อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Xeon D เน้นสำหรับงานที่ต้องการการประมวลผลจำนวนมากในพื้นที่น้อยๆ, สตอเรจ, หรืองานเครือข่าย โดยตัวเปรียบเทียบของอินเทลก่อนหน้านี้คือ Atom Avoton ที่ออกมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์และแนวทางการใช้งานใกล้เคียงกัน
ช่วงเปิดตัวมีสองรุ่น คือ 4 คอร์ 8 เธรด แคช 6MB และ 8 คอร์ 16 เธรด แคช 12MB ตัวคอร์ดเป็น Broadwell ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร ทั้งสองรุ่นรองรับแรม DDR4 128GB แบบ ECC ส่วนของ I/O ความเร็วต่ำจะแยกอยู่บนซิลิกอนคนละแผ่นแต่บรรจุมาในชิปเดียวกัน ตัวชิปปล่อยความร้อนสูงสุด 45 วัตต์ โดย I/O ทั้งหมดได้แก่
เซิร์ฟเวอร์ ARM ยังคงมีความหวังที่จะกินตลาดเฉพาะทางในปีนี้ ตอนนี้ทางเดลล์ก็เตรียมตัวสำหรับตลาดนี้ด้วยการเปิดศูนย์ข้อมูลให้ลูกค้าเข้ามาทดสอบ โดยรวมมือกับบริษัท Applied Micro ผู้ผลิตชิป X-Gene ที่เป็น ARMv8
ศูนย์ข้อมูลที่เปิดให้ลูกค้าเข้าใช้งานนี้จะมีสองศูนย์ คือศูนย์ในเท็กซัส และกำลังติดตั้งในสิงคโปร์
ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก เดลล์ยังคงทำตลาด DCS 1300 ที่ใช้ชิป Atom C2000 Avoton ของอินเทล โดยมีเป้าหมายตลาดสตอเรจสำหรับการเก็บข้อมูลสำรอง (cold storage)
อินเทลเปิดตัว Atom รุ่นใหม่ C2000 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (มันคือ Avoton ตามข่าวเก่า)
สเปกคร่าวๆ คือจำนวนคอร์สูงสุด 8 คอร์, รองรับแรมสูงสุด 64GB, ผลิตที่ 22 นาโนเมตร, อัตราการใช้พลังงาน (TDP) 6-20 วัตต์, integrated Ethernet, มีให้เลือกทั้งหมด 13 รุ่นย่อย
อินเทลตั้งใจให้ Atom C2000 จับตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก เช่น dedicated hosting หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เน้นเพจแบบ static นอกจากนี้ยังอาจขยายไปยังตลาดใกล้เคียงอย่างอุปกรณ์เครือข่ายแบบง่ายๆ หรือสตอเรจที่เก็บแล้วแทบไม่ต้องเรียกข้อมูลอีกเลย (cold storage)
Atom สำหรับเซิร์ฟเวอร์รหัส Avoton นั้นเปิดเผยข้อมูลกันมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ยังไม่วางขายทั่วไปแต่ก็ระบุว่ามีสเปคว่าจะมีคอร์สูงสุด 8 คอร์ และรองรับแรม 64GB นอกจาก Avoton แล้วยังมีรุ่นย่อยใหม่คือ Rangeley ที่ออกแบบสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายโดยเฉพาะ
จนวันนี้อินเทลก็ยังไม่ระบุว่าจะเปิดตัว Avoton ได้จริงเมื่อไหร่ ขณะที่ ARMv8 กำลังเริ่มเปิดตัวกันเข้ามาเรื่อยๆ แต่ระบุเพียงว่าอินเทลส่งมอบตัวอย่างให้กับผู้ผลิตตั้งแต่เดือนเมษายนและตอนนี้มีจำนวนรุ่นที่กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบเซิร์ฟเวอร์ Atom รุ่นก่อนหน้านี้
ระหว่างที่ Avoton ยังไม่ขายอินเทลก็เปิดแผน Atom สำหรับเซิร์ฟเวอร์ว่าจะมีรุ่น 14nm ออกมาในปีหน้า
เพียงไม่กี่วันหลังการเปิดตัวซีพียูเดสก์ทอป อินเทลก็อัพเดรดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตามมาติดๆ ทันทีด้วย E3-1200 v3 (เลขตระกูลเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนเลขเวอร์ชั่น) ประเด็นสำคัญของการเปิดตัวครั้งนี้มีสองประเด็น คือ อัพเกรดแกนซีพียูไปใช้ Haswell และการเปิดสายการผลิตซีพียูกินไฟต่ำสำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์
