Windows 11 Insider Preview บิลด์ล่าสุด 27686 มีการปรับปรุงเพิ่มลิมิตของสตอเรจเมื่อฟอร์แมทแบบ FAT32 ผ่านคอมมานด์ไลน์ จากเดิมที่ลิมิตที่ 32GB ให้กลายเป็น 2TB แล้ว โดยการปรับลิมิตนี้มีผลเฉพาะการฟอร์แมทผ่านคอมมานด์ไลน์เท่านั้น การฟอร์แมทด้วยหน้าต่างคำสั่งฟอร์แมทปกติยังคงติดลิมิตอยู่
ลิมิต 32GB บน FAT32 ถูกกำหนดมาตั้งแต่ Windows 95 ราวๆ 30 ปีได้แล้ว โดย Dave Plummer อดีตนักพัฒนา Windows ของไมโครซอฟท์เคยโพสต์บน X เล่าว่าเจ้าตัวเป็นคนรับผิดชอบเรื่องหน้าต่างฟอร์แมทบน Windows นี้เอง แล้วเขาเองก็เป็นคนกำหนดลิมิตที่ 32GB และมันไม่เคยถูกแตะต้องเลย
ในงาน Build 2023 ปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Dev Home โหมดนักพัฒนาของ Windows 11 และมีฟีเจอร์เด่นคือ Dev Drive หรือการใช้ระบบไฟล์ ReFS จากฝั่ง Windows Server มาใช้แทน NTFS ทำให้ประสิทธิภาพการเขียนอ่านไฟล์ดีขึ้นกว่าเดิม 30%
ล่าสุดใน Build 2024 ไมโครซอฟท์พัฒนา Dev Drive เพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Filesystem Block Cloning ทำให้การคัดลอกไฟล์ขนาดใหญ่ทำได้เร็วขึ้นมากๆ ตัวอย่างการคัดลอกไฟล์ขนาด 10GB ของเดิมใช้เวลาเกือบ 8 วินาที แต่ถ้าเปิดฟีเจอร์นี้ จะเหลือเวลาเพียง 641 ms หรือประมาณ 0.7 วินาทีเท่านั้น
ฟีเจอร์นี้จะเริ่มเปิดใช้ใน Windows 11 24H2 ที่จะออกช่วงครึ่งหลังของปีนี้
OpenZFS ออกเวอร์ชั่น 2.2.1 ปิดการทำงานฟีเจอร์ Block Cloning หลังพบปัญหาข้อมูลสูญหายในบางกรณี โดยตอนนี้ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน
Block Cloning เป็นฟีเจอร์ที่ลดการใช้พื้นที่ดิสก์ในกรณีที่ต้องการสำเนาไฟล์ไปยังไฟล์ใหม่ ผลการทำงานคล้ายกับฟีเจอร์ Deduplication ในระบบไฟล์หลายระบบ ที่ตรวจสอบว่าข้อมูลในบล็อคแต่ละชุดเหมือนกันหรือไม่หากเหมือนกันให้เก็บไว้ชุดเดียว แต่ Block Cloning นั้นทำงานด้วย system call เฉพาะว่าขอสำเนาข้อมูลใน block มาใช้งานทำให้กระบวนการโดยรวมเรียบง่ายกว่า
บั๊กนี้กระทบ OpenZFS 2.2.0 ที่เพิ่งออกมาไม่นาน และมีดิสโทรไม่มากนักที่รวมไปใช้งานแล้ว เช่น FreeBSD 14 แต่ทาง FreeBSD ก็ปิดฟีเจอร์ Block Cloning เป็นค่าเริ่มต้น
เคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 6.6 ปรับสถานะของระบบไฟล์ ReiserFS เป็น "ล้าสมัย" (obsolete) และเตรียมถอดออกในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า
ReiserFS เป็นระบบไฟล์ที่พัฒนาโดย Hans Reiser ออกครั้งแรกในปี 2001 และมีฟีเจอร์ทันสมัย (ในยุคนั้น) เช่น การทำ journaling จนทำให้บางดิสโทรของยุคนั้นอย่าง SUSE Linux Enterprise นำไปใช้งานเป็นระบบไฟล์หลัก (เลิกใช้ในปี 2006)
ของใหม่อีกอย่างในงาน Build 2023 คือ Dev Home โหมดใหม่สำหรับ Windows 11 ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์บน Windows
