ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 17.10 Preview 3 มีของใหม่คือปรับการทำงานของ GitHub Copilot โดยผนวกรวมแพ็กเกจสองตัวคือ Copilot ช่วยเติมโค้ด และ Copilot Chat ช่วยตอบคำถาม เข้าเป็นตัวเดียวกัน ติดตั้งแพ็กเกจตัวเดียวไม่ต้องแยกสองแพ็กเกจแบบก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์ประกาศสิ้นระยะซัพพอร์ต Visual Studio 2013 ทุกเวอร์ชันย่อย (รวมถึง Visual C++ Redistributable ของ VS2013) ในวันที่ 9 เมษายน 2024 และแนะนำให้ผู้ใช้ขยับไปใช้แอพเวอร์ชันล่าสุดคือ Visual Studio 2022 แทน
ระยะเวลาซัพพอร์ตของ Visual Studio เวอร์ชันต่างๆ ในตอนนี้คือ
GitHub ประกาศว่าบริการ Copilot Chat ตอนนี้เปิดให้ใช้งานสำหรับองค์กรและผู้ใช้งานทุกคนแล้ว หลังจากทดสอบในกลุ่มจำกัดสถานะเบต้าก่อนหน้านี้
GitHub Copilot Chat รองรับการใช้งานทั้งบน Visual Studio Code และ Visual Studio สำหรับผู้ใช้งานและองค์กรทุกแผนที่สมัคร ตลอดจนกลุ่มผู้ใช้งานด้านการศึกษา และโครงการโอเพนซอร์สที่ยืนยันตัวตน
สัปดาห์ก่อนไมโครซอฟท์ออก Visual Studio เวอร์ชัน 17.8 รุ่นเสถียร มีของใหม่ที่สำคัญคือสามารถกดสร้าง Pull Request ได้จากตัว IDE โดยตรง ไม่ต้องสลับไปหน้าจออื่นอีกต่อไป
ไมโครซอฟท์บอกว่าฟีเจอร์ Pull Request เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้เรียกร้องเข้ามามากที่สุด เพราะปัจจุบันการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องพึ่งการดึงโค้ดจากระบบ Git กันมากแล้ว วิธีใช้งานสามารถเรียกได้จากเมนู Git เลย หรือจะคลิกขวาในหน้าต่าง Git Repository ก็ได้เช่นกัน ฟีเจอร์นี้ยังรองรับการเขียน markdown ในหน้าคำอธิบาย Pull Request ด้วยพร้อมสรรพ
ไมโครซอฟท์พัฒนา ตัวจัดการส่วนขยาย (Extension Manager) ตัวใหม่ของ Visual Studio โดยเริ่มใช้งานแล้วใน Visual Studio 17.8 Preview 3
Extension Manager ตัวใหม่เปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เฟซแบบ 2 คอลัมน์ แทนแบบเดิมที่เป็น 3 คอลัมน์ โดยนำคอลัมน์ซ้ายสุดของเดิมที่เป็นการแยกหมวด Installed, Updates, Roaming เปลี่ยนไปเป็นแท็บด้านบนแทน เพื่อให้มีพื้นที่แสดงเนื้อหาของส่วนขยายมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงระบบหมวดหมู่ ฟิลเตอร์ และการค้นหาส่วนขยาย เพื่อให้จัดการส่วนขยายจำนวนมากๆ ได้ดีกว่าเดิม ตรงนี้คล้ายกับตัวจัดการส่วนขยายของ VS Code แต่ก็ไม่เหมือนซะทั้งหมด
ไมโครซอฟท์บอกว่าจะเพิ่มวิธีการติดตั้งส่วนขยายผ่านไฟล์ vsconfig ด้วย ซึ่งจะเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันถัดๆ ไป
GitHub เปิดให้บริการ Copilot Chat แชทถามตอบคำถามโปรแกรมมิ่งจากในแอพ Visual Studio และ VS Code โดยตรง
GitHub Copilot เวอร์ชันแรกเปิดตัวในปี 2021 เป็นการใช้ AI ช่วยเติมโค้ดที่เขียน (code completion) แต่ไม่สามารถสนทนาได้ ภายหลัง GitHub ได้อัพเกรดระบบเป็น Copilot X ช่วงต้นปี 2023 เพิ่มความสามารถอีกหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือแชท
Microsoft ประกาศข่าวใหญ่สำหรับนักพัฒนา .NET ที่ใช้ Mac ว่าจะเลิกพัฒนา Visual Studio for Mac แล้ว โดยเวอร์ชันสุดท้ายคือ 17.6 ที่ปล่อยออกมาเมื่อเดือนมิถุนายนจะได้รับแพทช์ไปอีก 12 เดือน หรือวันที่ 31 สิงหาคม 2024 ซึ่ง Microsoft แนะนำให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ส่วนขยาย C# Dev Kit บน VS Code แทน รวมถึงนักพัฒนา .NET MAUI และ Unity ก็มีส่วนขยายบน VS Code ให้ใช้เช่นกัน
หากนักพัฒนาที่ใช้ Mac ยังต้องการใช้ Visual Studio ก็สามารถรัน Windows VM บนเครื่องตัวเองเพื่อใช้ Visual Studio หรืออีกทางเลือกคือไปใช้ Microsoft Dev Box ซึ่งเป็น VM บนคลาวด์สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ
ช่วงกลางปี 2022 ไมโครซอฟท์เคยมีดราม่าหลังประกาศแนวทางส่วนขยาย C# ของ VS Code ว่าจะขยับไปใช้ชิ้นส่วนที่ไม่โอเพนซอร์ส ตอนนี้ส่วนขยายตัวใหม่ที่ว่าเปิดตัวแล้วในชื่อ C# Dev Kit
เดิมที ชุมชนผู้ใช้ VS Code สร้างส่วนขยายสำหรับภาษา C# ในชื่อโครงการ OmniSharp ซึ่งไมโครซอฟท์นำไปใช้งานต่อเป็น C# Extension
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 – 17.6 ต้อนรับงาน Build 2023 ช่วงปลายเดือนนี้ มีของใหม่ที่เป็นประโยชน์กับนักพัฒนาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากหลายจุด
ไมโครซอฟท์โชว์ภาพดีไซน์ใหม่ของ Visual Studio ที่ปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นตามแนวทาง Microsoft Fluent แบบใหม่ของไมโครซอฟท์
หน้าตาใหม่ของ Visual Studio ไม่เปลี่ยนไปจากเวอร์ชันปัจจุบันเท่าไรนัก (ดูไกลๆ แทบแยกไม่ออก) จุดต่างอยู่ในรายละเอียดเรื่องสีของไอคอน พื้นหลัง เส้นขอบ ที่ตัดกันมากกว่าเดิม ลดการใช้เส้นขอบลงเพื่อไม่ให้รก, เพิ่มระยะห่างระหว่างปุ่ม-เมนูให้กดง่ายขึ้น, หน้าตาของแท็บเปลี่ยนไป
ดีไซน์แบบใหม่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และจะเปิดทดสอบกับผู้ใช้งานในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์ออกส่วนขยายของ Visual Studio ชื่อ .NET Upgrade Assistant ช่วยอัพเกรดโปรเจค .NET เวอร์ชันเก่าๆ ให้เป็น .NET เวอร์ชันล่าสุด (6 หรือ 7 หรือ 8 Preview) ภายในไม่กี่คลิกเท่านั้น
ทิศทางของ .NET ในช่วงหลังคือการออกรุ่นใหม่ปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว 3 ปี (LTS) ออกปีเว้นปี ทำให้การอัพเกรดมาใช้ .NET รุ่นใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ไมโครซอฟท์จึงกระตุ้นให้นักพัฒนา .NET ทยอยอัพเกรดโปรเจคเก่าๆ ยุค .NET Framework หรือ .NET Core ที่ไม่พัฒนาต่อแล้วทั้งคู่ ให้มาเป็น .NET ยุคใหม่ๆ แทน
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 เวอร์ชัน 17.3 เป็นอัพเดตย่อยตัวที่สามของซีรีส์ มีของใหม่ที่สำคัญคือ .NET Multi-platform App UI (.NET MAUI) ชุดเครื่องมือสร้าง UI ข้ามแพลตฟอร์มตัวใหม่ เข้าสถานะเสถียรแล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio เวอร์ชัน ARM64 ตามที่สัญญาไว้ ตัวไฟล์ติดตั้งจะเป็นไฟล์เดียวกันกับ x86 ซึ่งจะตรวจสอบสถาปัตยกรรมที่ใช้งานให้อัตโนมัติก่อนดาวน์โหลดไฟล์จริงๆ ให้อีกที
