iFixit เผยแพร่คลิปแกะ iPad mini 7 รุ่นใหม่ โดยประเด็นสำคัญในการตรวจสอบคือ แอปเปิลได้ปรับปรุงปัญหาหน้าจอเด้งสั่นเวลาเลื่อนจอ หรือปัญหา Jelly scrolling ที่พบใน iPad mini 6 ไปหรือไม่ เพราะแอปเปิลไม่ได้อัปเกรดสเป็กของหน้าจอ ยังใช้ Liquid Retina ความละเอียด 2266x1488 เท่าเดิม
ก่อนหน้านี้มีรีวิวจากคนที่ได้ทดสอบใช้งาน iPad mini 7 ก่อน ซึ่งความเห็นค่อนข้างหลากหลาย แต่โดยรวมบอกว่าปัญหาจอเด้งสั่น ลดน้อยลงหรืออาจสังเกตเห็นยากขึ้น
ถัดจาก iPhone 16 ก็ถึงเวลาที่ iFixit จะแกะ iPhone 16 Pro สมาร์ทโฟนรุ่นบนประจำปีของแอปเปิล ภาพรวมนั้น iFixit บอกว่าสามารถถอดแยก และประกอบชิ้นส่วนหลายอย่างได้ง่ายขึ้นกว่า iPhone 15 Pro
สิ่งแรกที่เปลี่ยนไปคือแบตเตอรี โดยมีโลหะครอบแบตเตอรีอีกชั้น ทำให้ลดโอกาสที่แบตเตอรีเสียหายขณะแยกชิ้นส่วน อย่างไรก็ตามแบตเตอรีของรุ่น Pro ยังใช้แถบกาวในการยึด ซึ่งต้องใช้เครื่องมือลอกออก ต่างจาก iPhone 16 ที่สามารถใช้ไฟฟ้าต่ำแกะแบตเตอรีออกได้
iFixit ได้แกะ iPhone 16 แล้ว โดยมีสิ่งสำคัญที่ iFixit มองว่าเป็นการสนับสนุนให้การซ่อม iPhone ทำได้ง่ายขึ้น นั่นคือตัดยึดแบตเตอรีของโทรศัพท์ ซึ่งเปลี่ยนมาใช้แถบกาวที่ลอกได้ด้วยการไฟฟ้าต่ำ 9 โวลต์ ตามที่แอปเปิลเผยแพร่เอกสารไปก่อนหน้านี้
ในวิดีโอที่ iFixit ทดสอบ พบว่าเมื่อต่อขั้วไฟฟ้าบริเวณแถบยึดแบตเตอรี จะใช้เวลาประมาณ 90 วินาที แบตเตอรีก็หลุดออกมาได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวสะดวกมากกว่าการยึดด้วยแถบกาว 4 แผ่น ที่ใช้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจทำให้แบตเตอรีได้รับความเสียหาย หรือเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟได้
ในอดีต iFixit เคยบอกว่าอุปกรณ์ตระกูล Surface ขึ้นชื่อเรื่องการแกะซ่อมเองได้ยาก และเคยได้ 0/10 มาแล้ว แต่ทว่าการมาของ Surface Pro 9 ทำให้คะแนนซ่อมง่ายเพิ่มขึ้นมาอย่างมากได้ 7/10
ปัจจุบันอุปกรณ์รุ่นล่าสุดอย่าง Surface Laptop 7 และ Surface Pro 11 ก็วางจำหน่ายในต่างประเทศแล้ว iFixit ก็ไม่พลาดนำมาลองแกะดู ซึ่งคราวนี้ให้คะแนนซ่อมง่ายถึง 8/10 ทั้ง 2 รุ่น
iFixit ประกาศยุติความร่วมมือกับซัมซุง ในการช่วยขายและกระจายชิ้นส่วน-อุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมอุปกรณ์ ซึ่งทั้งสองบริษัทเคยประกาศความร่วมมือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
iFixit บอกว่าตลอดช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ประกาศความร่วมมือ บริษัทพบปัญหาหลายอย่างที่อาจส่งผลกับเป้าหมายใหญ่ คือการทำให้ลูกค้าเข้าถึงการซ่อมแซมเอง เช่น ราคาอะไหล่ที่สูงมากจนไม่คุ้มในการตัดสินซ่อม การจำกัดจำนวนสั่งอะไหล่ของร้านซ่อมภายนอก จนถึงการออกแบบชิ้นส่วนที่ทำให้ซ่อมยาก กรณีที่ iFixit ยกมาคือจอกับแบตเตอรีของสมาร์ทโฟน Galaxy ใช้กาวติดกัน ต้องซื้ออะไหล่แบบยกชุดนี้ เป็นต้น
