เว็บไซต์ derStandard.at ของออสเตรียได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Mark Shuttleworth ที่งาน GUADEC (งานประชุมประจำปีของ GNOME) ที่อิสตันบูลเมื่ออาทิตย์ก่อน
ในงานประชุมประจำปี GUADEC ที่ตุรกี ทีมงาน GNOME ได้เสนอแผนการสำหรับ GNOME 3.0 แล้ว
ปกติ GNOME มีกำหนดออกทุก 6 เดือน โดยใช้หลักการ incremental release คือฟีเจอร์ไหนเสร็จไม่ทันก็ต้องรอเวอร์ชันหน้า GNOME เวอร์ชันล่าสุดคือ 2.22 ซึ่งออกช่วงเดือนมีนาคม ส่วน 2.24 จะตามมาในเดือนกันยายนนี้
ใน ตอนที่ 1 คุณ mk ได้ปูพื้นเรื่องงานแปลโดยทั่วไปไว้แล้ว ต่อไปนี้ก็จะเจาะเรื่องการร่วมแปล GNOME นะครับ
ระบบการแปลของ GNOME จะอาศัยหน้าเว็บ "Damned Lies" ที่รวม PO ของโครงการต่าง ๆ ใน GNOME จาก SVN snapshot ล่าสุด ซึ่งพร้อมสำหรับการแปลอยู่ตลอดเวลา ผู้แปลสามารถเลือกดาวน์โหลด PO ของโครงการที่สนใจ เพื่อมาแปลด้วย PO editor ทั้งหลาย แล้วส่งงานที่ได้ให้กับผู้ประสานงานหรือ mailing list ทีมแปล เพื่อผ่านกระบวนการตรวจทานและ commit เข้า SVN ต่อไป
ตามกำหนดทุกหกเดือน GNOME 2.22 ออกแล้ว สำหรับฟีเจอร์ใหม่ ดูใน ข่าวเก่า หรือแบบเต็มๆ ในบันทึกประจำรุ่นของ GNOME 2.22 (ภาษาไทย) ก็ได้เช่นกัน
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็เช่นเดิมครับ รอ Ubuntu 8.04 หรือ Fedora 9 ซึ่งจะออกช่วงเดือนเมษายนนี้ ผมใช้ 8.04 alpha 6 อยู่ก็โอเคพอสมควร ทำงานได้ราบรื่นดี โปรแกรม Cheese นี่สนุกใช้ได้เลย
ที่มา - Ars Technica
เว็บไซต์ Phoronix รวมฟีเจอร์ใหม่ 8 อย่างของ GNOME 2.22 ที่จะออกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ (ได้ใช้กันใน Ubuntu 8.04)
ในข่าว Fedora 8 ผมเขียนถึง GNOME Online Desktop ไปนิดหน่อย ตอนนี้ทาง Red Hat ซึ่งเป็นนักพัฒนาหลักได้ออกมาพูดถึงโครงการนี้มากขึ้นแล้ว
GNOME Online Desktop มีแนวคิดว่าปัจจุบันเราใช้เว็บแอพพลิเคชันรุ่นใหม่ๆ อย่างพวก Flickr, YouTube ฯลฯ กันมาก วิธีการใช้คอมพิวเตอร์แบบเดิมที่ทุกอย่างอยู่บนเดสก์ท็อป ต้องติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องเริ่มล้าสมัย ทำไมไม่ผนวกสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน รายละเอียดที่เหลืออ่านตามลิงก์กันเองมีรูปประกอบสวยงาม
ตามกำหนดทุก 6 เดือน GNOME เวอร์ชันใหม่ 2.20 ก็ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ก็ยังเป็นการปรับปรุงในจุดย่อยๆ มากกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (เหมือน KDE 4.0) โปรแกรมในชุดที่ได้รับการปรับปรุงเยอะหน่อยคือ Evolution, Tomboy, gedit แต่ที่ผมชอบมากคือแก้บั๊กปุ่มใน taskbar เปลี่ยนขนาดตาม title bar เสียที (เย้!) รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงดูได้ในบันทึกประจำรุ่น ซึ่งคุณเทพพิทักษ์แปลเป็นภาษาไทยไว้อย่างละเอียดเช่นเคย
เราคงได้ใช้กันจากดิสโทรต่างๆ ซึ่งมีข่าวที่เกี่ยวข้องดังนี้
โครงการ GNOME มีอายุครบ 10 ปีแล้ว ถ้านับตามอีเมลของ Miguel De Icaza ที่ประกาศตัวโครงการเมื่อ 15 สิงหาคม 1997
มีคนจับหน้าจอของ GNOME เวอร์ชันแรกๆ เทียบกับเวอร์ชันปัจจุบัน และก็มีคนทำเค้กครบ 10 ปี GNOME มาให้ดูด้วย
GNOME 2.18 ออกแล้ว เวอร์ชันนี้เน้นหน้าตาให้ดูสมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มโปรแกรมอำนวยความสะดวก เช่น Seahorse สำหรับจัดการ PGP หรือโปรแกรมวิเคราะห์การใช้งานดิสก์ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเพิ่มพจนานุกรมภาษาไทยเข้าไปในตัว GNOME เลย
รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก Release Notes เวอร์ชันภาษาไทยที่แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ ถ้าใครร้อนใจอยากรีบลอง เดี๋ยวนี้เค้ามีเวอร์ชัน LiveCD ให้พร้อม แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไป รออีกซักนิดเดี๋ยวได้ใช้กันทั้งใน Ubuntu 7.04 Feisty Fawn และ Fedora 7 ที่จะออกช่วงปลายเดือนเมษายน
โครงการ Portland เป็นโครงการเชื่อม API บางส่วนของ KDE กับ GNOME เข้าด้วยกัน (ข่าวเก่า) ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชันแรกแล้ว
โครงการนี้เป็นผลงานของ Open Source Development Labs (ที่ Linus ทำงานอยู่) ต่อไปเวลาเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์ เราก็หมดห่วงไปได้บ้างว่ามันจะผสานกับ KDE ได้ แต่ GNOME ไม่ได้ อะไรทำนองนี้
Qt 4.2 และ GNOME 2.16 ที่เพิ่งออกไปนั้นสนับสนุน Portland เรียบร้อยแล้ว และดิสโทรหลายๆ เจ้าก็เริ่มนำไปใช้แล้วเช่นกัน
ที่มา - Ars Technica
GNOME 2.16 ออกแล้วครับ สำหรับผู้ใช้ทั่วไปคงไม่ต้องทำอะไรมาก รอที่มันมาพร้อมดิสโทรใหม่ๆ อย่าง Ubuntu Edgy ที่จะออกเดือนตุลาคมนี้ง่ายกว่า
เวอร์ชัน 2.16 เน้นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก สิ่งที่น่าสนใจคือการเข้ามาของ Tomboy (ซึ่งพ่วง Mono ตามมาด้วย และเป็นสัญญาณว่าเราอาจจะเห็น F-Spot หรือ Diva ในอนาคต) คนที่สนใจว่า GNOME ตัวนี้มีอะไรใหม่ อาจจะอ่านได้จาก Release Notes ฉบับภาษาไทย (โดยคุณเทพ) และรีวิวจาก Ars Technica
Open Source Development Labs องค์กรอิสระที่ Linus ทำงานอยู่ ได้เปิดตัวโปรแกรม Portland ในงาน LinuxWorld Expo ที่บอสตัน ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมที่ใช้กับ Gnome และ KDE ได้พร้อมกัน ที่ผมอ่านคร่าวๆ มันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วน command line ที่ช่วยในการติดตั้ง และไลบรารีกลางที่ไปเรียกไลบรารีของแต่ละ Desktop อีกที
ที่มาของชื่อมาจากการประชุมของ OSDL ที่เมืองพอร์ตแลนด์ กำหนดออกเบต้าพฤษภาคมนี้ ส่วนตัวจริงก็เดือนมิถุนา
