กูเกิลประกาศช็อควงการ (อีกรอบ) ว่า Google Photos จะเลิกให้พื้นที่สตอเรจฟรีแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว (สำหรับภาพแบบ high quality ที่ถูกบีบอัด) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2021 เป็นต้นไป การใช้งาน Google Photos จะต้องแชร์ร่วมกับพื้นที่ฟรี 15GB มาตรฐานของบัญชี Google Account หากอยากได้พื้นที่เพิ่มต้องซื้อผ่านสมาชิก Google One (เริ่มต้นที่ 70 บาท/เดือน สำหรับพื้นที่ 100GB)
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลต่อภาพหรือวิดีโอที่อัพโหลดใหม่เท่านั้น ภาพเก่าหรือวิดีโอเก่าที่อัพโหลดก่อน 1 มิถุนายน 2021 จะยังอัพโหลดได้ไม่จำกัดเช่นเดิม
OneDrive ประกาศของใหม่ชุดใหญ่ในงาน Microsoft Ignite 2020 โดยหลายอย่างเป็นฟีเจอร์ที่ประกาศไปแล้วรอบเดือนกรกฎาคม
สิ่งที่เป็นของใหม่และน่าสนใจในรอบนี้ได้แก่
อัพเดตต่อจากข่าว Mozilla ระงับบริการส่งไฟล์ Firefox Send ชั่วคราว หลังถูกใช้เป็นแหล่งกระจายมัลแวร์
ล่าสุด Mozilla ประกาศปิดบริการ Firefox Send (ร่วมกับบริการอีกตัวคือ Firefox Note) อย่างถาวร ด้วยเหตุผลเดิมคือถูกใช้เป็นแหล่งปล่อยมัลแวร์ และปัจจัยเรื่อง Mozilla ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ปลดคน คุมค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องตัดสินใจปิดบริการที่ไม่สำคัญออกไป
Mozilla ยืนยันว่าจะยังคงบริการกลุ่ม VPN และ Firefox Monitor ตัวเฝ้าระวังรหัสผ่านหลุด-ข้อมูลรั่วไหล ต่อไป
กูเกิลเปิดตัวบริการแบ็คอัพข้อมูลทั้งหมดจากสมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ Google One ให้กับผู้มีบัญชี Google Account ทุกคน ใช้ได้ทั้งสมาร์ทโฟน Android และ iOS
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว Google One ที่มีบริการแบ็คอัพข้อมูลเฉพาะบน Android แต่จำกัดเฉพาะลูกค้าที่จ่ายพรีเมียมซื้อพื้นที่สตอเรจเท่านั้น
วันนี้กูเกิลประกาศว่าลูกค้า Google Account ทั้งหมดสามารถใช้แอพ Google One แบ็คอัพข้อมูลในสมาร์ทโฟนได้แล้ว โดยจะคิดพื้นที่สตอเรจจากโควต้าฟรี 15GB ที่ทุกคนมีอยู่แล้ว (ถ้าไม่พอใช้สามารถซื้อเพิ่มในราคาเริ่มต้นเดือนละ 70 บาท ได้พื้นที่ 100GB)
Mozilla ประกาศหยุดให้บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ Firefox Send ชั่วคราว หลังพบว่าถูกใช้แพร่กระจายมัลแวร์
Firefox Send เป็นบริการที่เปิดตัวในปี 2019 ใช้ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2.5GB และมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัย (เข้ารหัสไฟล์) และความเป็นส่วนตัว (มีระบบรหัสผ่าน, ใครก็ใช้ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน)
