Nutanix พาลูกค้ารายใหญ่ ที่ย้ายจาก VMware มายัง Nutanix AHV มาแสดงความเห็นในงาน Nutanix Next ถึงความสำเร็จในการย้ายระบบ โดยมีสองรายคือบริษัท Computershare ผู้ให้บริการจัดการหุ้น และ Boyd Gaming ธุรกิจโรงแรมและคาสิโนในสหรัฐฯ
Computershare เป็นบริษัทจัดการหุ้นในออสเตรเลีย Kevin O’Connor CTO ของบริษัทระบุว่าเคยพิจารณา Nutanix เพื่อลดต้นทุนมาก่อนแล้วแต่ก็ไม่ได้จริงจังนัก จนกระทั่งปีที่ผ่านมาพบว่าค่าไลเซนส์ระบบ VM กำลังเพิ่มขึ้น 10-15 เท่าตัวภายใน 12 เดือน จึงเริ่มการย้ายระบบ ทั้งหมด 24,000 VM แล้วพบว่าค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าเดิมเสียอีก
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า Nutanix บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับองค์กร อาจพิจารณาขายกิจการ หลังได้รับคำขอเสนอซื้อ ซึ่งรายงานบอกว่าให้ราคาที่สูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในด้านมูลค่ากิจการ Nutanix พบปัญหาคล้ายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ นั่นคือราคาหุ้นปรับเพิ่มสูงช่วงปี 2021 จากกระแสให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ในสถานการณ์โรคระบาด แต่ปัจจุบันราคาหุ้นปรับลดลงมากกว่า 33% ในปีนี้
ผู้ลงทุนรายสำคัญของ Nutanix ได้แก่ กองทุน Bain Capital นอกจากนี้ยังมีเฮดจ์ฟันด์ Legion ซึ่งน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เสนอให้ Nutanix ขายกิจการ
MinIO Inc. ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สตอเรจที่เปิด API แบบ AWS S3 แบบโอเพนซอร์ส เขียนบล็อกแสดงความไม่พอใจที่ Nutanix นำซอฟต์แวร์ MinIO Object Storage ไปใช้พัฒนา Nutanix Objects โดยไม่ให้เครดิตทาง MinIO ให้ครบถ้วน
Nutanix ออกโปรแกรม Nutanix Files เวอร์ชั่น 4.1 โดยตัวโปรแกรมนี้ใช้สำหรับให้บริการแชร์ไฟล์ผ่าน SMB หรือ NFS สำหรับองค์กรที่มีเซิร์ฟเวอร์สตอเรจของตัวเองอยู่แล้ว ความพิเศษของเวอร์ชั่นนี้คือมันรองรับการป้องกันมัลแวร์เข้ารหัสไฟล์ในตัว
Files อาศัยการจับพฤติกรรมการใช้งานสตอเรจ ตรวจสอบ metadata ว่าเป็นการเข้ารหัสไฟล์เดิมในสตอเรจหรือไม่ หากตรวจพบก็สามารถแจ้งผู้ดูแลระบบ หรือสามารถคอนฟิกให้บล็อคไคลเอนต์ที่น่าจะติดมัลแวร์ออกไปจากสตอเรจเลยก็ได้
ในงาน .NEXT ของ Nutanix เมื่อปีที่แล้วบริษัทประกาศบริการ Nutanix Clusters on Microsoft Azure ไว้โดยระบุว่าจะให้บริการปีนี้ ผ่านมาหนึ่งปีทางในงาน .NEXT ปีนี้ Nutanix ก็เปิดบริการแบบจำกัดแล้ว
คลัสเตอร์ที่อยู่บน Azure จะเชื่อมต่อผ่าน Flow Networking เข้าคลัสเตอร์ในศูนย์ข้อมูลเดิมได้ และจัดการผ่าน Prism เพื่อมอนิเตอร์การทำงานทุกคลัสเตอร์พร้อมกัน สามารถย้ายโหลดไปมาระหว่างคลัสเตอร์
ช่วงพรีวิววงจำกัดตอนนี้ยังไม่มีทั้งค่าไลเซนส์ Nutanix หรือค่าโครงสร้างของ Azure แต่หากบริการเข้าสู่สถานะ GA แล้วลูกค้าจะเลือกย้ายไลเซนส์มาใช้งานบน Azure หรือจะซื้อตามการใช้งานจริงบน Azure ก็ได้
Nutanix ประกาศอัพเดต AOS ซอฟต์แวร์จัดการโครงสร้างแบบ HCI ที่จัดการได้ทั้ง VMware ESXi, Hyper-V, และ AHV เป็นเวอร์ชั่น 6 ฟีเจอร์ใหม่ได้แก่
