โครงการ Samba ประกาศว่าจะใช้ GPLv3 กับซอฟต์แวร์รุ่นถัดไป โดยจะเปลี่ยนเลขเวอร์ชันของ Samba 3.0.26 ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา มาเป็น 3.2.0 เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Samba 3.0.x ที่เคยออกมาก่อนหน้าแล้วจะยังเป็น GPLv2 ต่อไป และทางโครงการสัญญาว่าจะยังออกแพตช์ด้านความปลอดภัยให้กับ Samba 3.0.25b ตราบเท่าที่ "มีคนใช้ในวงกว้าง" รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการนำ Samba ไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ และเรื่องสิทธิบัตร อ่านได้จาก FAQ ของ Samba
นี่อาจถือว่าเป็นโครงการโอเพนซอร์สรายใหญ่รายแรก ที่ประกาศใช้ GPLv3 หลังการออกเวอร์ชันจริง
วันที่ 29 มิถุนายน 2007, BOSTON, Masschusetts
Free Software Foundation ประการศออก GPL v3 ฉบับจริง
"ตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งการเคลื่อนไหวทางซอฟแวร์เสรีตลอด 23 ปีที่ผ่านมา สังคมฟรีซอฟแวร์ได้พัฒนาฟรีซอฟแวร์มากกว่าพันซอฟแวร์โดยอนุญาตให้ใช้ได้อย่างอิสระ โปรแกรมใน GNU/Linux, PC, โทรศัพท์, อินเตอร์เน็ต, และอื่น ๆ โปแกรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ GNU GPL เพื่อรับประกันว่าผู้ใช้ทุกคนสามารถรัน ศึกษา ปรับปรุ่ง และเผยแพร่โปรแกรมได้อย่างอิสระ" Richard Stallman กล่าวในงาน
Linus Torvalds เปิดศึกวิวาทะกับซัน โดยเขาเขียนลงในเมลลิ่งลิสต์ของเคอร์เนลเกี่ยวกับ GPLv3 และอ้างถึงซัน (ซึ่งมีท่าทีสนับสนุน GPLv3) ว่า
Richard Stallman ได้เขียนบทความประกอบ GPLv3 ร่างฉบับสุดท้าย (ข่าวเก่า) โดยให้เหตุผลว่าทำไมเราควรย้ายจาก GPLv2 มาใช้ GPLv3
เหตุผลข้อแรกคือ GPLv3 ป้องกัน "การนำโอเพนซอร์สไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น แล้วห้ามปรับปรุง" กรณีตัวอย่างที่ RMS ยกมาคือ TiVo ซึ่งใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องบันทึกรายการทีวี แต่รายการของ TiVo นั้นมี DRM ซึ่งป้องกันโดยการตรวจสอบว่าระบบนั้นเป็นเวอร์ชันของ TiVo หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ (RMS เรียกวิธีแบบนี้ว่า tivoization) RMS บอกว่าไม่ได้ต่อต้าน DRM แต่ต้องการการันตีว่าเราจะมีสิทธิ์ในการเอา DRM ออกได้
FSF ปล่อยสัญญาอนุญาต GPLv3 ดราฟท์ที่สี่ออกมาแล้วในวันนี้ พร้อมกับระบุว่าดราฟท์นี้จะเป็นดราฟท์สุดท้ายก่อนที่จะปล่อยตัวจริงออกมาในช่วงสิ้นเดือนหน้า โดยข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในเวอร์ชั่นนี้คือความเข้ากันได้ระหว่าง GPLv3 กับ Apache License 2.0 ทำให้ซอฟท์แวร์ที่ใช้ GPLv3 จะสามารถรวมเอาโค้ดจากซอฟท์แวร์เสรีมาใช้งานได้มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