ซีพียู E3-1220L สองคอร์ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 1.1GHz และปล่อยความร้อนเพียง 13 วัตต์ ซีพียูอีกหลายรุ่นมีกราฟิก P4600 และ P4700 สำหรับการใช้งานแบบเวิร์คสเตชั่นและการใช้งานในศูนย์ข้อมูลที่ต้องการกราฟิก
AMD เปิดตัว Opteron X-Series หน่วยประมวลผลซีรีส์ใหม่สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเริ่มมาแรง
Opteron X หรือรหัส "Kyoto" แบ่งเป็น 2 รุ่นย่อยคือ
หลังจาก HP ประกาศโครงการเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก Moonshot เมื่อปลายปี 2011 วันนี้บริษัทก็เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ พร้อมวางขายฮาร์ดแวร์รุ่นแรกแล้ว
เซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกใช้ชื่อว่า Moonshot 1500 ประกอบด้วยแร็คขนาด 4.3U ที่สามารถเสียบ "ตลับเซิร์ฟเวอร์ลูก" (server catridge) ได้ 45 ตัว โดยเซิร์ฟเวอร์ลูกหนึ่งตัวใช้หน่วยประมวลผล Intel Atom "Centerion" S1260 2.0GHz ดูอัลคอร์, ใส่แรมได้สูงสุด 8GB, ฮาร์ดดิสก์หรือ SSD หนึ่งตัว รองรับความจุสูงสุด 1TB, Ethernet 2 พอร์ต (สเปกละเอียด)
โครงการ Moonshot ของเอชพีเป็นโครงการเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่อัดแน่นอยู่ในตัวถังขนาด 4U โครงการนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2011 โดยชิปตัวแรกที่เปิดตัวคือชิป ARM จาก Calxeda แต่เมื่อเซิร์ฟเวอร์วางขายจริงกลับมีแต่ชิปจากอินเทลเท่านั้น
เซิร์ฟเวอร์ HP Moonshot 1500 เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 4.3U ภายในเป็นเซิร์ฟเวอร์ Atom S1260 (2 คอร์ 4 เธรด สัญญาณนาฬิกา 2.0 GHz) จำนวน 45 ชุดวางเรียงในแนวตั้ง แต่ละชุดสามารถใส่แรมได้ 8 GB และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5" ได้หนึ่งลูก ทั้งหมดติดตั้งบนระบบสื่อสารกลาง สามารถถอดมาซ่อมบำรุงได้ทีละชุดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง
ชุดเริ่มต้นสำหรับตัวถังและเซิร์ฟเวอร์ 45 ตัว อยู่ที่ 61,875 ดอลลาร์หรือประมาณ 1,800,000 บาท
อินเทลเริ่มเผยข้อมูลของ Atom รหัส "Avoton" ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ที่อยู่บนสถาปัตยกรรมใหม่ Silvermont ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมย่อยครั้งสำคัญของ Atom นับตั้งแต่ปี 2008
สถาปัตยกรรม Silvermont จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดอัตราการใช้พลังงานของ Atom อย่างก้าวกระโดด, รองรับการทำงานแบบ 64 บิต, มีคอนโทรลเลอร์ Ethernet ในตัว, รองรับ virtualization เป็นต้น
ชิป Atom ตัวแรกที่ใช้ Silvermont คือ "Avoton" ที่ใช้การผลิตระดับ 22 นาโนเมตร ชิปตัวนี้จะมาแทน Atom Centeron ที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน (ผลิตที่ 32 นาโนเมตร ออกปลายปี 2012) และเริ่มมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์บางรายนำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กกันแล้ว, เซิร์ฟเวอร์ Avoton จะเริ่มขายช่วงครึ่งหลังของปี 2013
โครงการ Moonshot ของเอชพีเป็นโครงการสร้างเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ที่ใช้ชิปประหยัดไฟ ก่อนหน้านี้เอชพีใช้งานทั้ง Calxeda EnergyCore และ Intel Atom ตอนนี้ทางเอชพีก็เปิดตัวคู่ค้ารายใหม่ คือ Texas Instrument (TI) แล้ว
