เยอรมนีเปิดลิฟต์ยกเรือตัวใหม่ในเมือง Niederfinow ซึ่งสามารถยกเรือได้หนักหลายพันตัน ช่วยให้เรือแล่นผ่านคลอง Oder–Havel Canal ที่เชื่อมการเดินทางจากท่าเรือ Szczecin ในประเทศโปแลนด์สู่ Berlin เมืองหลวงของเยอรมนี
ลิฟต์ตัวนี้ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการตั้งตามชื่อเมืองที่ตั้งว่า Niederfinow North Ship Lift เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาหลังการก่อสร้างที่กินระยะเวลายาวนานถึง 14 ปี ตัวลิฟต์มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่ยักษ์ เมื่อจะยกเรือขึ้นหรือลง อ่างดังกล่าวจะเปิดออกให้เรือแล่นเข้ามาในตัวลิฟต์ก่อนที่ระบบลิฟต์จะปิดส่วนที่เป็นอ่างกักน้ำเอาไว้แล้วจึงจะเคลื่อนตัวยกเรือขึ้นหรือลง
Erik Wright เจ้าของบริษัท Precision Construction Services ผู้ได้รับการว่าจ้างให้ก่อสร้างอุโมงค์ Hyperloop เมื่อปี 2016 ได้เปิดเผยข้อมูลว่าเมื่อไม่นานมานี้บริษัทของเขาได้รับการติดต่อให้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออก เพื่อทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้งานเป็นที่จอดรถ
อุโมงค์ Hyperloop นี้เป็นของบริษัท SpaceX (เจ้าของเดียวกับโทนาฟ Twitter) ตัวอุโมงค์มีรูปหน้าตัดเป็นวงกลมขนาดกว้าง 3.6 เมตร มีความยาว 1 ไมล์ ใช้เพื่อการทดสอบระบบการขนส่ง Hyperloop ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ด้วยแคปซูลลอยตัวด้วยแรงแม่เหล็ก (คล้ายรถ maglev) ในอุโมงค์สุญญากาศ ด้วยหลักการนี้จะทำให้แรงเสียดทานในระหว่างการเคลื่อนที่ของแคปซูลลดลงมากจนทำให้แคปซูลสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
HP เปิดตัว SitePrint หุ่นยนต์พิมพ์แบบแปลนเพื่องานก่อสร้างลงบนพื้นที่หน้างานจริง ช่วยลดเวลาการทำงานในการตีแปลน
SitePrint เป็นหุ่นยนต์ 3 ล้อ ที่จะพ่นหมึกไปบนพื้นในระหว่างที่มันวิ่ง ตัวหุ่นจะรับข้อมูลแบบแปลนสำหรับงานก่อสร้างจากคลาวด์ เมื่อมันยืนยันตำแหน่งอ้างอิงจากผู้ควบคุม ก็จะเริ่มทำการวิ่งเพื่อตีเส้นวาดแปลนขนาดเท่าของจริงลงบนพื้นของไซต์งาน
ตัวหุ่นสามารถพิมพ์เส้นตรงและเส้นโค้งได้ รวมทั้งการพิมพ์ข้อความ และทำเครื่องหมายจุดต่างๆ ทั้งยังมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวางและวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางนั้นได้เอง
บริษัทผู้สร้างหุ่นยนต์จากญี่ปุ่น Jinki Ittai ได้ร่วมกับ JR West พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยงานหนักในการก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของทางรถไฟ
หุ่นยนต์รุ่นนี้มีชื่อว่า JINKI type Zero ver. 2.0 ตัวหุ่นยนต์มีลัษณะคล้ายคนส่วนครึ่งบนของลำตัวโดยมันถูกติดตั้งอยู่ปลายบูมเครนของรถเครนแบบเคลื่อนที่ได้ JINKI type Zero ver. 2.0 มีแขน 2 ข้างและมือจับลักษณะคีมหนีบเพื่อใช้หยิบจับสิ่งของ ซึ่งสามารถยกของได้หนัก 40 กิโลกรัม ส่วนหัวมีกล้องรับภาพเพื่อส่งต่อสัญญาณภาพไปยังเครื่องฉาย VR ของผู้ควบคุมหุ่นยนต์
Pain point ตลอดกาลของผู้รับเหมาคือ มองเห็นภาพรวมของต้นทุนการผลิตแค่ในกระดาษ แต่เมื่อลงงานจริงๆ กลับมีรายจ่ายงอกเงยตามทางขึ้นมาอีกเยอะ นอกจากนี้การขาดการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เจอปัญหาการคำนวณต้นทุนที่ผิดพลาด เพราะทำธุรกิจบนความเคยชินที่มีมานานและมีการจัดการข้อมูลต้นทุนในรูปแบบของเอกสารกระดาษ การเรียกดูข้อมูลต้นทุน รายรับและรายจ่าย ระหว่างทางจึงเป็นไปได้ยาก ยังไม่นับปัญหาเรื่องเอกสารหาย กว่าจะรู้มูลค่าต้นทุนหรือกำไร ขาดทุนก็ต่อเมื่อโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว บางครั้งขาดทุน หรือมีกำไรไม่มากนัก