ไมโครซอฟท์เรียก Dev Home ว่าเป็น "control center" มีลักษณะคล้ายกับ Xbox Game Bar ที่เป็น shell สำหรับเกมเมอร์ซ้อนทับบน Windows อีกทีหนึ่ง กรณีของ Dev Home คือเป็น shell สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถผูกบัญชี GitHub เพื่อดึงข้อมูลเข้ามายัง Windows โดยตรงได้เลย (ดูไฟล์ใน repository ได้จาก File Explorer), มีระบบแดชบอร์ดพร้อม widget สำหรับดูข้อมูลสำคัญต่างๆ และเขียน extension แสดงข้อมูลได้เอง, รองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์ผ่านคอมมานด์ไลน์ด้วย WinGet
Fedora ออกเวอร์ชัน 34 ของใหม่ที่สำคัญดังนี้
Fedora ออกเวอร์ชัน 33 มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรุ่นย่อยดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ WSL 2 ใน Windows 10 Insider Preview Build 20211 ให้สามารถเมานท์ระบบไฟล์จากดิสก์ที่เป็นลินุกซ์ในเครื่องเดียวกันได้
ตัวอย่างการใช้งานคือ หากเครื่องนั้นเป็นดูอัลบูททั้งวินโดวส์และลินุกซ์ ปกติแล้วฝั่งวินโดวส์จะไม่เห็นไฟล์จากฝั่งลินุกซ์ (เพราะวินโดวส์ไม่รองรับระบบไฟล์อย่าง ext4) แต่พอในวินโดวส์มีลินุกซ์ WSL 2 เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
วิธีการคือสั่ง wsl --mount <DiskPath> เท่านั้นก็เรียบร้อย (หาพาธด้วยคำสั่ง wmic diskdrive list brief) เมื่อเมานท์เสร็จแล้ว เราสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทั้งจากคอมมานด์ไลน์ หรือจะผ่าน File Explorer ก็ได้
Cloudflare เปิดซอร์สโครงการ UtahFS ของทีมวิจัย โดยเป็นระบบไฟล์ที่สร้างไดร์ฟในเครื่องจากบริการคลาวด์สตอเรจ เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ที่ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์มีข้อมูลการใช้งานน้อยลง
UtahFS เข้ารหัสไฟล์ก่อนส่งขึ้นคลาวด์เสมอ โดยไฟล์ในอยู่คลาวด์สตอเรจนั้นไม่ได้เป็นไฟล์จริงที่เราเก็บ แต่ระบบไฟล์จะซอยไฟล์ออกเป็นไฟล์ขนาดไม่เกิน 32KB, มีระบบตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์, และฟีเจอร์ Oblivious RAM ที่ปิดบังรูปแบบการใช้งานว่าอ่านไฟล์ใดบ่อยเป็นพิเศษหรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดรวมถึงชื่อไฟล์ก็เข้ารหัสทั้งสิ้น
โครงการนี้เป็นโครงการทดลองที่ไม่ได้ใช้งานจริงใน Cloudflare
ที่มา - Cloudflare Blog
ไลนัสตอบคำถามเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ารู้สึกอย่างไรกับการพัฒนาเคอร์เนลที่ไปกระทบต่อโมดูลภายนอกอย่าง ZFS เมื่อเร็วๆ นี้ และไลนัสก็เข้ามาตอบว่า ZFS นั้นเป็นโมดูลภายนอกที่ไม่ได้รับการซัพพอร์ตโดยตรง และการโหลดโมดูลภายนอกเข้าไปในเคอร์เนลนั้นสามารถทำได้แต่ทางเคอร์เนลไม่ได้ดูแลว่ามันจะทำงานได้
