แอปเปิลเปิดตัวแอพ iCloud for Windows เวอร์ชันใหม่ เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วจาก Microsoft Store
ของใหม่ใน iCloud เวอร์ชันใหม่คือปรับปรุง iCloud Drive โดยใช้เทคโนโลยีจัดการโฟลเดอร์ตัวเดียวกับ OnDrive File On-Demand ทำให้เราเห็นไฟล์ทั้งหมดของ iCloud Drive แม้ไม่ได้ดาวน์โหลดมาไว้บนเครื่องก็ตาม อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่สตอเรจบนพีซีด้วย
ที่มา - Windows Blog
Dropbox ประกาศขึ้นราคาแพ็กเกจรุ่นถูกที่สุดคือ Dropbox Plus จากเดิม 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน มาเป็น 11.99 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยเพิ่มพื้นที่จากเดิม 1TB มาเป็น 2TB
นอกจากพื้นที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวแล้ว ฟีเจอร์อื่นที่เพิ่มเข้ามาคือ Dropbox Smart Sync ที่ผู้ใช้มองเห็นไฟล์ทั้งหมดในไดรฟ์ Dropbox ของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเก็บไฟล์จริงๆ บนฮาร์ดดิสก์ให้เปลืองพื้นที่ และ Dropbox Rewind ที่ช่วยกู้คืนการแก้ไขไฟล์ล่าสุดในรอบ 30 วัน
ส่วน Dropbox Professional ซึ่งเป็นแพ็กเกจระดับใหญ่ขึ้น ยังคิดราคา 19.99 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่เพิ่มพื้นที่ให้เป็น 3TB (ของเดิม 2TB) และแพ็กเกจสำหรับลูกค้าธุรกิจ Dropbox Business เพิ่มพื้นที่จาก 3TB เป็น 5TB ในราคาเท่าเดิมเช่นกัน
บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ช่วงหลัง เริ่มมีสตอเรจประเภท archive สำหรับสำรองข้อมูลที่นานๆ ใช้ที ออกแบบเพื่อใช้แทนการเก็บลงเทป ตัวอย่างบริการลักษณะนี้คือ Amazon S3 Glacier Deep Archive ฝั่งของ Azure ก็มีบริการคล้ายๆ กันชื่อ Azure Archive Storage
ล่าสุด Google Cloud Storage ออกบริการเก็บข้อมูลแบบเดียวกันมาสู้ ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่กูเกิลเรียกมันเล่นๆ ว่า "ice cold"
จุดต่างของ "ice cold" กับสตอเรจคู่แข่งคือวิธีการเรียกข้อมูลคืน โดยฝั่งของ AWS Glacier จะต้องส่งคำขอเรียกข้อมูล (Retrieval Requests) เพื่อให้ AWS ดึงข้อมูลใน Glacier ออกมาให้เราก่อน ซึ่งต้องรอระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เราจะเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
Amazon ได้เปิดให้ใช้งานสตอเรจคลาสใหม่ Amazon S3 Glacier Deep Archive ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นเก็บข้อมูลระยะยาวอย่างคงทนและปลอดภัย โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องเก็บข้อมูลไว้ในระยะยาวมากและแทบไม่ได้เรียกใช้เลยนานหลายปี หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
สำหรับการเก็บข้อมูลของ S3 Glacier Deep Archive คือจะเก็บข้อมูลไว้ที่ 3 Availability Zones หรือมากกว่า และเรียกข้อมูลได้ภายใน 12 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า โดยสตอเรจคลาสนี้ออกแบบมาเพื่อทดแทนการเก็บข้อมูลลงเทป (tape drive) โดยผู้ใช้จะได้ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดการ หรือไมเกรตข้อมูลไปยังสื่อใหม่ ๆ
