Firefox ออกเวอร์ชัน 83 โดยถือเป็นรุ่นที่มีของใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือการอัพเกรดเอนจินจาวาสคริปต์ SpiderMonkey ครั้งใหญ่ อัพเดตตัวนี้มีชื่อว่า Warp (หรือ WarpBuilder) เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคอมไพเลอร์ just-in-time (JIT) ใหม่ ผลที่ได้คือประสิทธิภาพดีขึ้น 20% ในการโหลดหน้าเว็บ Google Docs, เฉลี่ยแล้ว 15%, ตอบสนองดีขึ้น 12% และใช้หน่วยความจำน้อยลง 8% โดยเฉลี่ย (รายละเอียดเรื่อง Warp สำหรับผู้สนใจ)
Mozilla ออก Firefox 82 เวอร์ชันเดสก์ท็อป มีของใหม่ดังนี้
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากส่วนขยายของเบราว์เซอร์ เป็นปัญหามายาวนาน และเราก็เห็นข่าวเบราว์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่าง Chrome หรือ Firefox ออกมาตรการคุมเข้มส่วนขยายในแพลตฟอร์มตัวเองมาเรื่อยๆ
ล่าสุด Firefox เพิ่มมาตรการใหม่คือแปะป้ายหรือ badge เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับส่วนขยายบน Firefox Add-ons ทั้งบนหน้าเว็บและหน้าจัดการส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ป้ายรับรองที่เพิ่มเข้ามามี 2 แบบคือ
Firefox ออกเวอร์ชัน 81 มีของใหม่อยู่หลายรายการ ซึ่งเน้นไปที่ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน
ที่มา: Mozilla
Firefox for Android เวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งาน ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนักจากผู้ใช้ Firefox ตัวเดิม เพราะขาดแคลนฟีเจอร์หลายอย่างที่เคยมีในตัวเดิม
ฟีเจอร์สำคัญที่ขาดหายไปคือ Extension ที่เดิมทีเคยรองรับส่วนขยายของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย แต่ Firefox for Android ตัวใหม่ยังรองรับส่วนขยายที่ถูก whitelist เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าทีมพัฒนาต้องการให้รองรับส่วนขยายแบบค่อยเป็นค่อยไป
Firefox ออกเวอร์ชัน 80 ซึ่งบางคนอาจรู้สึกว่าออกเร็วขึ้นกว่าเดิม (ตามหลังเวอร์ชัน 79 ไม่ถึงเดือน) เป็นผลมาจากนโยบายปรับรอบการออกเป็นทุก 4 สัปดาห์ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ต้นปีนี้
รอบการออกที่เร็วขึ้น แลกมากกับการที่บางเวอร์ชันมีฟีเจอร์ใหม่ไม่เยอะนัก ซึ่งรวมถึงเวอร์ชัน 80 นี้ด้วย
Mozilla เริ่มทยอยปล่อย Firefox for Android ตัวใหม่ (โค้ดเนม Fenix) มาแทน Firefox ตัวปัจจุบัน (โค้ดเนม Fennec) ที่หยุดพัฒนามาสักระยะแล้ว
Firefox ตัวใหม่หรือ Fenix มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจากเดิมหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
Mozilla Corporation องค์กรผู้รับผิดชอบการพัฒนา Firefox ประกาศปรับโครงสร้าง ปลดพนักงานออก 250 คน (ประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด) ปิดสำนักงานในไต้หวัน และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ขององค์กรใหม่
Mozilla บอกว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนของปี 2020 ใหม่ทั้งหมด
