เบื้องหลังความสำเร็จของเกม Helldivers II กลับมาจากเอนจินเกมเก่าที่หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2018 และทีมพัฒนาของบริษัท Arrowhead Game Studios ต้องพยายามปะผุ ปรับแต่งแก้ไขให้มันทำงานได้
เอนจินตัวนี้ชื่อว่า Bitsquid บริษัทเกมจากสวีเดน ทำให้เอนจินตัวนี้ถูกใช้งานแพร่หลายในบริษัทเกมสัญชาติสวีเดนหลายราย (Arrowhead เป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น) ประวัติย่อของ Bitsquid คือถูก Autodesk ซื้อกิจการไปเมื่อปี 2014 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Autodesk Stingray (ตอนนั้นมีข่าวใน Blognone ด้วยนะ) เพื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือกราฟิกสามมิติในเครือ เช่น 3ds Max และ Maya
John Walker หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Autodesk เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
John ออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วยชิป Texas Instruments TMS9900 เมื่อปี 1976 และตั้งเป็นบริษัท Marinchip Systems ซึ่งบริษัทนี้สุดท้ายกลายเป็น Autodesk โดยเขาบันทึกจุดเริ่มต้นของบริษัทไว้ในหนังสือ The Autodesk File
เขาสร้างเว็บไซต์และร่วมชุมชนออนไลน์หลายชุมชน โดยเว็บไซต์ Fourmilab ของเขาอัพเดตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ที่มา - SCANALYZER
องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้แก่ Pixar, Adobe, Autodesk, NVIDIA, Apple และ Joint Development Foundation (JDF) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ Linux Foundation ประกาศจัดตั้งความร่วมมือ Alliance for OpenUSD หรือตัวย่อ AOUSD เพื่อส่งเสริมและผลักดันมาตรฐานเปิดของคอนเทนต์ 3D
Pixar ได้พัฒนามาตรฐานเปิดของระบบนิเวศ 3D มาระยะเวลาหนึ่งแล้วในชื่อ Open Universal Scene Description หรือ OpenUSD ซึ่งภารกิจของ AOUSD คือการส่งเสริมให้มีการใช้งาน พัฒนา และรองรับมาตรฐานนี้ให้กว้างขวางขึ้น ซึ่ง JDF จะรับหน้าที่ดูแลโครงการ เพื่อจัดทำข้อกำหนดของ OpenUSD ให้เป็นระบบเปิดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถผลักดันสู่มาตรฐานโลกในระดับ ISO
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Autodesk เจ้าของซอฟต์แวร์เขียนแบบ AutoCAD เพื่อให้สามารถเปิดไฟล์ DWG ที่เก็บอยู่ใน OneDrive และ SharePoint ด้วยแอพของ AutoCAD บนแพลตฟอร์มต่างๆ
การใช้งานบนพีซีคงไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเดิม เพราะเราเปิดไฟล์ DWG ด้วย AutoCAD เวอร์ชันเดสก์ท็อปได้อยู่แล้ว แต่การใช้งานบนเบราว์เซอร์ เราสามารถเปิดไฟล์ DWG บน OneDrive/SharePoint ด้วย AutoCAD web app ได้โดยตรงแทน (กรณีของมือถือก็เป็น AutoCAD mobile) ช่วยให้สถานการณ์ที่ต้องแก้ไขไฟล์งานนอกสถานที่ หรือไม่มีเครื่องที่ติดตั้ง AutoCAD ทำได้สะดวกขึ้น
Autodesk เจ้าของซอฟต์แวร์ออกแบบ AutoCAD ประกาศเข้าซื้อกิจการ PlanGrid สตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการงานก่อสร้าง ด้วยเงินสดทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 875 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Autodesk บอกว่าจะช่วยให้บริษัทมีผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจการก่อสร้างบนคลาวด์ครบวงจรมากขึ้น
