หลังเครื่อง mini NES Classic Edition (Famicom) เริ่มวางจำหน่ายและมีรีวิวออกมาบ้างแล้วนั้น ล่าสุดมีคนแงะเครื่อง mini NES เผยให้เห็นชิ้นส่วนภายในแล้ว
mini NES ขับเคลื่อนด้วยชิปเซ็ต AllWinner R16 ที่ใช้ซีพียูควอดคอร์ Cortex A7 จีพียูเป็น Mali-400 แรม DDR3 ขนาด 256MB พร้อมหน่วยความจำแฟลชแบบ NAND ขนาด 512MB ที่ถอดเปลี่ยนไม่ได้ ซึ่งตอกย้ำความต้องการของนินเท็นโดที่ไม่ต้องการให้มีการเพิ่มเกมเข้าไปใน mini NES
FriendlyARM ผู้ผลิตบอร์ดลินุกซ์ออกบอร์ดในตระกูล NanoPi มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเน้นขนาดเล็กเป็นหลัก ตอนนี้บอร์ด NanoPi NEO ก็เป็นบอร์ดที่เล็กลงไปอีก ขนาดบอร์ดเพียง 40 มิลลิเมตร x 35.4 มิลลิเมตรเท่านั้น เล็กกว่า Raspberry Pi Zero อยู่ประมาณ 25%
ตัวบอร์ดใช้ซีพียู Allwinner H3 พร้อมแรม 256MB หรือ 512MB เก็บข้อมูลใน micro SD พอร์ตมี Ethernet 10/100, USB, micro USB, serial debug พอร์ต I/O แยกเป็นสองฝั่ง 24 ขาหนึ่งฝั่งและ 12 ขาอีกหนึ่งฝั่ง
ยังไม่ประกาศราคา แต่บอร์ด NanoPi รุ่น M1 ที่เล็กที่สุดก่อนหน้านี้ราคา 11 ดอลลาร์ รุ่นนี้ราคาก็น่าจะลดลงมาอีก
เมื่อเดือนเมษายนทาง Allwinner เคยโชว์โน้ตบุ๊กเครื่องต้นแบบที่ระบุว่าจะมีราคาเพียง 79 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้เครื่อง Hybrx ก็เปิดระดมทุนจริงแล้วโดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 69 ดอลลาร์เท่านั้น
เครื่องรุ่นเริ่มต้นใช้ชิป Allwinner A64 ภายในเป็นคอร์ A53 สี่คอร์ รุ่นเริ่มต้นแรม 1GB พร้อมหน่วยความจำแฟลช 16GB รุ่นอัพเกรดแรม 2GB หน่วยความจำแฟลช 32GB ราคาเพิ่มเป็น 89 ดอลลาร์ ซอฟต์แวร์เป็น Remix OS 2.0 โดยสัญญาว่าจะได้รับ 3.0 ผ่าน OTA
เริ่มส่งมอบสินค้าเดือนกันยายนนี้
ที่มา - Kickstarter
เคอร์เนลลินุกซ์จาก Allwinner สำหรับชิปรุ่น H3, A83T, และ H8 โดยเปิดไฟล์ /proc/sunxi_debug/sunxi_debug
เอาไว้ และเมื่อโปรแกรมใดๆ ส่งข้อความ rootmydevice
เข้าไปในไฟล์นี้ก็จะได้สิทธิ root ในทันที
ทางทีมพัฒนา Armbian ระบุว่าช่องโหว่นี้ถูกพูดถึงใน IRC ของนักพัฒนาเมื่อสองวันก่อน และทาง Armbian ก็รีบออกรุ่น 5.10 เพื่ออุดช่องโหว่นี้
ชิปทั้งสามรุ่นได้รับความนิยมในหมู่ผู้ผลิตบอร์ดจีนอย่างกว้างขวาง บอร์ดที่ได้รับผลกระทบเช่น FriendlyARM, Orange Pi, Banana Pi, Cubietruck+, pcDuino8 Uno ล่าสุดทาง FriendlyARM ออกแพตช์สำหรับช่องโหว่นี้มาแล้ว