Red Hat ประกาศจับมือกับ Nutanix เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเสนอโซลูชั่นคู่กันแม้ว่าทั้งสองบริษัทจะมีโซลูชั่นทับกันอยู่บ้างก็ตาม
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Nutanix จะแนะนำให้ลูกค้าที่ต้องการใช้ Kubernetes บน Nutanix Cloud Platform (AOS และ AHV) ให้ใช้ Red Hat OpenShift และในทางกลับกัน Red Hat ก็จะแนะนำลูกค้าทั้ง Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift ให้ใช้โซลูชั่น hyperconverged ของ Nutanix
นอกจากการแนะนำลูกค้าข้ามกันแล้ว ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกัน โดยทดสอบซอฟต์แวร์ว่าทำงานร่วมกันได้ดี และฟีเจอร์ที่เพิ่มเติมในอนาคตก็จะปรับให้เข้ากับสินค้าของอีกฝ่ายมากขึ้น
ช่วงต้นเดือนนี้ Nutanix เพิ่งแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ Rajiv Ramaswami ที่ก่อนหน้านี้เป็นซีโอโอ (COO) ของ VMware
ล่าสุด VMware ประกาศยื่นฟ้องศาลว่า Rajiv Ramaswami ละเมิดสัญญาจ้างงานของบริษัท เพราะไม่ได้แจ้งต่อ VMware ว่าเจรจากับ Nutanix ระหว่างเขายังมีสภาพเป็นพนักงาน และรับตำแหน่งที่ Nutanix หลังลาออกจาก VMware เพียงสองวันเท่านั้น ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนในช่วงเวลานั้น
VMware ยังระบุว่าพยายามเจรจากับ Nutanix และ Ramaswami มาก่อนแล้วแต่ไม่เป็นผล จึงต้องยื่นฟ้องต่อศาล
ที่มา - VMware
Nutanix ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับสร้างคลาวด์ในองค์กรประกาศแต่งตั้ง Rajiv Ramaswami เป็นซีอีโอ หลังจาก Dheeraj Pandey ผู้ก่อตั้งบริษัทประกาศเกษียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ Rajiv Ramaswami เป็น COO ฝ่าย Products and Cloud Services โดยเขามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านโมเดลรายได้ของ VMware มาสู่โมเดล subscription การจ้างครั้งนี้นับว่าน่าสนใจเพราะ VMware และ Nutanix เป็นคู่แข่งกันโดยตรงมีสินค้าทับกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบสตอเรจ, ระบบจัดการ VM, และ Kubernetes ตัว Rajiv เองก็เขียนบล็อกในการรับตำแหน่งว่าขณะที่ทำงาน VMware เขามอง Nutanix ที่น่าเกรงขาม (formidable)
Nutanix จัดงาน .NEXT วันนี้พร้อมกับประกาศบริการชุดใหม่ โดยบริการสำคัญคือ Nutanix Clusters on Azure เปิดทางให้ลูกค้าสามารถใช้ Azure สำหรับขยายคลัสเตอร์ออกไป จากเดิมที่รองรับเฉพาะ AWS ทำให้ลูกค้า Nutanix สามารถย้ายโหลดไปยังคลาวด์ที่ต้องการ ทั้งกรณีต้องการขยายระบบชั่วคราว, ย้ายระบบถาวร, หรือใช้คลาวด์เป็นศูนย์ข้อมูลสำรอง
สำหรับลูกค้าที่ใช้ Azure อยู่แล้ว ทาง Nutanix ระบุว่าการใช้งาน Nutanix Clusters on Azure จะนับเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการใช้งาน Microsoft Azure Consumption Commitment (MACC)
Nutanix ประกาศความร่วมมือกับ AWS ให้บริการ Nutanix Clusters บน AWS เปิดทางให้องค์กรที่ใช้งานอยู่แล้วสามารถย้ายโหลดขึ้นไปยังคลาวด์ได้ โดยรองรับงานทั้งการให้บริการ Virtual Desktop และงานที่ต้องการ I/O สูงๆ
