ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า บริษัทผู้ผลิตชิปรายเล็กอย่าง Marvell มีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2024 จนตอนนี้ Marvell มีมูลค่าบริษัทตามราคาหุ้น (market cap) ที่ 98.22 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าอินเทล ที่มูลค่าปัจจุบัน 90.22 พันล้านดอลลาร์แล้ว ทั้งที่อินเทลมีรายได้เข้าบริษัทมากกว่า Marvell ถึง 10 เท่า
เหตุผลที่หุ้นของ Marvell เพิ่มขึ้นมากก็เป็นสิ่งที่หลายคนน่าจะคาดเดาได้ว่า "AI"
Marvell เปิดตัวชิปคอนโทรลเลอร์ SSD รหัส 88NV1160 ที่มีความแปลกใหม่ตรงที่ไม่ต้องใช้ชิปเมมโมรีแบบ DRAM มาทำงานด้วย (DRAM-less) ทำให้ผลิตบน SSD ขนาดเล็กๆ อย่าง M.2240 และ M.2242 ที่เสียบบนสล็อต M.2 ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้ และเคลมว่าใช้พลังงานต่ำ ทำความเร็วการอ่านได้สูงถึง 1,600MB/s
ชิปตระกูลนี้มีรุ่นย่อยที่รองรับทั้งการทำงานแบบ SATA ปกติ และ NVMe 1.3 บนบัส PCIe Gen3 x1 และ x2 และรองรับการทำงานแบบอิงแรมระบบเป็นบัฟเฟอร์แทน (Host Memory Buffer) ภายในชิปเป็น ARM Cortex-R5 และรองรับการทำงานกับชิปแฟลชทั้งแบบ MLC, TLC, QLC ได้สารพัดแบบ
ที่มา - Marvell
เก็บตกข่าวน่าสนใจในวงการ SoC เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม Marvell ผู้ผลิตชิปรายใหญ่เพิ่งเปิดตัวแพลตฟอร์ม MoChi ที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใส่ฟีเจอร์บางส่วนเข้าไปใน SoC แทนที่จะใส่ทุกอย่างเข้าไปตามแนวทางในช่วงหลังๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และนำไปใช้กับอุปกรณ์เฉพาะทางได้คุ้มค่ามากขึ้น
หลักการของ MoChi หรือชื่อเต็ม Modular Chip จะคล้ายกับแนวทางของ Project Ara โดยแยกส่วนต่างๆ ใน SoC ออกมาเป็นโมดูล โดยจะมีศูนย์กลางเป็นซีพียู แล้วให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใส่ฟีเจอร์อื่นๆ เข้าไปเพิ่มเติมได้ เช่น จีพียู และการเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับโมดูลออกมามากนัก
ให้หลังการเปิดตัว Chromecast รุ่นใหม่ และ Chromecast Audio เมื่อสัปดาห์ก่อน ในงานไม่ได้พูดถึงสเปคภายในของทั้งสองอุปกรณ์รุ่นใหม่มากนัก ล่าสุด Marvell ผู้ผลิตชิปให้กูเกิลทำ Chromecast ออกมาเผยข้อมูลของชิปรุ่นใหม่ที่ว่าแล้ว
Chromecast ทั้งสองรุ่นใช้ชิป ARMADA 1500 Mini Plus SoC (88DE3006) อัพเกรดจาก Chromecast รุ่นแรกที่ใช้ ARMADA 1500 Mini SoC (88DE3005) ภายในเป็นซีพียู Cortex-A7 ดูอัลคอร์ไม่ทราบความถี่ มีแรมเท่าเดิม 512MB แต่รองรับการส่งภาพ-ถอดรหัสวิดีโอสูงสุดที่ 1080p 60 เฟรมต่อวินาที
Marvell เปิดตัว SoC รุ่นใหม่สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยใช้ชื่อรุ่นว่า ARMADA Mobile PXA1918 จุดเด่นของ SoC รุ่นนี้คือชิปโมเด็มรองรับ LTE แบบรวมหลายความถี่ (Carrier Aggregation)
ใกล้ถึงคิวออกโรงของ HomeKit แพลตฟอร์มสำหรับสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เปิดตัวมาพร้อมกับ iOS 8 ที่ตอนนี้มีผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง Marvell ออกมาปล่อยบอร์ดสำหรับพัฒนาอุปกรณ์ HomeKit เป็นครั้งแรกแล้ว
ในบอร์ดของ Marvell จะประกอบไปด้วยชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ 88MC200, ชิป Wi-Fi รหัส 88W9901 และตัวซอฟต์แวร์สนับสนุนอย่าง EZ-Connect รวมถึง SDK สำหรับพัฒนา โดยทาง Marvell เคลมว่าเป็นเจ้าแรกที่ออกบอร์ดมาสนับสนุน HomeKit ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
สำหรับแพลตฟอร์ม HomeKit แม้ว่าจะเปิดตัวมาตั้งแต่ปีก่อน แต่ฝั่งผู้ผลิตเองยังขยับตามไม่มากนัก ส่วนหนึ่งมาจาก HomeKit นั้นเลือกพาร์ทเนอร์คล้ายกับโครงการ Made for iPhone (MFi) ที่ต้องปรับแต่งอุปกรณ์ให้ใช้งานได้กับของแอปเปิลก่อนวางขายจริงนั่นเอง