นอกจากประเด็นการใช้โมดูลเคอร์เนลภายนอกแล้ว ไลนัสยังแสดงความกังวลต่อออราเคิลเป็นพิเศษ โดยระบุว่าเคอร์เนลลินุกซ์นั้นคงไม่สามารถรวมเอาโมดูล ZFS เข้ามาในโครงการได้ หากไม่ได้รับจดหมายอนุญาตเป็นทางการโดยตรงจากตัวแทนฝ่ายกฎหมายของออราเคิล หรือให้ดีก็ให้ Larry Ellison เซ็นด้วยตัวเอง แม้แต่การสร้างชั้นคั่นกลางเพื่อให้โมดูลทำงานได้ก็ไม่น่าจะดีพอ เพราะออราเคิลก็เคยฟ้องกูเกิลจากการใช้อินเทอร์เฟซจาวามาแล้ว
อะไรก็เกิดขึ้นได้กับไมโครซอฟท์ยุคนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศเปิดเอกสารสเปกของ exFAT ระบบไฟล์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับสตอเรจแบบเสียบได้ เช่น SD card หรือ USB drive เพื่อให้เคอร์เนลลินุกซ์สามารถทำงานกับระบบไฟล์นี้ได้ราบรื่นกว่าเดิม
ระบบไฟล์ exFAT เป็นสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์มาตั้งแต่เริ่มใช้งานในปี 2006 และไมโครซอฟท์ก็ประกาศให้สิทธิการคุ้มครองสิทธิบัตรตัวนี้กับองค์กร Open Invention Network (OIN) ที่ทำหน้าที่คอยคุ้มครองโลกโอเพนซอร์สจากการถูกฟ้องสิทธิบัตรด้วย
ตัวเอกสารสามารถอ่านได้จาก Microsoft
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ถือเป็นผู้ใช้ Git รายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะย้ายซอร์สโค้ดทั้งหมดของ Windows มาเก็บไว้บน Git โดยไมโครซอฟท์แก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของ Git ที่ต้องจัดการไฟล์จำนวนมากๆ ด้วยการสร้าง GVFS (Git Virtual File System) ขึ้นมาช่วย
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศในงานสัมมนา Microsoft Connect ว่าได้พันธมิตรรายใหญ่อย่าง GitHub เข้ามาเป็นผู้ใช้ GVFS อีกราย และใช้ GVFS สำหรับให้บริการลูกค้าจำนวนมากของ GitHub ด้วย (Bitbucket ซึ่งเป็นคู่แข่งของ GitHub ก็ทดสอบการใช้งาน GVFS ไปแล้วก่อนหน้านี้)
macOS High Sierra จะมาพร้อมระบบไฟล์แบบใหม่คือ Apple File System หรือ APFS ซึ่งฟีเจอร์นี้จะยังคงจำกัดเฉพาะ Mac ที่ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลแบบแฟลชเท่านั้น หมายความว่า iMac และ Mac mini ที่ใช้ Fusion Drive ไม่สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ แม้ว่าในช่วงทดสอบเบต้านั้น Apple ได้แปลงดิสก์ที่ใช้ Fusion Drive ให้เป็น APFS แต่ว่าในเบต้าหลัง ๆ นั้น Apple ได้ถอดฟีเจอร์นี้ออกไป
นอกจากนี้ Apple ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ Mac ที่ทดสอบ macOS High Sierra เวอร์ชันเบต้าที่ได้แปลง Fusion Drive เป็น APFS แล้วให้แปลงกลับมาเป็น HFS+ เช่นเดิม โดยจะต้องแบคอัพข้อมูลทั้งหมด และใช้ Disk Utility เพื่อทำการฟอร์แมต Fusion Drive แล้วค่อยลง macOS ใหม่
ต่อจากข่าว เปิดตัว Windows 10 Pro for Workstations ที่ฟีเจอร์สำคัญอย่างหนึ่งคือระบบไฟล์ ReFS ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า NTFS