Visual Studio ตัวแรกที่เป็นเนทีฟ ARM คือ Visual Studio 2022 17.3 Preview 2 โดยรุ่น ARM รองรับเฉพาะ Windows 11 เท่านั้น ตอนนี้สถานะยังเป็นพรีวิว และยังรองรับการพัฒนาเฉพาะ Desktop/C++, Desktop/.NET และ Web/.NET เท่านั้น ไมโครซอฟท์บอกว่าจะรับฟังความเห็นไปปรับปรุง ก่อนออกรุ่น General Availability (GA) ภายในปีนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศในงาน Build 2022 เมื่อคืนนี้ ว่าจะทยอยออกเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาบน Windows ให้รันบนสถาปัตยกรรม Arm แบบเนทีฟ ที่ระบุชื่อมีดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 for Mac เวอร์ชันสมบูรณ์ มีสถานะ general availability (GA) และนับเป็นเวอร์ชัน 17.0
ของใหม่ที่สำคัญของ Visual Studio 2022 for Mac คือการเขียน UI ใหม่ที่เป็น native macOS ทั้งหมดแล้ว รองรับฟีเจอร์ของระบบปฏิบัติการอย่าง VoiceOver และ Voice Control, รองรับ Apple Silicon (ARM64) แบบเนทีฟ ไมโครซอฟท์บอกว่าเปิดโซลูชันใหญ่ๆ เร็วขึ้น 50% เมื่อเทียบกับ Visual Studio 2019 for Mac
ไมโครซอฟท์ปล่อยส่วนขยายสำหรับ Visual Studio 2022 เพื่อใช้งานบริการ GitHub Copilot บริการปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ดที่ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ OpenAI จากเดิมรองรับเฉพาะ Visual Studio Code และ GitHub Codespaces เท่านั้น
ตัวส่วนขยายนี้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ทุกคนแต่จะใช้บริการได้ต่อเมื่อได้เข้าโครงการทดสอบบริการ Copilot มาก่อนแล้วเท่านั้น เมื่อเปิดใช้งานจะมีโค้ดแนะนำจากปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมาขณะพิมพ์ โดยแสดงโค้ดที่ปัญญาประดิษฐ์คาดว่าตรงความต้องการที่สุดแต่สามารถเลือกโค้ดแนะนำอื่นๆ ได้หาก Copilot แนะนำมาหลายชุด
ตอนนี้บริการ Copilot ยังคงจำกัดผู้เข้าร่วม หากต้องการใช้งานก็ต้อลงชื่อรอคิวเท่านั้น
Visual Studio เพิ่มฟีเจอร์เซฟอัตโนมัติเมื่อหน้าต่าง Visual Studio สลับไปทำงานเบื้องหลัง เพื่อแก้ปัญหาลืมเซฟโค้ดล่าสุด แล้วสลับไปใช้โปรแกรมอื่นทำงานกับโค้ดเดียวกัน เพื่อพบว่าโค้ดไม่ได้อัพเดต
ทีมพัฒนาของ Visual Studio บอกว่าได้ยินการรายงานปัญหาลืมเซฟโค้ดเป็นประจำ เมื่อสลับไปใช้เครื่องมืออื่น (เช่น ดีบั๊กเกอร์หรืออีมูเลเตอร์) ก็พบว่าเป็นโค้ดเก่า ไม่ใช่โค้ดล่าสุด หากไปแก้โค้ดในเครื่องมือตัวอื่น ก็จะมีปัญหาเรื่องการซิงก์โค้ดให้เป็นเวอร์ชันเดียวกันตามมาอีก
ไมโครซอฟท์ปรับปรุงฟีเจอร์ Live Unit Testing ให้กับ Visual Studio 2022 ช่วยให้สามารถรัน unit test ทันทีเมื่อโค้ดถูกแก้ไข
ฟีเจอร์ Live Unit Testing จะตรวจสอบว่าโค้ดส่วนไหนบ้างที่เปลี่ยน และรันเทสต์เฉพาะส่วนนั้นๆ อยู่เบื้องหลัง แล้วแจ้งเตือนว่าเทสต์ผ่านหรือไม่ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือระบบ build ซอร์สโค้ดที่ทำงานได้เร็วขึ้น รองรับการรันเทสต์ขนาดใหญ่ขึ้น
Live Unit Testing เวอร์ชันใหม่ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว ทดลองใช้ได้ใน Visual Studio Enterprise 2022 version 17.2 Preview 2 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตของ Visual Studio เวอร์ชันเก่า ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 ตัวจริง หลังเปิดทดสอบพรีวิวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Visual Studio 2022 ได้แก่
