เมื่อหลายปีก่อนเราอาจคุ้นเคยกับประโยคว่า สื่อกระดาษอย่างหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารควรปรับตัวด้วยการขายเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-newspaper หรือ e-magazine แทน แต่วันนี้ประโยคนี้อาจไม่เป็นจริงอีกแล้ว
Amazon ประกาศยุติบริการ Amazon Newsstand ที่ให้สมัครสมาชิกรับ e-newspaper และ e-magazine บนเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle (บริการนี้ยังรวมถึงการสมัครฉบับกระดาษส่งถึงบ้าน โดยจ่ายเงินผ่านระบบของ Amazon ได้ด้วยหากต้องการ)
Google News แอปอ่านข่าวของกูเกิล ส่งอีเมลไปยังลูกค้าที่จ่ายเงินเพื่อบอกรับนิตยสารเวอร์ชันดิจิทัล ว่า Google News จะหยุดให้บริการส่วนดังกล่าว โดยจะคืนเงินส่วนที่เหลือให้กับลูกค้า ขณะที่นิตยสารที่เคยซื้อไปแล้ว ยังอ่านต่อไปได้ตามปกติ
ประกาศนี้ของกูเกิลทำให้เห็นทิศทางน่าสนใจของนิตยสารฉบับพิมพ์ ที่เปลี่ยนมาเพิ่มเวอร์ชันดิจิทัลโดยมีเนื้อหาเหมือนกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเข้ามาของแท็บเล็ตที่มี iPad เป็นหัวหอก
กูเกิลเข้ามาในตลาดบริการอ่านนิตยสารตั้งแต่ปี 2012 ในชื่อ Google Play Magazines จากนั้นเปลี่ยนมาเป็น Google Play Newsstand และรวมเป็น Google News
แอปเปิลประกาศเข้าซื้อกิจการแอพอ่านนิตยสารดิจิทัล Texture โดยไม่เปิดเผยมูลค่าดีล ซึ่ง Texture เป็นแอพอ่านนิตยสาร โดยสมาชิกจ่ายค่าบริการรายเดือน 9.99 ดอลลาร์ และสามารถอ่านนิตยสารได้ไม่จำกัด ที่มีอยู่มากกว่า 200 หัว
Eddy Cue รองประธานอาวุโสฝ่ายซอฟต์แวร์และบริการอินเทอร์เน็ต กล่าวว่าเขารู้สึกตื่นเต้นที่ Texture จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแอปเปิล เนื่องจากแอปเปิลต้องการสนับสนุนเนื้อหาที่เชื่อถือได้ มีคุณภาพ ออกแบบสวยงาม
Texture เปิดตัวในปี 2010 โดยใช้รูปแบบสมัครสมาชิกและอ่านนิตยสารได้ไม่จำกัด เคยได้รับการคัดเลือกจากทีม App Store ให้เป็นแอพแนะนำในปี 2016
หลังจากอยู่กับแอพมานาน วันนี้ Flipboard แอพอ่านข่าวสไตล์นิตยสารก็เปิดตัวเวอร์ชันเว็บไซต์อย่างเป็นทางการแล้วที่ Flipboard.com
ในการเปิดตัว Flipboard เวอร์ชันเว็บไซต์ครั้งนี้ Mike McCue ซีอีโอของบริษัทออกมาพูดถึง Flipboard เวอร์ชันเว็บไซต์ว่าเป็นจุดหมายเดิมที่ตั้งใจจะไป แต่เทคโนโลยีของเบราว์เซอร์ในตอนนั้นยังไม่พร้อมสำหรับอินเทอร์เฟซของ Flipboard ประกอบกับข่าวลือของแท็บเล็ตในช่วงนั้นทำให้ Flipboard เปิดตัวมาบน iPad เสียก่อนในปี 2010 ล่วงเลยมาสี่ปีเศษ ในที่สุด Flipboard ก็พร้อมสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์เสียที
บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแม่ของร้านหนังสือบีทูเอส (B2S) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บีทูเอสได้ซื้อเข้าหุ้นของบริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด คิดเป็นสัดส่วน 75% มูลค่า 52.5 ล้านบาท
เมพ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มอีบุ๊กภายใต้แบรนด์ MEB (mobile e-books) ซึ่งมีให้บริการทั้งบน iPhone, iPad, Android, Windows Phone และ Windows
บีทูเอสคาดหวังว่าการทำดีลนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ B2S ในอุตสาหกรรมอีบุ๊กได้ดีมากยิ่งขึ้น
บริษัท transcosmos จากประเทศญี่ปุ่นประกาศเข้าถือหุ้นใน Ookbee แพลตฟอร์มอีบุ๊กและนิตยสารออนไลน์ของไทยเป็นจำนวนอย่างน้อย 10% โดย transcosmos คาดหวังว่าจะนำระบบดูแลอีคอมเมิร์ซที่ตนมีความถนัด เข้ามาผสานกับ Ookbee เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มด้านอีคอมเมิร์ซที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น
