The Register อ้างว่าได้เห็นเอกสารของมูลนิธิ Open Infrastructure Foundation (ชื่อใหม่ของ OpenStack Foundation หลังเปิดรับโครงการอื่นๆ ด้วย) ว่า GEICO บริษัทประกันภัยรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา (โลโก้รูปตุ๊กแกถ้าใครเคยเห็นโฆษณา) กำลังย้ายระบบไอทีของตัวเองจาก VMware มาเป็น OpenStack
เอกสารนี้อ้าง Tad Van Fleet ทีมงานด้านสถาปัตยกรรมระบบของ GEICO ว่าการย้ายจาก VMware มาเป็น OpenStack มีเหตุผลเพื่อไม่ต้องการผูกกับผู้ขายซอฟต์แวร์รายใด (vendor lock-in) เปิดให้บริษัทปรับแต่งระบบไอทีได้ตามต้องการ และเชื่อมกับเครื่องมือโอเพนซอร์สตัวอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในยุค VMware
OpenStack ออกรายงาน 2022 User Survey เผยว่าตอนนี้มีการใช้งาน OpenStack มากกว่า 40 ล้าน production cores เติบโตมากกว่า 60% เมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2021 และเพิ่มขึ้น 166% เมื่อเทียบกับปี 2020
รายละเอียดการดีพลอย พบว่ามากกว่าครึ่ง (56%) เป็นโครงการระดับ 100-10,000 คอร์ โดยมีโครงการขนาดใหญ่ระดับมากกว่า 1 ล้านคอร์ จากบริษัทใหญ่ อาทิ LINE, Workday, OVH ขณะที่บริษัทโทรคมนาคมจำนวนมากก็เลือกใช้ OpenStack เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
Mirantis บริษัทซอฟต์แวร์สายคลาวด์ เปิดตัว Mirantis Flow ชุดเครื่องมือจัดการแอปพลิเคชันบนคลาวด์ทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งฝั่ง Dev และ Ops รองรับเทคโนโลยีทั้งสาย OpenStack และ Kubernetes ในตัวเดียว
Mirantis Flow เป็นการรวมเอาเครื่องมือทั้งหมดในเครือ Mirantis ที่ทยอยพัฒนา-ซื้อกิจการมาในช่วงหลังเข้าไว้ด้วยกัน และผสานเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่น หวังเป็นเครื่องมือตัวเดียวสำหรับจัดการแอปพลิเคชันยุค Cloud Native อย่างในปัจจุบัน ลดภาระการดูแลเครื่องมือหลายๆ ตัวจากหลายค่ายลง
OpenStack โครงการโอเพ่นซอร์สพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ได้ออกเวอร์ชัน 18 โค้ดเนม Rocky แล้ว โดยในรุ่นนี้มีไฮไลต์สองอย่างคือเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานแบบโปรแกรมได้หรือ bare metal และ Fast Forward Upgrades
ไฮไลต์อย่างแรก คือ OpenStack Rocky ปรับปรุงความสามารถด้าน bare metal โครงสร้างพื้นฐานแบบโปรแกรมได้ เนื่องจากองค์กรบางแห่งต้องการดีพลอยคอนเทนเนอร์บน bare metal โดยตรงแทนที่จะดีพลอย VM เพื่อการใช้งานอย่างเช่น edge computing, network function virtualization (NFV) และ AI/machine learning โดยฟีเจอร์เหล่านี้อยู่ภายใต้โครงการ Ironic มีสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเข้ามา เช่น
OpenStack โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบโอเพ่นซอร์สได้แยกโครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม CI/CD (continuous integration and continuous delivery) ที่ชื่อว่า Zuul ออกมาเป็นโครงการอิสระอย่างเป็นทางการพร้อมกับการออกเวอร์ชัน 3
Zuul นั้นเป็นโครงการพัฒนาที่เน้นทำระบบการรวม, build และทดสอบการเปลี่ยนแปลงของโปรเจค โดยโครงการ Zuul นี้อยู่ภายใต้ OpenStack ซึ่งแม้ว่าจะแยกโครงการออกมาแล้วแต่ตัวโครงการจะยังอยู่ภายใต้การดูแลของ OpenStack Foundation เหมือนกับ Kata Containers ซึ่งเป็นโครงการที่เคยอยู่ภายใต้ OpenStack และแยกออกมาก่อนหน้านี้
OpenStack โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบโอเพ่นซอร์ส ได้เปิดตัวเวอร์ชันที่ 17 โค้ดเนม Queens แล้ว โดยมีฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง เน้นการรองรับเวิร์คโหลดงานประเภท machine learning และปรับปรุงการรองรับ Kubernetes เช่น