ปัจจุบัน องค์กรหลายแห่งเริ่มหันมาใช้งานคลาวด์มากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลที่เมื่อนำข้อมูลมาเก็บรวมไว้ที่เดียวก็จะทำให้ลดความซับซ้อนในการจัดการ แต่ปัญหาที่ผู้ใช้มักจะพบอยู่เป็นประจำคือข้อมูลในปัจจุบันมีปริมาณมาก และทำนายการเติบโตยาก
Google จึงได้เปิดตัวแพลนค่าใช้จ่ายใหม่ของ Google Cloud Storage ในชื่อว่า Storage Growth Plan ซึ่งเป็นระบบการคิดค่าใช้จ่ายของสตอเรจแบบใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้องค์กรคำนวณค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพบกับปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดไว้จากปริมาณข้อมูลมหาศาลที่เข้ามาโดยคาดไม่ถึง
วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายของ Storage Growth Plan มีดังนี้
Google ประกาศว่าตอนนี้ Cloud Firestore บริการฐานข้อมูล serverless เก็บเอกสารแบบ NoSQL ได้เข้าสู่สถานะ GA หรือพร้อมให้บริการโดยทั่วไปแล้ว พร้อมประกาศขยายการให้บริการเพิ่มเติม, ลดราคาสำหรับ regional instance รวมถึงอินทิเกรตกับ Stackdriver สำหรับการมอนิเตอร์ได้ด้วย
Cloud Firestore เป็นระบบฐานข้อมูลแบบ cloud-native ที่ Google จัดการระบบให้ โดยออกแบบมาใช้สำหรับงานเก็บ, ซิงค์ และ query ข้อมูลสำหรับเว็บ, มือถือ และแอพ IoT โดยการออกแบบ Cloud Firestore โฟกัสไปที่การช่วยทำให้การพัฒนาแอพง่ายขึ้น ตัวฐานข้อมูลรองรับการซิงค์, ทำงานแบบออฟไลน์ และ ACID transactions
Microsoft ประกาศเข้าซื้อ Citus Data บริษัทพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้ฐานข้อมูล PostgreSQL ทำงานเร็วขึ้นและสเกลได้มากขึ้น
Citus Data ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้วในช่วงที่ทั้งคลาวด์และ Big Data ยังเป็นเรื่องใหม่ และฐานข้อมูลแบบ relational ยังถูกออกแบบให้ scale up ได้อย่างเดียว จึงทำให้เกิดฐานข้อมูล NoSQL ขึ้นมากมาย แต่ Citus Data มีไอเดียทำให้ฐานข้อมูล relational มีความยืดหยุ่นและสเกลได้มากขึ้น ซึ่ง Citus Data เลือกใช้ฐานข้อมูล PostgreSQL มาพัฒนาต่อยอด แทนที่การพัฒนาฐานข้อมูลขึ้นมาเอง
AWS ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ชื่อว่า Backup ซึ่งเป็นระบบจัดการแบคอัพของเซอร์วิสต่าง ๆ บนคลาวด์ AWS รวมถึง Storage Gateway ที่ต่อกับ on-premise รวมถึงทำระบบแบคอัพอัตโนมัติในที่เดียว
ฟีเจอร์ของ AWS Backup เช่น สร้างแผนการแบคอัพตามเงื่อนไข, มอนิเตอร์สถานะของการแบคอัพ, ตรวจสอบ compilance, ค้นหาและรีสโตร์แบคอัพ ซึ่ง AWS Backup รองรับการสั่งแบคอัพหลาย ๆ ระบบ ไม่ว่าจะเป็น EBS volume, EFS file system, RDS, DynamoDB รวมถึง Storage Gateway ที่เชื่อมต่อกับ volume บน on-premise ได้ด้วย โดยสามารถแบคอัพเข้าไปเก็บไว้ใน S3 และกำหนดให้แบคอัพเก่าไปอยู่ใน Glacier ได้