iFixit ได้แกะ iPad Pro รุ่นใหม่ชิป M4 แล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนภายในหลายอย่าง เพื่อรองรับหน้าจอ Tendem OLED และกล้องหน้าที่ย้ายตำแหน่ง
การเปลี่ยนแปลงที่ iFixit มองว่าสำคัญมากใน iPad Pro รุ่นใหม่นี้คือแบตเตอรี ซึ่งสามารถแกะเปลี่ยนได้เลยหลังจากถอดหน้าจอออกมา จากเดิมการเปลี่ยนแบตเตอรี iPad Pro นั้น ต้องแกะชิ้นส่วนอื่นออกมาเกือบทั้งหมด ทำให้การเปลี่ยนแบตเตอรี iPad Pro ทำได้เร็วมากขึ้น (iFixit บอกว่าอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง)
แบตเตอรีใน iPad Pro 13 นิ้วที่ iFixit แกะ บางลงตามขนาดของเครื่อง โดยมีความจุ 38.99 Wh ลดลงจากรุ่นก่อนหน้าที่ 40.33 Wh แต่แอปเปิลบอกว่า iPad Pro ยังคงใช้งานต่อเนื่องได้นาน 10 ชั่วโมงเท่าเดิม
ผู้ว่ารัฐโอเรกอนเซ็นกฎหมาย Oregon’s Right to Repair Act (SB 1596) กฎหมายสนับสนุนให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ที่จะซ่อมอุปกรณ์ของตัวเองได้มากขึ้น จุดสำคัญของกฎหมายนี้คือห้ามไม่ให้ผู้ผลิตล็อกชิ้นส่วนไม่ให้ใช้ข้ามอุปกรณ์ (part pairing) จนร้านซ่อมอิสระไม่สามารถซ่อมกันเองได้
กฎหมายนี้เปิดช่องให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดเงื่อนไขว่าร้านซ่อมอิสระจะต้องได้รับใบรับรองตามที่ระบุ จึงสามารถซ่อมอุปกรณ์ได้ แต่ห้ามล็อกชิ้นส่วนที่จะมาซ่อม เช่น ไอโฟนที่ล็อกหมายเลขประจำตัวแบตเตอรี่ว่าต้องเป็นหมายเลขที่แอปเปิลรู้ว่ากำลังใช้งานกับโทรศัพท์เครื่องใด แม้ว่าแบตเตอรี่ที่นำมาเปลี่ยนจะเป็นแบตเตอรี่ของแอปเปิลเองที่นำมาจากไอโฟนเครื่องอื่นก็ตามที แนวทางนี้ทำให้แอปเปิลพยายามต่อสู้กับกฎหมายนี้อย่างหนัก
นอกเหนือจาก ThinkBook รุ่นคอนเซปต์หน้าจอโปร่งใส เรียกเสียงฮือฮา Lenovo ยังเปิดตัวโน้ตบุ๊กทั่วไปแบรนด์ ThinkPad และ ThinkBook ในงาน MWC 2024 โดยเป็นการเปิดตัวสินค้าต่อเนื่องจาก ThinkPad และ ThinkBook ในงาน CES 2024 เมื่อเดือนมกราคม
ThinkPad เซ็ตที่เปิดตัวรอบนี้ส่วนใหญ่คือตระกูล T โน้ตบุ๊กสายธุรกิจขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วย
iFixit ลองแกะเครื่องเล่นเกมพีซีพกพารุ่นใหม่ 2 รุ่นที่วางขายช่วงนี้คือ Steam Deck OLED และ Lenovo Legion Go ผลออกมาว่าซ่อมง่ายทั้งคู่
ดราม่าระหว่างบริษัท dbrand กับ Casetify ยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจาก dbrand ออกมาแฉว่า Casetify นำภาพของตัวเองไปใช้ทำเคสมือถือขาย
ล่าสุด dbrand ออกมาแฉซ้ำสองว่า Casetify ไม่ได้ขโมยภาพจาก dbrand เพียงรายเดียว แต่ยังขโมยภาพจาก iFixit บริษัทขายอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
กรณีนี้คือเคสรุ่น X-Ray Case ของ Casetify ที่เป็นลายเหมือนภาพเอ็กซ์เรย์ภายในของโทรศัพท์มือถือ นำภาพมาจากภาพเอ็กซ์เรย์ในบทความของ iFixit แล้วกลับด้านซ้ายขวาเอา (แถมยังเป็นภาพของมือถือคนละรุ่นกันอีกต่างหาก)