Tencent บริษัทแม่ของบริการ WeChat และ QQ ได้ประกาศเข้าร่วม OpenStack Foundation โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์คลาวด์แบบโอเพ่นซอร์ส โดยเป็นสมาชิกระดับ Gold Member
การเข้าเป็นสมาชิก OpenStack ของ Tencent นั้นไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันระบบไพรเวทคลาวด์ TStack ก็รันโดยใช้คลัสเตอร์ OpenStack ทั้งหมด 14 ตัว รวมทั้งหมด 6,000 โหนด ซึ่งระบบคลาวด์ของ Tencent นี้ใช้เพื่อสนับสนุนผู้ใช้บริการกว่าร้อยล้านคน
กูเกิลประกาศเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้ OpenStack Foundation ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คลาวด์โอเพนซอร์ส โดยให้เหตุผลว่าแนวโน้มของโลกไอทีองค์กร มุ่งไปที่คลาวด์แบบไฮบริด (รันคลาวด์ทั้งภายใน/ภายนอกองค์กร) และ OpenStack กำลังกลายเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานสำหรับองค์กรที่อยากสร้างคลาวด์ภายในบริษัท (on premise)
ซอฟต์แวร์กลุ่มเมฆ OpenStack เดินทางมาถึงเวอร์ชันที่สิบ (ออกทุกครึ่งปี) โดยรุ่นล่าสุดใช้เลขเวอร์ชัน 2014.2 แต่มักเรียกกันด้วยโค้ดเนมว่า "Juno" (ไล่ตามตัวอักษร รุ่นหน้าใช้ชื่อว่า "Kilo" ออกเมษายน 2015)
เนื่องจาก OpenStack ในปัจจุบันประกอบด้วยโครงการย่อยๆ มากมาย ฟีเจอร์ใหม่ใน Juno จึงมีเยอะมาก คัดมาเฉพาะที่สำคัญได้แก่
EMC เข้าซื้อบริษัท Cloudscaling ที่ทำกลุ่มเมฆ OpenStack ด้วยราคาไม่เปิดเผย (Bloomberg รายงานว่าน้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์)
โฆษกของ EMC ระบุเหตุผลของการซื้อว่านำมาเสริมทัพผลิตภัณฑ์ด้านกลุ่มเมฆของ EMC ให้หลากหลายมากขึ้น และช่วยให้ผลิตภัณฑ์ด้านสตอเรจที่เป็นธุรกิจหลักของ EMC ทำงานร่วมกับ OpenStack ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ยอดนิยมของวงการกลุ่มเมฆได้ดีกว่าเดิม
Cloudscaling ก่อตั้งในปี 2010 และเป็นผู้เล่นที่สำคัญรายหนึ่งในตลาด OpenStack ส่วน EMC เองก็เป็นสมาชิกของ OpenStack Foundation เช่นกัน (แม้จะไม่ถึงขนาดเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่แบบ HP, IBM, Red Hat ก็ตาม)
ข่าวการเปิดตัวของ VMware ที่งาน VMworld มีอีกชิ้นที่น่าสนใจจนน่าเอามาเขียนข่าวแยกจากตัวอื่นคือ VMware Integrated OpenStack ที่เปิดตัวรุ่นเบต้าในงาน โดยแกนหลักมันคือ OpenStack รุ่นที่ VMware นำมาดัดแปลงเองเพื่อให้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของ VMware ได้
องค์กรต่างๆ เริ่มนิยม OpenStack มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งองค์กรที่ใช้รุ่นโอเพนซอร์สและรุ่นการค้าจากบริษัทต่างๆ นับว่าเป็นภัยคุกคามต่อ VMware
VMware Integrated OpenStack จะเปิด API ของ OpenStack ให้แอพพลิเคชั่นสามารถเรียกใช้ได้ ขณะที่ตัว VM จะทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานของ VMware เช่น vSphere และ VMware NSX การจัดการอื่นๆ ยังคงจัดการได้ผ่านทางชุดซอฟต์แวร์จัดการ เช่น vCenter
บริษัท Canonical เปิดตัวฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ The Orange Box (ไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆ กับ Half-life) มันคือคลัสเตอร์ 10 ตัวในฮาร์ดแวร์กล่องเดียว สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ภายในติดตั้ง Ubuntu 14.04 LTS และระบบบริการจัดการคลาวด์ MAAS, Juju ของ Canonical เอง