อย่างไรก็ตาม จุดขายเหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มผู้ปล่อยมัลแวร์ นำมัลแวร์ขึ้นไปฝากไว้บน Firefox Send (เข้ารหัสไฟล์ทำให้ตรวจสอบได้ยาก) และอาศัยปัจจัยว่าโดเมนเนม firefox.com เป็นโดเมนที่น่าเชื่อถือ ฝ่าระบบตรวจจับมัลแวร์ต่างๆ เข้าไปหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งมัลแวร์เหล่านี้ได้
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ OneDrive อีกชุดใหญ่ ฟีเจอร์สำคัญได้แก่ การเพิ่มขนาดสูงสุดของไฟล์ที่รองรับจากเดิม 15GB เป็น 100GB ต่อไฟล์ ช่วยให้การแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ (เช่น ไฟล์วิดีโอ, 3D, CAD) ระหว่างเพื่อนร่วมงานทำได้ง่ายขึ้นมาก
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ Add to OneDrive หรือการเพิ่มไฟล์ที่ถูกแชร์มาเข้ามาในไดรฟ์ของเราเอง ลักษณะการใช้งานจะเป็นการเพิ่มช็อตคัตของไฟล์นั้นๆ มาอยู่ในบัญชีไดรฟ์ของเรา เพื่อให้สะดวกต่อการแก้ไขและใช้งานกว่าเดิม
นอกจากแอพจัดการรหัสผ่าน Dropbox Passwords ทาง Dropbox ยังประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ให้แอพหลักของตัวเอง ดังนี้
Cloudflare เปิดซอร์สโครงการ UtahFS ของทีมวิจัย โดยเป็นระบบไฟล์ที่สร้างไดร์ฟในเครื่องจากบริการคลาวด์สตอเรจ เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ที่ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์มีข้อมูลการใช้งานน้อยลง
UtahFS เข้ารหัสไฟล์ก่อนส่งขึ้นคลาวด์เสมอ โดยไฟล์ในอยู่คลาวด์สตอเรจนั้นไม่ได้เป็นไฟล์จริงที่เราเก็บ แต่ระบบไฟล์จะซอยไฟล์ออกเป็นไฟล์ขนาดไม่เกิน 32KB, มีระบบตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์, และฟีเจอร์ Oblivious RAM ที่ปิดบังรูปแบบการใช้งานว่าอ่านไฟล์ใดบ่อยเป็นพิเศษหรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดรวมถึงชื่อไฟล์ก็เข้ารหัสทั้งสิ้น
โครงการนี้เป็นโครงการทดลองที่ไม่ได้ใช้งานจริงใน Cloudflare
ที่มา - Cloudflare Blog
คลิปหลุดของ The Last of Us Part II สปอยล์เนื้อเรื่องของเกมจนบริษัทต้องออกมาแถลงขอให้ทุกคนอย่าสปอยล์คนอื่น โดยทาง Naughty Dog ยืนยันว่าคนปล่อยคลิปเป็นคนนอก
ล่าสุดนักทดสอบเกมที่ใช้ชื่อทวิตเตอร์ว่า PixelButts ระบุถึงรูรั่วที่เป็นไปได้ โดยอาจจะเป็นเพราะ Naughty Dog ทำกุญแจ AWS S3 รั่วออกไปเอง โดยระบุว่ากุญแจหลุดออกไปกับแพตช์ล่าสุดของเกมอื่นๆ เช่น Uncharted 3 ทำให้แฮกเกอร์ที่แกะแพตช์ดูจะสามารถเข้าไปดูดข้อมูลใน bucket ได้
Backblaze เคยเป็นบริษัทสำรองข้อมูลราคาประหยัดที่หันมาทำบริการคลาวด์สตอเรจแข่งกับผู้ให้บริการคลาวด์อื่นๆ มาตั้งแต่ปี 2015 โดยมี RESTful API ของตัวเอง ล่าสุดทาง Backblaze ก็เปิด S3 API ให้ใช้งานเป็นเบต้า
การรองรับ S3 API ของ AWS เป็นเงื่อนไขสำคัญของหลายองค์กรเพราะซอฟต์แวร์จำนวนมากไม่ได้รองรับ API ของคลาวด์ทุกเจ้า ตัวอย่างเช่น Elasticsearch ที่มีระบบสำรองข้อมูลในตัวก็ต้องการ S3 API เช่นกันแม้จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ไปใช้เจ้าอื่นได้
