นอกจากเปิดตัวส่วนขยาย Android Game Development สำหรับ Visual Studio กูเกิลยังประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Android Studio ของตัวเองอีกหลายอย่าง เพื่อเอาใจนักพัฒนาเกมบน Android
กูเกิลออก Android Studio 3.6 เวอร์ชันเสถียร โดยเป็นรุ่นแรกที่กลับมาเน้นเรื่องฟีเจอร์ใหม่ หลัง Android Studio 3.4 และ Android Studio 3.5 หันไปทำ Project Marble ที่เน้นแก้บั๊กและเพิ่มประสิทธิภาพ
กูเกิลบอกว่าเรียนรู้จาก Project Marble ทำให้เลือกเพิ่มฟีเจอร์ให้ Android Studio 3.6 ไม่เยอะมากนัก เพราะต้องการควบคุมคุณภาพไปพร้อมกัน ของใหม่ใน Android Studio 3.6 มีดังนี้
กูเกิลออก Android Studio 3.5 รุ่นเสถียร หลังออก รุ่นทดสอบมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ของใหม่ใน Android Studio 3.5 ไม่เน้นฟีเจอร์ใหญ่ๆ แต่เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานโดยรวม ซึ่งกูเกิลเรียกว่า Project Marble ที่โฟกัส 3 เรื่องคือ
กูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Android Studio และ Android Emulator บนระบบปฏิบัติการ 32 บิต โดยจะมีผลในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 หรืออีกประมาณ 1 ปีครึ่ง
Android Studio เวอร์ชัน 3.6 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการ 32 บิต (หลักๆ แล้วคือ Windows ที่เป็น 32 บิต) โดยจะไม่ได้รับอัพเดตฟีเจอร์ใหม่อีกนับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2019 เป็นต้นไป ส่วน Android Emulator จะเป็นเวอร์ชัน 28.0.25
ประกาศข่าวนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการรัน Android บนฮาร์ดแวร์ 32 บิต ซึ่งยังใช้งานได้ตามปกติ
ถัดจาก Android Studio 3.4 ที่เพิ่งออกตัวจริงหลังสงกรานต์ กูเกิลก็เปิดตัว Android Studio 3.5 Beta 1 ต่อเนื่องตามาทันทีในงาน Google I/O
ฟีเจอร์เด่นของ Android Studio 3.5 ที่ส่งผลกระทบต่อนักพัฒนาอย่างมาก คือการเปลี่ยนจากระบบคอมไพล์ด่วน Instant Run ตัวเดิม มาเป็นระบบใหม่ Apply Changes ที่มีความแตกต่างกันพอสมควร
Android Studio ออกเวอร์ชัน 3.4 ที่เข้าสถานะเสถียร (stable channel) เรียบร้อยแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีไม่เยอะนักเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ เพราะกูเกิลกำลังดำเนินโครงการ Project Marble เน้นปรับปรุงฟีเจอร์พื้นฐาน และ flow การทำงานของตัว IDE ให้ดีขึ้นแทน
กูเกิลเปิดต้นปี 2019 ด้วยการออก Android Studio 3.3 รุ่นเสถียร ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
กูเกิลประกาศนำ Android Studio ลงระบบปฏิบัติการ Chrome OS อย่างเป็นทางการ โดยจะออกรุ่นจริงช่วงต้นปีหน้า 2019
ตอนนี้ผู้ที่อยากใช้งาน Android Studio รุ่นพรีวิวบน Chrome OS สามารถทำได้แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะ Pixelbook เท่านั้น กระบวนการคือต้องสลับไปใช้ Chrome OS developer channel, เปิดใช้งานโหมดลินุกซ์ และติดตั้ง Android Studio อีกทีหนึ่ง (รายละเอียด)
กูเกิลเปิดให้ทดสอบ Android Studio 3.2 มาตั้งแต่งาน Google I/O 2018 ผ่านมาอีกหลายเดือนก็ได้เวลาของตัวจริง ของใหม่ในรุ่นนี้มีมากมาย
กูเกิลปล่อย Android Emulator ตัวใหม่ โดยได้ปรับปรุงให้สามารถรัน Android Virtual Device (AVD) สถาปัตยกรรม x86 บนเครื่องที่ใช้ซีพียูจากค่าย AMD ด้วยการใช้อีมูเลเตอร์ซึ่งสามารถเร่งความเร็วระดับฮาร์ดแวร์ผ่านแพลตฟอร์ม Hyper-V ของไมโครซอฟท์