ช่วงหลังมานี้เราเริ่มเห็นผู้ผลิตเราท์เตอร์หลายรายออกรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับมาตรฐาน 802.11ac กันมาพอสมควรแล้ว แต่ผู้ผลิตชิปไร้สายรายใหญ่ Marvell อาจมองไปไกลกว่านั้น ด้วยการจับมือกับบริษัทหน้าใหม่ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้งานชิปร่วมกับคลื่นย่าน 60GHz อย่าง Wilocity เพื่อทำชิปไร้สายตามมาตรฐาน 802.11ad แบบไตรแบนด์ที่รองรับทั้งคลื่นย่าน 2.4GHz, 5GHz และย่าน 60GHz ที่สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 7Gbps
ทิศทางของฮาร์ดแวร์พกพาที่ต้องเชื่อมต่อแบบไร้สายหลายประเภทพร้อมๆ กัน เห็นชัดว่าไปในทาง "ชิปคอมโบ" ตัวเดียวเชื่อมต่อไร้สายได้หลายแบบ
ก่อนหน้านี้เรามีข่าวชิปคอมโบจาก MediaTek ที่รองรับ Wi-Fi 802.11ac กับ Bluetooth 4.0 มาแล้ว คราวนี้บริษัท Marvell เอาบ้างโดยรวม 3 มาตรฐานไร้สายคือ 802.11ac, Bluetooth และ NFC มาไว้รวมกัน ฟีเจอร์อื่นคือรองรับ Miracast และมี location engine สำหรับค้นหาพิกัดด้วย Wi-Fi ด้วย (ไม่มี GPS มาให้นะครับ)
Marvell เป็นบริษัทผู้ผลิตชิปตระกูล ARM อีกรายหนึ่ง (ซื้อต่อมาจากอินเทลอีกทีหนึ่งเมื่อปี 2006) ที่ไม่ค่อยดังเท่ากับ Qualcomm, NVIDIA หรือซัมซุง
อย่างไรก็ตาม Marvell มีลูกค้าเหนียวแน่นอยู่หนึ่งรายคือ BlackBerry ที่ใช้ซีพียู Marvell ARMADA เจาะตลาดสมาร์ทโฟนราคา (ค่อนข้าง) ถูกในอินโดนีเซียและจีนได้ประสบความสำเร็จ
Jack Kang ผู้บริหารของ Marvell ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ DailyTech ว่าจุดแข็งที่สุดของบริษัทคือ "มือถือราคาถูกแต่คุณภาพดี" (quality low-cost devices) ซึ่งตลาดจีนเป็นตลาดที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของบริษัท
สองข่าวของ Google TV รุ่นใหม่ที่น่าจะเปิดตัวในงาน CES 2012 ครับ
ข่าวแรกเป็นข่าวยืนยันแล้วว่า ฮาร์ดแวร์ Google TV จะใช้หน่วยประมวลผลตระกูล ARM (รุ่น ARMADA 1500) ที่ผลิตโดยบริษัท Marvel ซึ่งในที่นี้จะครอบคลุมตั้งแต่เซ็ตท็อปบ็อกซ์ เครื่องเล่นบลูเรย์ และตัวทีวีเอง
Marvell ยืนยันข่าวนี้แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของ ARMADA 1500 มากนัก บอกแค่ว่ามันเป็นซีพียูแบบดูอัลคอร์ ทำงานที่ 1.2GHz และสามารถประมวลผลวิดีโอ 1080p ได้พร้อมกันสองวิดีโอ (ดังนั้นสามารถแสดงภาพแบบจอคู่หรือจอซ้อนที่เป็น 1080p ได้)
Google TV รุ่นใหม่จะกินไฟลดลง รองรับ codec ของวิดีโอมากขึ้น (ที่แน่ๆ คือ WebM) และราคาถูกกว่า Google TV รุ่นแรกมาก
ค่าย Marvell เปิดตัวซีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพาตัวใหม่ Armada 628 ซึ่งเป็นซีพียูตระกูล ARMv7 MP แบบสามคอร์ ความพิเศษของมันคือ 2 คอร์แรกเป็นซีพียูคู่สำหรับงานที่ต้องการประสิทธิภาพ ทำงานที่ 1.5 GHz ส่วนคอร์ที่สามออกแบบมาให้กินพลังงานน้อยมาก ทำหน้าที่คอยตรวจสอบความต้องการของระบบ เพื่อปรับลดประสิทธิภาพของ 2 คอร์แรกให้เหมาะสม ตัวหลังทำงานที่ 624 MHz
Marvell โฆษณาว่าการวางสถาปัตยกรรมแบบนี้ ทำให้ Armada 628 ตอบโจทย์ได้ทั้งงานที่ต้องการประสิทธิภาพ และการประหยัดพลังงาน มันสามารถเล่นวิดีโอ 1080p ได้นานติดกัน 10 ชั่วโมง หรือ เล่นเพลงติดต่อกัน 140 ชั่วโมง
อุปกรณ์จำพวก home server ที่เป็น headless นั้นออกมาให้เราเห็นกันหลายแบบพอสมควร ตัวที่ดังๆ หน่อยก็อย่างเช่น Time Capsule ของแอปเปิล ที่เอาโซลูชันการแบ็คอัพไปรวมไว้ใน Wi-Fi router
บริษัท Marvell ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และชิปเซ็ตหลายชนิด ได้ผลักดันแนวคิดใหม่คือเอาคอมพิวเตอร์ไปใส่ไว้ในปลั๊ก (หมายถึงปลั๊กที่เป็นตัวเสียบนะครับ ไม่ใช่อันที่ติดกับกำแพง) ปลั๊กรุ่นนี้มีชื่อว่า SheevaPlug เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Plug Computing เป้าหมายคือเป็นส่วนประมวลผลสำหรับโซลูชันแบ็คอัพ และการแชร์ไฟล์ภายในบ้าน