TI เป็นผู้ผลิตชิป ARM มานาน อย่างที่เราได้ยินข่าวในช่วงหลังมักเป็นชิปสำหรับโทรศัพท์มือถือในตระกูล OMAP แต่ชิปที่เอชพีนำมาใช้เป็นตระกูล KeyStone II ที่ออกแบบมาสำหรับการประมวลผลในวงการการสื่อสาร โดยชิปที่ออกมาแล้วคือ K2H และ K2E เป็นชิป Cortex-A15 แบบสี่คอร์ ภายในติดหน่วยประมวลสัญญาณดิจิตอล C66x, ส่วนประมวลแพ็กเก็ต, และสวิตซ์อีเธอร์เน็ตมาในตัว
โครงการ Open Compute เป็นโครงการที่เริ่มจากเฟซบุ๊กเปิดพิมพ์เขียวของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองให้แก่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ปีนี้โครงการ Open Compute ก็สามารถรวบรวมผู้ผลิตทั้งหลายมารวมตัวออกบูตงานประชุมของตัวเองได้แล้ว
เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นชิป X-Gene โดยบริษัท Applied Micro ชิป ARMv8 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.5 GHz 8 คอร์ ผลิตที่เทคโนโลยี 40 นาโนเมตร รองรับแรมได้ 256 GB จะเริ่มส่งมอบภายในปีนี้ และภายในปลายปีนี้จะออกรุ่นที่สอง ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3 GHz และใช้กระบวนการผลิต 28 นาโนเมตร
อินเทลเปิดตัว Atom S1200 ชิป Atom สำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ประกาศไว้ตั้งแต่กลางปีว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้ ทำให้อินเทลมีชิปพลังงานต่ำสำหรับเซิร์ฟเวอร์ก่อนหน้า ARM เกินหนึ่งปี
Atom S1200 เป็นชิปแบบ SoC ที่ใส่ความสามารถระดับเซิร์ฟเวอร์มาครบถ้วน โดยเฉพาะหน่วยความจำแบบ ECC ที่ลูกค้าระดับองค์กรต้องการใช้งาน, Virtualization, และ PCI Express 2.0 x8 แต่ชิปรุ่นแรกยังจำกัดการรองรับแรมอยู่ที่ 8GB ต่อชิป
ชิปชุดแรกที่ออกมามีตั้งแต่สัญญาณนาฬิกา 1.6GHz ไปถึง 2.0GHz สเปคการปล่อยความร้อนตั้งแต่ 6 วัตต์ไปถึง 8.5 วัตต์ ด้วยสเปคนี้ทำให้สามารถจัดซีพียูเข้าไปในตู้แร็คได้ถึง 1,000 ชิปต่อตู้
ความหวังว่า ARMv8 จะบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ได้จริงจัง ชัดเจนหนักกว่าเดิมเมื่อเอเอ็มดีประกาศว่าจะผลิต Opteron รุ่นที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM หลังจากเอเอ็มดีบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วยสถาปัตยกรรม AMD64 (x86-64) อย่างเดียมาตลอดเกือบสิบปีจนทุกวันนี้
การแถลงข่าวนี้มี เรดแฮด, เดลล์, เฟซบุ๊ก, และอเมซอน ร่วมแถลงข่าวด้วยว่าสนใจจะใช้ซีพียู ARM สร้างความหวังว่าถึงเวลาที่สินค้าออกขาย เราอาจจะเห็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลใหญ่ๆ ของเฟซบุ๊กและอเมซอนใช้งานจริง ส่วนเรดแฮดนั้นท่าทีชัดเจนว่าสนับสนุน ARMv8
บริษัท SeaMicro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ความหนาแน่นสูง (high density) ที่ใส่ซีพียูจำนวนมากๆ เข้าไปในเคสขนาดสูงไม่กี่ U ได้ ออกเซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าสุดคือ SM15000 ซึ่งเป็นรุ่นแรกหลังถูกเอเอ็มดีซื้อกิจการ
SM15000 เป็นตู้ขนาด 10U สามารถใส่การ์ดประมวลผลได้ 64 ใบ โดยการ์ดมีขายสองรุ่น
ตัวการ์ดอินเทลและกล่อง SM15000 มีขายแล้ว แต่สำหรับการ์ด Opteron จะต้องรอเดือนพฤศจิกายนนี้