ล่าสุดมีคนไปพบว่าไมโครซอฟท์ถอดฟีเจอร์ ReFS จาก Windows 10 Pro ในรุ่น Fall Creators Update แล้ว โดยเหตุผลคือ ReFS จะมีให้ใช้งานเฉพาะใน Windows 10 Pro for Workstations และ Windows 10 Enterprise (ที่ไม่ขายปลีกทั่วไป) เท่านั้น
ใน Fall Creators Update จะปิดไม่ให้สร้างไดรฟ์ใหม่ที่เป็น ReFS ได้อีก แต่ยังสามารถอ่านและเขียนไดรฟ์เก่าที่เคยสร้างไว้แล้วได้
มีผู้ใช้ OneDrive บนวินโดวส์จำนวนหนึ่ง รายงานว่าในอัพเดตล่าสุดของ OneDrive ไม่สามารถใช้ได้กับระบบไฟล์อื่นได้นอกเหนือจาก NTFS
ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่พบปัญหา ใช้ OneDrive กับระบบไฟล์เก่าๆ อย่าง FAT32 แต่ก็มีผู้ใช้ที่ใช้ระบบไฟล์ใหม่ๆ อย่าง ReFS ก็รายงานว่าใช้ OneDrive ไม่ได้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ประกาศอะไรในเรื่องนี้
หลังจากที่ Windows 7 ส่วนใหญ่โดน WannyCrypt โจมตี ล่าสุดได้พบบั๊กใหม่ที่ทำให้เครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8 ช้าลงจนค้างได้
Ars Technica ระบุว่าเว็บไซต์ไม่ประสงค์ดีสามารถใช้บั๊กดังกล่าวในการเรียกไฟล์รูปในโฟลเดอร์ "$MFT" โดย Windows ใช้ "$MFT" สำหรับเก็บ metadata บนระบบไฟล์แบบ NTFS ทำให้ Windows 7 และ Windows 8 มีปัญหากับโฟลเดอร์ชื่อนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบไฟล์เสมือน GVFS (Git Virtual File System) ใช้เก็บข้อมูลในระบบ Git โดยเฉพาะ เพื่อให้ Git มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับเก็บซอร์สโค้ดขนาดใหญ่มากๆ
ไมโครซอฟท์อธิบายว่า Git ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เก็บไฟล์จำนวนมาก (ตัวอย่างคือซอร์สโค้ดของ Windows มีขนาด 270GB และจำนวนไฟล์ 3.5 ล้านไฟล์) เวลาทำงานกับไฟล์จำนวนมากๆ บางคำสั่งอย่าง git checkout หรือ git status ที่ต้องทำงานกับไฟล์ทั้งหมด ต้องใช้เวลานานเป็นหลายชั่วโมงกว่าจะเสร็จ
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การมี repo ใหญ่ขนาดนี้ไม่มีใครสั่งคอมไพล์ซอร์สโค้ดทั้งหมดอยู่แล้ว ใน repo ขนาด 3 ล้านไฟล์ อาจมีไฟล์ที่เราต้องใช้งานจริงๆ เพียงแค่ 50,000-100,000 ไฟล์เท่านั้น เราไม่ควรต้องรอนานขนาดนั้น
Apple ได้เริ่มเปิดใช้งานระบบไฟล์แบบใหม่ Apple File System หรือ APFS บน iOS 10.3 เวอร์ชันเบต้าแล้ว โดยจาก release note ของ Apple กล่าวไว้ว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้ง iOS 10.3 เวอร์ชันเบต้าจะถูกอัพเกรดระบบไฟล์จากปัจจุบันที่ iOS ใช้อยู่คือ HFS+ เป็น APFS โดยอัตโนมัติ