ที่มา - ZDNet
รีวิวของที่ Linux.com
สรุปสั้นๆ GNOME 2.14 ปรับปรุงในเรื่องความเร็วอย่างเห็นได้ชัด และเปลี่ยนแปลง UI หลายจุดให้เข้าใจง่ายมากขึ้น เช่น จำกัดจำนวนแท็บใน dialog ให้เหลือแค่ 2-3 อัน หรือเปลี่ยนตัวเลือกจากที่ใช้ combobox (ที่คลิกแล้วมีเมนูไหลลงมา) มาเป็น checkbox แทน เพื่อให้ผู้ใช้เห็นตัวเลือกทั้งหมดที่มี เป็นต้น
นอกจากนี้ก็มีโปรแกรมใหม่อีกสองตัว คือ Pessalus กับ Sabayon ไว้จำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ สำหรับเครื่องที่วางไว้ที่สาธารณะ เช่น ตู้ kiosk หรือในงานแสดงสินค้า
ที่มา - Linux.com
GNOME 2.14 ออกแล้วครับ มีอะไรใหม่สามารถอ่านได้จาก บันทึกประจำรุ่น GNOME 2.14 (ฉบับภาษาไทยโดยคุณเทพพิทักษ์) ผมเคยเขียนไว้บ้างนิดหน่อย อ่านในข่าวเก่า มีอะไรใหม่ใน GNOME 2.14
คิดว่าบรรดาดิสโทรคงทยอยนำไปใช้กันตามปกติ ช่วงนี้มีดิสโทรรอออกหลายตัว ทั้ง Fedora 5, SuSE Enterprise 10 และ Ubuntu Dapper
ที่มา - OSNews
สำหรับคนที่ใช้ GNOME อาจจะอึดอัดใจว่า gedit เป็น default text editor ที่ไม่มีความสามารถมากนัก (เทียบกับ kate ของ KDE) ผมเองเวลาเขียนโปรแกรมส่วนมากก็ใช้ vi เพราะมันคุ้นมือกว่า
แต่ใน gedit 2.14 ที่มากับ GNOME 2.14 ซึ่งออกเดือนมีนานี้ ได้รื้อโค้ดใหม่ซะเยอะ ทำให้มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วมากขึ้น เอา UI หลายอย่างจาก Firefox มาใช้ เช่น Find as you type, การแจ้งเตือนแบบไม่ใช้ไดอะล็อกมาให้เกะกะ หรือแท็บที่ย้ายตำแหน่งได้ เป็นต้น และสุดท้ายคือบรรดาปลั๊กอินใหม่ๆ ที่ทำให้ชีวิตคนต้องเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเยอะ อย่าง Code Snippet เป็นต้น
พอถึงเวลาที่ GNOME ใกล้ออกรุ่นใหม่ เวอร์ชันหลังๆ จะมีไกด์ของนาย Davyd Madeley ที่เขียนอ่านง่ายมีภาพประกอบ น่าอ่านกว่า changelog ธรรมดาหลายเท่าออกมาให้อ่านกัน ตอนนี้ก็ถึงคิวไกด์ว่า 2.14 มีอะไรใหม่
เรื่องหลักก็คงเป็นความเร็วที่เพิ่มขึ้น เพราะช่วงหลัง GNOME เองก็โดนวิจารณ์เยอะเรื่องช้า +กินแรม นอกจากนั้นก็เพิ่มเครื่องมือในการดูแลระบบหลายอย่าง และเพิ่มความสามารถด้านการค้นหาให้กับโปรแกรมหลายๆ ตัว โปรแกรมที่น่าสนใจคือ Deskbar ซึ่งเป็นโปรแกรมไว้เรียกโปรแกรมอื่น (ดูรูปเอาเองไม่รู้จะอธิบายยังไง ถ้าใครเคยใช้ Spotlight หรือ QuickSilver บนแมคมาจะเข้าใจ)
ไม่รู้ไปโกรธอะไรกันมาระหว่างไลนัส และทีมงาน Gnome ที่อยู่ดีๆ ก็ทะเลาะกันแรงพอควรใน เมลลิ่งลิสต์ของ Gnome โดยไลนัสระบุว่าส่วนตัวของเขาแล้่วแนะนำให้คนใช้ KDE เพราะ Gnome ขาดฟีเจอร์ที่จำเป็นและขาดความยืดหยุ่น แถมด้วยประโยคเด็ด
Gnome seems to be developed by interface nazis, where consistently the excuse for not doign something is not "it's too complicated to do", but "it would confuse users".
[ดูเหมือนว่า Gnome จะถูกพัฒนาจากนาซีด้านอินเทอร์เฟซ ที่ให้เหตุผลที่จะไม่ทำอะไรบางอย่างด้วยเหตุผลว่า "มันทำให้คนใช้สับสน" แทนที่จะเป็น "มันยุ่งยากเกินไป"]
GNOME ได้ฤกษ์ออก 2.12 แล้วครับ ติดตามอ่านรายละเอียดได้จาก บันทึกประจำรุ่น GNOME 2.12 โดยตรง เป็นภาษาไทยฝีมือการแปลของคุณเทพครับผม เวอร์ชันนี้สถานะการแปลภาษาไทยได้เขยิบมาเป็น supported แล้ว (คราวก่อนยังเป็น unsupport อยู่เลย) ถ้าอยากเล่นจริงๆ แนะนำให้รอ Ubuntu 5.10 น่าจะดีกว่าลงเองนะ
รีวิวมีให้อ่านที่ OSNews
ผมเคยเขียนถึงโปรแกรมค้นหาแบบ Google Desktop/Apple Spotlight บนลินุกซ์ที่ชื่อ Beagle ไว้หลายรอบ ตอนนี้มีคนเขียนรีวิวแล้ว แนะนำว่าจะลงค่อนข้างง่ายถ้าใช้ Ubuntu และไม่ต้องทำอะไรเลยถ้าใช้ SuSE (เพราะว่า Novell ซื้อ Ximian ซึ่งเป็นทีมที่ทำ Beagle ด้วย)
ถ้าสนใจเรื่องการค้นหาด้วย metadata แต่ไม่มีตังค์ซื้อแมค ขี้เกียจรอ Vista และอยากหาอะไรที่แตกต่างจาก Google Desktop แนะนำ Beagle
GTK+ Toolkit พื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม (โดยเฉพาะ Gnome) ได้ออกรุ่น 2.8 แล้ว ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไปคงไม่มีอะไรเอี่ยวมากนัก ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักพัฒนาเค้าไป แต่ว่าใน GTK+ 2.8 เพิ่มความสามารถในการเรนเดอร์กราฟฟิกผ่านไลบรารี Cairo ซึ่งเป็นไลบรารีกราฟิกตัวใหม่บนลินุกซ์ที่มีฟีเจอร์เยอะพอๆ กับ Vista หรือ MacOSX
Gnome 2.12 มีกำหนดออกต้นเดือนกันยายน ช่วงหลังนี้ Gnome ใช้วิธีออกทุก 6 เดือน แทนที่จะรอฟีเจอร์เสร็จเหมือนก่อน ซึ่งมีข้อดีคือทำให้บรรดาดิสโทรสามารถคาดเดาได้ว่า Gnome รุ่นถัดไปจะออกเมื่อไร อย่างเช่น Ubuntu ที่จะออกตัว Release Candidate ในวันที่ Gnome ออกตัวจริงเสมอ เป็นต้น
เมื่อการออกใช้ตามระยะเวลา ไม่ใช่ตามฟีเจอร์ ทำให้ Gnome รุ่นหลังจะมีของเด็ดๆ น้อยลง แต่จะไปเน้นฟีเจอร์เล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้การใช้งานของผู้ใช้สะดวกขึ้นแทน ยิ่งตัวหลัง (.10 และ .12 ผมสังเกตว่าเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมมากขึ้น ตามแบบ Windows และ MacOS)
ได้ฤกษ์ออกตัวจริงอย่างเป็นทางการ ฟีเจอร์ต่างๆ จะไม่เพิ่มจาก 2.8 มากนัก (เทียบกับตอน 2.2 เป็น 2.4) เพราะว่าหลังๆ GNOME หันมาใช้ตารางเวลาว่าครบ 6 เดือนจะออกตัวจริงที โดยไม่สนว่าฟีเจอร์ใหญ่ๆ จะเสร็จหรือไม่ เพื่อจะได้ควบคุมตารางการออกได้ครับ
ที่น่าสนใจคือ GNOME 2.10 มี Releases Note ภาคภาษาไทย แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ให้อ่านกันด้วย รายการฟีเจอร์ผมก็เคยเขียนไว้แล้ว ตามไปอ่านได้เช่นกันครับ
GNOME 2.10 ตัวต่อไปจะออกเดือนมีนาครับ ฟีเจอร์ใหม่ๆ จะไม่ค่อยหวือหวามากนัก เพราะว่าช่วงหลัง GNOME เปลี่ยนแผนการออกจากอิงตามฟีเจอร์ว่าฟีเจอร์เสร็จจะออก กลายมาเป็นออกตามช่วงระยะเวลาแทน (แบบว่ามีอะไรใหม่เพิ่มเท่าไรก็ตาม ถึงเวลาก็จะออก) ในรีลีสนี้ก็เน้นไปทางปรับแต่งโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้ใช้ดีมากขึ้นแทน เช่น Panel เป็นต้น พรีวิวนี้อ่านง่ายและมีรูปประกอบหมด ลองไปอ่านกันดูครับ
ข่าวจาก Osnews มาจากใน IRC อีกทีว่า Patrick Volkerding ผู้นำโครงการ Slackware ที่เพิ่งหายป่วยกลับมา เตรียมจะถอด GNOME ออกจาก Slackware 11 ตัวต่อไปแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่ายากต่อการดูแล เนื่องจากระบบ GNOME นั้นขาดเอกสาร และต้องใช้ความรู้ความสามารถค่อนข้างมาก ในการคอมไพล์และจัดการแพกเกจให้เวิร์คได้ ทำให้ Slackware จะมุ่งเน้นไปทาง KDE มากขึ้นในอนาคต