GCC เริ่มพัฒนาด้วย C++ มาตั้งแต่กลางปี 2010 ระหว่างนี้กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะกำหนดมาตรฐานว่าต้องใช้ฟีเจอร์ใดของ C++ บ้าง
ในแง่ของผู้ใช้งานคงไม่ต่างอะไรนัก แต่ฟีเจอร์อย่างการจัดการหน่วยความจำตาม scope ของโค้ด จะช่วยให้ตัว GCC คืนหน่วยความจำเร็วขึ้น ทำให้การใช้หน่วยความจำลดลง
ฟีเจอร์ของ GCC 4.8 ใหม่ที่สำคัญ เช่น
อินเทลอัพเดตคอมไพเลอร์ ispc ที่ออกแบบมาเพื่อการคอมไพล์ให้ใช้ชุดคำสั่งแบบ SIMD ให้สามารถทำงานบนชิป Xeon และ Xeon Phi ได้
ispc เป็นคอมไพเลอร์ภาษาพิเศษโค้ดคล้ายกับภาษา C แต่การเรียกฟังก์ชั่นจะเป็นการแตกข้อมูลออกเป็นชุดๆ เพื่อรันบนชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์ เช่น ชุดคำสั่ง SSE หรือชุดคำสั่ง AVX โดยอาศัยการ "คลี่" ลูปออกมา
Blognone เคยลงข่าวของ IonMonkey : Javascript Engine ตัวใหม่ของ Firefox ไปนานจนหลายๆ คนลืมไปแล้ว (ผมก็ลืม) วันนี้มันเริ่มถูกใช้งานจริงใน Firefox 18 ที่ยังมีสถานะเป็น nightly อยู่
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ด้านคอมไพเลอร์ ศัพท์เทคนิคเฉพาะทางจะเยอะหน่อยนะครับ
เกริ่นก่อนว่าผู้อ่าน Blognone คงคุ้นเคยกับชื่อ GCC หรือ GNU Compiler Collection ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ด้านคอมไพเลอร์สำหรับภาษาโปรแกรมต่างๆ มากมาย (ตอนแรกเน้น C/C++ เป็นหลัก) มันถูกสร้างขึ้นภายใต้โครงการ GNU และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ปัจจุบันมันเป็นคอมไพเลอร์มาตรฐานบนแพลตฟอร์มลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สต่างๆ
แต่ GCC ไม่ใช่คอมไพเลอร์แบบโอเพนซอร์สเพียงโครงการเดียว เพราะมีโครงการคู่แข่งที่มาแรงในช่วงหลังคือ LLVM ซึ่งพัฒนามาจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Illinois at Urbana–Champaign ในปี 2003
เทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์บน GPU นั้นทุกวันนี้มีสองค่ายใหญ่คือ CUDA ของ NVIDIA กับ OpenCL ที่ค่ายอื่นๆ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี ใช้งานร่วมกัน ความเสียเปรียบอย่างหนึ่งของ CUDA คือมันเป็นเทคโนโลยีปิดของ NVIDIA เองทำให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้งานร่วมด้วยได้ และทาง NVIDIA ก็เลือกแก้ปัญหาด้วยการเปิดชั้นคอลไพลเลอร์ด้านล่างที่เป็น LLVM ออกมา
C++ เป็นภาษาที่นับว่าอยู่โลกธุรกิจมาได้อย่างยาวนาน โดยมีการประกาศมาตรฐานของภาษาออกมาเมื่อปี 1998 และได้รับการปรับปรุงในปี 2003 ในมาตรฐาน ISO/IEC 14882 แต่มาตรฐานใหม่ คือ C++0x (อ่านว่า ซี-พลัส-พลัส-โอ-เอ็ก) ก็ได้รับการโหวตเข้าสู่สถานะ Final Draft International Standard (FDIS) ซึ่งเป็นสถานะสุดท้ายก่อนจะประชุมลงมติเพื่อประกาศมาตรฐานแล้ว
ทีมงานคาดว่าจะมีการรายงานปัญหาในตัวมาตรฐานอยู่บ้าง และต้องมีการแก้ไขก่อนการประชุมครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามการลงมติเข้าเป็นสถานะ FDIS ได้นั้นก็คาดว่าปัญหาจะน้อยเต็มที และน่าจะประกาศได้ภายในปีนี้จนกลายเป็นมาตรฐาน C++ 2011 ต่อไป
ในบรรดาสมาร์ทโฟนทั้งหมดนั้น อาจจะพูดได้ว่า Android เป็นเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่เลือกใช้เทคโนโลยี VM แทนการรันซอฟต์แวร์แบบ native ซึ่งก็มีข้อดีที่เปลี่ยนซีพียูไปใช้แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์อื่นๆ นั้นทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือเรื่องความเร็วก็ต้องยอมแลกไป แต่ Myriad ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จากสวิสเซอร์แลนด์ก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ด้วย Myriad Dalvik Turbo
ผมเข้าใจว่า Myriad Dalvik Turbo นั้นเป็น Just-in-Time Compiler ที่มีการเรียกร้องกันในฟาก Android กันมานานแล้ว เช่นการเสนอให้กูเกิลใช้ V8 มาใช้คอมไพล์ Dalvik ซึ่งหาก Android รองรับ V8 จริงเราก็อาจจะได้รันเว็บที่เร็วขึ้นด้วยตามกันไป
อินเทลเปิดตัวชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ภายใต้ผลิตภัณฑ์ Intel Compiler Professional Editions ซึ่งรวมเอาคอมไพเลอร์ชุดใหม่อย่าง C++ Compiler 11.0 และ Fortran Compiler 11.0 พร้อมด้วยไลบรารีสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการประมวลผลสมรรถนะสูง ได้แก่ Math Kernel Library 10.1, Threading Building Blocks 2.1 และ Integrated Performance Primitives 6.0 โดยคอมไพล์เลอร์และไลบรารีชุดนี้สนับสนุนสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32 และ 64 บิต และระบบปฏิบัติการ Linux, Windows, และ Mac OS