บริษัทเครื่องพิมพ์ควบกิจการกันเอง Xerox ประกาศซื้อกิจการ Lexmark ด้วยมูลค่ารวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ (รวมหนี้ของ Lexmark ที่ Xerox จะรับช่วงต่อให้) จากกลุ่มบริษัทลงทุนจีนเดิมที่เข้าซื้อ Lexmark ออกจากตลาดหลักทรัพย์ในปี 2016
Xerox ระบุว่า Lexmark เป็นพาร์ทเนอร์และซัพพลายเออร์ของตัวเองอยู่แล้ว การซื้อธุรกิจของ Lexmark ที่เด่นเรื่องเครื่องพิมพ์และเครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชัน จะเข้ามาเติมเต็มไลน์สินค้าของ Xerox โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเครื่องพิมพ์สี A4 รวมถึงช่วยขยายตลาดฝั่งเอเชียแปซิฟิก
การควบรวมครั้งนี้ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Xerox + Lexmark ติดอันดับ Top 5 ในทุกเซกเมนต์ย่อย ทั้งเครื่องพิมพ์ระดับล่าง กลาง และโปรดักชัน
Universal Print บริการจัดการเครื่องพิมพ์ผ่านคลาวด์ของไมโครซอฟท์ เพิ่มฟีเจอร์ "pull print" หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Universal Print anywhere ให้เราสามารถสั่งพิมพ์เอกสารขึ้นไปในคลาวด์โดยไม่ต้องเลือกเครื่องพิมพ์ปลายทาง แล้วเดินไปสแกน QR หรือยืนยันตัวตนหน้าเครื่องพิมพ์สักเครื่องในสำนักงาน แล้วรอกระดาษไหลออกมาจากเครื่องพิมพ์นั้นได้เลย
ฟีเจอร์นี้มีในเครื่องพิมพ์ระดับสูงขององค์กรมานานแล้ว ประโยชน์ข้อหนึ่งของมันคือลดโอกาสที่คนอื่นๆ จะเห็นข้อมูลสำคัญในเอกสารที่สั่งพิมพ์ (บางค่ายเรียกว่า secure release) แต่คราวนี้ไมโครซอฟท์ทำเองผ่านระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ใดๆ ก็ได้
HP เปิดตัว HP Print AI ฟีเจอร์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์มาเพิ่มคุณภาพและประสบการณ์งานพิมพ์ โดยลดขั้นตอนการตั้งค่าต่าง ๆ ของผู้ใช้งานพรินเตอร์
ความสามารถแรกที่เปิดตัวของ HP Print AI คือ Perfect Output ที่ปรับแต่งผลลัพธ์งานพิมพ์ให้สวยงามเหมาะสม กรณีตัวอย่างที่ HP ยกมาคือการสั่งพิมพ์หน้าเว็บไซต์ ที่รูปอาจแหว่งแบ่งหน้า ซึ่ง Perfect Output จะจัดเรียงให้ภาพและตัวหนังสืออยู่เต็มหน้ากระดาษสวยงามขึ้น
ไฟล์อีกประเภทที่หากพิมพ์ตรง ๆ จะไม่สวยงามคือสเปรดชีท โดย AI จะปรับพื้นที่หน้ากระดาษให้กราฟและตารางข้อมูลดูเหมาะสม
ดราม่าพรินเตอร์ค่าย HP ยังวนเวียนกลับมาเรื่อยๆ ล่าสุด HP ประกาศหยุดขายพรินเตอร์ LaserJet กลุ่มที่บังคับผูกบริการออนไลน์ HP+ (รหัสจะลงท้ายด้วยตัว e ตัวอย่าง) เหลือเฉพาะ Laser Jet รุ่นปกติ (รหัสรุ่นเดียวกันทุกประการ แต่ไม่มี e ลงท้าย)
Enrique Lores ซีอีโอ HP ให้ข้อมูลในงานสัมมนา 40th Annual Strategic Decision ของ Bernstein เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับธุรกิจ Printing ซึ่งภาพรวมนั้นมีรายได้ลดลงต่อเนื่องมาหลายไตรมาส
Lores บอกว่าในส่วนของสำนักงานนั้น ผลจากการปรับรูปแบบมาทำงานแบบไฮบริด ที่คนเข้าสำนักงานน้อยลง จำนวนหน้ากระดาษที่ถูกพิมพ์จึงลดลงตาม แม้ข้อมูลนี้จะไม่ใช่ข้อมูลทางตรงสำหรับ HP แต่ก็ช่วยบ่งชี้ได้ ตัวเลขที่ HP มีพบว่าหน้ากระดาษที่พิมพ์ลดลงถึง 20% เทียบกับช่วงก่อนโควิด
เมื่อถามว่าการพิมพ์ที่ลดลงในสำนักงานนี้ ถูกทดแทนด้วยเครื่องพิมพ์ในบ้านหรือไม่ Lores บอกว่า ช่วงเกิดการระบาดโควิดใหม่ ๆ จำนวนการพิมพ์เอกสารในบ้านเพิ่มขึ้นสูง แต่ตอนนี้ตัวเลขกลับมาลดลงแล้ว
HP เปิดตัวบริการ All-in Plan ให้เช่าเครื่องพิมพ์พร้อมบริการส่งหมึกพิมพ์ถึงบ้านเมื่อหมึกใกล้หมด เป็นบริการแบบ subscription จ่ายรายเดือน เริ่มต้นเดือนละ 6.99 ดอลลาร์
ลูกค้าที่สมัครบริการนี้จะได้เครื่องพิมพ์ของ HP ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หากหมึกใกล้หมดจะส่งตลับหมึกอันใหม่มาให้ และหากเครื่องพิมพ์เสียจะมีบริการเปลี่ยนเครื่องให้ในวันถัดไป และสามารถจ่ายเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ในอนาคตได้
ไมโครซอฟท์มีบริการจัดการเครื่องพิมพ์ผ่านคลาวด์ชื่อ Universal Print มาตั้งแต่ปี 2020 มันเหมือนเป็นการยก Print Server ไปอยู่บนคลาวด์ Azure แล้วให้องค์กรเช่าใช้งาน (เป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจ Microsoft 365)
เวลาผ่านมา 3 ปี Universal Print พัฒนามาเรื่อยๆ จนตอนนี้มีพาร์ทเนอร์เป็นบริษัทเครื่องพิมพ์เข้าร่วมเกือบทุกราย เช่น Brother, Canon, Epson, HP, Kyocera, Lexmark, Ricoh, Sharp, Xerox
ล่าสุดในงาน Ignite 2023 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Universal Print รองรับการสั่งพิมพ์จากเครื่องแมคแล้ว ผู้ใช้แมคสามารถกดสั่งพิมพ์จากแอพบน macOS ได้เหมือนสั่งพิมพ์ปกติ ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือไดรเวอร์เพิ่มเติม
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการถอดไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ของบริษัทต่างๆ (third-party printer drivers) ออกจากระบบปฏิบัติการ Windows มีผลในปี 2027
เหตุผลคือ Windows เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบไดรเวอร์เครื่องพิมพ์แบบใหม่ Mopria Alliance ที่กลุ่มบริษัทเครื่องพิมพ์รวมตัวกันทำมาตั้งแต่ปี 2013 มีบริษัทเป็นสมาชิก 24 ราย ครอบคลุมอุปกรณ์ว่า 7,000 รายการ จากแบรนด์ดังทั้งวงการ เช่น Canon, HP, Samsung, Xerox, Epson, Brother, Ricoh, Lexmark
กลุ่มพันธมิตร Mopria เริ่มต้นจากการพัฒนาระบบไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ให้ Android ("mo"bile "pri"nter "a"lliance) แต่ภายหลังก็ขยายไปยังระบบปฏิบัติการอื่นๆ อย่าง Windows และ ChromeOS ด้วย
ผู้ใช้ Reddit รายหนึ่งชื่อ grhhull โพสต์ข้อมูลว่าพรินเตอร์ HP ปฏิเสธการใช้ตลับหมึกที่ไม่มีชิปของ HP โดยแสดงข้อความเตือนชัดเจนว่าเป็นการบล็อคที่ระดับเฟิร์มแวร์ของพรินเตอร์ และพรินเตอร์เครื่องนี้สามารถใช้ได้เฉพาะตลับหมึกแท้ของ HP เท่านั้น (ทั้งตลับใหม่เลย หรือตลับแท้รียูส)
grhhull สอบถามไปยังศูนย์บริการของ HP และได้ข้อมูลว่าบริษัทเพิ่งปล่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้พรินเตอร์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อบล็อคการใช้งานตลับหมึกปลอม
Epson ประกาศหยุดขายเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ในปี 2026 เปลี่ยนไปขายเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตเพียงอย่างเดียว โดยให้เหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม
ที่ผ่านมา Epson หยุดขายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในบางประเทศแล้ว แต่ยังขายอยู่บ้างในตลาดยุโรปและเอเชีย และระบุว่าจะยังมีอะไหล่และหมึกให้กับลูกค้าเดิมต่อไป
ตัวเลขของ Epson เองระบุว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ถึง 85% (ที่ความเร็วการพิมพ์เท่ากัน) ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 85%, ใช้วัสุดสิ้นเปลืองพวกตลับหมึกน้อยกว่า 59%
HP เปิดตัว SitePrint หุ่นยนต์พิมพ์แบบแปลนเพื่องานก่อสร้างลงบนพื้นที่หน้างานจริง ช่วยลดเวลาการทำงานในการตีแปลน
SitePrint เป็นหุ่นยนต์ 3 ล้อ ที่จะพ่นหมึกไปบนพื้นในระหว่างที่มันวิ่ง ตัวหุ่นจะรับข้อมูลแบบแปลนสำหรับงานก่อสร้างจากคลาวด์ เมื่อมันยืนยันตำแหน่งอ้างอิงจากผู้ควบคุม ก็จะเริ่มทำการวิ่งเพื่อตีเส้นวาดแปลนขนาดเท่าของจริงลงบนพื้นของไซต์งาน
ตัวหุ่นสามารถพิมพ์เส้นตรงและเส้นโค้งได้ รวมทั้งการพิมพ์ข้อความ และทำเครื่องหมายจุดต่างๆ ทั้งยังมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวางและวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางนั้นได้เอง
นอกจากเครื่องอ่านอีบุ๊ก Huawei MatePad Paper ปีนี้เรายังได้เห็น Huawei กระโจนเข้ามาสู่ตลาดสินค้าใหม่ๆ อีกหลายอย่าง เช่น Huawei PixLab X1 เลเซอร์พรินเตอร์รุ่นแรกของบริษัท
Huawei PixLab X1 เป็นเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน 3-in-1 ตามมาตรฐาน รองรับการพิมพ์ สแกน ก็อปปี้ มีความเร็วการพิมพ์สูงสุด 28 หน้าต่อนาที, รองรับการพิมพ์สองหน้า (duplex) กลับกระดาษให้อัตโนมัติ, มีฟีเจอร์ตามสไตล์เครื่องพิมพ์ยุคใหม่ เช่น พิมพ์ผ่าน Wi-Fi, พิมพ์ผ่านมือถือ, แตะมือถือที่เครื่องผ่าน NFC เพื่อสั่งพิมพ์
วิกฤตชิปขาดแคลนดูจะกระทบไปทุกภาคส่วน หลังเว็บไซต์ Canon ออสเตรเลีย ระบุว่าบริษัทประสบปัญหาอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนเช่นกัน ทำให้ Canon เตรียมผลิตหมึกเครื่องพิมพ์ หรือโทนเนอร์แบบไม่มีชิปเป็นการชั่วคราว
เดิม Canon ใช้ชิปในโทนเนอร์เพื่อระบุความเป็นของแท้จาก Canon รวมถึงระบุสถานะว่าหมึกเหลือเท่าไร แต่แม้จะไม่มีชิปก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการพิมพ์ โดยโทนเนอร์แบบไม่มีชิปจะเริ่มวางจำหน่ายในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยมีรหัสรุ่นโทนเนอร์ที่ได้รับผลกระทบบอกบนหน้าเว็บไซต์
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์แก้บั๊กพรินเตอร์ของ Windows 10 (ที่มีหลายตัว แก้แล้วแก้อีก เกิดตายเวียนวน) โดยแพตช์รหัส KB5007253 ปัจจุบันยังเป็น Optional Update ให้เลือกอัพเดตกันเองก่อน แก้บั๊กการเชื่อมต่อพรินต์เซิร์ฟเวอร์แล้วแสดงข้อความ error 0x000006e4, 0x0000007c, 0x00000709
แพตช์ตัวนี้ยังแก้บั๊กอื่นๆ ของ Windows 10 อีกเป็นจำนวนมาก อ่านรายการแก้บั๊กได้จากที่มา
เมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ ไมโครซอฟท์อัพเดตแพตช์ประจำเดือนที่มีบั๊กกับพรินเตอร์ จนต้องออกแพตช์แก้บั๊กตามมาอีกรอบ ตามมาด้วยช่องโหว่ความปลอดภัย PrintNightmare ในเดือนกรกฎาคม โดยแพตช์แก้ตามมาในเดือนสิงหาคม
ปรินเตอร์เป็นอุปกรณ์ไอทีเจ้าปัญหาติดอันดับตลอดกาล เพราะเมื่อเรารีบก็มักจะมีปัญหาเสมอ หรือไม่ยอมพิมพ์เอกสารขาวดำให้ถ้าหมึกสีหมด ล่าสุดมีชายชาวอเมริกันยื่นฟ้อง Canon เพราะปรินเตอร์ของเขาไม่ยอมสแกนเอกสารให้หากหมึกใกล้หมด
David Leacraft ยื่นฟ้อง Canon USA ที่ศาลแขวง New York โดยระบุว่าเขาซื้อปรินเตอร์ออลอินวันรุ่น PIXMA MG2522 มาจากร้าน Walmart เมื่อเดือนมีนาคม 2021 แล้วพบว่ามันไม่ยอมสแกนหรือส่งแฟ็กซ์หากหมึกหมดหรือใกล้หมด พร้อมบอกว่าเขาจะไม่ซื้อปรินเตอร์เครื่องนี้เด็ดขาดหากทราบเรื่องนี้ก่อน
การฟ้องนี้เป็นการฟ้องแบบกลุ่ม โดยคาดว่าจะมีผู้เสียหายกว่า 100 ราย และหวังจะได้ค่าเสียหายกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 167 ล้านบาท
ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday แพตช์ความปลอดภัยประจำรอบเดือนสิงหาคม 2021 อุดช่องโหว่ทั้งหมด 44 ตัว ครอบคลุมผลิตภัณฑ์หลายตัว
ช่องโหว่สำคัญที่พบการโจมตีแล้วคือ CVE-2021-36948 ที่เกี่ยวข้องกับเซอร์วิส Windows Update Medic (ใช้ซ่อม Windows Update เวลามีปัญหาอัพเดตไม่ได้)
ไมโครซอฟท์รายงานช่องโหว่ความปลอดภัยใหม่ CVE-2021-34481 ของบริการ Windows Print Spooler หรือ PrintNightmare ซึ่งเป็นการรายงานถึงช่องโหว่นี้ครั้งที่ 3 ในรอบ 5 สัปดาห์ โดยผู้โจมตีสามารถเข้าถึงไฟล์ที่สำคัญของ Windows และฝังโค้ดให้รันที่ระดับ SYSTEM เมื่อมีการรีบูทเครื่องได้
ในการรายงานช่องโหว่รอบนี้ ไมโครซอฟท์ยังไม่มีรายละเอียดของแพตช์และกำหนดเวลาออกมา แต่ให้แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (workaround) นั่นคือหยุดและปิดการทำงาน Print Spooler ไปก่อน
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2021-34527 ของบริการ Windows Print Spooler หรือที่เรียกกันว่า "PrintNightmare" หลังจากเถียงกันมาหลายวัน ไมโครซอฟท์ก็ยอมออกแพตช์ฉุกเฉิน (out-of-band หรือ OOB) ให้แล้ว แถมยังเป็นกรณีพิเศษคือย้อนไปออกถึง Windows 7 และ Windows Server 2008 ที่หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้วด้วย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานในหมู่นักวิจัยความปลอดภัยว่าแพตช์เหล่านี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ 100% ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาเถียงว่า แพตช์ใช้งานได้จริงๆ แต่ปัญหาที่รายงานในข่าว เกิดจากการที่ผู้ใช้ไปแก้ registry กันเองต่างหาก
Fujifilm กับ Nintendo จับมือกันเปิดตัวแอปพลิเคชั่นให้สามารถปรินท์ภาพความประทับใจจากหน้าจอเกมบน Nintendo Switch ผ่านอุปกรณ์ปรินท์เตอร์มือถืออย่าง instax mini Link โดยรูปที่ปรินท์ออกมาเป็นขนาดโพลารอยด์
ผู้เล่นสามารถเก็บภาพความประทับใจ ตัวละคร และภารกิจที่ทำสำเร็จบนเกมต่างๆ บน Switch เช่น Animal Crossing: New Horizons, Super Mario, New Pokémon Snap (เปิดตัว 30 เมษายน) ได้
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์แก้บั๊กพรินเตอร์หลายรุ่นใช้งานไม่ได้ ที่เกิดจากแพตช์รอบเดือน มิ.ย. 2020
แพตช์ตัวนี้แก้ปัญหาพรินเตอร์ ตั้งแต่ Windows 10 April 2018 Update ไล่มาจนถึง May 2020 Update ตัวล่าสุด (เลขแพตช์จะแตกต่างกันไปตามเวอร์ชันของ Windows โดย May 2020 Update จะเป็น KB4567523) ผู้ใช้สามารถอัพเดตผ่าน Windows Update ได้ตามปกติ
ปัญหาอัพเดตรายเดือนของ Windows สร้างบั๊ก ยังเป็นปัญหาที่รุมเร้าไมโครซอฟท์เสมอมา ล่าสุดในแพตช์รอบเดือนมิถุนายน 2020 ก็มีแพตช์ที่สร้างปัญหาให้พรินเตอร์บางรุ่นใช้งานไม่ได้
สาเหตุเกิดจากแพตช์ KB4560960 และ KB4557957 ทำให้ระบบ printer spooler มีปัญหา โดยพรินเตอร์ที่ได้รับผลกระทบ มีรายงานทั้งยี่ห้อ HP, Canon, Brother, Ricoh, Kyocera รวมถึงอาจเกิดปัญหากับคำสั่ง Print to PDF ด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่ารับทราบปัญหาแล้ว และกำลังหาทางแก้ไข โดยทางแก้ในตอนนี้คือต้องถอนอัพเดตเหล่านี้ออกชั่วคราว
เราเพิ่งเห็นกูเกิลประกาศปิดบริการ Cloud Print ไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์หันมาเปิดบริการลักษณะเดียวกันในชื่อว่า Universal Print
Universal Print เป็นบริการจัดการเครื่องพิมพ์ในองค์กรผ่านคลาวด์ Azure หรืออาจอธิบายได้ง่ายๆ ว่ามันคือการยก print server จาก Windows Server ขึ้นมาอยู่บนคลาวด์ ทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องมี print server อีกต่อไป ไม่ต้องจัดการไดรเวอร์เครื่องพิมพ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
จุดเด่นของ Universal Print คือการเชื่อมต่อกับบริการไดเรคทอรี Azure Active Directory (Azure AD) ที่องค์กรนิยมใช้อยู่แล้ว จึงสะดวกเรื่องจัดการสิทธิการเข้าถึงของพนักงาน
เมื่อกลางปีนี้เราเห็นข่าว ต้านกระแสไม่ไหว HP เปิดตัวเครื่องพิมพ์เลเซอร์ Neverstop พร้อมแทงค์เติมหมึกโทนเนอร์
วันนี้ HP Thailand นำเครื่องพิมพ์ตัวนี้มาขายในไทยแล้ว แบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ
HP ประกาศแผนปรับโครงสร้างธุรกิจในปีการเงิน 2020 โดยจะปลดพนักงานออกราว 7,000-9,000 คน หรือราว 13-16% ของพนักงานทั้งหมด 55,000 คน ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า
บริษัทประเมินว่าจะจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานทั้งหมดประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ปีละ 1 พันล้านดอลลาร์เมื่อปลดพนักงานกลุ่มนี้ออกหมดในปี 2022
เหตุผลที่ HP ต้องปลดคนเป็นเพราะธุรกิจพรินเตอร์เริ่มตกต่ำลง โดยมาตรการอื่นของ HP คือปรับสายผลิตภัณฑ์ใหม่ ขึ้นราคาพรินเตอร์ที่เปิดให้ใช้หมึกยี่ห้ออื่นได้ แต่ยังคงขายพรินเตอร์ราคาถูกต่อไป ซึ่งจำกัดให้ใช้งานเฉพาะหมึกของบริษัทเท่านั้น