เมื่อเดือนกันยายน 2021 Cloudflare ได้เปิดตัว R2 Storage บริการเก็บข้อมูลแบบ object storage แบบเดียวกับ Amazon S3 แต่ไม่คิดค่าแบนด์วิดท์นำข้อมูลออก และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาก็ได้เปิดให้ทุกคนใช้งานแล้ว โดยตอนเปิดตัวบอกว่าจะมีเครื่องมือสำหรับไมเกรตจาก S3 ให้ใช้ด้วย
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 Microsoft ได้ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ SFTP ให้ Azure Blob Storage โดยที่ผ่านมาให้ใช้งานฟรีระหว่างที่ยังอยู่ในสถานะ public preview (คิดค่าบริการเฉพาะการเก็บข้อมูล, ค่าเขียนอ่าน, ค่าแบนด์วิดท์ ตามปกติ)
ขณะนี้ผ่านมา 1 ปี Microsoft ได้ประกาศให้ฟีเจอร์ SFTP บน Azure Blob Storage เข้าสู่สถานะ Generally Available (GA) แล้ว และจะเริ่มคิดค่าบริการการเปิดใช้งาน SFTP endpoint ที่ 0.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง หรือตกเดือนละราว 219 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8,300 บาท) เท่ากันทุก region ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2022 เป็นต้นไป
Google Cloud ออกคำสั่งแบบ command line สำหรับจัดการไฟล์ในคลาวด์สตอเรจ gcloud storage
แทนที่คำสั่ง gsutil เดิม โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือคตวามเร็วสูงกว่ามาก
gcloud storage
อาศัยกระบวนการคำนวณค่าแฮช CRC32 ที่เร็วกว่าเดิม ร่วมกับการดาวน์โหลดและอัพโหลดแบบขนาน เมื่อทดสอบดาวน์โหลดและอัพโหลดไฟล์จากตลาวด์สตอเรจโดยใช้ไฟล์จำนวน 100 ไฟล์ อัตราการดาวน์โหลดเร็วขึ้นถึง 79% ขณะที่การอัพโหลดเร็วขึ้น 33% และเมื่อวัดประสิทธิภาพไฟล์เดี่ยวขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพการดาวน์โหลดเพิ่มถึง 94% และการอัพโหลดเพิ่มถึง 57%
MinIO ประกาศว่าซอฟต์แวร์ MinIO Object Storage มีจำนวนการดาวน์โหลดบน Docker หรือ Docker pull มากกว่า 1 พันล้านครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการเติบโตที่มากขึ้นทุกปี เฉพาะปีที่แล้วมี Docker pull ถึง 330 ล้านครั้ง และตัวเลขการใช้งานจริงย่อมสูงกว่านี้ เพราะไม่ได้นับรวม private repositories
ตัวเลขที่ MinIO บอกถึงความนิยมในการใช้งานคือองค์กรระดับ Fortune 100 ถึง 75% มีการรัน MinIO สะท้อนความนิยมของเครื่องมือสำหรับคลาวด์ระดับองค์กร
MinIO ก่อตั้งในปี 2014 โดยมีเป้าหมายคือต้องการเป็น AWS S3 ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้เติบโตเท่าตัว และได้รับการเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ B เมื่อเดือนมกราคม 103 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีสถานะยูนิคอร์นแล้ว
Cloudflare เปิดบริการคลาวด์สตอเรจ R2 เต็มรูปแบบหลังจากทดสอบวงปิดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ R2 ทดสอบแบบเบต้ามาก่อนแล้วและมีนักพัฒนาใช้งานกว่า 12,000 คน และตอนนี้บริการหลายตัวของ Cloudflare เองก็ไปใช้งาน R2 เช่นกัน
