GNOME 3.24 โค้ดเนม Portland ออกตัวจริงแล้ว ของใหม่มีดังนี้
ที่ผ่านมา Ubuntu จะใช้แพ็กเกจจากโครงการ GNOME ที่เก่ากว่ากัน 1-2 รุ่น เพราะต้องการเวลานำแพ็กเกจจาก GNOME มาปรับแต่งกับระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง
แต่ใน Ubuntu 17.04 ที่จะออกเดือนเมษายนนี้ จะใช้ GNOME 3.24 รุ่นล่าสุดที่จะออกในเดือนมีนาคม
เหตุผลสำคัญของการปรับรุ่นคือ GTK+ ซอฟต์แวร์ widget toolkit ที่เป็นรากฐานของเดสก์ท็อป GNOME และแอพพลิเคชันในโครงการ GNOME ปรับวิธีการออกรุ่นใหม่ จากเดิมที่ออกทุก 6 เดือนตามรอบของ GNOME เปลี่ยนมาออกรุ่นเสถียรที่ใช้งานนาน (long-term stable) ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงช้าลง ทีมงาน Ubuntu จึงลดภาระงานลงได้บางส่วน
GNOME 3.22 รหัส Karlsruhe ออกตัวจริงแล้ว ของใหม่ที่สำคัญในรุ่นนี้ได้แก่
ที่มา - GNOME
GNOME 3.20 โค้ดเนม "Delhi" ออกรุ่นใหม่ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ฟีเจอร์สำคัญของรุ่นนี้คือรองรับการกดอัพเกรด OS จากตัว GNOME ได้เลย มี GUI ให้เสร็จสรรพ จากเดิมที่เราต้องอัพเกรดผ่านคอมมานด์ไลน์ หรือใช้แอพอัพเดตของแต่ละดิสโทร ตอนนี้ก็สามารถใช้แอพกลางของ GNOME แทนได้
โครงการ GNOME เริ่มเตรียมยกเครื่อง UI ของโปรแกรมตั้งค่า GNOME Settings แบบใหม่หมด เปลี่ยนจากอินเทอร์เฟซแบบไอคอน (เหมือนกับ Control Panel ของวินโดวส์ หรือ Settings ของ OS X) มาเป็นอินเทอร์เฟซแบบ 2-pane ที่มีแถบนำทางด้านซ้ายมือ (แบบเดียวกับ iOS หรือ Android บนแท็บเล็ต) แทน
ทางทีมออกแบบให้เหตุผลว่าอินเทอร์เฟซแบบไอคอนเรียงกัน มีข้อจำกัดตรงไม่สามารถขับเน้นไอคอนบางตัวให้เด่นขึ้นได้ โดยเฉพาะการตั้งค่าบางอย่างที่ใช้บ่อยๆ รวมถึงรองรับไอคอนตั้งค่าจำนวนเยอะๆ ได้ยากเพราะติดเรื่องขนาดของหน้าต่าง ในขณะที่การใช้ sidebar แสดงลิสต์การตั้งค่านั้นแก้ปัญหาข้างต้นได้หมด
โครงการ Ubuntu เริ่มวางแผนสำหรับรุ่น 16.04 LTS ที่จะออกในปีหน้า ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวจัดการซอฟต์แวร์ Ubuntu Software Centre จะถูกถอดออก และเปลี่ยนมาใช้ GNOME Software Center แทน
เหตุผลที่ Ubuntu เลิกทำซอฟต์แวร์จัดการแพ็กเกจของตัวเอง เป็นเพราะต้องการลดภาระการดูแลซอฟต์แวร์ลง และหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของ GNOME โดยเขียนปลั๊กอินเพิ่มเข้าไปให้รองรับซอฟต์แวร์ของ Ubuntu แทน
Ubuntu 16.04 LTS ยังจะถอดซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี Brasero, ซอฟต์แวร์แชท Empathy ออกจากชุดซอฟต์แวร์มาตรฐาน ด้วยเหตุผลว่าคนใช้น้อยลงและโครงการไม่ค่อยอัพเดตแล้ว
นอกจากนี้ Ubuntu ยังเตรียมถอด Python 2 ออกจากชุดซอฟต์แวร์มาตรฐาน และติดตั้ง Python 3 มาให้เพียงอย่างเดียวด้วย
พบกันตามรอบทุก 6 เดือน GNOME รุ่นล่าสุด 3.18 มีของใหม่ดังนี้
พบกันทุกหกเดือน GNOME ออกเวอร์ชัน 3.16 พร้อมของใหม่ดังนี้