iFixit แกะ iPhone 15 Pro Max เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเปลี่ยนแปลงสำคัญในแง่ซ่อมแซมคือโครงที่ออกแบบใหม่ ทำให้สามารถเปิดได้ 2 ด้าน นั่นคือเพิ่มการเปิดจากกระจกด้านหลังแบบเดียวกับ iPhone 14 และ iPhone 14 Plus เมื่อปีที่แล้ว
ชิ้นส่วนอื่นที่พบในการแกะ แบตเตอรี่ iPhone 15 Pro Max อยู่ที่ 4422 mAh เพิ่มขึ้น 2.3% จาก iPhone 14 Pro Max เช่นเดียวกับ iPhone 15 Pro ที่เพิ่มขึ้น 2.3% จาก iPhone 14 Pro เป็น 3274 mAh ซึ่ง iFixit มองว่าเพิ่มมาน้อยไปเมื่อเทียบกับชิป A17 Pro ที่ดูใช้พลังงานมากขึ้น
เมื่อปีที่แล้ว iFixit ได้ให้คะแนนการซ่อมง่ายของ iPhone 14 ด้วยตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบหลายปีสำหรับ iPhone คือ 7 เต็ม 10 เนื่องจากเครื่องสามารถเปิดได้ง่าย ทั้งหน้าจอและด้านหลังเครื่อง พร้อมบอกว่าน่าจะเป็นต้นแบบให้ iPhone รุ่นถัด ๆ ไป แต่ล่าสุด iFixit เปลี่ยนใจแล้ว
iFixit บอกว่าได้ปรับลดคะแนนการซ่อม iPhone 14 ลง จาก 7 ลงมาเหลือเพียง 4 คะแนนเท่านั้น โดยบอกว่าการให้คะแนนตอนนั้นเป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์ ที่แกะประกอบได้ง่าย แต่ตอนนี้การซ่อม iPhone 14 ทำได้ยากและซับซ้อนขึ้นเนื่องจากซอฟต์แวร์ของ iPhone
iFixit เว็บแนะนำการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาผลักดันแนวทาง Right to Repair หรือสิทธิที่ลูกค้าต้องสามารถเลือกซ่อมแซมอุปกรณ์ได้เอง เปิดเผยว่าแอปเปิลได้ส่งจดหมายเปิดผนึก เพื่อสนับสนุนวุฒิสมาชิก Susan Talamantes Eggman ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ผลักดันการออกกฎหมาย SB 244 Right to Repair Act ซึ่ง iFixit มองว่าเป็นก้าวสำคัญ เพราะบริษัทที่มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ในช่วงที่ผ่านมาอย่างแอปเปิล ก็ลงมาร่วมสนับสนุนแล้ว
ร่างกฎหมายนี้มีข้อกำหนดหลายอย่าง เช่น สินค้าที่ราคามากกว่า 99.99 ดอลลาร์ ผู้ผลิตต้องมีอะไหล่ขายอย่างน้อย 7 ปี แม้หมดระยะประกันไปแล้ว รวมทั้งศูนย์ซ่อมแซมที่ไม่ใช่ของผู้ผลิต ต้องเปิดเผยข้อมูลกับลูกค้าว่าใช้อะไหล่จากผู้ผลิตหรือเป็นอะไหล่ 3rd Party
Logitech เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์รายล่าสุดที่ออกมาผลักดันเรื่อง "ซ่อมง่าย" (Right to Repair) โดยจับมือกับ iFixit เป็นช่องทางขายอะไหล่สินค้า เพื่อให้ผู้ใช้สั่งซื้อไปซ่อมเองแบบไม่ต้องผ่านศูนย์บริการ
ในเบื้องต้น สินค้ากลุ่มแรกที่ Logitech ร่วมมือกับ iFixit คือเมาส์ตระกูล MX โดยจะเปิดเอกสารคู่มือการซ่อม เทคนิคการแก้ปัญหาที่พบบ่อย และเปิดให้สั่งอะไหล่จากเว็บ iFixit ได้โดยตรง ส่วนสินค้าอิ่นๆ เช่น คีย์บอร์ด หูฟัง ลำโพง เว็บแคม ตอนนี้เปิดเฉพาะเอกสารคู่มือการซ่อม แต่ยังไม่มีอะไหล่ขาย ใครสนใจตามไปดูที่ หน้าเพจ Logitech บน iFixit
