Open Invention Network
Open Invention Network (OIN) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งในปี 2005 หลังคดีสิทธิบัตร SCO ฟ้องร้อง IBM ที่เริ่มในปี 2003 และลากยาวต่อมาอีกหลายปี
แนวทางของโลกโอเพนซอร์สที่ไม่ต้องการเห็นการฟ้องร้องแบบนั้นอีก คือการรวบรวมสิทธิบัตรจากหลายบริษัทเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นอาวุธในการฟ้องกลับ ยิ่งสิทธิบัตรมีจำนวนมากเท่าไร ก็เป็นการขู่ไม่ให้เกิดการฟ้องร้องได้มากขึ้นเท่านั้น องค์กรกลางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลคลังสิทธิบัตรนี้คือ OIN
ในอดีต บริษัทที่ OIN มองว่ามีโอกาสสูงที่จะฟ้องร้องคดีสิทธิบัตรต่อโลกโอเพนซอร์สคือ ไมโครซอฟท์ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมามาโดยตลอด แต่ไมโครซอฟท์ยุคใหม่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก แถมล่าสุดสมัครเป็นสมาชิก OIN และบริจาคสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองลินุกซ์แล้ว
Open Innovation Network (OIN) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากสมัยการฟ้องร้องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลินุกซ์ ทำให้บริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้งานโอเพนซอร์สพากันเอาสิทธิบัตรมากองรวมกันเพื่อให้สมาชิกหยิบสิทธิบัตรไปฟ้องกลับได้หากถูกฟ้องจากหน่วยงานอื่น ล่าสุด Keith Bergelt ซีอีโอของ OIN ออกมาแสดงความยินดีกับคดีสิทธิบัตรจาวาระหว่างกูเกิลและออราเคิล โดยระบุว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้พิพากษามีการตัดสินใจอย่างชัดเจนและมีการคิดวิเคราะห์อย่างมาก และการตัดสินเช่นนี้เป็นผลดีต่อชุมชน [โอเพนซอร์ส] โดยรวม
ทั้งกูเกิลและออราเคิลต่างก็เป็นสมาชิกของ OIN ทั้งคู่ แต่เนื่องจาก OIN ตั้งขึ้นมาเพื่อปกป้องการฟ้องสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเคอร์เนลลินุกซ์ เทคโนโลยีจาวาจึงไม่ครอบคลุมถึงข้อตกลงในการเข้าเป็นสมาชิกหน่วยงานนี้
เครือข่าย Open Invention Network (OIN) เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการฟ้องร้องสิทธิบัตรลินุกซ์ของ SCO เมื่อหลายปีก่อน โดยการเอาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับลินุกซ์จากทุกบริษัทมาเทกองรวมกัน แล้วให้สิทธิทุกบริษัทสมาชิกว่าหากถูกฟ้องเมื่อใด ให้สามารถหยิบสิทธิบัตรใดๆ ในเครือข่ายไปฟ้องกลับได้ เมื่อวานนี้ทางเครือข่ายก็ได้ประกาศสมาชิกเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยบริษัทที่เรารู้จักกันดีก็เช่น Facebook, HP, Symantec โดยรวมไตรมาสแรกของปี 2011 OIN มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 74 หน่วยงาน
Open Invention Network (OIN) เป็นแนวร่วมที่สร้างขึ้นมาหลังเกิดคดี IBM และ SCO ไม่นานนัก โดยมีแนวคิดคือให้บริษัทที่ถือครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับลินุกซ์มาร่วมกันเปิดให้สามารถนำสิทธิบัตรเหล่านี้ไปใช้งานได้ ตราบใดก็ตามที่ผู้ใช้ยังไม่อ้างสิทธิในสิทธิบัตรใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับลินุกซ์ โดยปัจจุบันมีหัวหอกคือ IBM, Red Hat, Novell, และบริษัทอื่นๆ
ล่าสุดกูเกิลก็ได้ลงนามในการเข้าใช้งานสิทธิบัตรของทาง OIN แล้ว นั่นหมายถึงกูเกิลไม่ใช้สิทธิบัตรของตนเพื่อฟ้องผู้ใช้หรือผู้ขายลินุกซ์รายอื่นๆ แต่อย่างใด โดยการที่กูเกิลเข้าร่วมลงนามนี้ทำให้ทาง OIN แข็งแกร่งขึ้นจากการได้พันธมัตรขนาดใหญ่นี้