สัปดาห์ที่ผ่านมาชุมชน .NET เกิดดราม่าขนาดกลางๆ ขึ้นเมื่อไมโครซอฟท์รับ pull request หมายเลข 22217 เข้ามายัง .NET SDK รุ่นโอเพนซอร์ส เป็นการถอนฟีเจอร์ Hot Reload ออกไปโดยระบุเหตุผลว่าฟีเจอร์นี้จะรองรับเฉพาะผู้ใช้ Visual Studio 2022 เท่านั้น และวันนี้ไมโครซอฟท์ก็ยอมถอย ใส่ฟีเจอร์กลับเข้ามาใหม่พร้อมเขียนบล็อกขอโทษชุมชน
แนวทางนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ถูกโจมตีอย่างหนักว่าไม่ได้สนใจจะทำให้ .NET เป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับนักพัฒนาจริงๆ แต่มุ่งจะขาย Visual Studio เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 for Mac Preview 1 ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาทดสอบแล้ว หลังทดสอบในกลุ่มปิดมาได้ระยะหนึ่ง
ไมโครซอฟท์นิยาม Visual Studio 2022 for Mac ว่าเป็น "modern .NET IDE" ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้แมค เพราะเปลี่ยนมาใช้ native UI ของ macOS โดยตรง มีทั้ง Dark/Light Theme และรองรับฟีเจอร์ของ OS อย่าง VoiceOver ในตัว
นอกจากนี้ มันออกแบบมาเพื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์คือ .NET 6 และ C# 10 รวมถึง .NET MAUI ในอนาคตด้วย
ความนิยมของ Visual Studio Code ส่งผลให้มีคนสร้างชุดธีมเป็นจำนวนมาก ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดให้นำธีมเหล่านี้ไปใช้กับ Visual Studio 2022 รุ่นใหญ่ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์ระบุว่ากำลังพัฒนาตัวช่วยแปลงธีม VS Code มาเป็นธีมของ VS 2022 และติดต่อผู้สร้างธีม VS Code หลายรายให้ลองทดสอบกันดูก่อน ผลคือธีมใหม่จำนวนหนึ่ง (กดดูรายชื่อทั้งหมดได้จากที่มา) ที่ใช้งานได้กับ VS 2022 Preview 4 ขึ้นไป
ผู้ที่สนใจพอร์ตธีมสามารถทดสอบตัวแปลงธีมได้แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าตัวแปลงธีมยังเพิ่งเริ่มต้นพัฒนา และยังเน้นที่การทำธีมรองรับ C++ และ C# เป็นหลักก่อนขยายไปยังภาษาอื่นๆ ในระยะถัดไป
ไมโครซอฟท์อธิบายฟีเจอร์ใหม่ของ Visual Studio 2022 Preview 3 ที่พยายามแก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์-ไลบรารีที่ใช้ ป้องกันปัญหาโดยยัดไส้มัลแวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้
ฟีเจอร์นี้ชื่อว่า Trust Settings ถ้าเปิดใช้งานแล้ว Visual Studio จะดึงข้อมูลจาก repository ที่เชื่อถือได้ (ตามการกำหนดนโยบายขององค์กร) เท่านั้น หากผู้ใช้พยายามเปิดข้อมูลจากโฟลเดอร์หรือ repository ที่อยู่นอกรายการ ก็จะพบกับคำเตือนตามภาพ
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 v16.11 มีอัพเดตฟีเจอร์เล็กน้อยเรื่อง Hot Reload ของการเขียนแอพ .NET, อัพเกรดคอมไพเลอร์ Clang/LLVM เป็นเวอร์ชัน 12, ปรับปรุงการใช้เมนู Git
ความสำคัญของ Visual Studio v16.11 คือจะเป็นอัพเดตสุดท้ายของ Visual Studio 2019 ที่มีฟีเจอร์ใหม่แล้ว หลังจากนี้จะมีแต่อัพเดตแก้บั๊กและความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว เพราะไมโครซอฟท์ย้ายไปพัฒนา Visual Studio 2022 แทนแล้ว
Visual Studio 2019 v16.11 จะสามารถยังใช้ได้นานไปจนถึงปี 2029 (เท่ากับอายุขัยของ Visual Studio 2019) โดยหลังจากไมโครซอฟท์ออก v16.11 แล้วจะทยอยหยุดซัพพอร์ต v16.x รุ่นก่อนหน้านี้