TMB จึงร่วมมือกับ บริษัท แมงโก้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ผู้นำด้านโซลูชั่น ERP (Enterprise Resource Planning) โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะ และ Builk ผู้พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการธุรกิจก่อสร้างชื่อดัง เปิดตัว “Mango TMB Connect” และ “TMB Builk Plus” เพื่อแก้ไข pain point ที่มีมาอย่างยาวนานของผู้รับเหมาก่อสร้าง
Autodesk เจ้าของซอฟต์แวร์ออกแบบ AutoCAD ประกาศเข้าซื้อกิจการ PlanGrid สตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการงานก่อสร้าง ด้วยเงินสดทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 875 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Autodesk บอกว่าจะช่วยให้บริษัทมีผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจการก่อสร้างบนคลาวด์ครบวงจรมากขึ้น
PlanGrid เป็นซอฟต์แวร์บนคลาวด์สำหรับโครงการงานก่อสร้าง ให้สามารถทำงานร่วมกับได้ตลอดโครงการ อัพเดตข้อมูล, รายงานความคืบหน้าโครงการปัจจุบันแต่ละวัน, วางแผนงาน ฯลฯ ทั้งนี้ PlanGrid ได้รับเงินทุนแล้วรวม 69 ล้านดอลลาร์ ผ่านโครงการ Y Combinator และอีกหลายกองทุน ที่น่าสนใจคือ Carol Bartz อดีตซีอีโอ Autodesk เอง ก็เป็นบอร์ดบริหารอยู่ใน PlanGrid ด้วย
งานขายของแปลกๆ ที่แสนจะน่าสนใจจาก The Boring Company มาอีกแล้ว หลังจากเริ่มขายหมวกจนได้เงินมา 300,000 ดอลลาร์ ตามมาด้วยการขายปืนยิงไฟกระบอกละ 500 ดอลลาร์ หมดภายใน 5 วัน และได้เงินมาอีก 10 ล้านดอลลาร์ คราวนี้บริษัทขุดอุโมงค์ของ Elon Musk เตรียมจะเปิดขายอิฐสร้างบ้านกันบ้าง
อันที่จริงจะเรียกว่าอิฐก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโดยทั่วไปแล้ว "อิฐ" เป็นคำใช้เรียกวัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้นจากการปั้นขึ้นรูปวัสดุจำพวกดินและทราย ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทำให้วัสดุแข็งโดยการให้ความร้อน แต่สิ่งที่ The Boring Company กำลังจะขายนี้เป็นหินที่ก่อเกิดเป็นเนื้อวัสดุขึ้นตามธรรมชาติ โดยหินที่ว่านี้ก็เป็นหินที่ได้จากการขุดอุโมงค์ของหัวเจาะนั่นเอง
ในปี 2013 เมือง Dayton ในรัฐ Ohio เริ่มใช้แท็ก RFID สำหรับงานซ่อมผิวทางถนนเป็นครั้งแรก มันคือระบบงานที่ระบุให้ผู้รับเหมาผู้ดำเนินการเปิดผิวถนนเพื่อซ่อมแซมอะไรก็ตามแต่ต้องฝังแท็ก RFID เอาไว้เพื่อให้สามารถติดตามและระบุตัวคนที่ทำงานซ่อมเปิดผิวถนนนั้นได้ในภายหลัง
เรื่องนี้สำคัญอย่างไร?
Komatsu บริษัทผู้ผลิตรถแทร็คเตอร์และอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ประกาศว่าจะเริ่มนำโดรนมาช่วยสำรวจโครงการก่อสร้าง วาดแผนที่สามมิติของไซต์งานเพื่อเทียบกับพิมพ์เขียว แล้วคำนวณหาปริมาณดินที่ต้องขุด จากนั้นพวกรถตักดินและเครื่องมือต่างๆ จะทำงานขุดอย่างอัตโนมัติ ถูกต้องตามองศาที่วาดแผนที่เอาไว้
บริการตัวนี้เรียกว่า Smartconstruction เริ่มใช้ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2015 โดยจะขยายไปยังสหรัฐอเมริกาในปีนี้ และมีแผนจะขยายไปยังยุโรปในระยะถัดไป