Amazon เปิดตัวบริการใหม่ชื่อว่า AWS DataSync บริการเพื่อช่วยจัดการซิงค์ข้อมูลปริมาณมากแบบอัตโนมัติ ทั้งเข้าและออก AWS เพื่อรองรับความต้องการหลายอย่าง ทั้งด้านการทำแบคอัพ, อัพโหลดและประมวลผลข้อมูล และอื่น ๆ
สำหรับ AWS DataSync นั้นเป็นบริการโอนย้ายข้อมูลที่ Amazon พัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานง่ายทั้งผ่านคอนโซลและ CLI พร้อมทั้งเคลมว่าเร็วกว่าการโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ระบบโอนย้ายแบบโอเพ่นซอร์สถึง 10 เท่า และเป็น managed service ที่ Amazon จะจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้
ปัญหา Amazon S3 โดนแฮกคอนฟิกผิดจนกระทั่งเปิดออกสู่สาธารณะเป็นปัญหาเรื้อรังที่หลายบริการเจอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ทาง AWS จะพยายามปรับหน้าจอหรือการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเร็วขึ้นแล้วก็ตาม ตอนนี้ทาง AWS ก็เปิดฟีเจอร์ใหม่ Amazon S3 Block Public Access การตั้งค่าบัญชีไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป
การปรับค่ามีให้เลือก คือ บล็อคการตั้ง ACL ให้อนุญาตให้คนภายนอกสามารถอ่านและเขียนไฟล์ได้ และบล็อคการตั้ง bucket เป็นสาธารณะ ทั้งสองแบบมีทั้งการบล็อคการสร้างออปเจกต์หรือ bucket ใหม่ในอนาคต และการลบสิทธิ์สาธารณะเดิมที่เคยเปิดไว้
เมื่อสั่งบล็อคแล้ว การสร้าง bucket ใหม่หรือเปิดสิทธิ bucket เดิมให้เป็นสาธารณะก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป
Google ประกาศฟีเจอร์ใหม่สำหรับ Cloud Storage ระบบเก็บข้อมูลแบบ object บน GCP โดยเพิ่มตัวเลือกสตอเรจแบบสำเนาข้อมูลสอง region, เพิ่มตัวเลือก multi-regional หรือสำเนาข้อมูลหลาย region ให้ Nearline และ Coldline พร้อมกับเปิดตัวไลบรารีไคลเอนท์สำหรับภาษา C++
ฟีเจอร์ที่สำคัญของ Google Cloud Storage รอบนี้คือ dual-regional คือผู้ใช้สามารถสั่งสำเนาข้อมูลแบบสอง region ได้ ซึ่งตัวเลือกนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่าง regional ที่สำเนาข้อมูลภายใน availability zone ใน region เดียว และ multi-regional ที่ข้อมูลจะกระจายไปทั่วสหรัฐฯ, สหภาพยุโรป หรือเอเชียตามที่เลือก
Dropbox ประกาศเปิดตัว Nautilus ระบบเสิร์ชเอนจินที่ทีมวิศวกร Dropbox พัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และนำมาใช้แทนระบบเสิร์ชเอนจินเดิมของ Dropbox
Dropbox อธิบายว่าทุกวันนี้ระบบค้นหาไฟล์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะ Dropbox มีสเกลที่ใหญ่ ผู้ใช้แต่ละคนมีความต้องการและพฤติกรรมการค้นหาไฟล์ไม่เหมือนกัน ต่างกับระบบเสิร์ชเอนจินบนเว็บ จึงเป็นที่มาของโครงการ Nautilus เพื่อพัฒนาระบบค้นหาไฟล์แบบใหม่
ทีมพัฒนา Nautilus ใช้แพลตฟอร์ม machine intelligence เพื่อสเกลระบบ search rank และโมเดลการเข้าใจคอนเทนต์ โดย Dropbox ตั้งเป้าหมายโครงการนี้ไว้ว่า จะต้องมีประสิทธิภาพ, สเกลได้, เชื่อถือได้, วิศวกรปรับแต่ง indexing ได้ง่าย รวมถึงจะต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ด้วย