Remix OS พยายามนำแอนดรอยด์มาใช้งานบนเดสก์ทอปมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ตอนนี้ผู้ผลิตชิปจีนอย่าง Allwinner ก็เชิญเว็บ ARMdevices ไปชมโน้ตบุ๊กตัวอย่างที่ใช้ชิป Allwinner A64 และ Remix OS 2.0
Allwinner A64 แกนภายในเป็น Cortex-A53 สี่คอร์ พร้อมส่วนกราฟิก Mali-400MP2 ตัวเครื่องสาธิตใช้แรมเริ่มต้น 1GB และหน่วยความจำแฟลชเริ่มต้นที่ 8GB ราคาเริ่มต้นที่ 79 ดอลลาร์ขึ้นกับปริมาณการผลิตและชิ้นส่วนปลีกย่อย ตลอดจนส่วนต่างกำไรของตัวแทนจำหน่าย
เครื่องรุ่นนี้จะมีการระดมทุนภายหลัง ไม่ชัดเจนว่า Allwinner เปิดระดมทุนเองหรือจะมีตัวแทนจำหน่ายเตรียมจัดระดมทุน แต่หลังจากนั้นจะเป็นการจำหน่ายตามปกติ
คอมพิวเตอร์จิ๋วราคาถูกกำลังได้รับความนิยมในหมู่นักพัฒนารุ่นใหม่ๆ PINE64 ชูจุดเด่นที่ใช้ซีพียู Allwinner R18 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น Cortex-A53 ที่รองรับชุดคำสั่ง ARMv8 64 บิตรองรับแอปพลิเคชั่นรุ่นใหม่ๆ
บอร์ดมีสองรุ่น คือ PINE64 และ PINE64+ จุดต่างอยู่ที่ แรม (รุ่นธรรมดา 512MB รุ่น PINE64+ 1GB), พอร์ตอีเธอร์เน็ต (รุ่นธรรมดา 100Mbps รุ่น PINE64+ 1Gbps), พอร์ต MIPI DSI สำหรับต่อจอภาพและ MIPI CSI สำหรับต่อกล้องจะมีในรุ่น PINE64+ เท่านั้น ทั้งสองรุ่นรองรับ Wi-Fi/Bluetooth แต่ต้องซื้อบอร์ดเสริม
Allwinner เปิดตัวซีพียู Allwinner A64 ซีพียูใช้คอร์เป็น Cortex-A53 จำนวนสี่คอร์รองรับแอนดรอยด์ 5.1 ตั้งแต่แรกจุดเด่นของชิปตัวนี้ คือ ราคาเพียงชิปละ 5 ดอลลาร์
ชิปตัวนี้ทำมาเพื่อแท็บเล็ตโดยเฉพาะ รองรับทั้งพอร์ต HDMI, และการถอดรหัสวิดีโอ 4K
Allwinner ผู้ผลิตซีพียู ARM จากจีนเปิดตัว A83T ซีพียู Cortex-A7 8 คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.0GHz ผลิตโดย TSMC ที่เทคโนโลยี 28 นาโนเมตร ใช้กราฟิกของ PowerVR และรองรับสถาปัตยกรรม big.LITTLE
ทาง Allwiner ระบุว่าจะมีแท็บเล็ตใช้ชิป A83T ออกวางตลาดภายในปลายปีนี้
ที่มา - @AllwinnerTech
ชิป Allwinner A80 เปิดตัวช่วงต้นปีและเริ่มส่งมอบเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตอนนี้ทาง Allwinner ก็ปล่อยเคอร์เนลลินุกซ์ออกมาแล้วผ่านทางเว็บ linux-sunxi โดยตัวเคอร์เนลเป็นรุ่น 3.4 พร้อมๆ กับ Android 4.4 SDK
ไดร์เวอร์หลายตัวเป็นไบนารี เช่น ไดร์เวอร์ NAND, MIPI, USB 3.0 ดังนั้นการพอร์ตไปใช้กับเคอร์เนลอื่น สำหรับการลงลินุกซ์ดิสโทรนอกจากแอนดรอยด์เช่น Ubuntu หรือ Fedora คงใช้เวลาพอสมควร
ที่มา - CNX Software
Allwinner เปิดตัวชิป A80 รุ่นแปดคอร์ออกมาตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ ตอนนี้ผู้ผลิตบอร์ดอย่าง Cubieboard ก็แสดงภาพบอร์ดที่จะวางขายแล้ว