HMD Global เปิดตัว Nokia G22 โทรศัพท์เน้นจุดขายซ่อมด้วยตัวเองได้ โดยขายอะไหล่ชิ้นสำคัญผ่าน iFixit ได้แก่ หน้าจอ, ฝาหลัง, แบตเตอรี่, และพอร์ตชาร์จ นับเป็นจุดใหญ่ๆ ที่โทรศัพท์จะเสียได้บ่อยๆ จากอาการจอแตก, แบตเตอรี่เสื่อม, หรือพอร์ตชาร์จหลวม
ตัวโทรศัพท์เป็นเครื่องหน้าจอ 6.52 นิ้วความละเอียด 720x1200 พิกเซล ซีพียู Unisoc T606 (Cortex A75 2 คอร์ และ Cortex A55 2 คอร์) แรม 4GB สตอเรจ 64GB กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 3 ตัว กล้องหลัก 50 ล้านพิกเซล รองรับ NFC มีช่องหูฟัง ใส่ microSD ได้ กันน้ำระดับ IP52 น้ำหนักเครื่อง 195 กรัม
ซอฟต์แวร์เป็น Android 12 ออกแพตช์ความปลอดภัยให้ 3 ปีกับอีก 2 เวอร์ชั่น
iFixit ได้แกะ iPad 10th Gen ซึ่งเป็น iPad รุ่น entry level ตัวแรกที่แสดงผลแบบเต็มหน้าจอ ย้าย Touch ID ไปไว้ที่ปุ่มด้านข้าง
โดย iFixit สรุปภาพรวมว่า iPad 10th Gen ก็คือ iPad Air 4 ที่วางขายปี 2020 มีสเป็กที่ใกล้เคียงกันทุกอย่าง ต่างเพียงกล้องหน้าที่เพิ่มจาก 7MP เป็น 12MP และย้ายตำแหน่งเพื่อรองรับ Center Stage ในแนวนอน
อุปกรณ์ตระกูล Surface เคยขึ้นชื่อเรื่องการแกะซ่อมเองได้ยาก และได้คะแนนซ่อมง่ายจาก iFixit ระดับต่ำเรี่ยดิน (0 หรือ 1 คะแนน) อยู่พักใหญ่ๆ
ช่วงหลังๆ ไมโครซอฟท์พยายามแก้ปัญหานี้ และถึงขั้นร่วมมือกับ iFixit ขายอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อม Surface ด้วย
ถัดจาก iPhone 14 ก็ถึงคราวที่ iFixit จะแกะรุ่น Pro บ้างโดยเป็น iPhone 14 Pro Max ซึ่งแม้คะแนนการซ่อมของ iPhone 14 จะดีมากในรอบหลายปี แต่ยังไม่ใช่สำหรับ iPhone 14 Pro Max
โดยรายละเอียดจากการแกะนั้น iFixit บอกว่าโครงสร้างภายในของ iPhone 14 Pro Max ถอดแบบมาจาก iPhone 13 Pro Max ซึ่งรวมทั้งการเปิดตัวเครื่องทำได้จากด้านหน้าจอเท่านั้น ไม่สามารถเปิดจากฝาหลังได้แบบ iPhone 14 จึงยังคงความยากไว้เหมือนเดิม
iFixit รายงานถึงการแกะ iPhone 14 ที่แทบทุกสำนักข่าวจะระบุว่ามีความเปลี่ยนแปลงไม่เยอะมาก เพราะมองจากภายนอกแล้วแทบเหมือนเดิม ภายในทั้งซีพียู หรือกล้องก็ยังเป็นชุดเดิมแม้มีการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ แต่ฟีเจอร์หลักๆ เหมือนเดิม ทาง iFixit กลับมองต่าง เพราะแนวทางการออกแบบให้เครื่องซ่อมง่ายขึ้นทำให้แอปเปิลต้องออกแบบตัวถังใหม่หมด แม้ผู้ใช้จะมองเห็นภายนอกเหมือนเดิมก็ตามที
จากที่แอปเปิลประกาศโครงการ Self Service Repair ที่ให้ลูกค้าสามารถซื้ออะไหล่พร้อมเช่าอุปกรณ์ เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ได้เอง โดยล่าสุดขยายมารองรับ MacBook ตระกูล M1 ด้วย ล่าสุด iFixit ผู้ขายอุปกรณ์ซ่อมแซมทุกสิ่งอย่าง ได้ดูรายละเอียดการซ่อมแล้ว ก็แสดงความกังวลผ่านบล็อกของบริษัท
