Google ประกาศเปิดตัว Made for Google ซึ่งเป็นโปรแกรมรับรองความเข้ากันได้ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมว่าสามารถใช้งานได้กับ Google Pixel ซึ่งเป็นไปตามข่าวลือก่อนหน้า
สำหรับโปรแกรมรับรองอุปกรณ์เสริมดังกล่าวนี้ จะคล้ายกับโครงการ MFi (Made for i) ของ Apple โดยอุปกรณ์เสริมที่จะได้รับการรับรองมีหลากหลายประเภทตั้งแต่เคส, หูฟัง USB-C, อะแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ และอื่น ๆ
เว็บ 9to5Google รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงใน 2 แหล่งที่ระบุตรงกันว่า Google กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการใบอนุญาตสำหรับกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์เสริม Pixel ในชื่อ Made for Google และคาดว่าจะมีการประกาศในเร็วๆ นี้
รายละเอียดอื่นๆ ของโครงการยังไม่มีออกมา แต่ก็คาดว่าน่าจะไม่ต่างกับ MFi Program (Made for i) ของแอปเปิลมากนัก ที่จะมีให้ทั้งฮาร์ดแวร์อ้างอิง, เครื่องมือ, เอกสารสเปคและการซัพพอร์ททางเทคนิคต่างๆ พร้อมโลโก้สำหรับการได้รับการรับรอง
ที่มา - 9to5Google
พบกันเป็นประจำทุกเดือนครับ รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนตุลาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ต.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ต.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ต.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ต.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 8 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) ถึง 3 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 ต.ค. แก้เพิ่มอีก 6 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Broadcom, MediaTek และ Qualcomm
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
เราเห็น Google Assistant เริ่มกระจายตัวไปยังอุปกรณ์หลากหลายชนิด เช่น หูฟัง Bose หรือ Android TV ล่าสุดมีข่าวว่ามันจะไปลง Chromebook ด้วย
เรื่องนี้คงไม่น่าประหลาดใจมากนัก เพราะ Chromebook เป็นสินค้าของกูเกิลเอง แถมปัจจุบันรันแอพจาก Android ได้ แต่ที่น่าสนใจคือมีคนไปพบโค้ดในโครงการ Chromium OS ว่า Chromebook โค้ดเนม "Eve" จะมีปุ่มพิเศษบนคีย์บอร์ดที่เรียกว่าปุ่ม Assistant เป็นการเฉพาะด้วย
คาดว่า "Eve" น่าจะหมายถึง Google Pixelbook ที่เพิ่งมีภาพหลุดออกมา และน่าจะเปิดตัวพร้อม Pixel 2 ในวันที่ 4 ตุลาคมนี้
หลายๆ คนอาจจะทราบแล้วขณะที่อีกหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า สำหรับผู้ใช้ Nexus นับตั้งแต่แอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow เป็นต้นมาและผู้ใช้ Pixel Google เปิดให้สามารถแบ็คอัพแอปและการตั้งค่าทุกอย่างขึ้นไปเก็บเป็นโฟลเดอร์บน Google Drive ได้
อย่างไรก็ตามใช่ว่าแบ็คอัพขึ้นไปเก็บไว้แล้วข้อมูลของมือถือจะอยู่ไปตลอด เมื่อผู้ใช้ Nexus 6P บน Reddit ได้ตั้งกระทู้ระบุว่าแบ็คอัพเครื่อง Nexus 6P ของตนเองอยู่ๆ ก็หายไป โดยไม่ได้รับการแจ้งเตือนใดๆ จาก Google หลังเปลี่ยนไปใช้งาน iPhone ชั่วคราวเพราะ Nexus เสียและกำลังมองหาเครื่องใหม่มาทดแทน ก่อนจะพบว่าไม่มีทางกู้ข้อมูลที่หายไปนั้นกลับมาได้อีกแล้ว
อย่างที่ทราบกันดีว่า Nexus 6P มีปัญหาหลายอย่าง เช่นปัญหาด้านแบตเตอรี่ที่ทำให้เครื่องดับไปเฉยๆ ไปจนถึงเรื่อง bootloop อันโด่งดัง ซึ่งทางเดียวที่ผู้ใช้แก้ปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือการส่งเคลมนั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้บางส่วนพบว่าเมื่อพวกเขาติดต่อเจ้าหน้าที่ของกูเกิลเพื่อส่งเครื่องเคลม ก็ได้อีเมลมาว่าเครื่องใหม่ที่จะได้เปลี่ยนกลับเป็น Pixel XL ซะอย่างนั้น อีกทั้งถ้า Nexus 6P ที่ส่งเคลมเป็นรุ่นความจุ 64GB ก็มีโอกาสสูงที่จะได้ Pixel XL รุุ่น 128GB มาเลย (Pixel ไม่มีรุ่นความจุ 64GB)
ต้นทางระบุว่าการเคลมแบบอัพเกรดนี้พบแค่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น โดยในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียยังเคลมกลับมาเป็น Nexus 6P อยู่ อีกทั้งต้องเป็นเครื่องที่ซื้อจาก Google Store โดยตรงด้วย