ภายในกล่อง Orange Box ประกอบด้วยไมโครเซิร์ฟเวอร์ 10 ตัวที่ใช้ซีพียู Intel Core i5-3427U ควอดคอร์, แรม 16GB, SSD 128GB, Gigabit Ethernet นอกจากนี้เครื่องเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวในกล่องจะฝัง Centrino Advanced-N 6235 Wi-Fi Adapter (เสา Wi-Fi ถอดได้) และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2TB จาก Western Digital มาให้ด้วย
HP เปิดตัวแบรนด์ใหม่ HP Helion ที่จะใช้ทำตลาดโซลูชันด้านกลุ่มเมฆของบริษัททั้งหมดแบบครบวงจร โดยจะอยู่บนฐานของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส OpenStack และ Cloud Foundry
แนวคิดของ HP Helion คือ HP จะทำตัวเป็นผู้ให้บริการกลุ่มเมฆแบบครบวงจร ตั้งแต่ระดับเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ โครงสร้างพื้นฐาน ศูนย์ข้อมูล และบริการติดตั้ง ซ่อมบำรุง ฝึกอบรม ฯลฯ
Helion ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์และบริการ 4 อย่าง ดังนี้
วงการคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆตอนนี้ น่าจะพอเรียกได้ว่าโครงการโอเพนซอร์ส OpenStack กลายเป็นมาตรฐานกลายๆ (de facto) ไปเรียบร้อยแล้ว การพัฒนาซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆที่อยู่บน OpenStack API จึงได้เปรียบกว่าในแง่การย้ายงานข้ามผู้ให้บริการกลุ่มเมฆกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีระบบกลุ่มเมฆอีกไม่น้อยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อน OpenStack จะดัง และการพัฒนาระบบเหล่านี้ให้รองรับ OpenStack API เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรอีกมาก
บริษัทกลุ่มเมฆ SoftLayer (ที่เพิ่งถูก IBM ซื้อกิจการเมื่อปีที่แล้ว) เห็นโอกาสตรงนี้ จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Jumpgate ขึ้นมาเป็นมิดเดิลแวร์แปลง API ของกลุ่มเมฆเดิมให้กลายเป็น OpenStack API
Blognone รายงานข่าวของโครงการ Open Compute ศูนย์กลางการเปิดสเปกด้านฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์อยู่เรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมาเรามักเห็นแต่ข่าวบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ออกมาเปิดเผยสเปกของที่มีอยู่แล้วต่อสาธารณะ และยังไม่เห็นข่าวที่เกี่ยวกับการนำไปใช้เท่าไรนัก
ล่าสุดบริษัท IO ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบศูนย์ข้อมูล บุกเข้ามาทำฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เองภายใต้ชื่อโซลูชันว่า IO.Cloud
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ OpenStack ซอฟต์แวร์สร้างกลุ่มเมฆแบบโอเพนซอร์สที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง มีบริษัทใหญ่ๆ สนับสนุนมากมาย
อย่างไรก็ตาม OpenStack ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ย่อยๆ จำนวนมาก (ซอฟต์แวร์หลัก 7 ตัว และซอฟต์แวร์ย่อยๆ อีกเป็นสิบ - OpenStack Projects) ทำให้กระบวนการติดตั้งระบบ OpenStack ให้ทำงานได้จริงกลายเป็นเรื่องยุ่งยากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
สงครามชิงกลุ่มเมฆระหว่างซอฟต์แวร์ค่ายต่างๆ เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยค่าย OpenStack มีผู้สนับสนุนรายใหม่เป็นยักษ์ใหญ่อย่าง IBM
IBM ออกมาประกาศว่าบริการ private cloud ของตัวเองจะพัฒนาขึ้นบน OpenStack (ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เริ่มสร้างโดย NASA และ Rackspace) โดย IBM จะสนับสนุนมูลนิธิ OpenStack Foundation ในระดับสูงสุด (platinum member) และส่งนักพัฒนามากกว่า 500 คนเข้าร่วมพัฒนาโค้ด นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ด้านกลุ่มเมฆของ IBM ที่แปะตรา SmartCloud จะใช้มาตรฐานเปิดด้านกลุ่มเมฆที่มีในท้องตลาดด้วย