Flipboard แอพสำหรับอ่านข่าวในมือถือ เปิดตัวเวอร์ชันเว็บบราวเซอร์แล้ว โดยในเวอร์ชันนี้รองรับ HTML5 สามารถเปิดอ่านข่าวได้โดยการพลิกหน้าหนังสือเหมือนในเวอร์ชันของ iOS หรือ Android โดยหลังจากการเปิดตัว Flipboard เวอร์ชัน 2 ไปเมื่อเดือนมีนาคม ปัจจุบันมีผู้ใช้งานสร้างแมกกาซีนของตัวเองไว้อ่านมากถึง 2 ล้านคนแล้ว
Flipboard เวอร์ชันเว็บนี้รองรับเบราว์เซอร์ชั้นนำเช่น IE9 ขึ้นไป, Safari, Chrome และ Firefox รองรับภาษาต่างๆ 11 ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่น, จีน, ฝรั่งเศสและเยอรมัน และเช่นเดิมครับ "ไม่มีภาษาไทย"
ทีมงานของ The Next Web ได้เปิดเผยว่าทีมงานจะยุติการผลิตนิตยสารพิเศษเฉพาะบนแท็บเล็ตรายเดือนที่ชื่อ TNW Magazine บนระบบปฏิบัติการ Android นับตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคมเป็นต้นไป ด้วยเหตุผลว่าไม่คุ้มแรงที่ลงทุน
ยักษ์ใหญ่ของแพลตฟอร์มนิตยสารออนไลน์ของไทย และอินโดนีเซียอย่าง Ookbee และ SCOOP ประกาศร่วมมือกันเพื่อรุกคืบตลาดอีบุ๊กในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากความร่วมมือในครั้งนี้ทั้ง Ookbee และ SCOOP จะมีนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ในร้านค้าเพิ่มขึ้นเป็น 600 เล่ม และใช้ต่อรองกับสำนักพิมพ์รายใหญ่ได้มากขึ้น
ก่อนหน้านี้เอง Ookbee ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง AIS, B2S และเพิ่งได้เงินลงทุนจากชินคอร์ปราว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วย
ที่มา - Tech In Asia
Chad Hurley และ Steve Chen สองผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง YouTube ที่ปัจจุบันลาออกมาเปิดบริษัทชื่อว่า AVOS (ผลงานที่เห็นแล้วคือซื้อ Delicious)
ล่าสุดมีโปรเจคใหม่จาก AVOS มาอีกครั้งในชื่อของ Zeen แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนทั่วไปสามารถค้นหา และสร้างแมกกาซีนในรูปแบบดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของ Zeen ออกมาเลยนอกจากหน้าเว็บที่เปิดให้จองชื่อของตัวเอง (จะเป็น www.zeen.com/username) ซึ่งจะต้องเลือกผูกชื่อเข้ากับอีเมล์ หรือผูกกับโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง Twitter และ Facebook
หนึ่งในสองค่ายการ์ตูนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Marvel เผยแผนใหม่สำหรับผู้ที่ซื้อหนังสือการ์ตูนในเครือ Marvel ที่ราคา 3.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะได้โค้ดสำหรับดาวน์โหลดเล่มเดียวกันได้ฟรีในเวอร์ชันดิจิทัลผ่านแอพบน iOS และแอนดรอยด์ด้วย
ก่อนหน้านี้ Marvel เองเคยทำแบบเดียวกับหนังสือการ์ตูนรายเดือนในเครืออย่าง Ultimate Comics ที่จะมีโค้ดให้ดาวน์โหลดรุ่นดิจิทัลได้ เมื่อปี 2011 จนมาสู่แผนล่าสุดที่จะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนปี 2012 นี่เอง
ที่มา - Marvel
พวกเก็บสะสมการ์ตูนคงชอบแผนนี้น่าดู
เพิ่งเปิดตัว Google Play ไปได้เดี๋ยวเดียว ก็มีมือดีไปเจอเพจที่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ และน่าจะเป็นสองคอนเทนต์ใหม่ Google Play Store นั่นเอง
เรื่องราวเริ่มต้นที่เว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับกูเกิล Google Operation System ได้ไปค้นเจอหน้า Audio books ตามด้วยอีกหน้าหนึ่งคือ Magazine and journals ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ยังไม่เคยมีในสารบบของกูเกิลมาก่อน
