เมื่อเร็วๆ นี้ Sharp ได้ประกาศหน้าจอแสดงผลรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี IGZO ออกสู่สาธารณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยความพิเศษของหน้าจอแสดงผลรุ่นนี้ก็คือมาพร้อมกับขนาดมาตรฐานที่ 5.5 นิ้ว บนความละเอียด 4K (3840*2160 พิกเซล) และมีความละเอียดต่อจุดที่ 806 พิกเซลต่อตารางนิ้ว
Sharp ระบุว่าหน้าจอแสดงผลรุ่นนี้จะทำให้การแสดงผลบนอุปกรณ์นั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดีมากขึ้น เพราะสามารถแสดงภาพได้สมจริง และเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ดีมากขึ้น และมันจะเป็นการเปิดประสบการณ์บนหน้าจอแสดงผลครั้งใหม่ของอุปกรณ์มือถือไปในตัวอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Sharp ยังไม่ได้ระบุว่าจะมีบริษัทใดที่จะนำหน้าจอตัวนี้ไปใช้งานบ้าง แต่ก็คาดว่า Sharp น่าจะเอาไปในใส่ใน Aquos Phone รุ่นหน้าครับ
มีรายงานว่า Sharp ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น มีแผนจะปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยการเปลี่ยนแปลงหลักคือการแยกส่วนธุรกิจหน้าจอ LCD ออกมา และขอเงินทุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง Innovation Network Corporation of Japan (INCJ) ที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมภายในประเทศ และเคยรวมกลุ่มกับผู้ผลิตหน้าจอสัญชาติญี่ปุ่นเพื่อผลักดันหน้าจอ OLED ในชื่อ JOLED เมื่อปีก่อน
เป็นที่รู้กันว่า AMOLED หน้าจอน้องใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้กันไม่กี่ปี โดยมีซัมซุงเป็นหัวหอก ด้วยความโดดเด่นเรื่องสีดำสนิท และคอนทราสต์ที่จัดกว่าหน้าจอ TFT LCD แน่นอนว่ายังมีใช้อยู่ในรุ่นสูงๆ ไม่กี่รุ่นในปัจจุบัน
ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องกำลังผลิตส่วนมากอยู่ที่ซัมซุง ทำให้มีผู้ใช้จอภาพ AMOLED เพียงไม่กี่รายแล้ว ต้นทุนการผลิตจอภาพ AMOLED ยังสูงกว่า TFT LCD อยู่มาก ด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำกว่านั่นเอง
LG เปิดตัวหน้าจอชนิด LCD ที่ขนาด 5.2 นิ้ว ด้วยความละเอียดที่ 1080x1920 พิกเซล ซึ่งบางที่สุดในโลก โดยความบางจะอยู่ที่ 2.2 มิลลิเมตร และมีความกว้างของขอบจอที่ 2.3 มิลลิเมตร
LG ได้เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Advanced One-Glass-Solution (OGS) ซึ่งเป็นการใส่แผงวงจรคู่แบบยืดหยุ่นให้อยู่ระหว่าง LCD panel และ touch film และไม่มี sub-pixel ทำให้เม็ดสีแสดงผลที่ได้เป็นแบบ RGB อีกทั้งให้ความสว่างสูงสุดที่ 535 nit ซึ่งมากกว่าทุกจอแสดงผลแบบ 1080p ในตลาดปัจจุบัน
ภาพประกอบท้ายข่าว
ที่มา: Android Police
ซัมซุงประกาศเข้าถือหุ้นในชาร์ป 3% หรือคิดเป็นเงินมูลค่า 10.4 พันล้านเยน เป้าหมายของซัมซุงคือการันตีกำลังการผลิตจอภาพแอลซีดีของชาร์ป ส่วนชาร์ปเองที่กำลังประสบภาวะการเงินก็ได้เงินมาสนับสนุนอีกก้อนใหญ่
ชาร์ปเองระบุว่าการเป็นพันธมิตรกับซัมซุงครั้งนี้ ทำให้บริษัทสามารถลงทุนในเทคโนโลยีแอลซีดีใหม่ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในแผนปรับปรุงกิจการของตัวเองด้วย ก่อนหน้านี้ชาร์ปเพิ่งขายหุ้นส่วนหนึ่งให้ Qualcomm และมีแผนจะขายหุ้นให้อินเทลกับ Foxconn อีกด้วย