หลายคนอาจมองว่าการหนุน OpenStack ครั้งนี้คล้ายกับครั้งที่ IBM ประกาศตัวว่าจะสนับสนุนลินุกซ์ในอดีต จนเป็นผลให้ลินุกซ์ได้รับการยอมรับในตลาดองค์กรอย่างรวดเร็ว
เวลาผ่านมา 6 เดือนนับจาก OpenStack "Essex" ก็ถึงเวลาของ OpenStack รุ่นที่หก รหัสตัว F คือ "Folsom"
Folsom มีฟีเจอร์ใหม่ทั้งสิ้น 185 อย่าง (นับแบบแอปเปิล) ของใหม่ที่สำคัญคือส่วนประกอบชื่อ "Quantum" หรือ OpenStack Networking ถูกรวมเข้ามาในชุด ช่วยให้บริหารเครือข่ายเสมือนได้ง่ายขึ้น ทีมพัฒนาหลักของ Quantum คือบริษัท Nicira ที่เพิ่งถูก VMware ซื้อไปเมื่อเร็วๆ นี้
เมื่อเกือบปีที่แล้วเราเห็นข่าว Rackspace เดินหน้า เตรียมตั้ง OpenStack Foundation มาถึงวันนี้ OpenStack Foundation ถือกำเนิดขึ้นเรียบร้อย
OpenStack Foundation จะกลายเป็นองค์กรกลางที่ไม่หวังผลกำไร และไม่สังกัดบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ทำหน้าที่ดูแลโครงการโอเพนซอร์ส OpenStack ในลักษณะเดียวกับ Linux Foundation หรือ Apache Software Foundation
เซิร์ฟเวอร์ ARM ดูจะได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลัง อีกแนวทางที่เป็นไปได้คือการเอา ARM มาให้บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนในแบบเดียวกับ Amazon EC2 ล่าสุด TryStack บริการฟรีที่ดำเนินการโดย OpenStack ก็เปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์ ARM กันได้ฟรี ผ่าน OpenStack และ LXC แล้ว
ตัวเซิร์ฟเวอร์จริงที่นำมาใช้งานเป็น HP Redstone ในการใช้งานจริงมันก็คือเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์ตัวหนึ่งที่ให้เราเข้าไปใช้งานได้เท่านั้น ความแตกต่างคงเป็นพลังงานที่เซิร์ฟเวอร์ 4 คอร์นั้นกินพลังงานสูงสุดเพียง 5 วัตต์ และหากไม่ได้ประมวลผลหนักๆ จะกินพลังงานเพียง 0.5 วัตต์เท่านั้น
OpenStack เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆ (Infrastructure as a Service หรือ IaaS) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุด Rackspace ซึ่งเป็นหนึ่งในสองผู้ก่อตั้งโครงการ OpenStack (อีกรายคือ NASA) ประกาศเริ่มให้บริการเซิร์ฟเวอร์กลุ่มเมฆแบบ public cloud ที่สร้างขึ้นด้วย OpenStack แล้ว (ก่อนหน้านี้เป็นซอฟต์แวร์เฉพาะทางของ Rackspace เอง)
บริการของ Rackspace มีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า Rackspace Next Generation Public Cloud โดยมีส่วนประกอบหลายส่วนตามซอฟต์แวร์ใน OpenStack ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ "Cloud Servers" ซึ่งเทียบได้กับ Amazon EC2 เปิดให้บริการเชิง production เต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว
ซอฟต์แวร์กลุ่มเมฆยอดฮิตอย่าง OpenStack ออกรุ่นใหม่แล้ว โดยรุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า "Essex" (นับเป็นรุ่นที่ห้า วิธีการตั้งชื่อจะเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ออกทุก 6 เดือนแบบ Ubuntu)
OpenStack เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆ ที่เริ่มโดย Rackspace และ NASA เมื่อประมาณ 1 ปีก่อน (นำระบบกลุ่มเมฆของทั้งสององค์กรมารวมกัน - ข่าวเก่า) แต่ทำไปทำมาฮิตกว่าที่คาด มีผู้ร่วมสนับส
OpenStack คือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆแบบ IaaS (infrastructure as a service) ที่เกิดจากความร่วมมือของ 2 องค์กรคือ NASA และ Rackspace (ข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว) ซึ่งภายหลังได้ร