ราคาของ B2 ยังคงเท่าเดิมอยู่ที่ 0.005 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ต่อเดือน และค่าดาวน์โหลด 0.01 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ ไม่มีแบ่งประเภทสตอเรจ
AWS เปิดตัวบริการ AWS Transfer for FTP และ FTPS เพิ่มเติมหลังจากเปิดบริการ SFTP ไปเมื่อปี 2018 แม้ว่าโปรโตคอลทั้งสองจะค่อนข้างเก่าแล้ว แต่ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและซอฟต์แวร์วิทยาศาสตร์ยังใช้งาน FTP อยู่ ขณะที่ซอฟต์แวร์ด้าน ERP หรือ CRM บางตัวก็ยังรองรับเฉพาะ FTPS เท่านั้น
ในบรรดาการเชื่อมต่อทั้ง 3 แบบ FTP อันตรายที่สุดเนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสใดๆ ทำให้ AWS ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ต้องเชื่อมต่อผ่าน VPC เท่านั้น ส่วน FTPS นั้นยังอนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ค่าใช้งานเท่ากับ SFTP ทุกประการ อยู่ที่ 0.30 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และอัตราการส่งข้อมูลเข้าออก 0.04 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์เท่ากัน
Canon เปิดตัวบริการแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการและแชร์รูปภาพในชื่อว่า image.canon โดยเน้นการทำงานกับอุปกรณ์ Canon ให้บริการฟรีแต่จำกัดเฉพาะอุปกรณ์ที่กำหนดไว้
แนวคิดของ image.canon คือตัวกล้อง Canon จะเชื่อมต่อกับบริการนี้โดยตรง โดย image.canon จะส่งรูปภาพต่อไปยังคอมพิวเตอร์, มือถือ รวมถึงบริการอื่นที่รองรับอย่างเช่น Google Drive หรือจะใช้เครื่องพิมพ์ SELPHY ลงทะเบียน Canon ID และพิมพ์ภาพจากแพลตฟอร์มก็ได้เช่นกัน
Huawei Thailand ประกาศเปิดบริการ Huawei Mobile Cloud พื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์กับลูกค้า Huawei ในไทยแล้ว โดยผู้ใช้ทุกคนที่ใช้ EMUI 5.1 ได้พื้นที่ฟรี 5GB (ต้องล็อกอิน Huawei ID ก่อน)
Huawei ระบุว่าการเปิดบริการ Huawei Mobile Cloud ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกค้าของตัวเองคุ้นเคยกับ Huawei Mobile Service (HMS) มากขึ้น
ปัญหาลืมปิด Bucket ของสตอเรจบนคลาวด์ (เช่น กรณี Amazon S3 ที่เคยเป็นข่าวในบ้านเรา) ยังถือเป็นต้นเหตุสำคัญของกรณีข้อมูลหลุดหลายครั้ง
ปีที่แล้ว AWS ออกเครื่องมือชื่อ Amazon S3 Block Public Access เพื่อตั้งค่าไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป (คลิกเดียวปิดทุกอย่าง) ปีนี้ AWS ออกเครื่องมือที่ช่วยให้เราตรวจสอบสิทธิการเข้าถึง S3 ได้ละเอียดมากขึ้น ในชื่อว่า Access Analyzer for S3
Huawei ประกาศขยายบริการคลาวด์สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามยุทธศาสตร์การสร้าง ecosystem ของตัวเองในแบรนด์ Huawei Mobile Services (HMS)