จุดเด่นที่สุดของ R2 คือไม่คิดค่าแบนวิดท์แล้ว อีกจุดหนึ่งคือระบบต้องเลือกภูมิภาค (region) แม้ใน S3 API จะต้องเลือกก็ให้ใส่ auto อย่างเดียวเท่านั้น โดยตอนนี้ R2 จะเลือกวางข้อมูลให้ใกล้กับตอนสร้างที่สุด แต่อนาคตจะย้ายข้อมูลไปมาตามรูปแบบการใช้งานจริงและจะมีฟีเจอร์เพิ่มเพื่อทำตามข้อบังคับของบางประเทศ เช่น ห้ามนำข้อมูลออกจากยุโรป
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า OneDrive บริการสตอเรจออนไลน์ มีอายุครบ 15 ปีแล้ว (เปิดตัว 9 สิงหาคม 2007) ซึ่งตัวบริการก็มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่มาโดยตลอด ส่วนตัวเลขผู้ใช้งานนั้น ไมโครซอฟท์บอกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 240% และมีลูกค้าองค์กรรายใหญ่หลายแห่งเลือกใช้งาน
เพื่อฉลองครบรอบ 15 ปี ไมโครซอฟท์จึงประกาศปรับปรุงหน้าแรกของ OneDrive รูปแบบใหม่เรียกว่า OneDrive Home เพื่อช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงล่าสุด รวมทั้งมีฟิลเตอร์แยกประเภทต่าง ๆ ของไฟล์ และดูกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
Amazon ประกาศปิดบริการคลาวด์สตอเรจ Amazon Drive (ชื่อเดิม Amazon Cloud Drive) ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2011 โดยระบุว่าจะหันไปโฟกัสกับบริการ Amazon Photos ที่ใช้เก็บเฉพาะรูปภาพและวิดีโอแทน
Dell Technologies เปิดตัวบริการเสริมใหม่ในแพลตฟอร์มมัลติคลาวด์ชุดใหญ่ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดเก็บ ป้องกัน และควบคุมข้อมูลและแอพพลิเคชันได้ในทุกที่ทุกจุด รองรับความซับซ้อนของการใช้งานที่มากขึ้น
บริการแรกอยู่ในชุด as-a-service Apex คือ Dell APEX Cyber Recovery Services ให้องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่ายขึ้น ผ่านเครื่องมือหลากหลายรูปแบบ
เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว Dropbox โดนผู้ใช้โวยเนื่องจากไม่มีแผนทำแอปเนทีฟสำหรับ Mac ที่ใช้ชิป Apple Silicon ทำให้ซีอีโอต้องทวีตขอโทษที่ทำให้สับสนและยืนยันว่าจะออก Dropbox ที่ซัพพอร์ต Apple Silicon ภายในปี 2022
ล่าสุดวันนี้ Dropbox ได้แจ้งทาง MacRumors ว่าเริ่มทดสอบแอปเนทีฟบน Apple Silicon แล้ว โดยตอนนี้ยังอยู่ระหว่างทดสอบกับผู้ใช้กลุ่มเล็ก และคาดว่าจะเริ่มให้ผู้ใช้ Mac ทั่วไปทดสอบเบต้าได้ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้
Azure Blob บริการคลาวด์สตอเรจแบบเดียวกับ AWS S3 ประกาศเพิ่มวิธีการส่งไฟล์เข้าออกผ่านทางโปรโตคอล SFTP ซึ่งมักจำเป็นสำหรับแอปพลิเคชั่นที่พัฒนามานานและมักส่งไฟล์ข้ามระบบด้วย SFTP จนเป็นมาตรฐาน
บริการนี้รองรับการส่งไฟล์แบบ SFTP ทั้งการใช้รหัสผ่าน และการยืนยันตัวตนด้วยคู่กุญแจสาธารณะ ผู้ใช้สามารถกำหนดสิทธิ์การอ่านเขียนไฟล์ที่ระดับคอนเทนเนอร์ และกำหนด home directory เพื่อเป็นตำแหน่งมาตรฐานในกรณีที่ไคลเอนต์ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์
Dropbox ประกาศออกแอพเสริมตัวใหม่เอาใจสายตัดต่อวิดีโอ ที่แชร์ไฟล์วิดีโอให้กันผ่าน Dropbox แต่ต้องบอกว่าจะตัดตรงไหน แก้ตรงไหนในช่องทางสื่อสารอื่น เช่น แชทหรืออีเมล