รอบนี้มาช้ากว่าปกตินะครับสำหรับแพตช์ความปลอดภัยสำหรับแอนดรอยด์ เพราะปกติจะปล่อยมาประมาณวันที่ 5 ของทุกเดือน โดยรอบนี้ก็ยังรวมแพตช์ 2 ชุดเหมือนทุกครั้งคือของวันที่ 1 และ 5 กันยายน
ช่องโหว่ความปลอดภัยที่แก้ไขในอัพเดตรอบนี้ก็เช่นการรันโค้ดจากระยะไกลผ่านเบราว์เซอร์, อีเมล หรือ MMS และช่องโหว่สำคัญที่ถูกแก้ไขแล้วคือช่องโหว่ BlueBorne ที่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีโจมตีได้ผ่าน Bluetooth แม้จะไม่ได้จับคู่ (pair) กันอยู่ก็ตาม
ผู้เขียนคิดว่ากูเกิลต้องการรวมแพตช์ช่องโหว่ BlueBorne เข้ามาในแพตช์รอบนี้เลย จึงทำให้ออกอัพเดตครั้งนี้ช้ากว่าปกติราวสัปดาห์กว่าครับ เพราะโน้ตของ Android Security Bulletin ระบุว่าแพตช์ CVE-2017-0781, CVE-2017-0782, CVE-2017-0783 และ CVE-2017-0785 ซึ่งเกี่ยวข้องกับ BlueBorne ถูกรวมเข้ามาเมื่อวันที่ 12 กันยายนนี่เอง
พบกันเป็นประจำทุกเดือนครับ รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนสิงหาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ส.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ส.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ส.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ส.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 28 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) ถึง 10 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 ส.ค. แก้เพิ่มอีก 14 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Broadcom, MediaTek และ Qualcomm
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
เมื่อสมาร์ทโฟน Google Pixel 2 ใกล้ถึงวันเปิดตัวเต็มที ก็ถึงเวลาลดราคา Pixel รุ่นแรกลงที่ Google Store โดยขณะนี้ Pixel ลดราคาลง 125 ดอลลาร์สหรัฐ และ Pixel XL ลดราคาลง 200 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ราคาใหม่ของทุกรุ่นก่อนคิดภาษีของแต่ละรัฐมีดังนี้
นอกจากนี้ยังจัดโปรโมชันแถมแว่น VR Daydream View ให้ฟรีๆ อีกด้วย โดยลูกค้าเพียงแค่กดเพิ่มแว่นดังกล่าวไปในรถเข็นก็เรียบร้อย
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ ครั้งนี้เพราะติดวันหยุดของทางอเมริกาเลยช้ากว่าปกติหน่อย รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนกรกฎาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ก.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ก.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ก.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ก.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 43 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) ถึง 10 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 ก.ค. แก้เพิ่มอีก 96 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Broadcom, HTC, MediaTek, NVIDIA และ Qualcomm ซึ่งในบรรดา 80 จุดนี้เป็นระดับร้ายแรง 1 จุด จากฝั่ง Broadcom
เมื่อโจทย์ของ Google ในการก้าวเข้ามาเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ คือการควบคุม ecosystem ทั้งหมด รวมไปถึงให้ฮาร์ดแวร์ตอบสนองซอฟต์แวร์อย่างเต็มที่ การออกแบบฮาร์ดแวร์ Made by Google อย่างเดียวดูเหมือนจะไม่สามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้อย่างเต็มที่นัก Google จึงตัดสินใจจะทำชิปเซ็ตของตัวเองขึ้นมาด้วย
หลังจากนี้เราอาจไม่ได้เห็นชิปเซ็ต Snapdragon บน Pixel อีกแล้ว เมื่อ Google ดึงตัวเอา Manu Gulati สถาปนิกฮาร์ดแวร์ที่รับผิดชอบการพัฒนาชิปเซ็ตตระกูล A จากแอปเปิลมานั่งตำแหน่งหัวน้าสถาปนิกชิปเซ็ตที่ตั้งขึ้นใหม่ของบริษัท เพื่อให้สมาร์ทโฟน Pixel สามารถดึงศักยภาพของแอนดรอยด์ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เหมือนกับที่เราสัมผัสกันจาก iPhone
สมาร์ทโฟน Google Pixel เปิดตัวในการเข้าสู่บริษัทฮาร์ดแวร์เต็มรูปแบบของกูเกิล ผลการทดสอบก็ออกมาดีมาก แม้ราคาสูงแต่ก็ขายดี และกูเกิลเองก็ออกตัวว่าไม่ได้เน้นยอดขาย แต่สิ่งที่กูเกิลไม่เคยบอกคือ Google Pixel ขายได้เท่าไหร่กันแน่?
