ไมโครซอฟท์ออกบัตรเครดิต Xbox Mastercard ร่วมกับธนาคาร Barclays US มีจุดเด่นคือการใช้จ่ายซื้อสินค้าในจักรวาล Microsoft Store ทั้งหมด (ทั้งเกม ไอเทม บริการออนไลน์ สินค้ากายภาพ) ได้แต้ม 5 เท่า และเลือกคัสตอมบัตรตามชื่อ gamertag ในระบบ Xbox ได้
บัตรเครดิตใบนี้ยังร่วมมือกับร้านค้าดิจิทัลอื่นๆ เช่น Netflix, Disney+ และบริการส่งอาหาร Grubhub, DoorDash ใช้งานแล้วได้แต้มเพิ่ม 3 เท่า บัตรไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี และผู้สมัครบัตรยังจะได้สิทธิ Game Pass Ultimate ฟรี 3 เดือนด้วย (ถ้าเป็นสมาชิก Game Pass อยู่แล้ว โอนสิทธิให้เพื่อนเป็นของขวัญได้)
ผลต่อเนื่องจาก รัฐบาลอังกฤษแบน Binance UK คือ Barclays ธนาคารใหญ่ของอังกฤษ แบนไม่ให้ลูกค้าของธนาคารโอนเงินไปยัง Binance แล้ว
Financial Times รายงานข่าวว่า Barclays แจ้งข้อมูลไปยังลูกค้าว่าขอหยุดโอนเงินไปยัง Binance ด้วยเหตุผลว่าปฏิบัติตามคำเตือนของ FCA (หน่วยงานกำกับดูแลการเงินที่แบน Binance) อย่างไรก็ตาม การถอนเงินจาก Binance กลับมายังบัญชีของลูกค้ายังทำได้อยู่
ธนาคารอื่นๆ ของอังกฤษยังไม่มีท่าทีชัดเจนต่อ Binance แต่บางธนาคาร เช่น Lloyds มีนโยบายไม่ให้บัตรเครดิตจ่ายเงินคริปโตอยู่แล้ว ส่วน NatWest บอกว่าบล็อคการจ่ายเงินไปยังบริษัทคริปโตบางแห่งที่พบการฉ้อโกง แต่ก็ไม่ระบุชื่อบริษัท
ความสะดวกอย่างหนึ่งของบริการสมัยใหม่อย่าง Uber หรือ Grab คือการที่ลูกค้าไม่ต้องมารอคิดเงินหลังจากรับบริการอีก แต่สามารถเดินออกจากรถไปได้ทันที Barclaycard ก็เริ่มทดสอบบริการ Dine & Dash ทำให้ลูกค้าสามารถเดินออกจากร้านอาหารได้ทันทีหลังทานเสร็จ
บริการนี้ที่โต๊ะจะมีแท่น Dine & Dash วางไว้ทุกโต๊ะ เมื่อนั่งโต๊ะแล้วลูกค้าต้องแตะโทรศัพท์กับแท่นเพื่อยืนยันก่อนจะสั่งอาหาร เมื่อลงทะเบียนแล้วแท่นจะเปลี่ยนสีแสดงว่าลูกค้าจะจ่ายเงินแบบลุกออกจากร้านได้เลย เมื่อทานเสร็จก็สามารถลุกออกจากร้านได้ทันที ร้านอาหารจะติดเงินและส่งใบเสร็จตามไปภายหลัง
ประโยชน์สำคัญสำหรับร้านอาหารคืออัตราการหมุนเวียนโต๊ะจะสูงขึ้นเพราะลูกค้าไม่ต้องเสียเวลารอคิดเงินอีกต่อไป
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1967 ธนาคาร Barclays ในอังกฤษเปิดบริการตู้เอทีเอ็มตู้แรกในโลกที่ธนาคารสาขา Enfield นับเป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการธนาคารโดยไม่ต้องใช้พนักงาน
ตู้เอทีเอ็มตู้แรกนี้ไม่ได้มีบัตรเอทีเอ็มเพื่อกดเงินแบบทุกวันนี้ แต่ต้องกดเงินจาก "เช็ค" ที่ออกแบบมาเฉพาะ มันถูกเสนอโดย John Shepherd-Barron ผู้จัดการบริษัทพิมพ์ธนบัตร De La Rue ที่รำคาญกับการที่ไม่สามารถขึ้นเงินจากเช็คได้ในวันเสาร์ Barclays ตกลงที่จะติดตั้งตู้เอทีเอ็มชุดแรก 6 ตู้ และต่อมาขยายเป็น 50 ตู้