Nutanix Clusters ใช้เซิร์ฟเวอร์แบบ bare metal บน AWS (รองรับ m5d.metal, i3.metal, i3em.metal, และ z1d.metal) และบริการนี้สามารถเลือกโหนดบน AWS โดยระบุให้โหนดอยู่คนละตู้เซิร์ฟเวอร์ (rack aware) เพิ่มความมั่นใจว่าระบบจะมีโอกาสดาวน์ต่ำ และหากโหนดมีปัญหาจริงก็สร้างเครื่องใหม่อัตโนมัติ ตัวคลัสเตอร์บนคลาวด์สามารถเชื่อมต่อกลับเข้ามาในศูนย์ข้อมูลขององค์กรเพื่อทำตัวเป็นระบบสำรอง
Nutanix เปิดเผยผลสำรวจดัชนีการใช้งานคลาวด์องค์กร (Enterprise Cloud Index) โดยสำรวจผู้มีอำนาจด้านไอที 2,650 รายทั่วโลกในประเด็นการใช้งานแอปทางธุรกิจบนระบบใดในปัจจุบัน, แผนในอนาคตและลำดับความสำคัญไปจนถึงความท้าทายในการใช้งานคลาวด์ ซึ่งมีทั้งรายงานทั่วโลกและเฉพาะของประเทศไทย
ส่วนข้อมูลทั่วโลกที่น่าสนใจคือผู้ตอบสำรวจกว่า 73% ระบุว่าได้ย้ายแอปพลิเคชันของตัวเองกลับจากพับลิกคลาวด์มายัง on-premise สาเหตุสำคัญคือเรื่องของค่าใช้จ่าย ที่ควบคุมไม่ได้และ/หรือมากเกินกว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่ 85% ของผู้ตอบระบุว่าไฮบริดคลาวด์คือสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุด (ideal) และ 60% ระบุว่าความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการใช้งานคลาวด์
Nutanix ออกรายงาน Enterprise Cloud Index สำรวจการใช้งานคลาวด์ในโลกองค์กร พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (91%) คิดว่าการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด ผสมกันระหว่าง on-premise และคลาวด์สาธารณะนั้นเป็นรูปแบบที่เหมาะสม แต่การใช้งานจริงในตอนนี้กลับมีเพียง 19% เท่านั้น
Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร โดยมีแนวคิดแบบใหม่ให้การจัดการหลังบ้านทำได้ง่ายมากขึ้น บริษัทได้ผ่านหลักไมล์สำคัญคือเดินจากการเป็นสตาร์ทอัพ ไปสู่การเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อปีที่แล้ว และขยายการบริการจากเซิร์ฟเวอร์ ไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับองค์กร
ล่าสุดในงานการประชุม .NEXT ที่สิงคโปร์ Blognone ได้มีโอกาสร่วมฟังและพูดคุยกับผู้บริหารของ Nutanix เพื่อสรุปแนวโน้มและทิศทางของการจัดการระบบประมวลผลของศูนย์ข้อมูลในยุคถัดไป ตลอดจนแนวทางที่ Nutanix ต้องการเป็น โดยเฉพาะแนวคิดมุ่งสู่การเป็น iPhone ของโลกเซิร์ฟเวอร์ นั้นน่าสนใจทีเดียว
ในงาน .NEXT ของ Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ในสัปดาห์นี้ ยังมีการประกาศว่าแพลตฟอร์มของบริษัทได้รับการรับรองการทำงานร่วมกับ Cloudera Enterprise แพลตฟอร์ม Big Data สำหรับองค์กรอีกด้วย
จุดเด่นของการประกาศการรับรองนี้ ทำให้แพลตฟอร์มของ Nutanix สามารถทำงานประมวลผลร่วมกับ Cloudera ได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีในองค์กร
Venugopal Pai รองประธานด้านพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจของ Nutanix บอกว่าองค์กรต่างๆ กำลังนิยมการวางโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นคลาวด์ และรองรับการทำงานได้หลากหลายรวมทั้ง Big Data การร่วมมือกันระหว่าง Nutanix และ Cloudera นี้จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของระบบประมวลผลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร ที่ใช้แนวคิดใหม่เพื่อให้งานบริการจัดการระบบง่ายมากขึ้น โดยเชื่อมต่อคลาวด์แพลตฟอร์มต่างๆ ให้ทำงานประสานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ตามที่ Blognone ได้เสนอข่าวมาแล้ว ล่าสุดในงาน .NEXT ที่ประเทศสิงคโปร์วันนี้ ได้มีการเปิดเผยการเติบโตที่น่าสนใจของบริษัท สะท้อนให้เห็นความนิยมของระบบจัดการคลาวด์ ที่เติบโตสวนกระแสกับทิศทางการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กร
