Airbnb ประกาศสนับสนุนที่พักชั่วคราวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานครและพื้นที่อื่นในประเทศไทย ผ่านโครงการไม่แสวงหากำไร Airbnb.org ที่ก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือจัดหาที่พักในภาวะฉุกเฉินทั่วโลก
กรุงเทพมหานครระบุว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ เป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีบ้านได้รับความเสียหาย หรือจำเป็นต้องอพยพจากที่พัก โครงการนี้ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาสมัครที่ให้ความช่วยเหลือด้วย โดยสามารถเข้าพักได้สูงสุด 14 วัน ซึ่ง Airbnb.org ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนที่พักชั่วคราว 2,000 คืน
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มีการประชุมหารือกับรองนายกมหาดไทย, รองนายกดีอี, กสทช., AIS-ทรู, และ NT เพื่อหาแนวทางปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัย จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา
นายกฯ บอกว่า ระหว่างที่รอระบบ Cell Broadcast ซึ่งจะมาช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม ทางรัฐบาลต้องเรียงโฟล์งานกันทั้งหมด เบื้องต้นมีดังนี้:
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงดีอี บอกว่าได้หารือแนวทางปรับปรุงระบบแจ้งเตือนให้เร็วขึ้น ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หลังเหตุแผ่นดินไหว ประชาชนส่วนใหญ่พบว่าการแจ้งเตือนผ่าน SMS มาช้าเกินไป บางคนยังไม่ได้รับข้อความตั้งแต่เกิดเหตุด้วยซ้ำ
โดยจะลดขั้นตอนที่ซับซ้อน เพื่อให้ข้อความแจ้งเตือนถึงประชาชนทันที เริ่มจากปรับให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ส่งข้อความแจ้งเตือนภัยให้ กสทช. ทันทีที่ได้รับข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา จากนั้น กสทช. จะติดต่อผู้ให้บริการมือถือส่ง SMS แจ้งเตือนประชาชนเร็วที่สุด
Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล โพสต์ข้อความบน X ว่าแอปเปิลขอส่งความห่วงใย ไปยังผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาและประเทศไทย และบริษัทได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือในพื้นที่
แอปเปิลมักบริจาคเงินช่วยเหลือมีเกิดเหตุภัยพิบัติทั่วโลกผ่านกาชาด (Red Cross) จึงคาดว่าแอปเปิลจะบริจาคผ่านช่องทางนี้สำหรับกรณีของเมียนมาและประเทศไทยเช่นกัน
ที่มา: MacRumors
กสทช. ยอมรับส่ง SMS แจ้งเตือนแผ่นดินไหวล่าช้า เพราะต้องรอข้อความแจ้งเตือนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำหนดเนื้อหาการแจ้งเตือน รวมทั้งมีข้อจำกัดของระบบส่ง SMS ของผู้ให้บริการมือถือที่ส่งได้ครั้งละไม่เกิน 200,000 เลขหมาย ทำให้เกิดความล่าช้าเมื่อมีข้อความแจ้งเตือนจำนวนมาก
สำหรับระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้เตรียมความพร้อมแล้ว แต่ยังต้องรอการดำเนินการจาก ปภ. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำหนดข้อความและจัดทำระบบ หากยังไม่สามารถใช้งานได้ ผู้ให้บริการมือถือก็ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากระบบต้องเชื่อมต่อกัน
เพจพรรคเพื่อไทยแจ้งว่า ทางกระทรวงดีอี ส่ง SMS ผ่าน Cell Broadcast เตือนภัยกับประชาชนเป็นระยะ และการปฏิบัติตัวแล้ว โดยขอให้ประชาชนติดตามข่าวแผ่นดินไหว ผ่านหน่วยงานทางการ หรือ NBT ตลอด 24 ชั่วโมงเท่านั้น
นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนระวังเฟคนิวส์ และ SMS ปลอมจากมิจฉาชีพ ขอให้ติดตามข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