เดิมทีนั้นโครงการ Ubuntu ใกล้ชิดกับ GNOME มาก โดยใช้ระบบการออกรุ่น 2 ครั้งต่อปีเหมือนกัน และ Ubuntu จะใช้ GNOME รุ่นล่าสุดเสมอ แต่ภายหลังเมื่อ Ubuntu หันไปสร้างเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง ส่งผลให้ Ubuntu ช่วงหลังเริ่มไม่ใช้ GNOME รุ่นล่าสุดเพื่อลดภาระในการดูแลแพ็กเกจ
สำหรับ Ubuntu 14.10 รุ่นล่าสุดนั้นใช้แพ็กเกจส่วนใหญ่จาก GNOME 3.10 ที่เก่ากว่ากันสองรุ่น และนำแพ็กเกจบางตัวจาก GNOME 3.8 ที่เก่ากว่านั้นไปอีก ผู้ใช้งานจึงอาจได้รับผลกระทบว่าไม่ได้ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจากแอพบางตัวของ GNOME
อัพเดต: ทาง Groupon ออกมาประกาศถอนคำร้องเครื่องหมายการค้าแล้ว
เมื่อกลางปีที่ผ่านมา Groupon เปิดตัวเครื่องรับจ่ายเงิน (Point of Sale - POS) ของตัวเองในชื่อ Gnome หลังจากนั้นทาง Groupon ก็ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อ Gnome ทำให้โครงการ GNOME ที่เป็นระบบเดสก์ทอปในลินุกซ์ขอระดมทุนเพื่อยื่นคัดค้านการจดเครื่องหมายการค้านี้
ทาง GNOME ระบุว่าได้ติดต่อไปยัง Groupon ขอให้เลือกชื่ออื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนแล้วแต่ทาง Groupon ปฎิเสธยืนยันยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อไป
พบกันทุกหกเดือน GNOME ออกเวอร์ชัน 3.14 พร้อมของใหม่ดังนี้
โครงการ Debian ตัดสินใจเปลี่ยนระบบเดสก์ท็อปดีฟอลต์จาก Xfce กลับมาเป็น GNOME โดยจะมีผลตั้งแต่ Debian 8.0 Jessie ที่น่าจะออกช่วงต้นปี 2015
เหตุผลที่ Debian กลับมาใช้ GNOME อีกครั้งเป็นผลมาจากการประเมินข้อดีข้อเสียของ desktop environment หลายๆ ตัวที่มี แล้วพบว่า GNOME ได้คะแนนด้าน accessibility และการทำงานร่วมกับ systemd (ตัวช่วยบูตระบบที่มาแทน init) ดีกว่าระบบเดสก์ท็อปตัวอื่นๆ
Debian เคยตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ Xfce เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และเปลี่ยนกลับมาเป็น GNOME ในท้ายที่สุด
โครงการ GNOME ออกรุ่น 3.12 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน (ยังไม่เปลี่ยนเป็น 4.0 ตามแผนที่เคยมีข่าว) ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
เส้นทางของ Ubuntu กับ GNOME นั้นห่างไกลกันขึ้นเรื่อยๆ โดยช่วงหลัง Ubuntu เริ่มหันไปทำระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง แต่ก็ยังใช้โค้ดหรือโปรแกรมบางส่วนจากโครงการ GNOME อยู่บ้าง
ล่าสุด Ubuntu ยืนยันแล้วว่าจะแยก (fork) โปรแกรมตั้งค่า GNOME Control Center ออกมาทำเอง ด้วยเหตุผลว่าปัจจุบัน Ubuntu ใช้งาน GNOME Control Center แบบใส่แพตช์จำนวนมากจนไม่คุ้มค่าต่อการอัพเดตแพตช์ตามซอร์สโค้ดต้นน้ำ จึงจะแยกโครงการมาทำเองในชื่อ Ubuntu Control Center แทน
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของ Ubuntu คือโปรแกรมตั้งค่าตัวใหม่ที่ชื่อ Ubuntu System Settings ที่จะมาแทนโปรแกรมข้างต้นทั้งหมด ซึ่งก็คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะสมบูรณ์ครับ