จากเคยแนะนำขั้นตอนของการติดตั้งการใช้งานแอปพลิเคชั่นของธนาคาร Barclays ในประเทศอังกฤษเพื่อการทำธุรกรรมบนโทรศัพท์มือถือ ตัวแอปยังรองรับการจ่ายเงินผ่าน NFC บนโทรศัพท์มือถือสำหรับสินค้าและบริการค่อนข้างครบ บทความนี้จะแนะนำการจ่ายเงินผ่านเมนู contactless mobile ที่สามารถเข้าใช้งานได้จากแอปพลิเคชั่นดังกล่าว
ในช่วงที่ผ่านมาจากข่าวพ่อค้าถูกขโมยเงินทำให้เป็นที่กังวลเรื่องความปลอดภัยของการทำธุรกรรมออนไลน์ทั้งในส่วนของธนาคารผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเอง ในบทความนี้จะมาแนะนำการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของธนาคาร Barclays ในประเทศอังกฤษที่มีระบบการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีที่ต่างออกไป
ธนาคารมีวิธีในการยืนยันตัวบุคคลที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าของบัญชีในการเข้าใช้งาน เรียกว่า PINsentry เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นขออธิบายรายละเอียดในส่วนนี้ก่อนจะเริ่มการเข้าทำธุรกรรมจากบริการของธนาคาร
ธนาคาร Barclays ของอังกฤษประกาศรองรับการชำระเงินแบบ contactless บนแอนดรอยด์แล้วด้วยบริการ Contactless Mobile Service ผ่านแอพ Barclays Mobile Banking หลังจากที่เคยปฏิเสธแพลตฟอร์ม Android Pay ไปก่อนหน้านี้
การชำระเงินแบบ contactless ของ Barclays รองรับจำนวนเงินสูงสุด 100 ปอนด์ โดยหากจำนวนเงินอยู่ที่ระหว่าง 30-100 ปอนด์ ผู้ใช้จะต้องใส่รหัส PIN เพื่อยืนยันตัวตน แต่หากจำนวนเงินต่ำกว่า 30 ปอนด์ซึ่งเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำของการใช้จ่ายผ่านระบบ contactless เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกหักออกไปโดยไม่มีการยืนยันตนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของการปิดการใช้งานชิพ NFC ของแอปเปิล ทำให้ Barclays จำเป็นต้องรับรอง Apple Pay บนอุปกรณ์ของแอปเปิลไปในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
Barclays Wealth บริการธนาคารส่วนตัวของเครือธนาคาร Barclays ของอังกฤษ เริ่มเปลี่ยนวิธีตรวจสอบตัวตนลูกค้าทางโทรศัพท์ จากเดิมที่ใช้วิธีถามรหัสผ่าน-คำถามข้อมูลส่วนตัว มาเป็นการแยกแยะเสียงพูด (voice recognition) แทน
การตรวจสอบเสียง (voiceprint) ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีหลังลูกค้าพูดจบ และกรณีที่ระบบตรวจสอบเสียงผิดพลาด ลูกค้ายังสามารถยืนยันตัวตนด้วยวิธีเดิมได้
ระบบแยกแยะเสียงพูดของ Barclays มาจาก Nuance FreeSpeech ของบริษัท Nuance เจ้าพ่อซอฟต์แวร์ด้านเสียงนั่นเอง