นักวิเคราะห์สายการเงินประเมินว่าเงินก้อนนี้ถือว่าน้อยมากสำหรับชาร์ป แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อแผนการฟื้นฟูบริษัท
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Sharp ผู้ผลิตจอภาพรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่ปัญหารุมเร้ามากในช่วงหลัง กำลังเจรจาขั้นสุดท้ายกับ Lenovo เพื่อให้ฝ่ายหลังรับช่วงซื้อโรงงานผลิตทีวี LCD ในจีน
ปัจจุบัน Sharp มีโรงงาน LCD ขนาดใหญ่ 2 แห่งคือ ที่นานกิง (เตรียมขายให้ Lenovo) และที่มาเลเซีย (อาจขายให้ Wistron จากไต้หวัน) ตอนนี้โฆษกของ Sharp ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
Sharp กับ Lenovo เคยจับมือเป็นพันธมิตรในจีนเพื่อผลักดันทีวีแบรนด์ Aquos แต่เมื่อ Sharp อาการไม่ค่อยดี การขายโรงงานให้ Lenovo เพื่อเอาเงินสดมาถือไว้ในมืออาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ก่อนหน้านี้ Sharp เพิ่งรับเงินลงทุนบางส่วนจาก Qualcomm แลกกับหุ้นของบริษัทด้วยเช่นกัน
ความหวังใหม่สำหรับคนที่รอจอภาพกินไฟน้อย แต่ยังคงประสิทธิภาพในการแสดงผลได้ดีกว่าจอแบบ E-Paper ที่ประหยัดไฟ แต่ให้เฟรมเรตต่ำจนใช้งานจริงไม่สะดวก
เทคโนโลยีจอที่ว่ามาจาก Japan Display ที่คิดค้นจอ LCD แบบกินไฟต่ำด้วยการนำแผงไฟแบคไลท์ออกไปจากหน้าจอ และใช้แสงภายนอกในการแสดงผล (เหมือนกับ E-Paper) แต่ยังให้สีได้ด้วยการทำงานร่วมกันของสีโมโนโครมจากผลึกในจอภาพ กับฟิลเตอร์สีด้านหน้าจอ แต่แน่นอนว่าเฟรมเรตที่ได้ก็ตกลงไปจากปกติบ้าง
Japan Display พัฒนาหน้าจอดังกล่าวออกมาสองรุ่น คือรุ่นที่แสดงผลสีได้มากกว่า กับรุ่นที่ให้เฟรมเรตสูงกว่า ทั้งสองรุ่นมีคอนทราสต์อยู่ที่ 30:1 และกินไฟเพียง 3 mW เมื่อแสดงผลภาพนิ่ง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากวิดีโอท้ายข่าวครับ
Japan Display Inc. ได้เปิดตัวหน้าจอ LCD ที่มีความหนาแน่นสูงถึง 651 ppi (พิกเซลต่อนิ้ว) ในงาน Display Week 2012 ที่จัดโดย Society for Information Display ครับ
ความหนาแน่นขนาดนี้นับเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ Retina Display ของ iPhone โดยจอ LCD ที่ว่านี้มีขนาด 2.3 นิ้วและมีความละเอียด 1280x800 พิกเซล
ที่มา : Tom's Hardware
ข่าวนี้ต่อเนื่องจากข่าวซัมซุงจะแยกธุรกิจ LCD ออกเป็นบริษัทลูก Samsung Display ซึ่งตอนนี้ ทางซัมซุงได้ออกมาประกาศแล้วว่าได้ทำการแยกธุรกิจ LCD ของบริษัทออกเป็นบริษัทลูก Samsung Display เรียบร้อยแล้ว โดย Samsung Display จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและขายเทคโนโลยีจอภาพเป็นหลัก ซึ่งความเคลื่อนไหวของซัมซุงในครั้งนี้ ก็ได้ทำให้บริษัท Samsung Display กลายเป็นบริษัทผลิตจอภาพที่ใหญ่ที่สุดภายในช่วงเวลาเพียงข้ามคืนเท่านั้น
ซัมซุงยื่นเอกสารต่อตลาดหลักทรัพย์ แจ้งว่าจะแยกธุรกิจการผลิตจอภาพแบบ LCD ออกเป็นบริษัทลูกชื่อ Samsung Display ที่มีการบริหารงานของตัวเอง แต่ยังถือหุ้น 100% โดย Samsung Electronics
