Solaris ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ระดับตำนานที่เริ่มจากบริษัท Sun Microsystems และถูกออราเคิลซื้อไปเมื่อปี 2009 ส่วนตัว Solaris ที่มาด้วยกันก็เลิกพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2018 แต่จนตอนนี้ก็ยังมีองค์กรจำนวนหนึ่งใช้งานเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้เป็นหัวใจของธุรกิจอยู่ และซื้อซัพพอร์ตจากออราเคิลอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดออราเคิลก็ประกาศขยายเวลาซัพพอร์ตอย่างเงียบๆ
ซัพพอร์ตของ Solaris นั้นมี 3 ระดับ คือ Premier ซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ตามปกติ, Extended ซัพพอร์ตแบบยืดอายุ, Sustaining ซัพพอร์ตระยะยาวแบบไม่มีกำหนดหมดอายุ
Oracle ออก Java 14 ตามรอบการออกรุ่นใหญ่ทุก 6 เดือน ฟีเจอร์ใหม่ในรุ่นนี้เน้นที่เรื่องหน่วยความจำและ garbage collector (GC) หลายอย่าง เช่น การรองรับ NUMA-aware memory allocation บน G1 ที่เป็น GC ดีฟอลต์ในปัจจุบัน และการพอร์ต ZGC ซึ่งเป็น GC ตัวใหม่มายังวินโดวส์และแมค
ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือ records เป็นฟีเจอร์ใหม่ของตัวภาษา Java ที่ให้เขียนซินแทกซ์ประกาศคลาสได้กระชับและปลอดภัยขึ้น (รายละเอียด), switch expression ที่เคยทดสอบใน Java 12/13 กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานแล้ว
นอกจากนี้ยังเริ่มประกาศให้ Java บน Solaris/SPARC มีสถานะล้าสมัย (deprecated) เพื่อเตรียมถอดออกในอนาคต
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาศรีลังกามีการเลือกตั้งประธานาธิบดี และผู้ชนะคือ Gotabaya Rajapaksa รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ความน่าสนใจคือเขาทำงานในสหรัฐฯ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย Columbo
เขาเคยทำงานเป็น system integrator และผู้ดูแลระบบ Unix มาก่อน ความเชี่ยวชาญคือ Solaris ในยุคที่ยังอยู่กับ Sun Microsystems
Gotabaya กลับศรีลังกามารับตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล Mahinda Rajapaksa พี่ชายของเขา ในปี 2005 ตำแหน่งในช่วงนี้ทำให้ Gotabaya มีชื่อเสียงไม่ดีนักจากการปราบปรามกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมถึงการก่ออาชญากรรมสงครามโดยรัฐ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ออราเคิลเปิดตัวซีพียู SPARC M8 ซึ่งเป็นรุ่นต่อของ SPARC M7 ที่ออกในปี 2015
ออราเคิลคุยว่า SPARC M8 มีประสิทธิภาพดีว่า SPARC M7 ถึง 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านการประมวลผล Java และการเข้ารหัสดีกว่าซีพียูสถาปัตยกรรม x86 (ไม่ระบุว่ารุ่นไหน) 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านฐานข้อมูลดีกว่า x86 ถึง 7 เท่า
ฟีเจอร์อีกอย่างของ SPARC M8 ที่ต่อเนื่องมาจาก M7 คือ Software in Silicon v2 หรือการป้องกันมัลแวร์ในหน่วยความจำ และ Data Analytics Accelerator (DAX) ที่ช่วยเร่งความเร็วในงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
มีรายงานว่า Oracle ปลดพนักงานจำนวน "หลายร้อยคน" หรือ "หลายพันคน" โดยอดีตพนักงานของ Sun เดิม เช่น ฝ่าย Solaris หรือ SPARC ถูกปลดออกเป็นจำนวนมาก