บริการตัวแรกคือ Huawei Mobile Cloud เป็น cloud storage สำหรับซิงก์ข้อมูลและเก็บไฟล์ โดยผู้ใช้สมาร์ทโฟน Huawei ทุกคน (ที่สมัคร Huawei ID) ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะได้พื้นที่ฟรี 5GB ส่วนช่วงเวลาเปิดบริการระบุว่า "ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้"
Dropbox ประกาศเปิดบริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ Dropbox Transfer ซึ่งเหมือนกับเว็บฝากไฟล์อื่นๆ ที่เรารู้จักกันดี
Dropbox ระบุว่าที่ผ่านมา คนใช้ Dropbox เพื่อแชร์ไฟล์ให้เพื่อนร่วมงานเป็นปกติ แต่มีการใช้งานบางกรณีที่เราอยากแชร์ไฟล์ให้คนอื่นดาวน์โหลดอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องมีสิทธิแก้ไขไฟล์ และไม่ต้องอัพเดตไฟล์นั้นอีกในอนาคต ซึ่งการส่งไฟล์ทางอีเมลไม่ตอบโจทย์ เพราะมักจำกัดขนาดไฟล์ที่ 25MB เท่านั้น
Dropbox ประกาศอัพเกรดฟีเจอร์ด้านการแชร์ไฟล์ใหม่ ใช้ชื่อว่า Dropbox Spaces โดยมีของใหม่หลายอย่าง ดังนี้
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา DigitalOcean เปิดบริการ Managed Database โดยเริ่มจาก PostgreSQL ก่อน และวันนี้ก็ขยายมาถึง MySQL 8 และ Redis 5 แล้ว
บริการ Managed Database ของ DigitalOcean เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบฐานข้อมูล เพียงเลือกเอนจิน, สตอเรจ, vCPU, เมมโมรี่ และสแตนบายโหนด จากนั้นก็สั่งรันเท่านั้น ซึ่ง Managed Database ของ DigitalOcean จะรันอยู่บนแพลตฟอร์ม compute และใช้ local SSD เป็นสตอเรจหลัก
ทุกคนต่างรู้กันดีว่าการเปิด S3 เป็น public เป็นหนึ่งในสาเหตุของข้อมูลหลุดหลายครั้ง จนสุดท้าย AWS ต้องออก Block Public Access ไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะตลอดไป แต่จริง ๆ แล้วคลาวด์มีส่วนประกอบจำนวนมาก ดังนั้น S3 จึงไม่ใช่อย่างเดียวที่คนใช้งานจะพลาดในด้านความปลอดภัย
Ben Morris นักวิเคราะห์ความปลอดภัยอาวุโสจาก Bishop Fox ระบุว่า snapshot ของ EBS คือสิ่งหนึ่งที่ถูกละเลยความปลอดภัย เพราะตัว snapshot เก็บข้อมูลทุกอย่างของแอปบนคลาวด์ แต่กลับมีคนปล่อยเป็นสาธารณะ
Amazon ได้ประกาศให้ Aurora Serverless ระบบฐานข้อมูลแบบสเกลตัวเองอัตโนมัติตามการใช้งานบน PostgreSQL เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ ตามหลังจากเวอร์ชัน MySQL ที่เข้าสู่สถานะ GA เมื่อปีที่แล้ว
วิธีใช้ Amazon Aurora Serverless ผู้ใช้จะต้องตั้งค่าความจุสูงสุดและต่ำสุด ส่วนไคลเอนท์จะเชื่อมต่อเข้าสู่ proxy ซึ่งจะ route เข้าไปยังเวิร์คโหลดด้านหลังที่สเกลได้ตามปริมาณโหลดที่เข้ามา ซึ่ง Amazon เคลมว่าการสเกลจะไวมากเพราะมีกลุ่มทรัพยากรที่เป็น warm pool ที่เมื่อต้องการใช้งานก็พร้อมเสียบทันที
กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการ Elastifile ผู้ให้บริการสตอเรจแบบสเกลเอาท์ โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าดีล แต่จากข้อมูลนั้น Elastifile เคยรับเงินเพิ่มทุนไปแล้วรวม 65 ล้านดอลลาร์