หลังจากที่ Free Software Foundation ออกร่างที่สามของ GPLv3 ซึ่งในร่างนี้ได้แก้ไขประเด็นด้านสิทธิบัตรที่เคยเป็นรูรั่วให้ไมโครซอฟท์-โนเวลล์ ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโนเวลล์ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ผ่านบล็อกว่า
และปิดท้ายตามสูตรการประชาสัมพันธ์ว่าโนเวลล์เองก็เป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สรายใหญ่นะจ๊ะ
ที่มา - Novell Open PR
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ไลนัสไม่พอใจกับร่างฉบับก่อนๆ ของ GPLv3 มาตลอด เนื่องจากเหตุผลส่วนหนึ่งคือเรื่อง DRM ที่ดูแล้ว GPLv3 จะไม่ยอมรับซะเท่าไหร่ และก็ไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ เนื่องจาก FSF ซึ่งเขียนร่างของ GPL ต้องการที่จะห้ามไม่ให้บริษัทฮาร์ดแวร์ต่างๆ กำหนด restriction ของซอฟต์แวร์ GPL ซึ่งถูกใช้งานบนผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งไลนัสคิดว่าบริษัทเหล่านั้นควรจะได้รับอนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้
มาถึงร่างฉบับที่ 3 นี้ซึ่งออกมาเมื่อวันพุธ ร่างฉบับนี้ได้แก้ไขปัญหาในส่วนนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น และไลนัสก็แสดงความเห็นว่าพอใจมากกับร่างฉบับนี้ เนื่องจากเค้าเห็นว่าถึงแม้มันจะไม่ได้สมบูรณ์ซะทีเดียว แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมากกว่าที่เค้าคาดหวังไว้จากร่างฉบับก่อนๆ จริงๆ
InformationWeek มีสัมภาษณ์ Linus Torvalds เกี่ยวกับ GPLv3 ประเด็นสำคัญที่ Linus ตอบมามีดังนี้
Free Software Foundation ประกาศมาตั้งแต่ปี 2005 ว่าจะออก GPLv3 มาในเร็ววัน ซึ่งวันที่ล่าสุดบอกว่าจะออกมาในช่วง "early 2007" แต่นี่จะพ้นไตรมาสแรกแล้ว ยังไม่เห็นวี่แววของ GPLv3 เสียที
ทาง FSF ได้อธิบายว่าเกิดจากสัญญาความร่วมมือระหว่างโนเวลล์กับไมโครซอฟท์ ซึ่งพลิกแพลงในเรื่องสิทธิบัตรเล็กน้อยและทำให้ GPLv2 ไม่สามารถใช้งานกับกรณีนี้ได้ FSF จึงกลับมาไตร่ตรองกันใหม่ว่า GPLv3 ยังมีรูรั่วสำหรับกรณีพิเศษแบบนี้หรือเปล่า ร่างฉบับใหม่ซึ่งน่าจะเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตัวจริงจะออกมาก่อนวันที่ 27 มีนาคม ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของ FSF
GPLv3 ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์เท่าไร แต่โครงการอื่นๆ อย่าง Samba, Java และ MySQL ก็มีปฏิกิริยาตอบรับที่ดี
อันนี้เป็นข่าวรั่วที่หลุดมาจากข้างในซัน ยังไม่ใช่ข่าวเป็นทางการ ซึ่งใจความมันก็มีสั้นๆ ก็คือซันเตรียมจะใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL เจาะจงเวอร์ชัน 3 กับ OpenSolaris คู่ไปกับ CDDL ซึ่งเป็นสัญญาแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำหนดการคือหลัง GPLv3 เสร็จเรียบร้อย
ส่วนอธิบายข่าวนี่ยาวหน่อย การใช้สัญญาอนุญาตแบบคู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่าง Firefox เองนี่ใช้ถึง 3 (เรียก tri-license) คือ MPL, GPL และ LGPL (ในกรณีที่เราเขียนโค้ดเพิ่มให้ Firefox เราก็เลือกใช้หนึ่งแบบที่เหมาะกับงานที่สุด)
Richard Stallman กล่าวในงานประชุม international GPLv3 conference ครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเมื่อสัปดาห์ก่อน (transcript) ว่าข้อตกลงระหว่าง Microsoft กับ Novell ในเรื่องสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ละเมิด GPLv2 แต่อย่างใด (รวมถึงร่างปัจจุบันของ GPLv3 ด้วย)
สาเหตุก็เพราะในข้อตกลง ไมโครซอฟท์ไม่ได้ให้สิทธิ์ของสิทธิบัตรแก่ Novell (ซึ่ง GPLv2 Section 7 จะมีผล) แต่ไมโครซอฟท์เพียงแค่ให้การคุ้มครองทางสิทธิบัตรกับ"ลูกค้า"ของ Novell เท่านั้น
แน่นอนว่า GPLv3 จะถูกแก้ไขให้ครอบคลุมกับข้อตกลงทางกฎหมายอ้อมๆ แบบนี้ ซึ่ง Eben Moglen ตัวแทนของ Free Software Foundation กำลังดำเนินการอยู่
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการโอเพนซอร์สจาวา โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ก็เกิดข่าวหนาหูว่าซันอาจจะใช้ GPL กับ OpenSolaris ที่โอเพนซอร์สไปก่อนหน้า (แต่ใช้ CDDL) ด้วย
เรื่องนี้ได้รับการยืนยันเล็กๆ ในงานแถลงข่าวโอเพนซอร์สจาวา โดย Jonathan Schwartz ประธาน/ซีอีโอ และ Rich Green รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์ของซัน โดย Schwartz ถาม Green บนเวทีแบบขำๆ ว่า "Will you GPL Solaris, Mr. Green?" ซึ่งคำตอบก็คือ "We will take a close look at it,"
การเลือกสัญญาอนุญาต (license) ของซันครั้งนี้ จะเลือกใช้ GPL กับรุ่นไมโคร (J2ME) และรุ่นมาตรฐาน (J2SE) แต่ยังคงใช้ CDDL กับรุ่นองค์กร (J2EE) ซึ่งเป็นแบบเดียวกันที่ใช้กับ OpenSolaris
เหตุผลส่วนนึงมาจาก poll ที่ทำขึ้น ซึ่งเลือก GPL+LGPL ถึง 37% รองลงมาคือ Apache 31% แต่แปลกใจตรงที่มีผู้โหวตที่ ไม่ต้องการให้โอเพนซอร์ส สูงถึง 21%
คำถามหนึ่งที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถตอบได้ตลอดมา คือข้อสงสัยที่ว่าไลเซนส์แบบโอเพนซอร์สนั้นมีสภาพบังคับใช้จริงเพียงใด เนื่องจากยังไม่เคยมีคดีที่กฏหมายบังคับใช้จริงเลย
แต่จากนี้ไป อย่างน้อยๆ ในประเทศเยอรมนี ไลเซนส์แบบ GPL ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลบังคับใช้จริง เมื่อแฮกเกอร์คนหนึ่งชื่อ Harald Welte ได้ติดตามการละเมิด GPL แล้วพบว่าทางบริษัท D-Link นั้นได้ละเมิดไลเซนส์แบบ GPL เป็นจำนวนหลายรายการ
การละเมิด GPL ของ D-Link นั้นเกิดจากการที่ทาง D-Link นั้นไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นเป็นซอฟต์แวร์ GPL อีกทั้งไม่ได้ให้หนทางเข้าถึงซอร์สโค้ดไว้อย่างชัดเจน
เราอาจจะกำลังได้เห็นการแตกแยกครั้งใหญ่ที่สุดของโลกโอเพนซอร์ส เมื่อกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ได้รวมตัวกันออกเอกสารแสดงจุดยืนของตนกับ GPLv3 ขึ้นมา โดยเอกสารนี้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน
จุดสำคัญที่ทางกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใน GPLv3 ทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องของ DRM, เงื่อนไขความเข้ากันได้กับไลเซนส์แบบอื่นๆ ไปจนถึงเรื่องของสิทธิบัตร
GPLv3 นั้นเพิ่งมีการเปิดให้แสดงความเห็นเป็นรอบที่สองไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่น่าสนใจคือ ไลนัส โทรวัลซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการลินุกซ์นั้นแสดงท่าทีที่ชัดเจนที่จะไม่เปลี่ยนจาก GPLv2 ที่ลินุกซ์ใช้อยู่เดิมไปเป็น GPLv3 แต่อย่างใด
โดยจุดที่ไลนัสไม่เห็นด้วยหลักๆ เลยคือการที่ GPLv3 ห้ามไม่ให้ผู้ผลิตป้ิองกันการลงซอฟต์แวร์อื่นนอกจากซอฟต์แวร์ที่ออกโดยผู้ผลิตเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้อุปกรณ์ที่ใช้ลินุกซ์จำนวนไม่น้อยใช้หลักการนี้ในการจำกัดสิทธิการลงซอฟต์แวร์
หลังจากส่งร่างฉบับแรกของ GPL เวอร์ชัน 3 ออกมาฟังความคิดเห็นจากสาธารณชน (และได้ความเห็นกลับไปเป็นพัน) ทาง Free Software Foundation และ Software Freedom Law Center (SFLC ตัวย่อใหม่มาอีกแล้ว) ได้ปล่อยร่างฉบับที่สองของ GPLv3 ออกมาพร้อมกับร่างฉบับแรกของ LGPLv3 ด้วย
ร่างฉบับที่สองนี้เปลี่ยนไปจากฉบับแรกหลายจุด เพียงแต่แนวคิดหลักๆ ยังคงเหมือนเดิม และ Linus Torvalds ก็ยังไม่ค่อยชอบใจ เช่นเดิม
GPLv3 จะมีร่างฉบับสามออกมาในช่วงปลายปี และมีเป้าหมายว่าจะออกฉบับจริงต้นปี 2007
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ริชาร์ด สตอลแมนได้ไปพูดถึง GPLv3 ที่งาน FOSDEM 2006 ผมเห็นว่าน่าจะเป็นบทบรรยายที่ให้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ GPL ไปได้ดี พร้อมกับการอธิบายเหตุผลจากตัวสตอลแมนเอง เลยได้ขออนุญาตทาง IFSO ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บทพูดนี้ไป
ในวันนี้การแปลก็เสร็จแล้ว จริงๆ แล้วผมยังคิดว่าน่าจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็น่าจะอยู่ในระดับที่อ่านรู้เรื่อง ยังไงก็ลองไปอ่านกันดู (ที่นี่)
อ่านแล้วพบบั๊กตรงไหนเอามาแจ้งกันด้วยนะครับ
หลังจากที่ไลนัสได้ออกมาแสดงท่าที่ในการใช้ GPLv3 ก่อนหน้านี้ที่จะไม่ใช้ GPLv3 กับลินุกซ์แล้ว ก็มีรายงานถึงท่าทีและความเห็นของไลนัสต่อ GPLv3 มาในเมลหลายฉบับ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดทำให้เขารับ GPLv3 ไม่ได้ คงเป็นการต่อต้าน DRM ของ GPLv3 ที่ไม่ยอมรับ DRM เอาท่าเดียว
ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง ไลนัส ทอร์วัลด์ไม่อยากใช้ GPL 3 กับเคอร์เนล
นักพัฒนาเคอร์เนลคนสำคัญอีกคนคือ Alan Cox (ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Red Hat) กลับออกมาสวนทางไลนัสโดยบอกว่าเห็นด้วยกับ GPL 3 เนื่องจากข้อดีหลายเรื่อง GPL 3 มีหลายจุดที่เปลี่ยนเงื่อนไขจากทำหรือไม่ทำก็ได้ใน GPL 2 มาเป็นบังคับใช้แทน ในเรื่อง DRM ที่ไลนัสเป็นห่วงนั้น Alan Cox มองว่าไม่มีปัญหากับเคอร์เนลลินุกซ์แต่อย่างใด เพราะ DRM จะไปเกี่ยวกับแอพพลิเคชันมากกว่า