คู่หูในอดีตอย่าง Ubuntu/GNOME นับวันยิ่งห่างไกลกันมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่ทั้งสองมีรอบการออกทุก 6 เดือนเท่ากัน เวอร์ชันใหม่ล่าสุดทันกันตลอด แต่หลังจาก Ubuntu แยกวงหันไปทำเดสก์ท็อป Unity ของตัวเองก็เริ่มสนใจ GNOME น้อยลง
ล่าสุด Sebastien Bacher นักพัฒนาของบริษัท Canonical ออกมาเสนอว่า Ubuntu 14.04 LTS ที่จะออกในเดือนเมษายน 2014 ควรจะใช้งาน GNOME เวอร์ชันเก่า 3.8 ที่ออกเมื่อเดือนมีนาคม 2013 ก็พอแล้ว (แปลว่าช้าไป 2 รุ่น เพราะช่วงนั้น GNOME จะออกเวอร์ชัน 3.12)
GNOME 3.10 มาแล้วตามระยะเวลาการพัฒนา 6 เดือน โดยในเวอร์ชันนี้มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
The GNOME Project เปิดตัว GNOME 3.8 ซึ่งเป็น major update ที่สี่ในรุ่นของ GNOME 3 แล้ว โดยในเวอร์ชันนี้มีการแก้ไขบั๊กอีกเล็กน้อยพร้อมกับมีการปรับปรุง และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้าไปด้วย เช่น ปรับปรุงพาเนลแบบใหม่ เพื่อให้การทำงานกับแอพพลิเคชันได้ดียิ่งขึ้น, เพิ่มโหมดคลาสสิก สำหรับผู้ที่ชื่นชอบหน้าตาแบบเดิมๆ และตามมาด้วยอีกหลายตัว เช่น
หลังจาก Ubuntu หันไปทำระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเองโดยไม่ใช้ GNOME 3 ตัวเต็ม (อย่างที่เคยเป็นในยุค GNOME 2) ทำให้มีนักพัฒนากลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันให้มี Ubuntu เวอร์ชัน GNOME 3 ด้วย (เช่นเดียวกับ Kubuntu หรือ Xubuntu ที่ใช้ระบบเดสก์ท็อปแบบอื่น) ผลคือโครงการ GNOMEbuntu ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Ubuntu GNOME อีกทีหนึ่ง
ล่าสุด Ubuntu GNOME ได้รับอนุมัติจากโครงการ Ubuntu ให้เป็นดิสโทรย่อยอย่างเป็นทางการแล้ว นั่นแปลว่าโครงการ Ubuntu GNOME จะได้รับการสนับสนุนและเข้าถึงทรัพยากรด้านเซิร์ฟเวอร์ของ Canonical เช่นเดียวกับโครงการดิสโทรย่อยตัวอื่นๆ
Miguel de Icaza ที่หลายคนรู้จักกันในฐานะผู้พัฒนาโครงการ Mono (.NET แบบโอเพนซอร์ส) เขียนบล็อกเล่าประสบการณ์การใช้งานแมคและระบุว่าเขาเลิกใช้ลินุกซ์แทบจะทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่การย้ายอพาร์ตเมนต์ครั้งล่าสุดเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว เขาก็ไม่สนใจจะเปิดเครื่องลินุกซ์ขึ้นมาใช้งานอีกเลย และแม้แต่ช่วงที่ทำงานเกี่ยวกับลินุกซ์ เขาเองก็แนะนำคนรอบตัวให้ใช้แมค และซื้อเครื่องแมคเป็นของขวัญให้คนรอบข้างเสมอ
ปัญหาของลินุกซ์สำหรับเขา คือ fragmentation ที่มากเกินไปของลินุกซ์ ดิสโทรต่างๆ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ รวมถึงความไม่เข้ากันระหว่างเวอร์ชั่นในดิสโทรเดียวกันเอง และจนกระทั่งทุกวันนี้ ลินุกซ์เองยังไม่สามารถก้าวข้ามช่องว่างที่จะเป็นระบบปฎิบัติการสำหรับเดสก์ทอปได้
หลังจากการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ทีมนักพัฒนา GNOME ตัดสินใจใช้ JavaScript เป็นภาษาเริ่มต้นในการพัฒนา GNOME Apps โดยจะใช้ร่วมกับภาษาซีในส่วนของการจัดการกับระบบ