Elastifile เป็นสตาร์ทอัพจากเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ให้บริการสตอเรจเกรดลูกค้าองค์กรบนคลาวด์ และรองรับการทำงานบน Google Cloud Platform (GCP) เต็มรูปแบบ
กูเกิลบอกว่าบริการของ Elastifile เมื่อรวมกับบริการของ Google Cloud จะรองรับการนำเวิร์กโหลดแบบเก่ามาทำงานบน GCP ได้เร็วขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการตลอดจนสเกลได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกับลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลแบบเฉพาะตัวระดับเพตะไบต์
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มพื้นที่สตอเรจของ OneDrive รุ่นมาตรฐาน (ที่ไม่รวม Office 365) ปกติจ่ายเดือนละ 1.99 ดอลลาร์ (ราคาไทยคือ 73.99 บาท) ได้พื้นที่ 50GB ก็จะเพิ่มพื้นที่ให้เท่าตัวเป็น 100GB มีผลทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ โดยจะเริ่มใช้ในเร็วๆ นี้ (ลูกค้าเก่าไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม ได้พื้นที่เพิ่มเลย)
ส่วนลูกค้า OneDrive ที่เป็นแพ็กเกจ Office 365 จะได้พื้นที่ขนาด 1TB ต่อคนอยู่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็เพิ่มตัวเลือกให้ซื้อพื้นที่สตอเรจเพิ่มได้ถ้าต้องการ โดยคิดราคาทุก 200GB ต่อ 1.99 ดอลลาร์ เพิ่มได้สูงสุดอีก 1TB (รวมเป็นทั้งหมด 2TB) ในราคา 9.99 ดอลลาร์ สามารถปรับลดพื้นที่สตอเรจได้ตามต้องการตลอดเวลา
ปัจจุบัน Google Drive สามารถบันทึกไฟล์ Google Docs, Sheets และ Slides ไว้ใช้งานแบบออฟไลน์บน Chrome ได้อยู่แล้ว ล่าสุด Google จะขยายความสามารถนี้ให้ใช้งานกับไฟล์ประเภทอื่น ๆ ด้วย
Google ประกาศว่าตอนนี้เปิดให้ทดสอบ Drive เวอร์ชันใหม่ที่บันทึกไฟล์ไว้ใช้งานแบบออฟไลน์ได้หลายประเภท ทั้ง PDF, รูปภาพ, เอกสาร Microsoft Office และไฟล์อื่น ๆ แล้ว โดยผู้ใช้ที่ทดสอบต้องใช้ Chrome ต้องเปิดโหมดออฟไลน์ใน Drive หรือ Docs ก่อน และล็อกอินด้วยบัญชี G Suite จึงจะเห็นไฟล์ที่บันทึกไว้ใช้งานออฟไลน์
LINE ประกาศยกเครื่องฟีเจอร์ Keep บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ของ LINE ที่ใช้เซฟข้อมูลสำคัญๆ จากแชทไม่ให้หายไป (ย้ายบัญชีไปเครื่องใหม่ จะยังเข้าถึงไฟล์จากใน Keep ได้อยู่)
ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ Collection และ Favorite
กูเกิลประกาศหยุดการซิงก์รูปภาพจาก Google Photos ไปเก็บเป็นไฟล์บน Google Drive โดยอัตโนมัติ (และในทางกลับกันด้วยคือไฟล์รูปจาก Drive ไปขึ้นใน Photos) อีกทั้งการลบไฟล์บน Photos จะไม่กระทบไฟล์บน Drive และในทางกลับกันด้วยเช่นกัน
เหตุผลของกูเกิลคือผู้ใช้สับสนระหว่างการเก็บไฟล์สองที่แล้วซิงก์กัน และมีปัญหาลบไฟล์ที่หนึ่ง แล้วไฟล์อีกที่หนึ่งหายไปด้วย