การเปิดใช้งาน APFS กับอุปกรณ์ iOS นั้นดูจะค่อนข้างเป็นประโยชน์ต่อการทดสอบเพื่อเก็บข้อมูลของ Apple มากกว่าการทดสอบบน macOS เนื่องจากตัว iOS มีระบบที่ค่อนข้างปิดและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ และด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มากกว่า น่าจะทำให้ Apple ได้ข้อมูลจำนวนมากเร็วขึ้น
Apple ได้เปิดตัวระบบไฟล์ใหม่ของทางบริษัท โดยใช้ชื่อระบบไฟล์ว่า Apple File System หรือเขียนย่อเป็น APFS โดยระบบไฟล์ใหม่นี้จะมาแทนระบบไฟล์ Hierachical File System หรือ HFS ของทางบริษัทที่ใช้บน Mac กันมาอย่างยาวนาน และช่วงหลังก็ได้ปรับปรุงเป็น HFS+
สำหรับระบบไฟล์ใหม่ของ Apple ตั้งใจจะใช้ตั้งแต่อุปกรณ์เล็กๆ อย่าง Apple Watch จนถึงคอมพิวเตอร์อย่าง Mac Pro โดย APFS มีฟีเจอร์คร่าวๆ ดังนี้
GlusterFS เป็นระบบไฟล์แบบกระจายศูนย์สำหรับคลาวด์ที่ขยายตัว (scale out) ข้ามเครือข่ายได้ง่าย ระบบไฟล์ตัวนี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Gluster ที่ถูก Red Hat ซื้อไปในปี 2011 มีจุดเด่นที่ความทนทานต่อความผิดพลาดของระบบ (high availability/fault tolerant) (ชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ Red Hat Gluster Storage)
ที่ผ่านมา Gluster ถูกใช้ในระบบคลัสเตอร์ที่ส่วนใหญ่ติดตั้งลงในระบบเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง แต่ล่าสุด กูเกิลจับมือกับ Red Hat นำระบบไฟล์นี้มาให้บริการบน Google Compute Engine แล้ว ถือเป็นระบบไฟล์ทางเลือกอีกตัวหนึ่ง นอกเหนือจากการใช้ Google Cloud Storage หรือ Compute Engine Persistent Disks
ทุกวันนี้ถ้าใครใช้ Chrome OS แล้วทำงานกับฮาร์ดดิสก์หรือการ์ด SD ที่ฟอร์ตแมตมาแบบ ext2/3/4 จะพบว่ามันทำงานได้เป็นอย่างดี แต่ล่าสุดทีมงาน Chrome OS ก็ตัดสินใจถอดฟีเจอร์นี้ออกแล้วเพราะมันทำให้การเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ ช้าลง
ทีมงานยกตัวอย่างฟีเจอร์การเปลี่ยนชื่อดิสก์ (label) ที่ต้องซัพพอร์ตดิสก์หลายๆ แบบ หากถอดการรองรับ ext2/3/4 ออกไปก็จะพัฒนาได้ง่ายขึ้น
การตัดสินใจนี้ทำให้ผู้ใช้ลินุกซ์ออกมาแสดงความไม่พอใจ เพราะการทำงานร่วมกับลินุกซ์จะลำบากขึ้นอย่างมาก โดยผู้ใช้จะถูกบังคับให้ฟอร์แมตดิสก์แบบ VFAT หรือ NTFS ที่รองรับบนลินุกซ์ไม่ดีนัก
ก่อนหน้านี้เราทราบกันว่า Windows Server 2012 จะรองรับระบบไฟล์แบบใหม่ที่ชื่อ Resilient File System หรือ ReFS ซึ่งข่าวก่อนหน้าระบุว่าไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนผ่านระบบนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และดูเหมือนว่าการมาถึงของ ReFS ในฝั่ง client เริ่มมาถึงแล้ว
เพราะหลังจากที่มีการหลุดของ Windows Blue หรือ Windows 8.1 รหัส 9369 ออกมาเมื่อหลายวันก่อน มีคนเข้าไปพบว่าคำสั่งฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มตัวเลือกให้สามารถฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ให้ไปใช้ระบบไฟล์ ReFS ได้แล้ว และในกรณีนี้ยังรวมไปถึงการรองรับระบบไฟล์ ReFS อย่างสมบูรณ์แบบด้วย
อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานว่า Windows 8.1 จะสามารถบูตระบบปฏิบัติการผ่านระบบไฟล์ ReFS ได้หรือไม่ครับ
ซัมซุงเปิดซอร์สโค้ดของระบบไฟล์ตัวใหม่ชื่อ Flash-Friendly File System (F2FS) หน้าที่ของมันก็ตามชื่อครับ เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยความจำแบบ NAND flash
ระบบไฟล์ตัวนี้พัฒนาต่อจาก Log-structured File System (LFS) โดยแก้ปัญหาหลายๆ อย่างของ LFS
ซัมซุงเพิ่งส่งโค้ดของ F2FS เข้าไปยังเคอร์เนลของลินุกซ์ ก็ต้องรอกันต่อไปว่าทีมเคอร์เนลจะรับหรือไม่ ถ้าได้เข้าเคอร์เนลจริงๆ ก็เป็นสัญญาณอันดีว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ยี่ห้ออื่นๆ สามารถใช้ F2FS ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้เราเคยเห็น ข่าวลือ เรื่องนี้มาก่อนแล้ว ล่าสุดบล็อก Building Windows 8 ของไมโครซอฟท์เพิ่งออกมาเปิดเผยข้อมูลของมันอย่างเป็นทางการ
อธิบายแบบสั้นๆ คือ Windows 8 จะมีระบบไฟล์ (file system) แบบใหม่ที่เป็นภาคต่อของ NTFS ที่ใช้กันมานาน ระบบไฟล์ตัวใหม่มีชื่อเรียกว่า Resilient File System หรือตัวย่อ ReFS ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นที่ความเหนียวแน่น (resilence) ของมันในการรับมือกับปัญหาระบบไฟล์พัง
ReFS จะเสร็จพร้อมใช้ใน Windows 8 แต่ไมโครซอฟท์พยายามปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นในขั้นแรก มันจะถูกใช้กับ Windows Server 8 ก่อนเฉพาะในพาร์ทิชันเก็บข้อมูล จากนั้นในอนาคตข้างหน้า ไมโครซอฟท์จะเพิ่มมันเข้ามาใน Windows Client รุ่นหน้า (อาจจะเป็น Windows 9) ในฐานะระบบไฟล์สำหรับเก็บข้อมูลเช่นกัน และสุดท้ายมันจะเข้ามาทดแทน NTFS อย่างสมบูรณ์ในพาร์ทิชันที่วินโดวส์ติดตั้งอยู่ (boot partition)
เว็บไซต์ WinRumors รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า Windows Server 8 (ชื่อจริงอาจจะใช้เป็น Windows Server 2013) จะใช้ระบบไฟล์แบบใหม่ที่ชื่อ Resilient File System (ย่อว่า ReFS)
ตามข่าวบอกว่าเดิมทีไมโครซอฟท์พัฒนาระบบไฟล์ตัวใหม่ชื่อ Monolithic NTFS (MNTFS) และโค้ดเนม "Protogon" แต่สุดท้ายเปลี่ยนชื่อมาเป็น ReFS แทน ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของมันออกมามากนัก บอกเพียงแค่ว่ามันนำแนวคิดหลายอย่างที่ไมโครซอฟท์เคยจะทำใน WinFS สมัย Longhorn แต่สุดท้ายล้มโครงการนี้ไป
ReFS จะเน้นความยืดหยุ่นตามชื่อของมัน และจะมีฟีเจอร์หลายอย่างที่ป้องกันไม่ให้ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ไม่กระทบระบบไฟล์มากนัก มันออกแบบมาสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ซึ่ง Windows 8 จะไม่ได้ใช้ระบบไฟล์แบบนี้