แอพตัวนี้ชื่อว่า Dropbox Replay ผู้ใช้งานสามารถเซฟไฟล์ลง Dropbox แล้วแชร์ให้เพื่อนร่วมงาน พร้อมใส่คอมเมนต์ลงในไฟล์วิดีโอได้อย่างละเอียดระดับเฟรม ว่าแก้ตรงไหนอย่างไร โดยเพื่อนร่วมงานในทีมสามารถแชทโต้ตอบ และทำเครื่องหมายว่าตรงนี้แก้เรียบร้อยแล้วได้จากแอพ Replay เลย
Dropbox ระบุว่าเห็นสถิติการส่งไฟล์วิดีโอสำหรับตัดต่อให้กันผ่าน Dropbox เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลัง จึงออกฟีเจอร์นี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้กลุ่มนี้ทำงานสะดวกขึ้น แอพ Replay จะเปิดทดสอบเบต้าในเร็วๆ นี้
Google One ออกแพ็กเกจพื้นที่สตอเรจแบบ 5TB ที่อยู่ตรงกลางระหว่างแพ็กเกจ 2TB และ 10TB เดิม ขายในราคาเดือนละ 25 ดอลลาร์หรือราคาไทย 875 บาท (ราคาต่อปี 8,750 บาท)
ราคาแพ็กเกจ Google One ทั้งสามระดับ หารออกมาเป็นต่อพื้นที่ TB ละ 175 บาทเท่ากัน ไม่มีตัวไหนถูกเป็นพิเศษ ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ที่มีข้อมูลเกิน 2TB แต่ไม่ต้องการจ่ายถึง 10TB
Backblaze ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจประกาศความร่วมมือกับ Vultr ผู้ให้บริการคลาวด์รายเล็กที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่เน้นราคาประหยัดเช่นเดียวกัน โดยผู้ที่ใช้สตอเรจจาก Backblaze จะดึงข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลใดๆ ของ Vultr ก็ได้โดยไม่เสียค่าแบนด์วิดท์
แม้ว่าตัว Vultr เองจะมีบริการสตอเรจแบบเดียวกันแต่ราคาก็แพงกว่า Backblaze ถึงสี่เท่าตัว และผู้ใช้จำนวนหนึ่งก็เก็บไฟล์ไว้ใน Backblaze อยู่แล้ว หากต้องการนำไฟล์มาประมวลผลเช่นเข้ารหัสวิดีโอใหม่ การใช้ Vultr ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
AWS ประกาศปรับราคาบริการสตอเรจ S3 Intelligent-Tiering บริการปรับโหมดการเก็บข้อมูลอัตโนมัติตามการใช้งานที่เปิดตัวเมื่อปี 2018 จากเดิมที่มีค่าบริการขั้นต่ำ 30 วันกลายเป็นไม่มีค่าบริการขั้นต่ำ ทำให้ใช้งานทดแทน S3 มาตรฐานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีกรณีที่ค่าใช้จ่ายแพงกว่า S3 มาตรฐานเลย
S3 Intelligent-Tiering จะมอนิเตอร์การใช้งานออปเจกต์ และหากพบว่าไม่ได้ใช้งานนานก็จะปรับรูปแบบการเก็บเป็นแบบที่ช้าลงเรื่อยๆ จาก Frequent Access Tier, Infrequent Access Tier, Archive Access Tier, และ Deep Archive Access Tier โดยค่าพื้นที่สตอเรจชั้นสูงสุดกับต่ำสุดนั้นห่างกันถึง 23 เท่าตัว
มีรายงานจาก The Information ระบุว่าแอปเปิลยังเป็นลูกค้ารายสำคัญของ Google Cloud และเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยสำหรับปีนี้คาดว่าแอปเปิลจะจ่ายเงินราว 300 ล้านดอลลาร์ ให้กูเกิล ในการใช้บริการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ iCloud เพิ่มขึ้น 50% จากปี 2020
รายงานยังระบุว่าแอปเปิลถือเป็นลูกค้า Google Cloud รายใหญ่ที่สุดในตอนนี้ และทีมงานใน Google Cloud ก็มีรหัสเรียกลูกค้าเพื่อสะท้อนความสำคัญว่า Bigfoot ส่วนลูกค้ารายใหญ่ลำดับรองลงมาคือ ByteDance