ถ้าถามถึงค่ายเกมขวัญใจคนแถวนี้ หนึ่งในคำตอบยอดฮิตคงเป็น Square Enix เจ้าของเกมดังมากมาย ช่วงหลัง Square Enix ขยายตัวเองจากเกมสายญี่ปุ่น มาเป็นเจ้าของค่ายเกมฝรั่งอย่าง Eidos ด้วย ทำให้ Square Enix มีเกมดังสายฝรั่งเพิ่มมาอีกมาก เช่น Tomb Raider และ Championship Manager
ล่าสุด Square Enix เปิดนิตยสารดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ข่าวเกมของตัวเอง มีข่าวเกมใหม่ๆ อย่าง Tomb Raider, Deus Ex: Human Revolution, FINAL FANTASY XIII-2 และบทสัมภาษณ์ผู้สร้าง FINAL FANTASY XIV ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษและดาวน์โหลดได้ฟรี (มีทั้งฉบับ Flash และ PDF)
ใครที่เป็นแฟนค่ายนี้ก็สมควรตามไปโหลดมาอ่านกันถ้วนหน้า
เราเห็นนิตยสารที่ทำขึ้นมาสำหรับ iPad โดยเฉพาะอย่าง The Daily กันไปแล้ว คราวนี้มาดูนิตยสารสำหรับเด็กกันบ้าง
Timbuktu เป็นนิตยสารสำหรับเด็กที่บอกว่าเป็น "รายแรก" บน iPad แนวทางของนิตยสารก็ใช้ความสามารถด้านอินเทอร์แอคทีฟของ iPad อย่างเต็มที่
ตัวเทคโนโลยีของนิตยสารเขียนขึ้นด้วย HTML5 เป็นหลัก โดยสำนักพิมพ์ของ Timbuktu มาจากประเทศอิตาลี (แต่นิตยสารเป็นภาษาอังกฤษนะครับ)
ฟังดูไม่ค่อยเป็นแนวกูเกิลเท่าไร แต่ก็เป็นไปแล้ว Think Quarterly เป็นนิตยสารออนไลน์รายไตรมาส จัดทำโดยพนักงานของกูเกิลในอังกฤษและไอร์แลนด์ ร่วมกับเอเยนซี่ภายนอกบริษัทชื่อ The Church of London
กูเกิลอธิบายว่า Think Quarterly เป็นเสมือน "พื้นที่สำหรับสะท้อนความคิด" (a breathing space in a busy world) ว่ากูเกิลกำลังทำอะไรอยู่ และอะไรเป็นสิ่งสำคัญของกูเกิลบ้าง ในฉบับแรกเน้นเรื่อง "ข้อมูล" หรือ "Data" ในมุมของกูเกิล มีบทสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจหลายคน เช่น Hans Rosling ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงผลข้อมูล, ซีอีโอของ Vodafone UK ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดการทราฟฟิก, Hal Varian หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกูเกิล
The Daily นิตยสารดิจิทัลบน iPad ของบริษัท News Corporation จะเริ่มเก็บเงินในสัปดาห์หน้า หลังจากทดลองให้บริการฟรีมาระยะหนึ่ง
The Daily จะคิดราคาค่าสมาชิกสัปดาห์ละ 0.99 ดอลลาร์ ถ้าเสียค่าสมาชิกเป็นรายปีจะลดเหลือ 39.99 ดอลลาร์ นอกจากนี้ทาง News Corporation ยังเตรียมจะเปิด The Daily ฉบับยุโรปภายในปีนี้
ที่มา - App Advice
News Corporation เครือธุรกิจสื่อขนาดใหญ่ เจ้าของนิตยสารชื่อดังหลายฉบับ ประกาศยอดสมาชิกหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal เวอร์ชันแท็บเล็ตและเครื่องอ่านอีบุ๊กทุกชนิดรวมกัน ตอนนี้แตะหลัก 200,000 รายแล้ว (นับเฉพาะสมาชิกที่เสียเงิน 3.99 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ และนับถึงสิ้นปี 2010)
ยอดสมาชิกของ Wall Street Journal รุ่นแท็บเล็ตและอีบุ๊กเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวในปี 2010 แม้ตัวเลขนี้ยังห่างไกลกับยอดสมาชิกหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษ 1.6 ล้านราย แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่านิตยสาร-หนังสือพิมพ์ฉบับดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก
ที่มา - Reuters
ยาฮูร่วมกระแสแมกกาซีนดิจิทัลบนแท็บเล็ต โชว์โปรแกรม "Livestand from Yahoo!" สำหรับอ่านเนื้อหาจากสำนักพิมพ์หลายเจ้า รวมถึงเนื้อหาจากยาฮูเอง (ตามข่าวบอกว่า Yahoo! Sports, Yahoo! News, Yahoo! Finance, Flickr, omg!)
ยาฮูบอกว่า Livestand จะเลือกเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของผู้อ่าน รวมถึงเวลาและสถานที่อ่าน มีอินเทอร์เฟซที่สวยงามเหมาะกับจอสัมผัส ตอนนี้ Livestand ยังมีแต่ภาพและคำโฆษณา (เข้าไปดูได้ที่ Livestand from Yahoo!) เท่าที่ดูจากภาพที่ออกมาก็คล้ายๆ แมกกาซีนบนแท็บเล็ตจากค่ายอื่น แต่มีหมวดหมู่ของเนื้อหาให้เลือกจำนวนหนึ่ง
Livestand จะออกบน iPad และ Android ภายในครึ่งแรกของปีนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมจะแถลงใน Mobile World Congress ครับ
ข่าวนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับ ยอดขายนิตยสารดิจิทัลใน iPad ลดลง ควรอ่านข่าวเก่าประกอบ
หนังสือพิมพ์ The New York Times มีรายงานว่าเครือสิ่งพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐหลายราย ซึ่งทำแอพนิตยสารลง iPad กันถ้วนหน้า ยังไม่พอใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่นัก
เหตุผลสำคัญก็คือ "แอปเปิลควบคุมมากเกินไป" และแอปเปิลยังไม่ยอมเปิดบริการที่สำคัญ 2 อย่าง ได้แก่
นิตยสาร The Daily ของเครือ News Corporation (ข่าวเก่า) ซึ่งมีข่าวล่าสุดว่าจะเปิดตัว 19 ม.ค. นี้ อาจจะต้องเลื่อนอีกรอบ หลังจากระบบการสมัครสมาชิกของแอปเปิลยังไม่เรียบร้อยดี
ส่วนเว็บไซต์ของ The Daily มีคนไปแกะโค้ดใน CSS และได้ภาพโปรโมทของนิตยสารออกมานิดหน่อย
ที่มา - AllThingsD, Poynter
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่ากูเกิลกำลังเจรจากับสำนักพิมพ์หลายแห่ง เพื่อชวนมาขายนิตยสารดิจิทัลบน Android
แพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า "Digital Newsstand" ซึ่งกูเกิลจะจูงใจสำนักพิมพ์โดยหักค่าหัวคิวน้อยกว่าแอปเปิลที่หัก 30% นอกจากนี้ยังจะเปิดเผยข้อมูลผู้ซื้อนิตยสารแก่สำนักพิมพ์เจ้าของเนื้อหา ซึ่งเป็นสิ่งที่แอปเปิลไม่ยอมให้สำนักพิมพ์รู้
ส่วนแอปเปิลเองก็มีข่าวว่าจะยอมให้ผู้อ่านสมัครสมาชิก (subscribe) นิตยสารดิจิทัลได้แล้ว จากเดิมที่ต้องซื้อแยกเป็นฉบับๆ ไป ตลาดนี้ยังมีผู้เล่นรายอื่นอย่าง Amazon และ Barnes & Noble อีกด้วย
อุปกรณ์ใหม่ๆ อย่าง iPad เป็นความหวังของสำนักพิมพ์ว่าจะมาช่วยชี้ทางรอดให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ได้ และเมื่อครั้งที่นิตยสาร Wired เปิดตัวเวอร์ชัน iPad สามารถทำยอดขายได้สูงถึง 100,000 เล่ม แต่ตอนนี้สถิติกลับระบุว่านิตยสารที่เปิดตัวเวอร์ชัน iPad ในช่วงกลางๆ ปี เริ่มมียอดขายต่อเล่มลดลง
ตัวเลขยอดขายของนิตยสารต่างๆ ได้แก่
จากข่าว Richard Branson จะทำนิตยสารบน iPad เหมือนกัน วันนี้มันมาแล้วครับ
นิตยสารดิจิทัลฉบับนี้มีชื่อว่า "Project" (ลิงก์ใน iTunes Store) ออกเป็นรายเดือน คิดราคาฉบับละ 2.99 ดอลลาร์ หัวข้อที่สนใจคือ Design, Entertainment, Technology Entrepreneurs เว็บไซต์ paidContent วิจารณ์ว่ายังใช้ยาก และออกแบบมาสำหรับกระดาษมากกว่า iPad
Branson พูดถึงการแข่งขันกับ The Daily นิตยสารของ News Corp ว่าจริงๆ แล้วไม่ได้แข่งกันโดยตรง แต่เป็นการบุกไปยังโลกอนาคตของสิ่งพิมพ์ด้วยกัน ถ้าจะแข่งคงเป็นเรื่องคุณภาพมากกว่า