PlanGrid เป็นซอฟต์แวร์บนคลาวด์สำหรับโครงการงานก่อสร้าง ให้สามารถทำงานร่วมกับได้ตลอดโครงการ อัพเดตข้อมูล, รายงานความคืบหน้าโครงการปัจจุบันแต่ละวัน, วางแผนงาน ฯลฯ ทั้งนี้ PlanGrid ได้รับเงินทุนแล้วรวม 69 ล้านดอลลาร์ ผ่านโครงการ Y Combinator และอีกหลายกองทุน ที่น่าสนใจคือ Carol Bartz อดีตซีอีโอ Autodesk เอง ก็เป็นบอร์ดบริหารอยู่ใน PlanGrid ด้วย
เมื่อต้นเดือนนี้ Autodesk ออกอัพเดตให้กับ SkecthBook แอพสเก็ตช์ภาพเพื่อเปิดฟีเจอร์พรีเมี่ยมที่เคยมีค่าใช้จ่ายให้ใช้งานกันฟรีๆ บนทุกแพลตฟอร์ม
สำหรับตัวอย่างเครื่องมือที่แต่ก่อนต้องซื้อก่อนจะใช้งานได้ก็อย่างเช่น perspective guides, flood fill และชุดเอฟเฟคต์สำหรับใช้งานกับ layer รวมถึงความสามารถในการปรับแต่งชุดแปรงที่ใช้งานบ่อยอีกด้วย
Dropbox ประกาศร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Autodesk เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการไฟล์สำหรับงานดีไซน์ที่เก็บไว้บน Dropbox ได้ง่ายขึ้น
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ คือ Dropbox จะทำแอพบนเดสก์ท็อปให้อินทิเกรตเข้ากับแอพของ Autodesk เพื่อให้ตัวแอพสามารถเปิดหรือบันทึกไฟล์ออกแบบ .dwg ไว้ใน Dropbox จากแอพ AutoCAD ได้โดยตรง ฟีเจอร์นี้ Dropbox ได้เริ่มเปิดให้ใช้แล้วผ่านแอพบนเดสก์ท็อปเวอร์ชันล่าสุด
นอกจากนี้ สามารถดูพรีวิวไฟล์ของ Autodesk จากบน Dropbox ได้โดยไม่ต้องติดตั้งแอพเพิ่มเติม คือแอพ Dropbox บนเดสก์ท็อปจะสามารถเปิดพรีวิวไฟล์ได้เลย และใส่คอมเมนต์เพิ่มเติมบนไฟล์ได้ด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการส่งไฟล์ให้คนอื่นเปิดดู โดยฟีเจอร์พรีวิวไฟล์นี้จะตามมาในอนาคต
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ สพร. แถลงว่าได้ร่วมมือกับ Autodesk ในการใช้ซอฟต์แวร์ Remake ทำแบบจำลองโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลสามมิติ คนทั่วไปเข้ามาดูได้ผ่านเว็บไซต์ ตั้งเป้าหาพิพิธภัณฑ์ร่วมโครงการให้ได้ 1,500 แห่งภายใน 5 ปี
Carl Bass ซีอีโอของ Autodesk ประกาศลงจากตำแหน่งแล้ววันนี้ หลังจากทำงานกับ Autodesk มาตั้งแต่ปี 1993 และออกไปเปิดสตาร์ตอัพอยู่สองครั้ง (แต่ถูกซื้อกลับเข้ามาทั้งสองรอบ) เขารับตำแหน่งซีอีโอมาตั้งแต่ปี 2006
สิ่งที่น่าสนใจคือ Autodesk ยังไม่ประกาศชื่อซีอีโอที่จะมาแทน Bass แต่จะใช้วิธีตั้งสำนักงานชั่วคราว (interim office) ปฏิบัติหน้าที่แทนซีอีโอไปก่อน โดยมอบหมายให้ผู้บริหาร 2 คนทำหน้าที่ซีอีโอร่วมชั่วคราว (interim co-CEO)
Autodesk บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ออกแบบสามมิติ จัดกิจกรรม University Asean ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย.) โชว์นวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่นใหม่พร้อมทั้งเผยความคืบหน้าในประเทศไทย ด้วยการทำ MOU กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งเป้าจัดตั้ง Digital Manufacturing Platform สนับสนุนแผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดโอกาสให้วิศวกร และบุคคลในสาขาอาชีพที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้าถึงเทคโนโลยีฟรี 3 ปี
Autodesk เปิดตัว AutoCAD รุ่นใหม่ 2017 ตามรอบการอัพเดตช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุกปี ฟีเจอร์เด่นของ AutoCAD 2017 คือ Import PDF หรือการนำเข้าไฟล์ PDF มาใช้งานได้ตรงๆ แล้ว