การปรับปรุงข้างต้นจะช่วยให้นักพัฒนามีตัวเลือกมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเลือกรัน AVD บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู Intel เท่านั้น ถึงจะสามารถทดสอบแอพ Android บนเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างไหลลื่นและมีประสิทธิภาพ
ทิศทางของ Chrome OS และ Android เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่มีอุปกรณ์ Chrome OS อาจยังมีไม่เยอะมากนัก นักพัฒนาที่ต้องการนำแอพ Android ไปรันทดสอบใน Chrome OS จึงมีอุปสรรคพอสมควร
ล่าสุดปัญหานี้ถูกแก้ไขแล้ว เพราะกูเกิลเพิ่ม Chrome OS Emulator เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Android Studio เรียบร้อยแล้ว
การใช้งานเราต้องมี Android Studio ติดตั้งพร้อมกับ Android Emulator ก่อน จากนั้นค่อยติดตั้งส่วนขยาย Chrome OS SDK add-ons เข้ามา แล้วค่อยสร้าง virtual device ใหม่ขึ้นมาเป็น Pixelbook สำหรับทดสอบ
กูเกิลปล่อย Android Studio 3.2 ให้ทดสอบพร้อมของใหม่ๆ ที่ประกาศในงาน Google I/O 2018 โดยสถานะตอนนี้ยังเป็นรุ่น canary และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเป็น stable
ของใหม่ที่มีใน Android Studio 3.2 ได้แก่ ปรับเวอร์ชันมาใช้ IntelliJ IDEA 2018.1.1 เป็นฐาน, Slices, AndroidX, Android Jetpack, App Bundle
ฟีเจอร์ใหญ่ที่น่าสนใจคือ Navigation Editor ช่วยให้เราเห็นภาพการนำทาง (navigation) ในแต่ละหน้าจอของแอพ ว่ากดจากหน้าจอไหนแล้วจะไปโผล่หน้าจอไหน
กูเกิลพยายามยกเครื่อง Android Emulator มาได้สักพัก ล่าสุด Android Emulator v27.0.2+ เข้าสู่สถานะเสถียร และออกอัพเดตผ่าน SDK Manager แล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือ Quick Boot หรือการบันทึกสถานะของอีมูเลเตอร์ เพื่อให้การบูตครั้งที่สองเป็นต้นไปรวดเร็วขึ้น (บูตครั้งแรกที่เป็น cold boot จะยังช้าอยู่) โดยกูเกิลระบุว่าระยะเวลาที่ใช้บูตจะลดลงเหลือต่ำกว่า 6 วินาทีแล้ว
หลังจากที่กูเกิลเปิดตัว Android Studio 3.0 ในงาน I/O 2017 เมื่อกลางปีและเปิดให้นักพัฒนาใช้งานเวอร์ชัน beta และ canary มาสักพักใหญ่ ตอนนี้ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชัน stable อย่างเป็นทางการแล้ว
จุดเด่นของ Android Studio 3.0 คือรองรับภาษา Kotlin, ภาษา Java 8, layout editor ลากวางวัตถุดีขึ้น, มีตัวช่วยสร้าง Adaptive icon, เพิ่มฟอนท์ที่ใช้งานแบบ XML ลงไปในโปรเจค, รองรับการเขียน Android Things และอัพเดต IntelliJ 2017.1
กูเกิลเปิดตัว Instant Apps ตั้งแต่งาน I/O 2016 และเริ่มปล่อยใช้งานกับผู้ใช้จริงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา วันนี้กูเกิลก็ประกาศให้นักพัฒนาทุกคนเข้าถึง Instant Apps ได้แล้ว
Instant Apps ต้องแยกแอปเป็นส่วนๆ เพื่อให้ตัวแอปโหลดได้เร็ว กูเกิลระบุว่านักพัฒนาชุดแรกที่ทำงานกับกูเกิลสามารถแก้แอปเป็น Instant Apps ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยนักพัฒนาต้องใช้ Android Studio 3.0 และโหลด Android Instant Apps SDK ตัว Play Console จะมีช่องให้อัพโหลด APK แยกกันระหว่างแอปแบบติดตั้งปกติและ Instant Apps
หลังจากที่เปิดให้ทดสอบ Team Foundation Version Control (TFVC) ระบบจัดการซอร์สแบบรวมศูนย์ของไมโครซอฟท์กับ Android Studio และ IntelliJ ผ่านปลั๊กอิน Visual Studio Team Services มาตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2016
เมื่อเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ก็ได้ปลดสถานะพรีวิวให้กับการรองรับ TFVC และออกอัพเดตปลั๊กอินให้นักพัฒนาสาย Android และนักพัฒนาที่ใช้ IDE จากค่าย JetBrains เช่น IntelliJ IDEA และ Rider EAP สามารถใช้งาน TFVC เป็นที่เรียบร้อย
มีคนตาดีไปเจอซอร์สโค้ดของโครงการ Chromium OS และพบว่ากูเกิลกำลังพยายามพอร์ต Android Studio มาลง Chrome OS อยู่
ตอนนี้ซอร์สโค้ดที่เผยสู่สาธารณะยังมีแค่ไฟล์สคริปต์ ebuild เพื่อคอมไพล์ Android Studio บน Chrome OS และเชลล์สคริปต์สำหรับเรียก Android Studio ขึ้นมาทำงาน
ตัว Android Studio มีเวอร์ชันบนลินุกซ์อยู่แล้ว การพอร์ตมาสู่ Chrome OS จึงไม่ใช่เรื่องยากนัก สิ่งที่กูเกิลทำเพิ่มเข้ามาคือคอมไพล์ไลบรารีที่จำเป็น และกำหนดให้ Android Studio รันบน Wayland ซึ่งเป็นระบบแสดงผลของ Chrome OS ด้วย
กูเกิลยังไม่ประกาศข่าวนี้ต่อสาธารณะ แต่ก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นเดโมในงาน Google I/O เดือนพฤษภาคม
กูเกิลออก Android Studio 2.3 มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง
กูเกิลพยายามแก้ปัญหา "ความช้า" ของ Android Emulator โดยเวอร์ชันล่าสุด 25.3.0 (Feb 2017) มีการปรับปรุงสำคัญดังนี้
การพัฒนาแอพบน Android สมัยแรกๆ กูเกิลใช้วิธีออกปลั๊กอิน Android Developer Tools (ADT) ให้กับ IDE ยอดนิยมอย่าง Eclipse แต่เมื่อเวลาผ่านไป กูเกิลเปลี่ยนนโยบายมาเป็นการสร้าง IDE ของตัวเองคือ Android Studio (พัฒนามาจาก IntelliJ IDEA) แทน
กูเกิลประกาศมาตั้งแต่ต้นว่าให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ Android Studio แต่ก็ยังซัพพอร์ตปลั๊กอิน Eclipse มาสักระยะหนึ่ง วันนี้เวลานั้นหมดลงแล้ว และกูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Eclipse Android Developer Tools อย่างเป็นทางการ
กระบวนการย้ายจาก Eclipse ADT มายัง Android Studio นั้นไม่มีอะไรยาก สามารถสั่ง Import Project มาได้ตรงๆ นักพัฒนาส่วนใหญ่น่าจะย้ายกันมาเกือบหมดแล้ว ถ้ายังมีท่านใดยังไม่ย้ายก็คงต้องถึงเวลาแล้วล่ะครับ
ที่มา - Android Developers Blog
กูเกิลออก Android Studio 2.2 ตัวจริง หลังออกตัวพรีวิวตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม การเปลี่ยนแปลงของรุ่นนี้มีหลายอย่าง ที่เด่นๆ มีดังนี้
กูเกิลโชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Android Studio 2.2 (ตอนนี้สถานะยังเป็นพรีวิว) แบ่งออกเป็น 3 เรื่องคือ ความเร็ว ความฉลาด และการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มของ Android
กูเกิลเตือนให้นักพัฒนาที่ใช้ Android Studio รีบอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ 2.1.1 เพื่อความปลอดภัย
อัพเดตตัวนี้ต่อเนื่องมาจากข่าว IntelliJ พบช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรง ส่งผลให้ Android Studio ที่พัฒนาต่อมาจาก IntelliJ ต้องอัพเดตตามด้วย
ถ้าใครใช้ Android Studio อยู่แล้วสามารถกดอัพเดตจากตัวโปรแกรมได้เลย หรือสามารถดาวน์โหลดใหม่ได้จากหน้าเว็บ Android Studio
Android Studio 2.0 ทดสอบรุ่น Preview และ Beta มาได้สักพักหนึ่ง วันนี้ถึงเวลาออกรุ่นสมบูรณ์ ของใหม่ในรุ่นนี้พัฒนาขึ้นจาก Android Studio 1.x ดังนี้
ใกล้ความจริงเข้ามาทุกทีกับ Android Studio เวอร์ชัน 2.0 โดยทางทีมพัฒนาของกูเกิลออกรุ่น Beta มาให้ทดสอบกันแล้ว
ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่น 2.0 Preview เมื่อปลายปี ได้แก่