โดย Nutanix มีรายได้เติบโตถึง 68% ในปีที่ผ่านมา ตลอดจนมีลูกค้าทั่วโลกแล้วกว่า 7,000 ราย ซึ่งตลาดที่มีการเติบโตสูงมากในปีที่ผ่านมาคือ Asean โดยจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
Nutanix ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แบบ hyperconverge สำหรับองค์กร ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud Platform เพื่อเชื่อมโยงโลกไอทีระหว่างเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรกับคลาวด์เป็น hybrid cloud
ความร่วมมือนี้ประกอบด้วย
ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ประกาศจะพัฒนาเสร็จพร้อมใช้งานในไตรมาสแรกของปี 2018
Nutanix บริษัทเซิร์ฟเวอร์แนวคิดใหม่ hyperconverged (Blognone เคยสัมภาษณ์) เตรียมขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว โดยใช้ตัวย่อว่า NTNX
Nutanix จะขายหุ้นออกมา 14 ล้านหุ้น โดยตั้งราคาระหว่าง 11-13 ดอลลาร์ต่อหุ้น (ราคาจริงจะกำหนดใกล้ๆ วันเปิดขาย) ซึ่งจะทำให้บริษัทระดมทุนจากการขายหุ้นได้ 174 ล้านดอลลาร์ และบริษัทมีมูลค่าตามราคาหุ้นที่ 1.67 พันล้านดอลลาร์ ถือเป็นการขายหุ้น IPO ของบริษัทไอทีสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปีนี้
ผู้อ่าน Blognone หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับ Nutanix ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์แนวใหม่ที่เรียกว่า hyperconverged (อ่านบทสัมภาษณ์เมื่อปีที่แล้วได้) อยู่บ้าง ในฐานะสตาร์ทอัพรายใหม่ซึ่งมีบทบาทในกลุ่มองค์กรอย่างมาก และเพิ่งจะประกาศคุณสมบัติใหม่สำหรับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่งานประชุมของ .NEXT ของบริษัทที่เพิ่งผ่านไป (มีนอกจาก Xpress ด้วย) แต่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของทิศทางบริษัทจาก hyperconverged ไปสู่ Enterprise Cloud Platform
Nutanix ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์แนวคิดใหม่ hyperconverged (อ่านบทสัมภาษณ์ของ Blognone) เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Nutanix Xpress ที่ราคาถูกลง (ราคาทั้งชุด ฮาร์ดแวร์ 3-4 โหนดพร้อมซัพพอร์ต 3 ปี จะต่ำกว่า 25,000 ดอลลาร์) เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางมากขึ้น จุดขายนอกจากราคายังเป็นความง่ายในการติดตั้ง ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 60 นาทีก็รันงานได้แล้ว
ฮาร์ดแวร์ Nutanix Xpress รหัส SX-1065 ใช้ซีพียู Intel Xeon E5 v4 (Broadwell) เลือกรุ่นย่อยเองได้, หน่วยความจำสูงสุด 512GB, ใส่สตอเรจได้สูงสุด 6TB ต่อโหนด (สเปกละเอียด) ฝั่งของซอฟต์แวร์ใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชัน Xpress ที่ปรับลดความสามารถบางอย่างออก แต่ก็ออกแบบให้เหมาะกับ SME, รองรับ virtualization/hypervisor หลายยี่ห้อ ทั้ง AHV ของ Nutanix เอง, VMware ESXi และ Hyper-V