เซิร์ฟเวอร์ ARM ดูจะได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลัง อีกแนวทางที่เป็นไปได้คือการเอา ARM มาให้บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนในแบบเดียวกับ Amazon EC2 ล่าสุด TryStack บริการฟรีที่ดำเนินการโดย OpenStack ก็เปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์ ARM กันได้ฟรี ผ่าน OpenStack และ LXC แล้ว
ตัวเซิร์ฟเวอร์จริงที่นำมาใช้งานเป็น HP Redstone ในการใช้งานจริงมันก็คือเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์ตัวหนึ่งที่ให้เราเข้าไปใช้งานได้เท่านั้น ความแตกต่างคงเป็นพลังงานที่เซิร์ฟเวอร์ 4 คอร์นั้นกินพลังงานสูงสุดเพียง 5 วัตต์ และหากไม่ได้ประมวลผลหนักๆ จะกินพลังงานเพียง 0.5 วัตต์เท่านั้น
เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูขนาดเล็กจำนวนมากๆ กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง โครงการ Moonshot ของเอชพีนั้นแม้จะเปิดตัวไปก่อนโดยใช้ชิป ARM ในชื่อ Redstone และตอนนี้ก็ถึงเวลาของรุ่น Atom ที่ใช้ชื่อว่า Gemini
Atom Centerton นั้นมีข้อได้เปรียบที่เป็นสถาปัตยกรรม x86_64 ทำให้รองรับแรมได้มากกว่า 4GB และยังมีเทคโนโลยีที่เราใช้กันในเซิร์ฟเวอร์ เช่น VTx
แม้ว่า Gemini จะเปิดตัวมาพร้อมกับ Atom แต่ทางเอชพีระบุว่ากล่อง Gemini จะมีการ์ดที่ใส่ซีพียูของผู้ผลิตรายอื่นมาใส่ได้ด้วย
เครื่องทดสอบที่ห้องแลปของเอชพีจะเปิดให้ลูกค้าสามารถเข้าไปทดสอบได้เร็วๆ นี้ ส่วนการจำหน่ายจริงจะเริ่มประมาณปลายปี
ตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่กล่องตัวถังสามารถบรรจุเซิร์ฟเวอร์ภายในได้จำนวนมาก (microserver) นั้นกำลังได้รับความสนใจจากผู้ใช้จำนวนมาก เพราะแอพพลิเคชั่นหลายๆ อย่างในช่วงหลังเริ่มเหมาะกับเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราเห็นโครงการ Moonshot ของเอชพีที่ยังไม่มีขาย ตอนนี้ก็มาถึงตาของเดลล์ที่จะบุกตลาดนี้ด้วยเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล Copper บ้าง
Dell Copper C5000 (ไม่มีเลขรุ่นปรากฏในเว็บเดลล์ แต่ The Register อ้างชื่อนี้) เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 3U ภายในประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 48 ตัว แบ่งออกเป็นแผง (sled) จำนวน 12 แผง แต่ละแผงจะมีซีพียู, แรม, และฮาร์ดดิสก์ 4 ชุดแยกจากกัน
หลังจากปล่อยชิป Xeon รุ่นใหญ่ในซีรีส์ E5-2600 ไปได้ซักระยะแล้ว ก็ถึงคราวบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กด้วยการอัพเกรดชิปเดิมในรุ่น E3-1200 เป็น E3-1200v2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส Ivy Bridge แล้วด้วย โดยสเปคของ E3-1200v2 มีดังนี้
ตารางเปรียบเทียบรายละเอียดกับรุ่นก่อนหน้าอยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - The Register
ข่าวเอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro ที่ผลิตเซิร์ฟเวอร์แบบความหนาแน่นสูง (High Density) ทำให้นักข่าวสนใจกันว่าทำไมอินเทลจึงไม่ซื้อบริษัทนี้เสียก่อนที่เอเอ็มดีจะซื้อไป และอินเทลตอบว่าอินเทลไม่เคยสนใจในเทคโนโลยีของ SeaMicro ทั้งที่เคยได้รับข้อเสนอให้ซื้อไลเซนส์เทคโนโลยีหรือซื้อบริษัทมาก่อนแล้ว