Samsung Electronics America ประกาศเริ่มวางขายชิ้นส่วนอะไหล่ผ่าน iFixit ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนเมษายน ว่าต้องการสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถซ่อมเอง (Self-Repair)
ลูกค้าซัมซุงในสหรัฐจะสามารถซื้อชิ้นส่วน 3 อย่าง ได้แก่ หน้าจอ, กระจกหลัง และพอร์ตชาร์จ ของสินค้าชุดแรกคือ Galaxy S20, Galaxy S21, Galaxy Tab S7+ จากหน้าเว็บของ iFixit ได้แล้ว ส่วนชิ้นส่วนอื่นๆ และสินค้ารุ่นอื่นๆ จะตามมาในอนาคต
Framework โน้ตบุ๊กที่เน้นการซ่อมบำรุงได้ง่ายจนได้คะแนน iFixit 10 เต็ม เปิดตัวเมนบอร์ดอัพเกรดซีพียูเป็น Intel Core รุ่นที่ 12 ให้ลูกค้าที่ซื้อไปก่อนหน้านี้สามารถซื้อเฉพาะบอร์ตไปอัพเกรดได้
ตัวโน้ตบุ๊ก Framework รุ่นแรกตอนนี้ขายอยู่ที่เริ่มต้น 899 ดอลลาร์ และรุ่น Intel Core รุ่นที่ 12 ราคาเริ่มต้น 1,049 ดอลลาร์ ตัวบอร์ดอัพเกรดเริ่มต้นที่ 539 ดอลลาร์ โดยตัวบอร์ดมาพร้อมกับฝาปิดเครื่อง เพราะทาง Framework เปลี่ยนจากอลูมิเนียมขึ้นรูปมาเป็น CNC เพื่อเสริมความแข็งแรง
เมื่อแอปเปิลประกาศเริ่มต้นโปรแกรม Self Service Repair ที่ขายอะไหล่และเครื่องมือแบบถูกต้องเป็นทางการ สำหรับลูกค้าที่ต้องการซ่อมแซมอุปกรณ์เองตามแนวทาง Right-to-Repair บริษัทที่โปรโมตการแกะซ่อมทุกสรรพสิ่งอย่าง iFixit จึงออกมาแสดงความชื่นชนต่อก้าวสำคัญครั้งนี้
กูเกิลเป็นบริษัทล่าสุดที่ประกาศขายชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ของมือถือตระกูล Pixel ผ่าน iFixit โดยจะย้อนให้ไปถึง Pixel 2 ด้วยเลย อะไหล่ที่ขายแยกมีตั้งแต่แบตเตอรี่ หน้าจอ กล้อง รวมถึงการขายเป็นชุด iFixit Fix Kit ที่รวมไขควงและอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย
กูเกิลยังขยายพาร์ทเนอร์ร้านซ่อมอิสระไปยังประเทศอื่นๆ ที่วางขาย Pixel ได้แก่ แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเปิดเอกสาร คู่มือ ชิ้นส่วนให้กับเครือข่ายร้านซ่อมเหล่านี้ ในแง่การออกแบบผลิตภัณฑ์ กูเกิลบอกว่าพยายามให้ Pixel ซ่อมง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดภาระหรือจำนวนชิ้นส่วนที่ต้องใช้ลง
Samsung Electronics America ประกาศนโยบาย "ซ่อมง่าย" ลูกค้าที่ซื้อสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารถซ่อมเองได้ โดยจะเปิดขายอะไหล่ ชิ้นส่วน เครื่องมือซ่อม และคู่มือการซ่อมให้บุคคลทั่วไป
สินค้าชุดแรกภายใต้นโยบายซ่อมเองได้คือ Galaxy S20, S21, Galaxy Tab S7+ เริ่มต้นช่วงฤดูร้อนกลางปีนี้ ชิ้นส่วนที่ซัมซุงระบุคือ ชุดหน้าจอพร้อมแบตเตอรี่ กระจกหลัง และพอร์ตชาร์จไฟ ส่วนชิ้นส่วนและสินค้ารุ่นอื่นๆ จะตามมาในอนาคตต่อไป
ซัมซุงยังประกาศความร่วมมือกับ iFixit ในการกระจายชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่จำเป็น แต่ยังไม่ระบุรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง