ข่าวเทคนิคที่น่าสนใจในช่วงไม่นานนี้คือ Cloudflare, Chrome, Firefox ร่วมมือกันรองรับ HTTP/3 หรือที่เราเคยรู้จักกันในชื่อ QUIC ที่กูเกิลเคยเสนอมาตั้งแต่ปี 2015
หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว HTTP/1, HTTP/2 (หรือ SPDY) และ HTTP/3 (QUIC) แตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยี HTTP ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ครับ
โพรโทคอล HTTP/2 ออกเป็นมาตรฐานของ IETF ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีนี้ ตอนนี้ก็เริ่มได้เวลาที่หน่วยงานหลายแห่งจะเริ่มรองรับ HTTP/2 กันแล้ว
บริษัท CloudFlare ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ของโลก ประกาศว่าลูกค้าของตัวเอง (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน) สามารถใช้ HTTP/2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม เพราะ CloudFlare เปิดให้ใช้งานเป็นค่าดีฟอลต์ ส่วนลูกค้าแบบองค์กรสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดใช้งานหรือไม่
โพรโทคอล HTTP 1.1 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถูกใช้งานกันมาตั้งแต่ปี 1999 และยังไม่เคยปรับปรุงอีกเลย ส่งผลให้มันมีข้อจำกัดทางเทคนิคหลายจุดที่เริ่มล้าสมัย ในขณะที่กระบวนการออกมาตรฐาน HTTP รุ่นใหม่ก็ล่าช้าและใช้เวลานาน
กูเกิลเป็นบริษัทที่พยายามผลักดันการปรับปรุงมาตรฐาน HTTP โดยใช้วิธีทั้งเข้าร่วมกระบวนการออกมาตรฐาน แต่ในอีกทางก็พัฒนาสเปกส่วนขยายของตัวเองในชื่อ SPDY เพื่อเสนอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานด้วย ตอนแรกการรองรับ SPDY เริ่มจากเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเองและ Chrome แต่ภายหลังก็มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเริ่มรองรับ SPDY มากขึ้น
หลังจากไมโครซอฟท์กล่าวว่า Internet Explorer 11 รองรับ WebGL แล้ว แหล่งข่าวจาก Within Windows กล่าวว่า Internet Explorer 11 ที่อยู่ใน Windows Blue นั้น รองรับ SPDY ซึ่งเป็นโพรโตคอลลดความล่าช้าในการส่งข้อมูลต่างๆ
หมายเหตุ: ข่าวนี้ ไม่ใช่ April Fools Day และมีหลักฐานที่ช่วยยืนยันว่า Internet Explorer 11 รองรับ SPDY จริง คือ Registry ของ Windows Blue มีข้อความว่า
Windows Registry Editor Version 5.00
[HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Internet Settings
"EnableSpdy"=dword:00000001
"EnableSpdyDebug"=dword:00000001
นักวิจัยด้านความปลอดภัยสองคน คือ Juliano Rizzo และ Thai Duong กำลังเตรียมนำเสนองานวิจัยด้านความปลอดภัยของ TLS ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า CRIME ในงาน ekoparty วันที่ 21 ที่จะถึงนี้ แต่ระหว่างนี้ก็เริ่มมีการตรวจสอบว่าบั๊กความปลอดภัยนี้ได้รับการแก้ไขในเบราว์เซอร์ใดไปแล้ว และมีการรายงานออกมาว่ามันทำงานอย่างไร
SPDY เป็นโพรโตคอลที่กูเกิลออกแบบมาเพื่อเร่งความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังเบราว์เซอร์ ปัจจุบันนอกจากเว็บของกูเกิลเองแล้ว ก็เริ่มมีเว็บอื่นหันมาใช้ SPDY มากขึ้น (เช่น Twitter) ล่าสุดทาง Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง Wordpress.com ได้ออกมาประกาศว่าเริ่มใช้งาน SPDY แล้วเหมือนกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือทางซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ซึ่ง Wordpress.com นั้นใช้งาน nginx เป็นตัวหลักในการให้บริการอยู่ และเป็นสปอนเซอร์ให้นักพัฒนาของ nginx พัฒนาโมดูลสำหรับ SPDY นี้ขึ้น
ถ้าใครที่ใช้ nginx อยู่แล้ว อยากเปิดใช้งาน SPDY ด้วย ตอนนี้ต้องโหลดแพตช์มาคอมไพล์เองไปก่อน (ใช้กับ nginx เวอร์ชัน 1.3.x)
Mozilla ออก Firefox 13 Beta มีของใหม่ที่สำคัญดังนี้
ที่มา - Future of Firefox
โพรโตคอล SPDY นั้นถูกออกแบบมาโดยกูเกิลเพื่อเร่งความเร็วในการส่งข้อมูลแบบพุชไปยังเบราว์เซอร์จำนวนมากๆ ที่ผ่านมามักถูกใช้งานในเว็บของกูเกิลเป็นหลักเช่น Gmail โดยตัวกูเกิลเองก็พยายามอย่างหนักที่จะใส่มันเข้าไปในมาตรฐาน HTTP 2.0 และวันนี้เว็บทวิตเตอร์ก็ออกมาประกาศว่ารองรับมาตรฐานนี้แล้วใน Twitter API
โพรโตคอล SPDY นั้นออกแบบมาให้เบราว์เซอร์เชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้เร็วขึ้น ตัวอย่างการใช้งานที่เราเห็นเช่น Google Instant Search ที่แสดงผลลัพธ์ทันทีที่พิมพ์คำค้นหาที่ทำได้เร็วอย่างนั้นเพราะมีเบื้องหลังเป็น SPDY นั่นเอง การที่ทวิตเตอร์จะรองรับโพรโตคอลนี้เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลใหม่ๆ ไปยังผู้ใช้ได้เร็วขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
ในแง่ของการเมือง การที่เว็บขนาดใหญ่นอกกูเกิลรองรับโพรโตคอลนี้มากขึ้น คงจะทำให้การสนับสนุนให้เข้าเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมทำได้ง่ายขึ้น
ที่มา - Webmonkey
หลายคนคงคุ้นกับข่าวก่อนหน้านี้ว่ากูเกิลพยายามพัฒนาโพรโตคอล TCP ให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งๆ ขึ้น โดยลด latency ระหว่างเครื่องของเรากับเซิร์ฟเวอร์ลง (วิธีการคือเพิ่มจำนวนแพ็กเก็ตที่สามารถส่งได้ต่อการยืนยัน acknowledge หนึ่งครั้ง และลดระยะเวลา timeout ลง)
เมื่อเดือนพ.ย. ปี 2009 กูเกิลได้เสนอโพรโตคอล SPDY (อ่านเหมือน speedy) ขึ้นมาเพื่อใช้แทน HTTP โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดความล่าช้าในการส่งข้อมูล ถึงวันนี้ ผ่านไปเพียงปีกว่าๆ กูเกิลได้เริ่มนำ SPDY มาใช้งานจริงแล้ว