Firefox 79 ออกมาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม แต่ฟีเจอร์สำคัญตัวหนึ่งคือระบบป้องกันการติดตามตัว (Enhanced Tracking Protection - ETP) ที่ก่อนหน้านี้มักป้องกันการใช้คุกกี้กับโดเมนภายนอก (third party cookie) เป็นหลัก ทำให้กระบวนการยิงโฆษณาตรงเป้าหมายจากการติดตามตัวทำได้ยากขึ้น ในเวอร์ชั่นนี้มีการป้องกันเทคนิค redirect tracking เข้ามา
ในที่สุด Firefox for Android รุ่นใหม่ (โค้ดเนม Fenix) ที่พัฒนามาแรมปีก็ถูกปล่อยออกสู่สาธารณชนแล้วผ่าน Play store โดยทีมงานวางแผนปล่อยออกมาตามประเทศ ประเทศไทยสามารถอัพเดตได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม
การปรับรุ่นครั้งนี้เป็นการปรับรุ่นครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนมาใช้เอนจิน GeckoView และปรับหน้าตาใหม่หลายจุด เช่น ย้าย navigation bar มาอยู่ด้านล่าง เพื่อไม่ต้องเลื่อนนิ้วไปกดที่ด้านบนของจอ, เข้าสู่ Private browsing ได้ในการกดครั้งเดียว เป็นต้น
Mozilla ออก Firefox 79.0 ที่เวอร์ชันมีของใหม่ไม่มากนัก
ที่มา - Firefox
Mozilla ออก Firefox 78 มีของใหม่ดังนี้
Firefox 78 เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Extended Support Release (ESR) และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ซัพพอร์ต macOS 10.9, 10.10, 10.11
Mozilla ประกาศหยุดซัพพอร์ต Firefox เวอร์ชันหลักบน macOS 10.9 (Mavericks), 10.10 (Yosemite), 10.11 (El Capitan)
Mozilla ระบุว่าแอปเปิลไม่มีนโยบายการซัพพอร์ตแพตช์ให้ OS เวอร์ชันเก่าออกมาชัดๆ แต่ปกติแล้วจะออกแพตช์ให้กับ OS 3 รุ่นล่าสุด (N, N-1, N-2) ซึ่งกรณีของ macOS 10.11 ออกแพตช์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2 ปีก่อน (เดือนกรกฎาคม 2018) จึงถือว่าไม่มีการแพตช์อีกแล้ว
Mozilla แนะนำให้อัพเกรดเป็น macOS 10.12 ขึ้นไป แต่ผู้ใช้ OS เหล่านี้ยังสามารถใช้ Firefox Extended Support Release (ESR) ที่เป็นเวอร์ชันเก่าและสนับสนุนยาวนานได้ต่อไป (เวอร์ชัน ESR ล่าสุดในตอนนี้คือ Firefox ESR 68.9.0 เทียบกับรุ่นปกติที่เป็นเวอร์ชัน 77 แล้ว)
ข่าวเก่าครับ: Mozilla ประกาศว่าตั้งแต่ 31 มกราคม 2562 เป็นต้นไป Firefox Focus จะถูกถอดออกจาก Google Play Store ของ 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
ในประกาศดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลแต่อย่างใด เพียงแต่แจ้งว่าให้ไปใช้ Firefox Lite (ชื่อเดิม Rocket) แทน ตัวผมเองพยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก GitHub, Mozilla wiki, และ mailing list (ร้าง) แต่ก็ไม่พบเหตุผลเช่นเดียวกัน
Mozilla ออก Firefox 77 รุ่นเสถียร ซึ่งเวอร์ชันนี้ไม่ค่อยมีของใหม่มากนัก
ที่มา - Mozilla
Mozilla ออก Firefox 76 รุ่นเสถียร ของใหม่ในเวอร์ชันนี้เน้นที่ระบบจัดการรหัสผ่าน Lockwise แจ้งเตือนผู้ใช้ทันทีหากพบว่าเว็บไซต์ถูกเจาะ รหัสผ่านรั่ว นอกจากนี้ Firefox 76 ยังเพิ่มเมนู Logins and Passwords เข้ามาในเมนูหลักให้กดกันง่ายๆ (หรือเข้าได้จากหน้า about:logins)
ของใหม่อีกอย่างที่สำคัญคือรองรับ Audio Worklets ช่วยให้ Firefox ประมวลผลไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดมาได้ ฟีเจอร์นี้ยังช่วยให้ Firefox สามารถคุยวิดีโอคอลล์ผ่าน Zoom ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Zoom บนเครื่องอีกแล้ว
Mozilla เปิดตัวส่วนขยายใหม่ในชื่อว่า Firefox Private Relay บริการสร้าง email alias สำหรับใช้ครั้งเดียวเพื่อความเป็นส่วนตัวในการใช้บริการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์
หน้าที่หลักของ Firefox Private Relay คือเมื่อกดปุ่มแล้วระบบจะสร้างอีเมลแอดเดรสเป็นแบบใช้ครั้งเดียว และกรอกลงเว็บไซต์เมื่อเว็บไซต์ต้องการอีเมลแอดเดรสในการใช้บริการต่าง ๆ โดยเมื่อมีอีเมลส่งเข้ามาทางอีเมลที่สร้างมาใหม่นี้ Mozilla จะส่งต่อไปยังอีเมลแอดเดรสของผู้ใช้งานที่กำหนดไว้ หรือถ้าไม่ต้องการใช้งานอีเมลแอดเดรสที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ ก็สามารถสั่งทำลายทิ้งได้ทันที
Mozilla ออก Firefox 75 เวอร์ชันเสถียร การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือแถบ address bar ที่ปรับโฉมให้ช่องใหญ่ขึ้นตอนค้นหา, แนะนำคำค้นที่เกี่ยวข้อง และแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่เข้าบ่อย (Top Site) เพิ่มเติมในรายการด้วย
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่ รองรับแพ็กเกจแบบ Flatpak บนลินุกซ์แล้ว ทำให้ติดตั้ง Firefox บนดิสโทรรุ่นใหม่ๆ (โดยเฉพาะสาย Red Hat/Fedora) ได้ง่ายขึ้น
Net Applications รายงานสถิติเว็บเบราว์เซอร์ประจำเดือนมีนาคม 2020 มีจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจคือ ส่วนแบ่งตลาดของ Microsoft Edge สามารถแซงหน้า Firefox ได้แล้ว ขึ้นมาเป็นเบราว์เซอร์อันดับสองของโลกเดสก์ท็อปแล้ว
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Edge มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นคือ Edge ตัวใหม่พลัง Chromium ออกรุ่นเสถียร และไมโครซอฟท์ก็ทยอยปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้ Windows 10 กัน
เราเห็นข่าว Chrome ขอหยุดพักการอัพเดตเวอร์ชันไปหลายวัน เพราะทีมพัฒนาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส
ฝั่งของ Firefox (ที่สำนักงานใหญ่ Mozilla ก็อยู่ไม่ห่างจากกูเกิลนัก) เลือกใช้นโยบายที่ต่างไป คือ ยังรักษาตารางการออกเวอร์ชันใหม่ที่เคยประกาศเอาไว้ แต่อาจลดจำนวนฟีเจอร์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเวอร์ชัน เพื่อป้องกันปัญหาเจอบั๊กแล้วไม่สามารถแก้ได้ทัน
Firefox เวอร์ชันถัดไปคือ Firefox 75 มีกำหนดออกวันที่ 7 เมษายน 2020
Mozilla ได้แย้มรายละเอียดบริการอ่านข่าวที่ร่วมมือกับ Scroll เมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว วันนี้ Mozilla เริ่มทดสอบ Scroll อย่างเป็นทางการภายใต้โครงการ Test Pilot ในชื่อ Firefox Better Web with Scroll
Mozilla ระบุว่า ทุกวันนี้สำนักข่าวยังคงพบกับปัญหาของระบบโฆษณา เพราะสำนักข่าวต้องการให้ผู้ใช้งานมากที่สุดแต่ไม่ต้องการให้ติดตามโดยบุคคลที่สาม Mozilla จึงร่วมมือกับ Scroll สตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจสมัครสมาชิกอ่านข่าวเพื่อมอบประสบการณ์อ่านข่าวให้ผู้ใช้งานไม่ว่าผู้ใช้จะใช้เบราว์เซอร์ใดก็ตาม (ไม่จำกัดเฉพาะ Firefox)
Firefox ออกเวอร์ชั่น 74 ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือปิดการรองรับ TLS 1.0 และ 1.1 เป็นค่าเริ่มต้น แม้ผู้ใช้จะสามารถกดเปิดได้เองก็ตาม แต่ล่าสุดทาง Mozilla ก็ตัดสินใจยกเลิกฟีเจอร์นี้โดยระบุว่า "เพื่อเปิดทางให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรค COVID-19 ในเว็บรัฐบาล"
ทาง Mozilla ไม่ได้ระบุว่าเว็บรัฐบาลใดที่ยังไม่ได้อัพเดตโปรโตคอลจนทำให้ต้องตัดสินใจเช่นนี้
วันนี้ Mozilla ปล่อย Firefox 74 อย่างเป็นทางการแล้วทุกแพลตฟอร์ม โดยฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้คือเพิ่มกฎสำหรับ add-on ที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงปิดการใช้งาน TLS 1.0 และ TLS 1.1 เป็นค่าเริ่มต้น
ในเรื่อง add-on ถือเป็นประเด็นใหญ่ในอัพเดต 74 โดย Firefox จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเท่านั้นที่มีสิทธิ์ติดตั้ง add-on บน Firefox และ Add-on Manager จะสามารถลบ add-on ทุกตัวที่ติดตั้งจากแอปภายนอกได้ทั้งหมด (เข้าไปที่ about:addons บน Firefox) ซึ่งกฎใหม่นี้จะช่วยลดการติดตั้ง add-on ที่ไม่พึงประสงค์และไม่ปลอดภัยได้ เนื่องจาก add-on เหล่านี้มักจะติดตั้งอัตโนมัติจากโปรแกรมภายนอก
แนวคิดการทำ sandbox เพื่อจำกัดขอบเขตความเสียหายกรณีโปรแกรมโดนแฮ็ก กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายกรณีก็มีข้อจำกัด เช่น การเรียกใช้ไลบรารีที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกโพรเซสได้ แต่ไลบรารีก็ไม่ได้เขียนเองทำให้ควบคุมคุณภาพโค้ดไม่ได้
Mozilla ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งคือ University of California San Diego, University of Texas Austin, Stanford University พัฒนาเทคนิคใหม่ชื่อ RLBox แก้ปัญหานี้ด้วยการแปลงโค้ด C/C++ เป็น WebAssembly ก่อน เพื่อรันใน sandbox ของ WebAssembly แทน
Google Earth เลิกซัพพอร์ตเวอร์ชันเดสก์ท็อปไปแล้วประมาณ 3 ปี แต่ช่วงที่ผ่านมา Google Earth ก็ยังคงใช้งานได้เฉพาะ Chrome เท่านั้น
วันนี้ Google ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Google Earth จะสามารถใช้งานได้บน Firefox, Microsoft Edge และ Opera แล้ว หลังจากที่ Google เปลี่ยนจาก Native Client ซึ่งมีเฉพาะ Chrome มาเป็นการคอมไพล์โค้ด C++ ด้วย WebAssembly ที่สามารถใช้กับเว็บเบราว์เซอร์อื่น ๆ ได้
แม้ว่าปัจจุบัน Google Earth จะใช้งานได้แล้ว แต่ Google ยังต้องขัดเกลาอีกสักระยะหนึ่งเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดีเหมือนกับใช้งานบน Chrome รวมถึงมีแผนซัพพอร์ต Safari รวมถึงเบราว์เซอร์อื่น ๆ ในอนาคต