Google Drive ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า Priority in Drive เป็นหน้าสำหรับแสดงไฟล์ใน Drive ที่คาดว่าผู้ใช้จะใช้งาน กับ workspace ที่ช่วยในการจัดการไฟล์
ในส่วนแรกคือส่วนของการเลือกไฟล์ Google Drive ใช้ machine learning เลือกว่าไฟล์ไหนที่มีความสำคัญที่ผู้ใช้น่าจะต้องการจะทำงานและนำมาแสดง โดยเมื่อเปิดหน้าเว็บจะเจอไฟล์พร้อมกับคอมเมนท์และคำแนะนำว่าควรทำอะไร ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มคอมเมนท์เข้าไปที่ไฟล์ได้ในหน้า Google Drive หรือจะเปิดทำงานเต็มรูปแบบก็ได้ ซึ่งเป้าหมายของฟีเจอร์นี้คือนำไฟล์ที่สำคัญที่สุดมารวมไว้ในที่เดียว ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาไฟล์
AWS เคยเปิดตัว Amazon Aurora Serverless บริการฐานข้อมูลแบบ serverless ที่สเกลตัวเองอัตโนมัติตามการใช้งานและคิดค่าใช้จ่ายตามจริงในงาน AWS re:Invent เมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดฟีเจอร์นี้เริ่มให้บริการแบบ GA แล้วสำหรับฐานข้อมูล Aurora แบบที่รองรับ MySQL
Aurora Serverless เป็นบริการที่เหมาะกับการใช้กับงานประเภทที่คำนวณโหลดยาก หรืองานที่มีโหลดไม่บ่อยนัก ฐานข้อมูลจะสเกลตามโหลดจริง และหากไม่มีการใช้งานเลยก็สามารถพักการใช้งานหรือสเกลเหลือศูนย์ได้ด้วย
กูเกิลสร้างไลบรารี Go Cloud สำหรับการใช้งานคลาวด์ในซอฟต์แวร์ให้สามารถย้ายค่ายได้ง่ายขึ้น โดยตอนนี้รองรับเฉพาะ Google Cloud และ AWS เท่านั้น ฟีเจอร์ที่รองรับแล้ว ได้แก่ สตอเรจ, ฐานข้อมูล (MySQL), การคอนฟิกรันไทม์, และการรันเซิร์ฟเวอร์
ตอนนี้โครงการยังอยู่ระดับอัลฟ่า แปลว่าอาจจะมีการปรับแก้ API อย่างหนักได้ก่อนออกตัวจริง กูเกิลสาธิตการใช้งาน เช่นการอ่านและเขียนไฟล์ด้วยบริการคลาวด์ที่ API จะต่างกันระหว่างค่ายเพียงแค่ส่วนการเซ็ตอัพเท่านั้น แต่ส่วนกลไกการทำงานอื่นใช้ API เดียวกันไม่ว่าจะเป็นคลาวด์เจ้าใด
ตอนนี้ Apple เริ่มโปรโมตการระบบจ่ายเงินเพื่อเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล iCloud เพิ่มเติมแล้วสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้เคยเช่ามาก่อน โดยจะให้ทดลองใช้ฟรี 1 เดือน ก่อนที่จะตัดสินใจจ่ายเงินเพื่ออัพเกรดพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่ม
จากรายงานเผยว่า Apple จะเริ่มแสดงการแจ้งเตือนเชิญชวนผู้ใช้ที่พื้นที่บน iCloud ขนาด 5GB กำลังจะหมด โดยแนะนำให้ไปใช้พื้นที่ 50GB แทนและจะมีโปรโมชั่นให้ทดลองใช้ฟรีเดือนแรก จากนั้นจะคิดราคาที่เดือนละ 0.99 ดอลลาร์ ซึ่งแม้ว่าในการแจ้งเตือนของ Apple จะบอกว่าโปรโมชั่นนี้มีเฉพาะ 50GB แต่ AppleInsider รายงานว่าแม้จะกดเช่าแพลนอื่นก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
