KoBold Metals สตาร์ทอัปจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพัฒนาเครื่องมือสำรวจแหล่งเหมืองแร่ด้วย AI ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรีส์ C เพิ่ม 537 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักในรอบนี้คือ T Rowe Price ร่วมด้วย Durable Capital Partners ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 2.96 พันล้านดอลลาร์
KoBold Metals ก่อตั้งในปี 2018 มีเป้าหมายในการนำ AI มาช่วยประมวลผลข้อมูลธรณีวิทยาขนาดใหญ่ เพื่อปรับปรุงให้มีโอกาสสำเร็จมากขึ้นในการสำรวจพื้นที่เหมืองแร่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ เพราะพื้นที่ซึ่งค้นพบแหล่งแร่ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 0.3% ที่สามารถพัฒนาให้คุ้มการลงทุน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บคาร์บอนในอากาศได้ดีกว่าเดิม
เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันยังทำงานได้ดีในการดูดคาร์บอนหนาแน่นจากแหล่งเดียว (เช่น ปากปล่องควันโรงงานผลิตไฟฟ้า) หากเราเอามากักเก็บ CO2 ตามท้องถนนทั่วไป มันยังทำงานได้ไม่ดีนัก
NASA มีภารกิจ Artemis III ที่จะส่งมนุษย์กลับไปลงดวงจันทร์ในปี 2026 โดยคัดเลือกให้บริษัทอวกาศ Axiom Space พัฒนาชุดอวกาศสำหรับภารกิจครั้งนี้
เมื่อ 1 ปีที่แล้ว Axiom Space ประกาศจับมือกับแบรนด์แฟชั่น Prada พัฒนาชุดอวกาศ ด้วยเหตุผลว่า Prada มีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์สร้างชุดเฉพาะกิจมาก่อน
เวลาผ่านมา 1 ปี Axiom และ Prada เปิดตัวชุดอวกาศที่ว่านี้ ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Axiom Extravehicular Mobility Unit (AxEMU)
เมื่อปีที่แล้วแอปเปิลเปิดตัววัสดุใหม่ผ้า FineWoven เพื่อทดแทนการใช้งานหนัง ที่กระบวนการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก โดย FineWoven ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลถึง 68% นำมาใช้กับเคส iPhone และสาย Apple Watch อย่างไรก็ตามเสียงตอบรับของ FineWoven นั้นไม่ค่อยดีนัก ในแง่ความทนทานและผิวสัมผัส จนมีข่าวว่าแอปเปิลอาจเลิกขายสินค้า FineWoven เลย
ข้อมูลนี้มาจากผู้ใช้งานบน X ชื่อ Kosutami ซึ่งมีประวัติให้ข้อมูลหลุดสินค้าใหม่แอปเปิลถูกต้องหลายครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมวัสดุผ้า FineWoven คราวนี้เขาโพสต์ข้อความว่า แอปเปิลได้สั่งหยุดการผลิตอุปกรณ์เสริม FineWoven ทั้งหมดแล้ว เนื่องจากปัญหาความทนทานของวัสดุ
Kosutami บอกว่าแอปเปิลอาจเปลี่ยนไปใช้วัสดุใหม่ทดแทนในอนาคต แต่ไม่กลับไปใช้หนัง
การเปลี่ยนแปลงหนึ่งในตอนที่แอปเปิลเปิดตัว iPhone 15 และ Apple Watch รุ่นใหม่ คือการหยุดขายอุปกรณ์เสริมทั้งหมดที่ทำจากหนัง ด้วยเหตุผลเพื่อสนับสนุนความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตน้อยที่สุด จึงออกมาเป็นเคส iPhone และสาย Apple Watch วัสดุที่เรียกว่าผ้า FineWoven แทน
ไมโครซอฟท์ร่วมมือห้องวิจัยแห่งชาติ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL) ใช้งาน AI ร่วมกับเครื่องมือ HPC ค้นหาวัสดุชนิดใหม่ที่มาใช้กับแบตเตอรี่
โครงการนี้เป็นการคัดกรองวัสดุอนินทรีย์ที่มีศักยภาพ มากกว่า 32 ล้านองค์ประกอบ และได้ค้นพบอิเล็กโทรไลต์แข็งชนิดใหม่สำหรับโซลูชันการจัดเก็บพลังงานที่ปลอดภัยกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นของเหลว ซึ่งอาจลดการใช้ลิเทียมในแบตเตอรี่ได้มากถึง 70%
Google DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์สาย deep learning ตัวใหม่ชื่อ Graph Networks for Materials Exploration (GNoME ไม่เกี่ยวอะไรกับเดสก์ท็อป GNOME) สร้างขึ้นมาเพื่อค้นพบ "คริสตัล" หรือโครงสร้างผลึกชนิดใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ในเชิงวัสดุศาสตร์ (material)
การมองหาคริสตัลรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว การทดลองของมนุษย์สามารถค้นพบได้ราว 20,000 รูปแบบ ภายหลังเมื่อนำเทคนิคทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย (Materials Project) สามารถค้นหาได้ 48,000 รูปแบบ แต่ AI แบบเดิมก็มีข้อจำกัดเรื่องความแม่นยำอยู่พอสมควร
จากงานแอปเปิลเมื่อคืนที่แอปเปิลนำเสนอว่า Apple Watch เป็นสินค้าตัวแรกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งทั้งสินค้าและกระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีผลต่อสินค้า Apple Watch ที่ออกแบบร่วมกับพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน
ในงานแถลงข่าว Wanderlust ของแอปเปิลเมื่อคืนนี้ แอปเปิลใช้เวลาพอสมควรในการเล่าเรื่องราวความพยายามของบริษัท ที่จะออกสินค้าให้มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นอกจากการประกาศว่า Apple Watch เป็นสินค้าที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ตัวแรกของแอปเปิลแล้ว ยังมีประเด็นส่วนอุปกรณ์เสริมด้วย
เมื่อ 4 ปีก่อนมีการนำเสนอข่าวการพบแหล่งแร่หายากในชั้นโคลนใต้ทะเลลึกของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่สามารถขุดมาใช้ได้หลายร้อยปีก็ไม่หมด ตอนนี้ทางการญี่ปุ่นก็ตระเตรียมที่เริ่มขุดเจาะเอาแร่ที่ว่าขึ้นมาใช้แล้ว
แหล่งแร่ที่ว่านี้อยู่ในชั้นโคลนใต้ทะเลบริเวณใกล้กับเกาะ Minamitori ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ห่างออกไปจากโตเกียวราว 1,900 กิโลเมตร โดยประเมินว่าจะมีแร่ REO รวมกันประมาณ 16 ล้านตัน ซึ่ง REO (Rare Earth Oxide) ที่ว่านี้หมายถึงแร่ออกไซด์ของธาตุหายากอันเป็นวัตถุดิบสำคัญของภาคอุตสาหกรรมนานาชนิดรวมถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนไอที
ทีมนักวิจัยนำโดย NIST (National Institute of Standards and Technology) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยการผลิตชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยการพิมพ์ 3 มิติสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
เหล็กกล้าไร้สนิมหรือที่บ้านเราเรียกกันแบบติดปากว่า "สแตนเลส" ซึ่งเป็นคำที่ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ "stainless steel" เป็นวัสดุโลหะผสมที่พัฒนาต่อยอดมาจากเหล็กกล้าอันหมายถึงเหล็กที่ส่วนผสมของคาร์บอนราว 0.2-2.1% ด้วยการเติมโครเมียมเพิ่มเข้าไปในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% โดยมวล และอาจเติมโลหะประเภทอื่นเพิ่มเติม ทำให้เหล็กกล้ามีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดียิ่งขึ้น
ทีมวิจัยจาก University of British Columbia (UBC) พัฒนาวัสดุเคลือบผิวชนิดใหม่ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ 99.7% ภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเข้าช่วย
วัสดุเคลือบผิวนี้มีส่วนประกอบของทองแดงและสังกะสี โดยคุณสมบัติพิเศษของมันคือผิวสัมผัสที่มีความขรุขระเล็กในระดับนาโนเมตร ซึ่งความขรุขระของพื้นผิวนี้เองที่จะไปเจาะทำลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่กับมัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นตายไปเอง
หนึ่งในวัสดุสำคัญสำหรับงานก่อสร้างในยุคปัจจุบันคือปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับผสมเป็นคอนกรีต ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง, ทนทาน และความยืดหยุ่นที่รองรับงานออกแบบการขึ้นรูปโครงสร้างหลากหลายรูปทรง ทำให้ปูนซีเมนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานก่อสร้างทั่วทุกมุมโลก ทว่ากระบวนการผลิตให้ได้มาซึ่งปูนซีเมนต์นั้นจำเป็นต้องอาศัยการให้ความร้อนเพื่อเผาปูน และกระบวนการดังกล่าวเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 8% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
นักวิจัยจาก MIT ได้คิดค้นหาวิธีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์แบบใหม่ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยการใช้พลังงานไฟฟ้ามา สร้างกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตปูนซีเมนต์แทนการให้พลังงานความร้อนเพื่อเผาปูนตามปกติ
Samsung ขอจดสิทธิบัตรว่าด้วยเรื่องของสารเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติป้องกันการทิ้งรอยนิ้วมือ ที่สำคัญมันยังมีคุณสมบัติในการซ่อมแซมร่องรอยขูดขีดที่เสียหายบนผิวหน้าของตัวเองได้ด้วย
Samsung ไม่ได้เจาะจงว่าสิทธิบัตรนี้จะใช้เฉพาะกับงานเคลือบผิวเท่านั้น แต่สารเคลือบผิวที่ว่าอาจทำออกมาในรูปแบบของแผ่นฟิล์มหรือเป็นตัวชิ้นส่วนอุปกรณ์เลยก็ได้ โดยองค์ประกอบของสารดังกล่าวนั้นจะมี polyrotaxane, polyhedral silsesquioxane และสารประกอบ fluorinated (meth)acryl ซึ่งเป็นอะครีลิกประเภทหนึ่งอยู่ด้วย
ปี 2016 โลกเรามีข่าวดีเมื่อมีการค้นพบแบคทีเรียในประเทศญี่ปุ่น ที่มีความพิเศษตรงที่มันสามารถย่อยสลายพลาสติกจำพวก PET ได้ แบคทีเรียนี้ชื่อว่า Ideonella sakaiensis หลายคนคิดว่านี่คือประตูสู่ยุคใหม่ของการกำจัดขยะพลาสติก แต่เบื้องลึกเบื้องหลังว่าอะไรทำให้มันย่อยสลาย PET ได้ ยังคงเป็นสิ่งที่รอการค้นหาคำตอบโดยนักวิทยาศาสตร์
ผ่านมา 2 ปี ทีมนักวิจัยนานาชาติ พยายามศึกษา Ideonella sakaiensis ว่าอะไรทำให้มันสามารถย่อยพลาสติกได้ หนึ่งในกระบวนการที่พวกเขาใช้คือการกระตุ้นเอ็นไซม์ของแบคทีเรียโดยการฉายรังสี X ความเข้มสูง ที่เข้มยิ่งกว่ารังสีจากดวงอาทิตย์ 10 พันล้านเท่า ด้วยหวังจะเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเอ็นไซม์ของแบคทีเรียมหัศจรรย์นี้ ทว่าผลลัพธ์ที่ได้คือมันทำให้เอ็นไซม์ที่ว่านี้ย่อยพลาสติกได้ดีขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
ญี่ปุ่นประกาศข่าวการค้นพบแหล่งแร่หายากปริมาณมหาศาลใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยแร่เหล่านี้สามารถนำมาใช้งานกับอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภทรวมทั้งอุตสาหกรรมไอทีด้วย
จากการสำรวจกินพื้นที่กว่า 2,500 ตารางกิโลเมตร ทีมนักสำรวจซึ่งประกอบไปด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น ร่วมด้วยภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้ค้นพบแหล่งแร่ในชั้นโคลนใต้ทะเลบริเวณใกล้กับเกาะ Minamitori โดยประเมินว่าจะมีแร่รวมกันประมาณ 16 ล้านตัน โดยในนั้นเป็น REO (Rare Earth Oxide) ซึ่งหมายถึงแร่ออกไซด์ของธาตุหายากถึง 1.2 ล้านตัน
งานขายของแปลกๆ ที่แสนจะน่าสนใจจาก The Boring Company มาอีกแล้ว หลังจากเริ่มขายหมวกจนได้เงินมา 300,000 ดอลลาร์ ตามมาด้วยการขายปืนยิงไฟกระบอกละ 500 ดอลลาร์ หมดภายใน 5 วัน และได้เงินมาอีก 10 ล้านดอลลาร์ คราวนี้บริษัทขุดอุโมงค์ของ Elon Musk เตรียมจะเปิดขายอิฐสร้างบ้านกันบ้าง
อันที่จริงจะเรียกว่าอิฐก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโดยทั่วไปแล้ว "อิฐ" เป็นคำใช้เรียกวัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้นจากการปั้นขึ้นรูปวัสดุจำพวกดินและทราย ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทำให้วัสดุแข็งโดยการให้ความร้อน แต่สิ่งที่ The Boring Company กำลังจะขายนี้เป็นหินที่ก่อเกิดเป็นเนื้อวัสดุขึ้นตามธรรมชาติ โดยหินที่ว่านี้ก็เป็นหินที่ได้จากการขุดอุโมงค์ของหัวเจาะนั่นเอง
นักวิจัยจาก Wyss Institue แห่งมหาวิทยาลัย Harvard คิดค้นวัสดุเพื่อใช้เป็นเทปปิดสมานแผลสำหรับแผลผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายได้
แต่เดิมทีการปิดแผลห้ามเลือดแผลผ่าตัดบริเวณอวัยวะภายในร่างกายนั้นมีข้อจำกัดที่ซับซ้อนกว่าแผลผิวหนังภายนอก เทคนิคที่ใช้กันมีทั้งการเย็บแผลด้วยไหมหรือลวดเย็บสำหรับงานผ่าตัดโดยเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด และต้องใช้เวลาในการลงมือทำ ในขณะการใช้กาวสมานแผลซึ่งทำได้รวดเร็วกว่าและเป็นวิธีทั่วไปสำหรับการปิดแผลห้ามเลือดผิวหนังภายนอกนั้นก็ไม่ตอบโจทย์เรื่องความยืดหยุ่น เพราะเมื่อเนื้อกาวแข็งตัวมันจะเปราะจนแตกและหลุดออกจากแผลได้ง่ายเมื่อพื้นผิวเนื้อเยื่อที่มันยึดเกาะอยู่มีการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนรูปทรงพื้นผิว ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเติมกาวลงไปใหม่กับบาดแผลที่อวัยวะภายในร่างกาย
ความฝันถึงอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ต้องคอยชาร์จไฟอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oulu ประเทศฟินแลนด์ ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ในกลุ่ม Perovskite Crystal มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนพลังงานแสง ความร้อน และการเคลื่อนไหวให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้พร้อมกัน
วัสดุดังกล่าวถูกเรียกว่า KBNNO (ตามสูตรเคมี) มีคุณสมบัติเป็น Ferroelectric โดยนักวิทยาศาสตร์ทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง พร้อมตรวจวัดความเปลี่ยนของอุณหภูมิและความดัน พบว่า KBNNO สามารถเปลี่ยนพลังงานทั้งสามเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
ซัมซุงแก้ปัญหาตู้เย็นไม่สามารถจุอาหารได้มากพอด้วยเทคโนโลยี SpaceMax ทำฉนวนกันความร้อนให้บางลง เพื่อเพิ่มเนื้อที่ว่างในตู้เย็นได้อีก 100 ลิตร
อย่างไรก็ตาม SpaceMax ไม่ใช่ของใหม่ แต่ซัมซุงพัฒนาต้นแบบมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว ภายใต้ชื่อโครงการว่า Guggenheim โดยล่าสุดซัมซุงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้มีประสิทธิภาพในการตัดการแผ่รังสีความร้อนได้ด้วย
SIGGRAPH เป็นงานประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและการโต้ตอบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสายนี้ โดยรอบปี 2016 งานดังกล่าวถูกจัดขึ้นที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ
จากงานวิจัยที่ขึ้นนำเสนอ 119 งาน เว็บไซต์ Co.Design ได้รวบรวมผลงานเด่นๆ มาแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ผมคิดว่าบางชิ้นก็ยังไม่โดนใจพอ จึงได้คัดจนเหลือ 5 ชิ้นมาให้ชมดังนี้
เว็บไซต์ข่าวการพิมพ์สามมิติ 3DPrint.com รายงานว่านักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่า งานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ใช้วัสดุเป็นไทเทเนียมผง มีปัญหาขั้นรุนแรง (fatally flawed) โดยระบุว่าการพิมพ์สามมิติโดยใช้ไทเทเนียมผง ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้องานมากกว่าปกติ
แม้ที่ผ่านมายังไม่มี iPhone หรือ iPad รุ่นไหนที่สามารถกันน้ำได้ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคต Apple อาจพัฒนาอุปกรณ์ที่กันน้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยสิทธิบัตรใหม่ที่ Apple เพิ่งยื่นขอจดไปได้เผยให้เห็นแนวคิดการพัฒนาวัสดุอ่อนนุ่มชนิดพิเศษที่จะใช้เพื่อปิดช่องรูต่างๆ ของอุปกรณ์ เพื่อกันน้ำและฝุ่นไม่ให้เข้าไปในรูนั้น โดยมันมีคุณสมบัติพิเศษในการซ่อมแซมตัวเอง
นักวิทยาศาสตร์ของ University of Michigan ได้วิจัยพัฒนาวัสดุแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยผลึกที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ได้เมื่อโดนแสงตกกระทบ ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ทำหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนรูปทรงได้
ตัวผลึกที่ประกอบขึ้นเป็นวัสดุพิเศษนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆ แตกต่างกันออกไป โดยผลึกเหล่านั้นจะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปทรงของเนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง