ทีมพัฒนา Ubuntu ประชุมระดมสมองสำหรับรุ่นหน้า 12.10 Quantal Quetzal ที่งาน Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) เป็นที่เรียบร้อย
เว็บไซต์ OMG Ubuntu สรุปประเด็นที่น่าสนใจมาดังนี้ครับ
ระบบเดสก์ท็อป
ตอนนี้นักพัฒนาสาย Ubuntu กำลังประชุมระดมสมองเพื่อ Ubuntu 12.10 ที่งาน Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้
Ubuntu 12.10 จะออกรุ่นจริงในเดือนตุลาคมปีนี้
ครบ 6 เดือนอีกครั้ง GNOME รุ่นใหม่ออกตามกำหนด โดยมีทั้งเพิ่มโปรแกรมใหม่ แก้บั๊ก และเพิ่มของใหม่หลายอย่าง
รุ่นใหม่นี้มีของใหม่เด่น ๆ คือ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ Gnome 3.4 Release Notes
หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows Live Messenger เปิดให้เชื่อมต่อผ่าน XMPP โปรแกรม IM อย่างเป็นทางการของ GNOME คือ Empathy ก็ประกาศรองรับฟีเจอร์นี้อย่างรวดเร็ว
หลังจากประกาศแนวทางพัฒนาไปแล้ว ในที่สุดทีมงานก็ได้ปล่อย Linux Mint 12 RC โค้ดเนม "Lisa" ออกมา ให้ผู้ที่ติดตามได้ลองใช้ ก่อนที่จะปล่อยเวอร์ชันจริงประมาณวันที่ 20 เดือนนี้
โดยสิ่งที่เพิ่มมาใหม่คือ
ปัญหาความเปลี่ยนแปลงในโลกลินุกซ์เดสก์ทอปช่วงนี้ค่อนข้างวุ่นวายมากเนื่องจากโครงการ Gnome นั้นกำลังเปลี่ยนรุ่นจาก Gnome 2.32 ไปสู่ Gnome 3 ปัญหาคือความไม่สมบูรณ์ของ Gnome 3 ทำให้คนจำนวนมากไม่ต้องการย้าย ส่วนทางฝั่ง Gnome 2 นั้นก็หยุดพัฒนาลงแล้วอย่างสิ้นเชิง แุถมไม่สามารถติดตั้งทั้งสองรุ่นพร้อมกันได้
พบกันทุกหกเดือน หลังจาก GNOME 3.0 เมื่อเดือนเมษายน คราวนี้เป็นคิวของ GNOME 3.2
ใจความหลักของ GNOME 3.2 คือการปรับปรุง GNOME 3.0 ให้เข้ารูปเข้ารอย แก้บั๊กเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด เช่น เพิ่มตัวนับการแจ้งเตือน, ปรับขนาดปุ่มควบคุมให้เล็กลง เหมาะสำหรับจอเน็ตบุ๊ก, ปรับปรุงเอฟเฟคต์ในการแสดงผล ฯลฯ
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
หลังจากการปรับกำหนดออกรุ่นใหม่มา 2 สัปดาห์ Fedora 15 ก็ออกเวอร์ชั่นสมบูรณ์ โดยมีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น ใช้ GNOME3, ใช้ systemd ในการเริ่มต้นทำให้บูตได้เร็วขึ้น, ระบบความปลอดภัย Dynamic Firewall เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ โดยมีให้เลือกทั้งแบบ GNOME (มาตรฐาน), KDE, LXDE, และ Xfce
หลังจากเลื่อนแล้วเลื่อนอีกมาหลายรอบ ในที่สุด GNOME ก็เดินทางมาถึงรุ่น 3.0 จนได้
GNOME 3.0 แตกต่างจาก GNOME 2.x อย่างมาก เพราะเลิกใช้ระบบเดสก์ท็อปแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี เปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการงานแบบใหม่ที่เรียกว่า GNOME Shell (ซึ่งจะคล้ายๆ กับ Ubuntu Unity ผมยังไม่ได้ทดลองใช้ทั้งคู่ยังให้ความเห็นไม่ได้)
GNOME 3.0 เป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่ ความสามารถเดิมๆ ใน GNOME 2.x อาจจะหายไปบ้าง แต่ปัญหาพวกนี้จะค่อยๆ ถูกแก้ใน GNOME 3.x ที่จะตามมา (สถานการณ์จะคล้ายๆ KDE 4.0 ที่เป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่เหมือนกัน)
ภาพหน้าจอ
เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตในโลกของโอเพนซอร์ส โดยเฉพาะฝั่ง GNOME และ Ubuntu
GNOME และ Ubuntu นั้นเป็นมิตรกันมายาวนานตั้งแต่เริ่มโครงการ Ubuntu เมื่อปี 2004 อย่างไรก็ตามทิศทางของ Ubuntu ในช่วงหลังจะเน้นไปที่ระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง (อ่านดูได้ในข่าวเก่าหมวด Unity) ซึ่งจะชนเข้าอย่างจังกับทิศทางของ GNOME ในรุ่น 3.0 (ออกเมษานี้) ที่มีระบบเดสก์ท็อปของตัวเองชื่อ GNOME Shell
ทั้งสองตัวมีหน้าตาและแนวคิดใกล้เคียงกัน แต่แยกกันพัฒนาไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งนักพัฒนาจากทั้งสองค่ายก็ไม่พอใจกันอยู่เงียบๆ และตอนนี้ก็ออกมาชนกันตรงๆ แล้ว
GNOME 3.0 ซึ่งจะออกรุ่นจริงเดือนเมษายนนี้ มีแนวคิดการออกแบบวิธีการทำงานที่ต่างไปจากเดสก์ท็อปแบบเดิมๆ มาก (จะคล้ายๆ Ubuntu Unity แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว)
ล่าสุดเว็บไซต์ OMG Ubuntu รายงานข่าวว่านักพัฒนาของโครงการ GNOME ได้ทดลองนำปุ่ม Minimize/Maximize ออกไปจากขอบหน้าต่างด้านขวามือแล้ว เหลือเพียงปุ่ม Close เพียงปุ่มเดียว
เหตุผลของการนำทั้งสองปุ่มออกจะต่างกันอยู่บ้าง กรณีของ Minimize เป็นเพราะ GNOME 3.0 ไม่ใช้แนวคิดของเดสก์ท็อป แต่เปลี่ยนเป็น 'workspace' แทน การสั่งให้ "ย่อหน้าต่าง" ซึ่งมีต้นตอมาจากแนวคิดแบบเดิมจึงไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก
GNOME 2.32 ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่มีไม่เยอะนักเพราะเป็นรุ่นแก้บั๊ก หลังจากที่ต้องเลื่อนการออก GNOME 3.0 มาถึงสองครั้ง รายการของใหม่ได้แก่
รอใช้กันได้ใน Ubuntu 10.10 และ Fedora 14 ส่วน GNOME 3.0 เจอกันเดือนเมษายน 2011
Aaron Bockover ผู้พัฒนาโปรแกรมฟังเพลง Banshee เขียนบล็อกว่า Amazon MP3 ได้ให้การสนับสนุนโครงการ GNOME ผ่านโครงการ affiliate ของตัวเอง
พูดง่ายๆ คือถ้าใช้โปรแกรม Banshee แล้วซื้อเพลงจาก Amazon MP3 ในตัวโปรแกรม รายได้ทั้งหมดจะถูกมอบให้ GNOME Foundation เพื่อนำไปเป็นทุนพัฒนาวงการโอเพนซอร์สต่อไป
หรือถ้าอยากสนับสนุน GNOME แต่ไม่ได้ใช้ Banshee ก็สามารถซื้อได้จากหน้าเว็บของ Amazon แบบโยงกับบัญชีของ affiliate ได้เช่นกัน
ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของโครงการนี้คือมันใช้ได้เฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
หลังจากเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง ทางโครงการ GNOME ได้ประกาศเลื่อนการออก GNOME 3.0 ซึ่งเดิมมีกำหนดจะออกเดือนกันยายนนี้อีกครั้ง โดยจะย้ายไปออกเดือนมีนาคม 2011 แทน และออก GNOME 2.32 มาคั่นรายการแทนในรอบการออกเดือนกันยายนปีนี้
เหตุผลของการเลื่อนคือคุณภาพโค้ดของ GNOME 3.0 นั้นยังไม่พร้อมสำหรับการออกรุ่นจริง แต่ทางโครงการก็จะออก GNOME 3.0 Preview ในรอบการออกเดือนกันยายน เพื่อให้บางดิสโทรนำไปทดสอบเช่นกัน
สำหรับ GNOME 2.32 รุ่นขัดตาทัพจะมีฟีเจอร์เพิ่มไม่มากนัก แต่จะไปเน้นที่การแก้บั๊กและปรับปรุงประสิทธิภาพแทน
Mark Shuttleworth ตอบคำถามผู้ใช้ Ubuntu โดยเขาระบุว่าใน Ubuntu 10.10 รุ่นหน้า Maverick Meerkat จะยังไม่เปลี่ยนอินเทอร์เฟซมาใช้ GNOME Shell ตาม GNOME 3.0 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งเองได้ตามปกติ
ประเด็นอื่นๆ
ที่มา - OMG Ubuntu
GNOME 2.30 ซึ่งน่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายของสาย 2.x ออกรุ่นจริงเรียบร้อยแล้ว รอใช้กันได้ในดิสโทรยอดนิยมอย่าง Ubuntu กับ Fedora ในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ใหม่
ถ้าใครยังจำกันได้ เมื่อปี 2004 ข่าวใหญ่มากอันหนึ่งของแวดวงลินุกซ์คือ Nautilus ซึ่งเป็น file manager หลักของ GNOME ตัดสินใจปรับอินเทอร์เฟซให้เป็นแบบ spatial (เปิดโฟลเดอร์ใหม่จะเปิดหน้าตางใหม่ด้วย เหมือนกับ Windows Explorer ใน Windows 95) ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาก (อ่าน ข่าวเก่าบน Slashdot, ข่าวเก่าบน OSNews, ข่าวเก่าบน Ars Technica ประกอบ)
จากข่าวเก่าว่า GNOME 3.0 คือ GNOME 2.30 ซึ่งจะออกตัวจริงช่วงเดือนมีนาคม 2010 ตอนนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว เพราะทางโครงการตัดสินใจเลื่อน GNOME 3.0 ไปออกเดือนกันยายน 2010 แทน
เหตุผลก็ตรงไปตรงมาว่าการเลื่อนไปอีก 6 เดือนจะช่วยให้ GNOME 3.0 สมบูรณ์ขึ้น ส่วนรอบการออกเดือนมีนาคม 2010 (GNOME ออกทุกหกเดือน) ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าจะออก GNOME 2.30 ซึ่งจะเน้นไปที่การแก้บั๊ก และการพัฒนาในจุดเล็กๆ น้อยๆ เสียมากกว่า
พบกันเป็นประจำทุก 6 เดือนกับ GNOME รุ่นใหม่ สำหรับรุ่นนี้ 2.28 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
GNOME นั้นคิดว่าคงไม่มีใครที่นี่ไม่รู้จัก GNOME ทำหน้าที่จัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่สวยงามและใช้งานได้ดี อีกทั้งสามารถทำงานได้หลายระบบปฏิบัติการ ตอนนี้ได้มีการปรับปรุงเป็นครั้งที่สองเพื่อการทำงานที่ดีขึ้น GNOME 2.26.2 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