กูเกิลเปิดตัวแพ็กเกจพื้นที่เก็บข้อมูลใหม่ ใช้ชื่อว่า Google One โดยราคาเริ่มต้นเท่าเดิมคือ 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ได้ 100GB แต่เพิ่มแพ็กเกจระดับกลาง 2.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ได้ 200GB ส่วน 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือนได้ถึง 2TB
จุดขายสำคัญคือแพ็กเกจนี้แชร์พื้นที่ให้ครอบครัวได้ 5 คน ทำให้คุ้มที่จะซื้อแพ็กเกจใหญ่ขึ้น ส่วนตัวบริการเองจะมีซัพพอร์ตจากพนักงานให้ และจะมีโปรโมชั่น เช่น เครดิต Google Play หรือส่วนลดโรงแรมให้เป็นระยะ
ผู้ที่จ่ายค่า Google Drive อยู่แล้ว จะได้อัพเกรดไป Google One เร็วๆ นี้โดยอัตโนมัติ โดยเริ่มจากสหรัฐฯ ก่อน
ที่มา - Google Blog
Amazon ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ DynamoDB บริการ NoSQL ของ AWS คือฟีเจอร์แบคอัพต่อเนื่องหรือ Continuous Backups และฟีเจอร์เรียกคืนข้อมูลที่จุดเวลาหรือ Point-In-Time Recovery (PITR) โดยเครื่องมือเหล่านี้รองรับการใช้งานผ่าน AWS Management Console, เรียกผ่าน API และ AWS Command Line Interface
ฟีเจอร์แรก Continuous Backup คือระบบแบคอัพแบบต่อเนื่อง เมื่อเปิดใช้งานแล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบคอัพเก็บไว้อัตโนมัติ และข้อมูลแบคอัพนี้รองรับฟีเจอร์ PITR คือสามารถย้อนกลับไปกู้ข้อมูลยังจุดเวลาหนึ่งในอดีตได้ตลอดเวลา โดยย้อนได้ในระดับวินาทีนานสุดถึง 35 วัน
AWS เปิดตัวบริการพื้นที่เก็บข้อมูลแบบใหม่บน Simple Storage Service หรือ S3 เป็นแพคเกจที่ราคาถูกลง เน้นให้บริการลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลแบบที่ไม่ต้องการทันที
บริการใหม่นี้ใช้ชื่อว่า S3 One Zone Infrequent Access หรือ S3 One Zone-IA คือจะเป็นสตอเรจคลาสที่เก็บข้อมูลไว้ใน AWS Availability Zone เพียงโซนเดียวเท่านั้น รับประกันความทนทานต่อการเสียหายของข้อมูล 99.99999999% เหมือนกับ S3 อื่น ๆ แต่ไม่ได้ออกแบบให้ทนทานต่อความเสียหายในเชิง physical เหมือนกับ S3 Standard-IA ดังนั้นหาก AWS Availability Zone ประสบภัยธรรมชาติ ข้อมูลอาจหายได้ S3 One Zone-IA จึงเหมาะกับการใช้เพื่อแบคอัพสำรอง (secondary backup) สำหรับข้อมูลแบบ on-premise และข้อมูลแบบที่สามารถสร้างใหม่ได้ง่าย
Dropbox รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไอพีโอเพื่อเข้าตลาดหุ้นเพิ่มเติมในเอกสาร S-1 ที่ยื่นไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของหุ้นไอพีโอ และการขายหุ้นให้ Salesforce
หุ้น Dropbox นั้นจะใช้ตัวย่อว่า DBX ซื้อขายในตลาด Nasdaq ซึ่งหุ้นเพิ่มทุนจะออกจำหน่ายในราคา 16-18 ดอลลาร์ต่อหุ้นทั้งหมด 36 ล้านหุ้น เพื่อระดมทุน 648 ล้านดอลลาร์ ซึ่งด้วยราคาไอพีโอนี้จะทำให้ Dropbox มีมูลค่าประมาณ 7-8 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการไอพีโอหุ้นเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่การไอพีโอ Snap เมื่อปีที่แล้ว