นาย Jonathan Schwartz ซีอีโอของซันแสดงความเห็นไว้ในบล็อกของเขาว่าซันกำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะแจกจ่าย Solaris ทั้ง CDDL และ GPLv3 ซึ่งนาย Schwartz ระบุว่านี่จะเป็นโอกาสให้โลกโอเพนซอร์สทำงานร่วมกับโค้ดของซันได้ดีขึ้น
เรื่องนี้อาจทำให้เกิดการแตกขั้วกันเนื่องจาก Linus ออกมาระบุแล้วว่าตัวเขาเองยืนยันจะใช้ GPLv2 ต่อไป โดยในตอนนี้ยังมีการถกเถียงถึงความเข้ากันได้ระหว่างสองเวอร์ชั่นกันอยู่
หลังจากที่เราใช้ GPLv2 กันมานานถึง 15 ปี เมื่อหลายเดือนก่อนริชาร์ด สตอลแมน ก็เริ่มพูดถึงการออกรุ่นปรับปรุุงของ GPL มาถึงวันนี้รุ่นดราฟท์ก็มีให้อ่านกันในอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่หลักๆ ของ GPLv3 ที่เปลี่ยนแปลงจาก GPLv2 มีอะไรบ้าง เรามาดูกันดีกว่า
- ชัดเจนขึ้นในหลายๆ ด้านเช่นการใช้ชื่อ LGPL ซึ่งเป็นรุ่นที่เบากว่า GPL โดยแต่เดิมนั้นใน GPL ใช้ชื่อเต็มของ LGPL ว่า Library General Public License ตอนนี้เปลี่ยนเป็น Lesser General Public License ซึ่งเป็นตัวใหม่ที่ใช้กันทั่วไปแล้ว
เป็นเรื่องเป็นราวกันขึ้นมา เมื่อซีดีเจ้าปัญหาของโซนี่ที่ใส่โปรแกรม Rookit เอาไว้พาลให้คนใช้โวยวายกันทั่วโลก ล่าสุดมีผู้พบว่าโปรแกรมบนแผ่นซีดีนั้นนอกจากสร้างช่องโหว่ให้กับเครื่องผู้ใช้แล้ว ยังละเมิด GPL อีกต่างหาก
ที่น่าตกใจคือ โค้ดส่วนที่ถูกละเมิดนั้นมาจากโปรแกรม VLC ที่เขียนโดย DVD Jon คู่แค้นตลอดกาลของค่ายเพลงและภาพยนต์ ที่เขียนโปรแกรมสารพัดขึ้นมาแกะตัวป้องกันการทำสำเนากันเรียบวุธ
จากการขยายตัวของ GPL อย่างต่อเนื่อง ตอนนี้การประกาศเวอร์ชั่นต่อไปของ GPL นั้นมีแนวโน้มที่ GPL จะแข็งยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมเสียอีก โดยในตอนนี้ GPL นั้นระบุให้เมื่อมีการเผยแพร่ซอฟท์แวร์ต้องเผยแพร่ไปพร้อมซอร์สโค้ด
เรื่องนี้ดูปรกติ ยกเว้นเมื่อเว็บจำนวนมากใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สมาดัดแปลง แล้วใช้เฉพาะในเว็บของตน ในส่วนนี้แล้ว GPL1/2 ไม่ได้ระบุให้มีการเปิดเผยซอร์สส่วนนั้นๆ ด้วย
ริชาร์ด สตอลแมนระบุว่า GPL3 จะบังคับให้ผู้ให้บริการเว็บต่างๆ ต้องเผยแพร่ซอร์สเวอร์ชั่นนั้นๆ บนตัวเว็บเองด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้การพัฒนาแทบทุกรูปแบบจะต้องเผยแพร่ซอร์สกลับสู่โลกโอเพ่นซอร์สเสมอๆ
หลังจากเคยประกาศไปก่อนหน้านี้นานแล้วว่าจะมีการปล่อยซอร์สของเกม Quake3 ออกมาให้ยลกัน ในวันนี้ซอร์สของเกมดังกล่าวก็ถูกปล่อยออกมาจริงๆ แล้ว โดยเป็นโค้ดที่สามารถคอมไพล์ได้ทั้งบน ลินิกซ์ วินโดว์ และเครื่องแมค
ปรกติเวลาผมใช้เครื่อง มักมีเกมให้ระบายอารมณ์ไว้สักเกมอย่างเช่น CS
งานนี้ถ้าย้ายไปลินิกซ์จะได้ไม่เหงา...
ที่มา ShackNews