ส่วนเอกสารด่วนที่สุดจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดำเนินการส่งข้อความถึงประชาชนในพื้นที่ เพื่อ แจ้งเตือนภัยระดับ 3
กูเกิลมีระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่านสมาร์ทโฟน Android มาตั้งแต่ปี 2020 เทคนิคการทำงานคือ crowdsourcing ข้อมูลการสั่นสะเทือนจาก accelerometer ในสมาร์ทโฟนจำนวนมากทั่วโลก และในอดีต มันเคยใช้แจ้งเตือนแผ่นดินไหวในฟิลิปปินส์เมื่อปี 2021 ได้ก่อนระบบแจ้งเตือนอื่น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดผู้ใช้ในบราซิลที่เมือง Sao Paolo ได้รับการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวช่วงประมาณตีสอง ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนที่ผิดพลาด ไม่มีแผ่นดินไหวจริงๆ เกิดขึ้น ถือเป็นครั้งแรกที่ระบบแจ้งเตือนของกูเกิลทำงานผิดพลาด
ในช่วงเช้าวันนี้ (3 เมษายน 2024) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ศูนย์กลางใกล้กับเมืองฮัวเหลียน ที่ไต้หวัน เกิดความเสียหายกับอาคารหลายแห่ง
TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีโรงงานผลิตในไต้หวัน รายงานว่าบริษัทได้อพยพคนงานในไซต์ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เมืองซินจู๋ ที่อยู่ทางตอนเหนือ ทั้งหมดปลอดภัย ซึ่ง TSMC ได้สั่งระงับการก่อสร้างตลอดทั้งวันเพื่อตรวจสอบความเสียหาย และผลกระทบ
ส่วนโรงงานผลิตชิปทั้งหมดมีการอพยพพนักงานออกมาเช่นกันตามแผนความปลอดภัย ทำให้ต้องระงับสายการผลิตชั่วคราว แต่อาคารเครื่องจักของโรงงานไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุที่เกิดขึ้น จึงสามารถดำเนินงานต่อได้ตามปกติ
เมื่อกลางปี 2020 กูเกิลประกาศทำเครือข่ายการแจ้งเตือนแผ่นดินไหว โดยใช้ accelerometer จากอุปกรณ์ Android ทั่วโลกช่วยวัดการสั่นไหว แล้วแจ้งเตือนผ่านมือถือในพื้นที่แผ่นดินไหว เพื่อให้คนในพื้นที่รับมือทัน
เมื่อวานนี้ (24 กรกฎาคม) ช่วงเช้ามืดเกิดเหตุแผ่นดินไหวทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ความแรง 6.7 ซึ่งคนฟิลิปปินส์พบว่าระบบแจ้งเตือนของกูเกิลทำงานได้จริง สามารถแจ้งเตือนก่อนแผ่นดินไหวเริ่มสั่นเล็กน้อย (ระยะเวลาขึ้นกับว่าอยู่ห่างจากจุดแผ่นดินไหวแค่ไหน บางคนบอกว่า 10 วินาที)
กูเกิลพัฒนาฟีเจอร์ให้อุปกรณ์ Android ทั่วโลกสามารถกลายเป็นเครื่องวัดการสั่นไหว (seismometer) โดยใช้ประโยชน์จากเซ็นเซอร์วัดความเร่ง (accelerometer) ที่มีอยู่แล้ว หากพบสัญญาณที่มีแพทเทิร์นเหมือนกับแผ่นดินไหว ให้แจ้งเตือนตำแหน่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านระบบ Android Earthquake Alerts System ได้ทันท่วงที
กูเกิลบอกว่าข้อมูลจากโทรศัพท์จะวิ่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วแสง แข่งกับความเร็วของแผ่นดินไหวที่ช้ากว่ามาก ทำให้การแจ้งเตือนผู้คนในบริเวณห่างไกลออกไปสามารถเกิดก่อนแผ่นดินไหว และช่วยให้รับมือกับความเสียหายได้
Japan Meteorological Agency (JMA) หน่วยงานตรวจวัดแผ่นดินไหวญี่ปุ่นออกประกาศแจ้งเตือนแผ่นดินไหวระดับ shindo 7 ระดับรุนแรงที่สุด เป็นวงกว้างทั่วบริเวณคันโตทั้งที่ไม่มีแผ่นดินไหวจริง
รายงานแจ้งเตือนนี้ส่งผลให้รถไฟหยุดให้บริการหลายสาย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ NTT ระบุว่าระบบโทรศัพท์เกิดคอขวดอยู่เป็นเวลา 15 นาที
ทาง JMA ชี้แจงว่าการแจ้งเตือนผิดพลาดเป็นเพราะสัญญาณไฟฟ้าในพื้นทะเล และการแจ้งเตือนผิดพลาดครั้งเป็นครั้งที่ผิดพลาดมากที่สุดนับแต่เปิดระบบในปี 2007