Backblaze ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจที่สร้างชื่อเสียงขึ้นมาจากการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ Storage Pod ของตัวเองให้มีพื้นที่จุข้อมูลต่อเซิร์ฟเวอร์สูงมาก โดยพัฒนาเซิร์ฟเวอร์มาหลายรุ่นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา รุ่นล่าสุดคือ Storage Pod 6.0 ที่เปิดพิมพ์เขียวเมื่อปี 2016 แต่เซิร์ฟเวอร์ชุดล่าสุดของบริษัทก็กลับไปซื้อเซิร์ฟเวอร์เดลล์มาใช้แทน
แอปเปิลเปิดบริการ iCloud+ ขยายบริการ iCloud โดยเพิ่มบริการรักษาความเป็นส่วนตัว ได้แก่
iCloud+ ยังคงราคาเท่ากับ iCloud ปกติ
Backblaze ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจประกาศเพิ่มฟีเจอร์ประจำฤดูใบไม้ผลิ มีฟีเจอร์สำคัญ คือ Object Lock สำหรับป้องกันการลบข้อมูล ในกรณีถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เข้ารหัสเรียกค่าไถ่
ก่อนหน้านี้ Backblaze เคยเปิดบริการ Object Lock มาก่อนแล้ว แต่ใช้ได้เมื่อต่อผ่าน Veeam เท่านั้น การอัพเดตรอบนี้เปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้ผ่าน API ที่เหมือน Amazon S3 หรือใช้ผ่านเว็บก็ได้ มีให้เลือก 2 แบบ คือ ล็อกแบบกำหนดช่วงเวลา และล็อกทางกฎหมายไม่จำกัดเวลา
AWS เปิดบริการใหม่ S3 Object Lambda เป็นการนำฟังก์ชั่น Lambda ไปบังการดึงออปเจกต์ออกจาก S3 เพื่อการแปลงข้อมูลล่วงหน้า เช่น การลบข้อมูลส่วนบุคคลออกจากไฟล์, แปลงขนาดภาพก่อนให้ดาวน์โหลด, หรือเติมข้อมูลลงในไฟล์จากแหล่งต่างๆ
ตัวฟังก์ชั่น Lambda ทำงานเหมือน Lambda ปกติของ AWS ทุกประการ เพียงแต่ event ที่ส่งเข้ามานั้นจะมีฟิลด์ inputS3Url
เพื่อแสดงว่าไคลเอนต์กำลังขอออปเจกต์ใดจาก S3 และเมื่อจะคืนค่าออกจากฟังก์ชั่นต้องคืนเนื้อไฟล์ทาง API WriteGetObjectResponse
ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาใน AWS SDK
หน้าจอ AWS Console จะเพิ่มคอนฟิก Object Lambda Access Point เข้ามาให้สามารถคอนฟิก Lambda ไปบังไว้ได้ และเมื่อนำฟังก์ชั่นไปบังแล้วก็จะได้ชื่อ bucket ใหม่
Jeff Bar จาก AWS เขียนบล็อคครบรอบ 15 ปีบริการ Amazon S3 บริการออปเจกต์สตอเรจที่กลายเป็นมาตรฐานของระบบสตอเรจในยุคคลาวด์ S3 นับเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการคลาวด์แบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service - IaaS) ของ AWS จนกระทั่งทุกวันนี้มีออปเจกต์บน S3 มากกว่า 100 ล้านล้านออปเจกต์แล้ว
Seagate เปิดตัว Lyve Cloud บริการคลาวด์สตอเรจ ที่ใช้ S3 API ทำให้ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ได้เป็นจำนวนมาก บริการนี้เน้นลูกค้าองค์กร และอาศัยความร่วมมือกับ Equinix
บริการนี้ Lyve Cloud วางอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Equinix ทำให้ลูกค้าที่ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ Equinix Metal สามารถเข้าถึงสตอเรจได้อย่างรวดเร็ว
ทาง Seagate ยังไม่เปิดเผยราคาของ Lyve Cloud แต่บอกเพียงว่าจะไม่มีค่าอัพโหลดขึ้นคลาวด์ (ingress) หรือดาวน์โหลดออกจากคลาวด์ (egress)