เทคโนโลยีสำคัญของ SeaMicro คือชิปที่เรียกว่า Freedom Fabric ที่ใช้เชื่อมซีพียูจำนวนมากเข้าด้วยกันโดทำตัวเสมือนเป็นการ์ดเน็ตเวิร์ค และการออกแบบบอร์ดเฉพาะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ถูกตัดออกไปแทบหมด เหลือชิ้นส่วนหลักคือซีพียูและแรมเท่านั้น
บริษัท SeaMicro เป็นบริษัทที่ขายเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทาง คือบีบเครื่องให้เหลือขนาดเล็กๆ แล้วรวมเครื่องจำนวนมากๆ เข้าไว้ในตู้เดียวกัน เช่นที่เคยเป็นข่าวคือเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป Atom 256 ตัวในกล่อง 10U แต่ในเร็วๆ นี้เราคงได้เห็นสินค้าในตระกูลเอเอ็มดีมากขึ้น เมื่อทางเอเอ็มดีประกาศเข้าซื้อ SeaMicro ด้วยมูลค่า 334 ล้านดอลลาร์แล้ว
การซื้อจะแบ่งเป็นเงินสดมูลค่า 281 ล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือในตอนนี้สินค้าทั้งหมดของ SeaMicro ใช้ชิปในตระกูลอินเทลทั้งสิ้น ส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่จะใช้ชิป Opteron นั้นจะออกในครึ่งหลังของปีนี้
กระแสเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ยังคงเป็นกระแสที่เริ่มได้รับความสนใจจากแบรนด์หลักอย่าง Dell เมื่อมีการเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล Dell PowerEdge C ที่สามารถรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กได้ 12 เครื่องในตัวถังขนาด 3U
เครื่องที่เปิดตัวมาชุดแรกมีสองรุ่นคือ C5125 ที่ใช้ซีพียู AMD และ C5220 ที่ใช้ซีพียูอินเทล โดยเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะรองรับ UDIMMS 4 ช่อง, ฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5" 2 ลูกหรือ 2.5" 4 ลูก, และพอร์ตแลนกิกะบิต 2 พอร์ต, พร้อมกับระบบจัดการเครีื่องแบบ IPMI และ iKVM
ตระกูล C5000 เป็นรุ่นที่สามของ PowerEdge C โดยแนวคิดคือการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับซีพียูซ๊อกเก็ตเดียวและบีบขนาดให้เล็กที่สุด แล้วออกแบบตัวถังให้แชร์ระบบระบายความร้อนและระบบจ่ายพลังงานร่วมกัน
จากกระแสของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM ที่กำลังเติบโต และมีแนวโน้มจะเบียดมาตลาด Server มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการอย่าง Calxeda และ NVIDIA Denvor ที่นำจุดแข็งของ ARM เรื่องขนาดเล็กและการใช้พลังงานที่ต่ำกว่า x86 มาก มาพัฒนาเป็น CPU สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ตลาดเฉพาะนี้เรียกกันว่า Micro Server ซึ่งแม้จะยังมีส่วนแบ่งน้อยในปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่าในที่สุด Intel ก็กำลังจะลงมาเล่นตลาดนี้อีกคนแล้ว
บริษัทเซิร์ฟเวอร์เล็กๆ อย่าง SeaMicro กำลังอาศัยความสามารถในการรับแรมที่เพิ่มขึ้นของ Atom N570 ตัวใหม่ที่รับแรมได้ถึง 4GB จากเดิมจำกัดอยู่เพียง 2GB ทำให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์กว่าเดิม
เครื่อง SM10000-64 รองรับ Atom N570 จำนวน 256 ตัวแต่ละตัวสามารถใส่แรมได้ 4GB โดยภายในแบ่งเป็นการ์ดจำนวน 64 ใบแต่ละใบใส่ Atom ไว้ 4 ตัว ตัวบอร์ดมี Atom, แรม, และชิปเฉพาะของ SeaMicro เอง
ทาง SeaMicro ระบุว่าเครื่อง SM10000-64 ใช้พลังงานรวมน้อยกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปร้อยละ 75 ขณะที่สามารถติดตั้งได้ถึง 2048 คอร์ต่อตู้