สำหรับรายละเอียดที่ประกาศออกมาสามารถหาอ่านกันได้ที่นี่ ซึ่งเป็นระบบบอกรับข่าวสาร (Mailing list)
พบกันทุกๆ 6 เดือน คราวนี้ GNOME ออกถึงรุ่น 2.26 แล้ว ของใหม่มีดังนี้
มันอธิบายเป็นตัวหนังสือค่อนข้างยาก เอาเป็นว่าไปดู mockup video กันก่อน
Mark Shuttleworth นั้นเคยบอกว่า ลินุกซ์ยังไม่สามารถให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ได้เท่ากับแมค และตั้งเป้าหมายว่าต้องเทียบเท่าแมคให้ได้ (ข่าวเก่า) โดยเริ่มลงทุนพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โครงการระบบแจ้งเตือน (notification system) แบบใหม่นี้เป็นอย่างแรกที่ออกมา ไอเดียหลักๆ ของมันที่ต่างจาก notification system ที่เราใช้กันอยู่คือ
ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งใน OpenSolaris คือ ZFS ที่เป็นระบบไฟล์ที่มีความสามารถล้นเหลือ เช่นการรวมดิสก์หลายๆ ลูกเข้าด้วยกัน หรือจะเป็นความสามารถในการย้อนเวลาของดิสก์กลับไปดูได้ว่าก่อนหน้านี้ไฟล์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ความสามารถเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดี ปัญหาคือมันใช้งานค่อนข้างลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้ทางซันเลยทำปลั๊กอินให้กับ Nautilus ซึ่งเป็นไฟล์บราวเซอร์ของทาง Gnome เพื่อให้ใช้งานกันได้ง่ายขึ้นชื่อว่า time slider
เดโมดูได้ในที่มาข่าวนี้ แต่โดยหลักแล้วก็แค่มี slider ขึ้นมาด้านบนของ Nautilus ว่าอยากย้อนเวลาไปดูไฟล์เมื่อวันที่เท่าใหร่ และสามารถนำไฟล์รุ่นเก่านั้นไปวางไว้ที่อื่นเช่น Desktop ได้
น่าใช้จริงๆ หวังว่า Ubuntu 9.04 น่าจะรวมความสามารถนี้ไว้
บั๊กหนึ่งของ Ubuntu Intrepid ที่กล่าวถึงกันมากใน ubuntuclub คือเรื่องการป้อนภาษาไทยที่ไม่รับสระบน-ล่าง ความจริงเรื่องนี้เป็นปัญหาที่คาบเกี่ยวทั้งพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ ทั้งปัญหาของซอฟต์แวร์เองด้วย คำอธิบายปัญหาจึงมีทั้งสองส่วน
ก่อนอื่น ขอเริ่มจากเรื่องการป้อนข้อความภาษาไทยใน GTK+ ซึ่งรองรับภาษาไทยมานานแล้ว โดย GTK+ สามารถเปลี่ยนวิธีป้อนข้อความได้ขณะทำงาน โดยคลิกขวาที่บริเวณป้อนข้อความใด ๆ แล้วเลือกเมนู "วิธีป้อนข้อความ" (Input Methods) ก็จะสามารถเลือกวิธีป้อนข้อความภาษาต่าง ๆ ได้ ถ้าคุณเลือก "ไทย-ลาว" (Thai-Lao) หรือ "Thai (libthai)" ก็จะสามารถป้อนภาษาไทยได้โดยไม่ขึ้นกับโลแคลที่ใช้ พร้อมกับมีการตรวจแก้ลำดับการพิมพ์ให้ด้วย
กลับมาพบกันทุก 6 เดือนตามวัฏจักรการออกรุ่นของ GNOME รอบนี้เลขเวอร์ชันขึ้นมาเป็น 2.24 พร้อมฟีเจอร์ใหม่ดังนี้
รายละเอียดแบบเต็มๆ อ่านใน บันทึกประจำรุ่น GNOME 2.24 (ภาษาไทย) สำหรับผู้ใช้ Ubuntu จะได้ใช้ใน 8.10 Inrepid Ibex