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างคือแอพ Autodesk ตัวใหม่บนเดสก์ท็อป มาแทนแอพ Autodesk Application Manager ตัวเดิม ช่วยให้การอัพเดตซอฟต์แวร์สะดวกขึ้นมาก
ฟีเจอร์อื่นๆ ในส่วนของการใช้งาน ได้แก่ smart centerlines และ smart center marks ช่วยให้การกำหนดจุดกึ่งกลางเส้นทำได้ง่ายขึ้น, แชร์ไฟล์ CAD ขึ้นคลาวด์ โดยฝั่งผู้ชมไม่จำเป็นต้องมีบัญชีของ Autodesk ก็สามารถดูไฟล์ได้เลย (รายการฟีเจอร์ใหม่ทั้งหมด)
Mattel ผู้ผลิตของเล่นรายใหญ่ของโลก (เจ้าของ Barbie) เปิดตัวเครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับเด็ก ThingMaker และแอพ ThingMaker Design ที่ใช้ควบคู่กันบน Android/iOS
ThingMaker จะมีสถานะเป็น "โรงงานผลิตของเล่น" สำหรับเด็กๆ ที่สามารถสร้างตุ๊กตา-หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์สวมใส่ขึ้นมาได้ตามชอบ แนวทางของการพิมพ์จะพิมพ์ชิ้นส่วนออกมาเป็นบล็อคก่อน แล้วค่อยนำมาประกอบกันภายหลัง งานนี้ Mattel ได้ Autodesk มาเป็นพาร์ทเนอร์ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ ตัวแอพไม่จำกัดการใช้งานเฉพาะเครื่องพิมพ์สามมิติของ Mattel เท่านั้น แต่สามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ยี่ห้ออื่นที่รองรับด้วย
ตัวเครื่องพิมพ์สามมิติจะวางขายในฤดูใบไม้ร่วง ราคา 299 ดอลลาร์ หน้าตาเครื่องดูได้จาก ThingMaker
Autodesk เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่อีกรายที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคคลาวด์ เปลี่ยนจากการขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์มาเป็นการเช่าใช้งาน บริษัทเพิ่งประกาศปลดพนักงานออก 10% หรือประมาณ 925 คน บวกกับลดการเช่าสำนักงานบางแห่งลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย
บริษัทระบุว่าการลดค่าใช้จ่ายครั้งนี้จะเห็นผลในปีงบประมาณ 2017 (ไตรมาสที่สองของปี 2016) เป็นต้นไป
ปัจจุบัน Autodesk มีซอฟต์แวร์แบบเช่าใช้ง่าน (subscription) แบบเดียวกับ Office 365 หรือ Creative Cloud มาได้สักระยะแล้ว และบริษัทเตรียมเลิกขายซอฟต์แวร์แบบไลเซนส์ถาวรภายในปี 2016 นี้
ที่มา - Autodesk
ในงาน Autodesk University ปีนี้ Autodesk ผู้พัฒนาโปรแกรมเขียนแบบชื่อดัง AutoCAD ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม Forge พร้อมโครงการสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับงานเขียนแบบที่เชื่อมต่อกับกลุ่มเมฆ
ในการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Forge นี้จะแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ๆ อย่างแรกคือแพลตฟอร์มรวมชุดเครื่องมือสำหรับเขียนแบบแทบทั้งหมดบนกลุ่มเมฆ (PaaS), โครงการนักพัฒนาเพื่อเชิญชวนให้นักพัฒนามาใช้แพลตฟอร์ม ที่รวมการฝึกฝนทั้งออนไลน์ และงานสัมมนาในช่วงกลางปีหน้า ปิดท้ายด้วยเงินทุนสนับสนุนกว่า 100 ล้านเหรียญ เพื่อสร้าง ecosystem สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เข้ามาในตลาดนักพัฒนาเกมอย่างเต็มตัวแล้วสำหรับ Autodesk ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านงานสามมิติชื่อดัง ที่วันนี้เปิดตัวเอนจินเกมของตัวเองในชื่อ Stingray พร้อมปล่อยให้นักพัฒนาในวันที่ 19 สิงหาคมนี้
แม้ว่า Stingray จะถูกพูดถึงมาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ถูกพัฒนามาหลายปีแล้ว เริ่มต้นจากการเข้าซื้อเอนจินเกม Bitsquid ที่มีนักพัฒนาหลายเจ้าหยิบไปใช้ทำเกมกันมาก่อนแล้ว และพัฒนามาเป็น Stingray ในตอนนี้ โดยทาง Autodesk ระบุว่าระบบภายในของ Stingray ไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่จะเน้นไปที่การปรับอินเทอร์เฟซ และทำให้ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ในเครือของ Autodesk ได้ดีขึ้น
แม้ว่าข่าวคราวของวงการพิมพ์สามมิติจะซาลงไปในช่วงหลัง แต่ก็ถูกนำไปใช้ในบริษัทขนาดใหญ่มากขึ้น ล่าสุดผู้ผลิตซอฟต์แวร์งานออกแบบที่เพิ่งมีเครื่องพิมพ์สามมิติของตัวเองอย่าง Autodesk จับมือกับผู้ผลิตของเล่นรายใหญ่ Mattel (เจ้าเดียวกับที่เคยจับมือกับกูเกิล) เพื่อให้เด็กๆ สามารถปรับแต่งของเล่นด้วยตัวเองได้
โปรเจคนี้จะเปิดให้ลูกค้าตัวน้อยที่อยากสร้างสรรค์ ปรับแต่งของเล่นได้ตามใจตัวเองมากขึ้น โดย Autodesk และ Mattel จะปล่อยแอพหลายตัวสำหรับออกแบบของเล่นแบบต่างๆ มา โดยแบบสามมิติที่ออกมาจากแอพจะสามารถใช้งานได้กับเครื่อง Spark ที่เป็นเครื่องพิมพ์สามมิติของ Autodesk เท่านั้น
Autodesk เปิดตัว Tinkerplay แอพพลิเคชันใหม่ สำหรับการออกแบบของเล่นให้เด็กออกแบบฮีโร่หรือสัตว์ประหลาดออกมาเล่นได้เอง
ตัวแอพจะเปิดให้เด็กๆ ปรับแต่งโมเดลได้บางส่วนเช่นสีหรือพื้นผิวของโมเดลที่กำลังสร้าง รวมถึงผู้ใช้ Tinkercad สามารถออกแบบชิ้นส่วนของตัวเองมาใช้ประกอบได้ เมื่อออกแบบเสร็จแล้ว Tinkerplay จะจัดวางชิ้นส่วนใหม่ ทำให้สามารถพิมพ์ทีละหลายๆ ชิ้นส่วนเป็นชุดแยกตามสีเพื่อนำมาทำโมเดลภายหลัง
ดาวน์โหลดฟรีทั้ง Google Play และ iTunes
Socialcam แอพแชร์คลิปวิดีโอจากสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และถูก Autodesk ซื้อไปเมื่อสองปีก่อน ได้ลง Windows Phone Store แล้ว
แอพ Socialcam นี้รองรับการบันทึกวิดีโอได้ไม่จำกัด สามารถแบ่งปันคลิปลง Facebook หรือ Twitter ได้ สามารถค้นหา กดไลค์ และคอมเมนต์วิดีโอของเพื่อนได้ เป็นต้น
ดาวน์โหลดได้แล้วที่ Windows Phone Store ครับ
ยังคุ้นหูกับประโยคนี้อยู่เลย "สวัสดีค่ะชาว Socialcam" ว่าแต่ยังมีคนใช้ Socialcam กันอยู่หรือเปล่านะ
ด้วยนโยบายใหม่ของ Autodesk ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่กำลังเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่จะสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ชื่อดังหลายตัวของ Autodesk กันได้ฟรีๆ แล้ว
การให้สิทธิ์ใช้งานซอฟต์แวร์ฟรีเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษานี้จะครอบคลุมทั้งการใช้โดยผู้เรียนและผู้สอนกว่า 680 ล้านคนทั่วโลก ตลอดจนการใช้งานอื่นโดยสถาบันการศึกษากว่า 800,000 แห่งในนานาประเทศ ทั้งระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ซึ่งงานนี้มีซอฟต์แวร์ตัวเด่นตัวดังของ Autodesk มากันครบ ทั้ง AutoCAD, Revit, Sketchbook, 3ds Max, Maya และซอฟต์แวร์อื่นรวมแล้วมากกว่า 100 ตัว ซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์สำหรับศูนย์ข้อมูลเพื่อการใช้งานโดยสถาบันการศึกษาด้วย
Pixlr (อ่านว่า พิกเซลเลอร์) ซอฟต์แวร์แต่งภาพชื่อดังบนเว็บและอุปกรณ์พกพาจากค่าย Autodesk ประกาศออกเวอร์ชันเดสก์ท็อปแล้ว
Pixlr Desktop มีให้ดาวน์โหลดทั้งบนวินโดวส์และแมค จุดเด่นของมันคือเครื่องมือแต่งภาพและฟิลเตอร์จำนวนมาก และถ้ายังไม่พอใจก็สามารถซื้อบริการสมาชิกรุ่น Pro (เดือนละ 1.99 ดอลลาร์หรือ 14.99 ดอลลาร์ต่อปี) เพื่อใช้ความสามารถระดับสูงอย่าง Influence Masks ได้ด้วย (ดูวิดีโอประกอบ)
ที่มา - The Next Web
เมื่อไม่นานมานี้ Autodesk เพิ่งประกาศทำเครื่องพิมพ์ 3 มิติของตัวเองในชื่อโครงการ Spark แต่ล่าสุดซีอีโอ Carl Bass ก็ออกมาให้ความเห็นว่าโลกเราตื่นเต้นกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติมากจนเกินไป (overhyped)
Bass ไปพูดที่งานสัมมนา Solid 2014 โดยบอกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นมีประโยชน์มาก แต่มันไม่ใช่สินค้าสำหรับคนทั่วไป เราไม่สามารถซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาไว้ที่บ้านแล้ว "พิมพ์" อุปกรณ์ต่างๆ ใช้เองได้ กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติคืออุตสาหกรรมการผลิตต่างหาก เพราะมันช่วยให้การออกแบบรูปทรงที่ซับซ้อน (shape complexity) มีราคาเป็นศูนย์ เนื่องจากกระบวนการออกแบบอยู่ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดก่อนสั่งพิมพ์
Autodesk เจ้าพ่อแห่งวงการซอฟต์แวร์ทำโมเดล 3 มิติ ประกาศรุกเข้าตลาดเครื่องพิมพ์ 3 มิติโดยจะทำ 2 เรื่องคือ
ตอนนี้ยังมีแค่ภาพของเครื่องพิมพ์ต้นแบบ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทาง Autodesk บอกว่าจะเปิดเผยเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้
Autodesk ประกาศข่าวการซื้อกิจการเว็บไซต์ Creative Market ตลาดกลางสำหรับคนสายครีเอทีฟในการขายกราฟิก ฟอนต์ ธีม เทมเพลต โมเดล ฯลฯ
Creative Market เปิดมาสิบกว่าปีแล้ว โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า ColorSchemer.com แต่ในปี 2013 ก็ขยายตัวให้รองรับงานครีเอทีฟแบบอื่นๆ ด้วย ทีมงานบอกว่าได้รับข้อเสนอซื้อกิจการเข้ามาหลายราย แต่สุดท้ายก็เลือกมาอยู่กับ Autodesk เพราะมีวิสัยทัศน์ตรงกันในการขยายตลาดงานครีเอทีฟให้กว้างที่สุด
สื่อต่างประเทศมองว่ายุทธศาสตร์ของ Autodesk ในการซื้อเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนงานครีเอทีฟครั้งนี้ คล้ายกับ Adobe ซื้อเว็บรวมพอร์ตงาน Behance เมื่อปี 2012 และภายหลังก็ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Creative Cloud
Autodesk เปิดตัวซอฟต์แวร์ด้าน 3D และแอนิเมชั่นรุ่นปี 2015 ชุดใหญ่ (รายการฟีเจอร์มีเยอะมาก ดูกันเองตามลิงก์ต้นฉบับนะครับ)
ซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังถูกจัดเป็นชุดในชื่อ Entertainment Creation Suite 2015 (ทำนองเดียวกับ Creative Suite ของ Adobe) และยังมี Maya LT 2015 ที่เน้นตลาดผู้พัฒนาเกมอินดี้ที่ขายแยกเฉพาะอีกตัวด้วย
อัยการสูงสุดรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ได้ฟ้องร้องและดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทส่งออกยางรถยนต์ของไทยรายหนึ่งซึ่งไม่ได้เปิดเผยชื่อ ฐานใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ก่อนส่งไปขายที่รัฐเทนเนสซี
ซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นของบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง Microsoft และ Autodesk ส่วนบริษัทในไทยเองก็โดนด้วยคือ Thaisoftware Enterprises ซึ่งเจ้านี้ผลิตโปรแกรมพจนานุกรม, โปรแกรมบัญชีเงินเดือน เป็นต้น โดยล่าสุดได้มีการตกลงไกล่เกลี่ยเรื่องคดีกับบริษัทส่งออกยางรถยนต์ในไทยแล้ว
สถิติปีล่าสุดยังพบว่าประเทศที่เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียมีการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมากอาทิ จีน 77%, ไทย 72%, อินโดนีเซีย 86% และเวียดนาม 81%