ที่มา - Seagate
คนที่ใช้ Google Drive บนเดสก์ท็อปคงคุ้นกับโปรแกรมซิงก์ชื่อ Backup and Sync from Google (ที่ไม่ค่อยสื่ออะไรมากนัก) ล่าสุดกูเกิลประกาศเปลี่ยนชื่อโปรแกรมเป็น Google Drive for Desktop อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว
ประเด็นเรื่องชื่อแอพตัวนี้ไม่ใช่แค่เรื่องตั้งชื่ออย่างเดียว ที่มาที่ไปคือกูเกิลเองดันมีโปรแกรมซิงก์ไฟล์บนเดสก์ท็อป 2 ตัว ได้แก่
ไคลเอนต์ทั้ง 2 ตัวมีฟีเจอร์ไม่เท่ากัน จึงถูกตั้งชื่อแตกต่างกัน สิ่งที่ตามมาคือความสับสนของผู้ใช้ ทางแก้ของกูเกิลจึงเป็นการรวมไคลเอนต์ทั้ง 2 ตัวเข้าด้วยกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขนาดไฟล์ที่รองรับสูงสุดบน Microsoft 365 จากเดิม 100GB เป็น 250GB ซึ่งมีผลกับการอัพโหลดไฟล์ผ่านแอปในเครือทั้ง OneDrive, SharePoint และ Teams
ไมโครซอฟท์บอกว่าสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้ใช้งานต้องแชร์ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ผ่านออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอระดับ 4K หรือ 8K ไปจนถึงไฟล์ 3D, ไฟล์ CAD หรือชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีกระบวนการปรับปรุงให้การอัพโหลดมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งไฟล์ออกเป็นส่วนย่อย และเข้ารหัสด้วยคีย์เฉพาะ
การรองรับไฟล์ขนาด 250GB จะทยอยเปิดให้ใช้งานตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม และมีผลกับผู้ใช้งานทุกคนภายในไตรมาสที่ 1
Amazon S3 ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ strong read-after-write consistency รับประกันว่าการอ่านข้อมูลหลังการเขียนสำเร็จจะเห็นข้อมูลใหม่ทันที หลังจากก่อนหน้านี้ต้องรอช่วงเวลาหนึ่งจึงจะอ่านข้อมูลล่าสุดได้
เดิมการออกแบบของ S3 ใช้แนวคิด "eventual consistency" ที่ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปจะสามารถอ่านได้ในที่สุดแต่ไม่รับประกันว่าจะอ่านข้อมูลล่าสุดได้เมื่อใด แนวทางนี้ทำให้แอปพลิเคชั่นหลายตัวที่ใช้งาน S3 เช่นงาน big data ที่เก็บข้อมูลบน S3 ต้องสร้างระบบมาครอบ S3 อีกชั้นเพื่อรับประกันว่าจะเห็นข้อมูลล่าสุดเสมอ
การอัพเกรดครั้งนี้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม และมีผลทันทีทุกศูนย์ข้อมูล ทาง AWS ยืนยันว่าประสิทธิภาพของสตอเรจจะไม่ลดลงแต่อย่างใด
Google เปิดตัวระบบ Database Migration Service หรือ DMS สำหรับไมเกรตฐานข้อมูลภาคองค์กรขึ้นสู่ Google Cloud อย่างราบรื่น ลดปัญหาต่าง ๆ รวมถึงใช้เวลาดาวน์ไทม์ที่น้อยที่สุดในขณะไมเกรตระบบ
Google DMS ใช้ระบบทำสำเนาข้อมูลจากต้นทางทั้ง MySQL, PostgreSQL และ SQL Server ไปยังระบบ Cloud SQL โดยก่อนหน้านี้ Google จะให้บริการไมเกรตฐานข้อมูลผ่านพาร์ทเนอร์ (ในขณะที่คู่แข่งอย่าง AWS และ Azure มีมานานแล้ว) แต่เนื่องจากทุกวันนี้มีผู้สนใจย้ายมาคลาวด์มากขึ้น การออก DMS เองจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการไมเกรตระบบ ลดเวลาและขั้นตอนที่ใช้ในการไมเกรตระบบได้มาก