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนมิถุนายน 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 มิ.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 มิ.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 มิ.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 มิ.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 21 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 1 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 มิ.ย. แก้เพิ่มอีก 80 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง MediaTek, NVIDIA, Qualcomm และ Synaptics ซึ่งในบรรดา 80 จุดนี้เป็นระดับร้ายแรงถึง 27 จุด ทั้งหมดมาจากฝั่ง Qualcomm
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนพฤษภาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 พ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 พ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 พ.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 พ.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 20 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 พ.ค. แก้เพิ่มอีก 98 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, MediaTek, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนเมษายน 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 เม.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 เม.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 เม.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 เม.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 23 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด ส่วนแพตช์ 5 เม.ย. แก้เพิ่มอีก 79 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, MediaTek, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์ จะมีดังนี้ครับ
เล่าให้ฟังก่อนดีกว่าครับ ว่าผมเปลี่ยนโทรศัพท์ค่อนข้างบ่อย (ถ้าเปรียบเทียบกับคนทั่วไป) ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ก็ใช้มาทั้ง Moto X, Galaxy S6, iPhone 6S Plus, Nexus 6P แล้วล่าสุดที่เปลี่ยนมาก็คือ Pixel XL
ทุกทีที่เราซื้อโทรศัพท์ใหม่ เราก็อยากจะปกป้องโทรศัพท์ใหม่ของเราใช่ไหมครับ ที่นี้เราก็จะซื้อ ฟิล์ม แล้วก็ เคส มาด้วยเลย ซึ่งฟิล์มเนี่ย ก็โอเคเลยล่ะครับ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่ามันปกป้องตัวกระจกโทรศัพท์ไม่ให้เป็นรอย (ทั้งๆที่จริงๆแล้ว Gorilla Glass มันจะแข็งมากๆก็ตาม)
ส่วนเคสที่ซื้อมาล่ะครับ เคยไหมที่พอซื้อมาใช้ได้ไม่กี่วัน เราก็รู้สึกว่ามันทำให้โทรศัพท์ทั้งหนักขึ้น แล้วก็เทอะทะ ใช้ไปใช้ไป ก็ถอดทิ้งทุกที แต่พอถอดปั๊ป ก็กลัวอีกว่าเดี๋ยวโทรศัพท์จะเป็นรอยง่ายเกิน
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนมีนาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 มี.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 มี.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 มี.ค.มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 มี.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 36 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 11 จุด ส่วนแพตช์ 5 มี.ค. แก้เพิ่มอีก 70 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, MediaTek, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์ จะมีดังนี้ครับ
นับตั้งแต่ Google เข็นสมาร์ทโฟนที่ทำขึ้นมาเองตัวแรกในนาม Pixel ออกมา ก็มีประเด็นผุดขึ้นมาว่า Google จะหันมาทำฮาร์ดแวร์อื่นๆ ของตัวเองจริงๆ จังๆ มากขึ้นหรือไม่
ล่าสุด Rick Osterloh รองประธานฝ่ายฮาร์ดแวร์ของ Google ได้ตอบคำถามสื่อภายในงาน Mobile World Congress เกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยยอมรับว่าบริษัทก็มีแผนจะทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขึ้นมาเองในลักษณะเดียวกับ Pixel เพื่อหลอมรวมฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เข้าด้วยกัน แต่ยืนยันว่าในแผนนั้นไม่มีแล็บท็อป Pixel ตอนนี้แน่นอน ส่วน Chromebook Pixel รุ่นใหม่ที่ตอนนี้ขายหมดแล้ว ก็ไม่มีแผนทำเพิ่มเช่นกัน
ที่มา - TechCrunch
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลเลยออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ก.พ. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด ก.พ. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ก.พ.มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ก.พ. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 23 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 2 จุด หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า (StageFright เดิม) ส่วนแพตช์ ก.พ. แก้เพิ่มอีก 35 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์ จะมีดังนี้ครับ
Google Pixel และ Pixel XL ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กูเกิลหันมาออกแบบสมาร์ทโฟนเองทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการจับมือกับผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ เช่น LG, Samsung และ HTC ออกสมาร์ทโฟนในชื่อ Nexus โดยเป็นความร่วมมือในลักษณะช่วยกันออกแบบมากกว่า อีกทั้งผู้ผลิตก็ไม่ได้รับสิทธิพิเศษอะไร
เมื่อช่วงปลายปี 2016 กูเกิลยกเลิกโครงการ Nexus อย่างสิ้นเชิง และหันมาออกแบบฮาร์ดแวร์เองทั้งหมด แล้วไปจ้างโรงงานผลิตตามสั่ง สำหรับ Pixel และ Pixel XL ก็ถูกผลิตจากโรงงานของ HTC แต่ HTC ไม่ได้มีส่วนกับการออกแบบแต่อย่างใด (มีฐานะเทียบเท่า Foxconn ที่แอปเปิลจ้างผลิต iPhone)
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ (รอบนี้พิเศษตรงติดหยุดปีใหม่ เลยเลื่อนออกมาหนึ่งวัน) กูเกิลเลยออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนมกราคม 2017 เดือนนี้กลับมาแยกแพตช์เหลือ 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ม.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ม.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ม.ค.มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ม.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 23 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 1 จุด ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า (StageFright เดิม) ส่วนแพตช์ 5 ม.ค. แก้เพิ่มอีก 72 จุด ซึ่งส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์ จะมีดังนี้ครับ
พบกันเป็นประจำทุกจันทร์แรกต้นเดือนครับ รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนธันวาคม 2016 เดือนนี้กลับมาแยกแพตช์เหลือ 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ธ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ธ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ธ.ค.มาด้วย)
ที่สำคัญคือ เป็นการปล่อยอัพเดต Android 7.1 เดิมทีมากับ Pixel เท่านั้น ให้กับผู้ใช้งานอุปกรณ์ในกลุ่ม Nexus ด้วย
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์พร้อมกับ Android 7.1.1 จะมีดังนี้ครับ
หลังเปิดตัวและวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี Pixel ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ก็ถูกคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley ว่าจะขายได้ทั้งหมดราว 3 ล้านเครื่องภายในปีนี้ คิดเป็นรายได้รวมกันกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
Pixel XL ขนาด 128GB มีรุ่นที่ทำกำไร (Gross Profit Margin) ได้สูงสุดคือ 25% และน้อยที่สุดคือรุ่น Pixel ขนาด 32GB ที่ 22% นอกจากนี้ Morgan Stanley คาดด้วยว่า Google จะขาย Pixel ได้อีกกว่า 5-6 ล้านเครื่องในปีหน้า สร้างรายได้ให้ Google อีกราว 3.8 พันล้านเหรียญ ไม่นับรวมรายได้จากบริการต่างๆ ที่จะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น
ผู้ใช้ Google Pixel ได้ค้นพบบั๊กของตัวเครื่องที่ทำให้ไม่สามารถเรนเดอร์ภาพถ่ายหน้าจอของ iPhone ได้ โดยภาพผลลัพธ์นั้นเพี้ยนทั้งขนาดและสี ซึ่งปัญหาเกิดกับรูปเฉพาะรูปที่ถ่ายภาพหน้าจอจากในแอพ (ถ้าถ่ายหน้าจอโฮมแล้วส่งไปจะไม่พบปัญหา) และจะเกิดปัญหากับ Android 7.1 เท่านั้น
ปัญหานี้มีผู้ใช้ Google Pixel แจ้งไว้ใน support forum โดยบอกว่าปัญหาเกิดขึ้นเมื่อรับข้อความเป็นรูปภาพจากผู้ใช้ iPhone เป็น MMS ผ่านทางแอพ SMS/MMS หลักของเครื่อง, Hangouts หรือแอพรับข้อความอื่น ๆ ซึ่งการถ่ายรูปและส่งไปมาระหว่าง iPhone ปกติ แต่เมื่อส่งไปยัง Google Pixel แล้วกลับพบปัญหาดังกล่าวขึ้น และมีผู้ใช้บางคนคาดว่าน่าจะเป็นที่ Android 7.1 เนื่องจากลองรูทเครื่อง Nexus 6 เพื่อลง Android 7.1 แล้วก็พบปัญหาเช่นเดียวกัน
เรียกได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของ Google Pixel ในการบุกตลาดโลก ล่าสุดในอินเดียมียอดขนส่งสินค้าแล้ว 33,000 เครื่อง ครองส่วนแบ่งการตลาดมือถือพรีเมี่ยมในอินเดีย 10% ถือเป็นอันดับสามรองจาก iPhone 7 และ Galaxy S7
อันดับหนึ่งในอินเดียคือแอปเปิลจากการขาย iPhone 7 และ iPhone 7 Plus มีส่วนแบ่งการตลาด 66% รองลงมาคือ Samsung Galaxy S7 มีส่วนแบ่ง 23% อันดับสามคือ Google Pixel มีส่วนแบ่ง 10%
นักวิเคราะห์ในสำนักวิจัยการตลาด Counterpoint Research พูดถึง Google Pixel ว่า ด้วยแพคเกจเรียบหรูและดูสดใส รวมถึงตัวฟีเจอร์ต่างๆ น่าจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อของแอปเปิลและซัมซุงได้