Travis Reitter หนึ่งในทีมนักพัฒนาของ GNOME ได้กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกใช้ JavaScript ว่ามันเป็นภาษาระดับสูงและถูกใช้งานจริงแล้วใน GNOME Shell และ GNOME Documents อีกทั้งมีความง่ายสำหรับนักพัฒนาใหม่ที่จะศึกษาและพัฒนาต่อไปด้วยในแง่ของโอเพนซอร์ส
ถึงแม้ GNOME 3.x จะเปลี่ยนมาใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ GNOME Shell แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ยังมีโหมด fall back (หรือ GNOME Classic) ที่ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ GNOME 2.x อยู่ ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่ยังไม่รองรับการแสดงผล 3 มิติยังสามารถใช้ GNOME ได้ (เหตุผลเดียวกับฝั่ง Ubuntu เคยมี Unity 2D)
แต่ใน GNOME รุ่นหน้า 3.8 ทางนักพัฒนาก็ประกาศตัดโหมด fallback ออกไปแล้ว ด้วยเหตุผลว่าไม่มีใครใช้งานและทดสอบมันอย่างจริงจัง แถมการใช้โค้ดเดิมของ GNOME 2.x ก็มีผลเสียต่อ GNOME 3.x เรื่องความเข้ากันได้ และแอพบางตัวของ GNOME ก็จำเป็นต้องรันบน GNOME 3.x เท่านั้นแล้ว
The GNOME Project เปิดตัว GNOME 3.6 ซึ่งเป็น major update ที่สามในรุ่นของ GNOME 3 แล้ว โดยในเวอร์ชันใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนติดต่อผู้ใช้ให้มีความสวยงามขึ้น ส่วนของแอพลิเคชันพื้นฐานเช่นตัวจัดการไฟล์ นาฬิกา รวมถึงส่วนที่จะช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายสามารถใช้ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย
ผู้อ่านสามารถดูฟีเจอร์ใหม่แบบเต็มได้จากที่นี่เลยครับ
ที่มา - GNOME's Mailing Services via Phoronix
จากกรณี Nautilus โฉมใหม่ หน้าตาเรียบง่าย ฟีเจอร์หายเพียบ สิ่งที่หลายๆ คนคิดไว้อย่างการแยกโครงการ (fork) ก็เกิดขึ้น เพียงแต่ไม่ได้มาจาก Ubuntu แต่เป็นค่าย Linux Mint แทน
Linux Mint ใช้ Nautilus รุ่นก่อน 3.4.x เป็นฐาน (รุ่นปัจจุบันที่มีปัญหาคือ 3.5.x) โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Nemo ในเบื้องต้นยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงจาก 3.4.x มากนัก และทางโครงการ Mint เองก็ยังไม่ได้ประกาศข่าวนี้อย่างเป็นทางการด้วย
ก่อนหน้านี้ Linux Mint เคย fork ส่วนประกอบอื่นๆ ของ GNOME อย่าง GNOME Shell และตัวจัดการหน้าต่าง Mutter มาพัฒนาตามแนวทางของตัวเองแล้ว
ผู้ใช้ลินุกซ์ฝั่ง GNOME คงคุ้นเคยกับตัวจัดการไฟล์ Nautilus กันเป็นอย่างดี (ไม่ว่าจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม)
ล่าสุดใน GNOME 3.6 ที่กำลังจะออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ Nautilus ถูกยกเครื่องครั้งใหญ่ให้หน้าตาเข้าชุดกับ GNOME 3.x ที่เน้นความเรียบง่ายของส่วนติดต่อผู้ใช้
ที่งาน GUADEC หรืองานประชุมนักพัฒนาของวงการ GNOME มีข้อเสนอต่อยุทธศาสตร์ของโครงการ GNOME ในระยะยาวดังนี้