ตอนนี้ยังไม่มีสเปคเป็นทางการของบอร์ดรุ่นใหม่นี้ แต่ทาง CNX-Software ก็แกะจากชิปบนบอร์ดออกมาได้จำนวนมาก
พีซีขนาดเล็กเดินตามแนวทาง Raspberry Pi และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีมาก่อนหน้านั้น เช่น Pandaboard หรือ Beagleboard ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน แต่บอร์ดล่าสุดจากกลุ่ม LeMaker ก็เปิดโครงการใหม่ที่แข่งขันกับ Raspberry Pi โดยตรงในชื่อว่า Banana Pi
Banana Pi จะใช้ชิป Allwinner A20 เช่นเดียวกับบอร์ด Cubieboard 2 ที่วางตลาดมาก่อนหน้านี้ โดยตัวลินุกซ์ก็แทบจะเหมือนกัน ส่วนสเปคนั้นแรงกว่า Raspberry Pi มาก โดยตัวซีพียูเองก็เป็น Cortex-A7 สองคอร์, แรม 1 GB, มีช่องอีเธอร์เน็ตระดับกิกะบิต, SATA, และอินฟราเรด
ดูท่าว่า Qualcomm จะพูดถูกเรื่องคนจีนบ้าจำนวนคอร์บนชิป เพราะให้หลังจาก MediaTek เปิดตัวชิปแปดคอร์ไปได้ไม่นาน Allwinner ผู้ผลิตชิปจากจีนอีกรายก็เปิดตัวชิปแปดคอร์ราคาย่อมเยาตามมาติดๆ แล้ว
ชิปแปดคอร์รุ่นใหม่ของ Allwinner ตัวนี้ใช้ชื่อว่า UltraOcta A80 ใช้ซีพียู ARM Cortex-A15 ร่วมกับ ARM Cortex-A7 อย่างละสี่คอร์ สามารถใช้งานการประมวลผลแบบ big.LITTLE ได้ และสามารถใช้งานซีพียูได้รวดเดียวทั้งแปดคอร์เช่นกัน
ทางฝั่งจีพียู Allwinner อัพเกรดจาก PowerVR SGX544MP2 รุ่นยอดนิยม ไปสู่ PowerVR G6320 จีพียู 64 คอร์ที่เทียบประสิทธิภาพกับรุ่นเดิมแล้วน่าจะสูงกว่าเป็นเท่าตัว
ชื่อบริษัทผู้ผลิตชิปที่เพิ่งเป็นที่รู้จักอย่าง Allwinner กลับมาอีกครั้งด้วยชิปรุ่นใหม่ล่าสุด คือ Allwinner A31 ที่แกนกลางเป็น Cortex-A7 และชิปกราฟิกเป็น PowerVR SGX544 แบบ 8 คอร์
คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีให้เลือกสารพัดในช่วงหลัง ราคาประมาณสองพันบาททำให้หลายคนอยากเอามาใช้แทนคอมพิวเตอร์ฝังตัวแบบเดิมๆ กันหมด ล่าสุดบริษัท Olimex ในบัลแกเรียก็สร้างเครื่อง A13-OLinuXino-WIFI โดยมีข้อพิเศษคือมันต่อพอร์ต GPIO ทั้งหมดออกมายังหัวต่อภายนอกให้สำหรับแฮกเกอร์ได้ทดลอง พร้อมทั้งตัวบอร์ดเองก็เป็นขนาด nano-ITX มาตรฐานทำให้มีโอกาสหาเคสมาใส่ได้ง่าย
หัวใจหลักของบอร์ดคือ AllWinner A13 ใส่แรมมาให้เพียง 512MB อาจจะไม่พอสำหรับคนที่ต้องการเล่นแอพพลิเคชั่นแปลกๆ แต่น่าจะเหลือเฟือสำหรับการพัฒนาโครงการทดลองทั่วไป สุดท้ายคือแฟลชรอมขนาด 4GB ที่น่าแปลกใจจริงๆ คือผู้ผลิตเลือกจะติดตั้งหัว VGA มาให้แทนที่จะเป็น HDMI เหมือนตัวอื่นๆ ส่วนหัว LVDS สำหรับจอ LCD นั้นสามารถต่อไปจากหัวต่อได้เลย