สินค้าจะเริ่มขายในเดือนกรกฎาคม 2016
สตอเรจเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรยุคใหม่ที่มีข้อมูลที่ต้องรักษาไว้เป็นจำนวนมาก สตอเรจในยุคเดิมๆ อาศัยฮาร์ดแวร์พิเศษราคาแพง และยังขาดความน่าเชื่อถือในบางครั้ง ระบบสตอเรจยุคใหม่อย่าง Nutanix ที่เสนอโซลูชั่นแบบ hyperconverged แปลงสตอเรจกลายเป็นโซลูชั่นซอฟต์แวร์ ทำให้สตอเรจกลายเป็นงานที่สามารถขยายได้ตามการใช้งานจริง มีความน่าเชื่อถือสูง และลดความซับซ้อนของระบบไอทีในองค์กรลงได้อย่างมหาศาล และเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานร่วมกับโซลูชั่นของ Nutanix ได้อย่างดีเยี่ยมคือ เลอโนโวที่ประกาศเป็นพันธมิตรร่วมกันตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ข่าวใหญ่ของโลกไอทีสัปดาห์นี้คือ อภิมหาดีล Dell ซื้อ EMC ซึ่งการซื้อกิจการใหญ่ขนาดนี้ย่อมมีผลกระทบในวงกว้าง เว็บไซต์ Computerworld จึงประเมินผลที่เกิดขึ้นจากดีลนี้ ดังนี้
Nutanix ถือเป็นสตาร์ตอัพสาย enterprise ที่กำลังมาแรงมาก บริษัทเริ่มก่อตั้งในปี 2009 และเริ่มวางขายสินค้าครั้งแรกในปี 2011 เวลาผ่านมาได้เพียงไม่กี่ปี บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 300 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าบริษัทเกิน 2 พันล้านดอลลาร์เข้าไปแล้ว หนึ่งในบริษัทที่มาลงทุนคือ SAP) และน่าจะขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ (ท่ามกลางข่าวลือล่าสุดว่า Cisco สนใจเข้ามาสอยไปก่อน IPO)
Nutanix ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สตอเรจประกาศโครงการ Nutanix Platform Expert (NPX) ใบรับรองความเชี่ยวชาญการออกแบบศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ ทางบริษัทระบุว่าใบรับรองนี้จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการรับรองความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม
กระบวนการรับรองจะประกอบไปด้วยการสอบข้อเขียน, การออกแบบระบบที่ขยายตัวได้, ทำแล็บ, และการรีวิวโดยคน ผู้ที่จะผ่านการทดสอบจะต้องเชี่ยวชาญระบบไฮเปอร์ไวเซอร์อย่างน้อยสองระบบ เมื่อผ่านแล้วควรจะสามารถให้คำปรึกษาการวางระบบขนาดใหญ่, การประมวลผล BigData, และการสร้างระบบทดสอบและพัฒนา
เนื้อหาที่ใช้เรียนและการสอบฟรีทั้งสองอย่าง ใครทำงานสายนี้ไปสมัครกันได้
Nutanix ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สตอเรจรายสำคัญระบุว่าบริษัทเตรียมจะปล่อยซอฟต์แวร์รุ่นชุมชนออกมาให้ใช้งานได้ฟรี ใน "ไม่กี่เดือนข้างหน้า" (coming months)
ยังไม่มีข้อมูลว่าซอฟต์แวร์ที่ปล่อยออกมาจะมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง แต่ทาง The Register รายงานว่าจะเป็นรุ่นอัลฟ่าที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าใช้งาน
Dheeraj Pandey ซีอีโอของ Nutanix ระบุว่าผู้ใช้ที่ยินดีจะใช้ซัพพอร์ตจากชุมชนอย่างเดียวก็อาจจะไม่ได้เป็นลูกค้าของบริษัทอยู่แล้ว ดังนั้นเขามีแนวโน้มว่าจะปล่อยให้รุ่นชุมชนนี้สามารถปรับสเกลไปได้ค่อนข้างสูง