เราทราบข้อมูลกันก่อนหน้านี้อยู่แล้วว่าบริการ iCloud มีการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการภายนอก อาทิ Amazon S3 และ Microsoft Azure แล้วก็มีรายงานแบบไม่ยืนยันอีกเช่นกันว่าแอปเปิลก็เช่า Google Cloud ด้วย แต่ไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไป เพราะแอปเปิลยืนยันเองแล้วว่าจริง
Carbonite ผู้ให้บริการสำรองข้อมูลออนไลน์ประกาศซื้อกิจการ Mozy ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสำรองข้อมูลออนไลน์เหมือนกัน โดยเป็นการซื้อจากเดลล์ ด้วยมูลค่า 145.8 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าดีลทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 1 ปีนี้
Mozy เดิมเป็นบริษัทลูกของ EMC ซึ่งได้รวมกิจการกับ VMware ก่อนที่เดลล์จะเข้าซื้อกิจการ EMC ในปี 2015
ผู้บริหาร Carbonite กล่าวว่าดีลนี้จะทำให้ Carbonite มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ซึ่งรองรับทุกความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
ที่มา: Carbonite
บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) แถลงความร่วมมือกับ ThaiWPS ผู้ทำโปรแกรมสำนักงานของบริษัท Kingsoft จากประเทศจีน เปิดตัว SuperDuck แบรนด์โซลูชั่นสำนักงานเน้นลูกค้าองค์กรและ SME
SuperDuck มีผลิตภัณฑ์สองอย่างคือ One Office 2561 สตอเรจบนคลาวด์ และ One VDI 2561 บริการคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual desktop) พร้อมโปรแกรมทำงานพื้นฐาน บวกกับโปรแกรมสำนักงานของ ThaiWPS โดยข้อมูลการทำงานจะถูกเก็บอยู่บนคลาวด์ทั้งหมด
Azure เปิดปล่อยสตอเรจระดับ Archive ที่ถูกกว่าแบบ Cool ถึง 5 เท่า กดราคาเหลือ 0.002 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ต่อเดือน หรือเทราไบต์ละ 2 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น
ราคาของ Azure Archive นับว่าถูกที่สุดในตอนนี้ Google Cloud Coldline นั้นอยู่ที่ 7 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน หรือ Amazon Glacier ก็อยู่ที่ 4 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน แม้แต่ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจรายเล็กอย่าง Backblaze ก็ยังคิดราคา 5 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน
ไมโครซอฟท์มีบริการ Azure Backup สำหรับแบ็คอัพข้อมูลเก็บขึ้นคลาวด์อยู่แล้ว ล่าสุดมันเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Windows Server System State Backup to Azure หน้าที่ก็ตรงตัวคือสามารถแบ็คอัพ state ของ Windows Server ขึ้นไปเก็บบนคลาวด์ได้
ฟีเจอร์นี้ช่วยให้แอดมินองค์กรสามารถเก็บ state ของเซิร์ฟเวอร์ได้ง่ายขึ้นมาก ถ้ามีปัญหาใดๆ ก็สามารถสั่ง restore กลับมาจาก Azure ได้ทันที มันรองรับ Windows Server 2008 R2 ขึ้นไป และนอกจากตัวระบบปฏิบัติการแล้ว ยังรองรับ Active Directory, File Server และ IIS ด้วย
ไมโครซอฟท์ยังออกเครื่องมือช่วยสั่งแบ็คอัพจาก PowerShell รวมถึงเปิดให้เลือกเวลาที่ต้องการแบ็คอัพอย่างอิสระด้วย