Hitachi ประกาศปรับโครงสร้างการผลิตทีวีจอแบนของตัวเองใหม่ โดยโอนธุรกิจทีวีและพนักงานจาก Hitachi Consumer Electronics ไปยังบริษัทลูก Hitachi CM มีผลวันที่ 1 เมษายนนี้
จากนั้น Hitachi จะปิดโรงงานของ Hitachi Consumer Electronics ในญี่ปุ่นหนึ่งแห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตทีวีเดือนละ 100,000 เครื่อง ด้วยเหตุผลเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงจนแข่งขันในตลาดไม่ได้
Hitachi จะยังทำทีวีขายในญี่ปุ่นต่อไป แต่จะใช้วิธีจ้างบริษัทคู่สัญญาภายนอกประเทศผลิตให้แทน
ที่มา - Engadget
แม้ว่าผลประกอบการที่ไม่ค่อยดีนักของโซนี่ จะทำให้โซนี่ต้องตัดสินใจที่จะถอนตัวออกจากตลาดทีวี OLED ไปแล้ว และปล่อยให้ผู้ผลิตจากประเทศเกาหลีใต้อย่างซัมซุงและ LG แข่งกันเอง ล่าสุดที่งาน CES 2012 โซนี่ได้เลือกที่จะนำทีวีที่ใช้อีกเทคโนโลยีหนึ่งมาโชว์แทนภายใต้ชื่อ Crystal LED
โดยทีวีเครื่องต้นแบบ Crystal LED ที่นำมาโชว์ในงานนี้มีการเพิ่ม "ultrafine" เข้าไปในสี RGB ทุกซับพิกเซล โดย ultrafine ที่ว่านี้จะไม่ว่าเบื้องหลังการทำงานจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อติดอยู่ข้างหน้าของจอภาพแล้วจะทำให้การแสดงผลมี contrast ดีขึ้นกว่าเดิม 3.5 เท่าและเพิ่ม color gamut อีก 1.4 เท่า โดยทีวีชุดนี้ของโซนี่จะมี response time ที่เร็วกว่า LCD ธรรมดาอีก 10 เท่า
โซนี่ประกาศยกเลิกแผนการผลิตและพัฒนาทีวีที่ใช้เทคโนโลยี OLED สำหรับผู้ใช้ตามบ้านแล้ว แม้ว่าซัมซุงและ LG ต่างนำทีวี OLED ของตัวเองมาโชว์ในงาน CES 2012 สัปดาห์นี้ โดยจากรายงานแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับจอ OLED ของโซนี่มีส่วนทำให้โซนี่ขาดทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่แล้ว
LG จะเปิดตัว 3DTV ใหม่ของตัวเองที่เป็นจอ LCD ที่มีขอบข้างหน้าเพียงแค่ 1 มิลลิเมตรเท่านั้นภายใต้ชื่อ "Cinema Screen" โดยจากคำอ้างของ LG นั้นจอดังกล่าวจะทำให้ประสบการณ์ที่ผู้ชมได้รับใกล้เคียงกับโรงหนังมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ 3DTV ดังกล่าวยังมีคุณสมบัติ Dual Play ที่จะทำให้ผู้ชมสองคนสามารถรับชมรายการสองรายการต่างกันได้ในเวลาพร้อมกัน โดยผู้ใช้ทั้งสองจำเป็นที่จะต้องใส่แว่นรับชมทั้งคู่ แม้ว่าคุณสมบัตินี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะว่าก่อนหน้านี้โซนี่ได้ปล่อยทีวี PlayStation 3D display ที่มีคุณสมบัติเดียวกันนี้ออกมาแล้ว
คาดว่าปีนี้เราจะได้เห็นทีวีที่มีขอบรอบจอบางลงอีกมากจากหลายค่ายที่งาน CES
จอภาพ LCD ในปัจจุบันนั้นทั้งโซนี่และซัมซุงร่วมลงทุนกันในบริษัทชื่อ S-LCD ที่มีมูลค่าบริษัทประมาณแสนล้านบาท แต่ล่าสุดทางโซนี่ก็ประกาศขายหุ้นทั้งหมดคิดเป็น 50% ลบออก 1 หุ้น โดยทางซัมซุงจะจ่ายเงินสดมูลค่าสามหมื่นล้านบาทให้กับทางโซนี่ และทางโซนี่จะยังได้รับประกันจำนวนสินค้าที่จะส่งมอบให้ในราคาตลาดต่อไป โดยไม่ต้องรับภาระการดูแลโรงงานหรือต้นทุนการผลิตอื่นๆ
โซนี่ให้เหตุผลของการถอนตัวว่าอุตสาหกรรมจอภาพ LCD กำลังเปลี่ยนไป ซึ่งคงหมายถึงตลาดทีวี LCD ที่ไม่เติบโตนักในช่วงหลัง โดยทางโซนี่คาดว่าจะประหยัดเงินค่าจัดซื้อจอภาพไปได้ถึงห้าหมื่นล้านเยนในปีหน้า
ยุคนี้สงสัยต้องตลาด AMOLED
ที่มา - Sony