Oracle ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ แต่มีข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่าทีมงาน Solaris ถูกปลดออกทั้งหมดหรือเกือบหมด และทีมงานจำนวนหนึ่งถูกย้ายจากทีม Solaris ไปพัฒนา Oracle Linux มาก่อนแล้ว
ก่อนหน้านี้ Oracle เคยประกาศว่าเลิกพัฒนา Solaris 12, จะออก Solaris 11.next เป็นเวอร์ชันสุดท้าย ส่วนชะตากรรมของฮาร์ดแวร์ตระกูล SPARC นั้นยังไม่ชัดเจนว่าได้รับผลกระทบอย่างไรจากการปลดพนักงานรอบนี้
มีข่าวลือมาตั้งแต่ปลายปีว่า Oracle จะเลิกทำระบบปฏิบัติการ Solaris วันนี้ข่าวอย่างเป็นทางการมาแล้ว โดยต้นทางมาจากเอกสาร roadmap ของซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC ที่เพิ่งประกาศออกมาในวันที่ 13 มกราคม 2017
ข่าวดีคือ Solaris จะยังไม่หยุดพัฒนาในตอนนี้ แต่ Oracle จะออกเวอร์ชันถัดไปที่ตอนนี้เรียกว่า Solaris 11.next ประมาณปี 2018 แต่ข่าวร้ายคือมันจะเป็น Solaris เวอร์ชันสุดท้ายที่จะใช้ไปจนถึงปี 2021 (เวอร์ชันล่าสุดปัจจุบันคือ 11.3 ที่ออกในปี 2015) และเราจะไม่ได้เห็น Solaris 12 เวอร์ชันใหญ่ตามที่เคยประกาศไว้
มีข่าวลือว่า Oracle เตรียมเลิกพัฒนาระบบปฏิบัติการ Solaris ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย Sun Microsystems แล้ว
เว็บข่าวลือการปลดพนักงาน TheLayoff.com รายงานว่า Solaris จะพัฒนาจนถึงเวอร์ชัน 11.4 เป็นเวอร์ชันสุดท้าย (เวอร์ชันปัจจุบันคือ 11.3) และจะไม่ออกเวอร์ชัน 12 อีกแล้ว และพนักงานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจะถูกปลดออก
ในอดีต Sun มีโครงการโอเพนซอร์ส OpenSolaris แต่ถูก Oracle สั่งยกเลิก จนชุมชนนักพัฒนาต้องแยกไปทำโครงการใหม่ชื่อ Illuminos
Oracle เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Solaris 11.3 ที่พัฒนาควบคู่มากับซีพียู SPARC M7 ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ตอนนี้ Solaris 11.3 เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว
ออราเคิลประกาศเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Solaris 11.2 โดยถือเป็นการอัพเดตต่อจากรุ่น 11.1 เมื่อปี 2012
ภาพรวมในรุ่น 11.2 นี้ ออราเคิลปรับปรุง Solaris ให้รองรับกับเทคโนโลยีคลาวด์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น OpenStack, Software-defined Network (SDN), การทำคลัสเตอร์ และ Virtualization เข้ามารวมกันอยู่ในรุ่นนี้ และปรับแต่งให้รันบนเซิร์ฟเวอร์ของออราเคิลที่มีสถาปัตยกรรม SPARC ให้ดีขึ้น (รายละเอียดทั้งหมดอ่านเอาจากเว็บไซต์ของออราเคิล)
ออราเคิลฟ้องบริษัทให้บริการซัพพอร์ตระบบปฎิบัติการ Solaris สองบริษัทคือ Terix และ Maintech ฐานให้บริการอัพเดตกับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย โดยออราเคิลอ้างว่าทั้งสองบริษัทใช้บัญชีของบริษัทเองเข้าไปดาวน์โหลดอัพเดตให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องซื้อบริการซัพพอร์ตรายปีจากออราเคิลโดยตรง
Terix ปฎิเสธข้อกล่าวหาของออราเคิล โดยระบุว่าลูกค้าของ Terix นั้นมีบัญชีผู้ใช้ในระบบของออราเคิลและมีสัญญาการซัพพอร์ตอยู่แล้ว ทาง Terix เข้าไปดาวน์โหลดอัพเดตออกมาให้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าเท่านั้น ส่วนทาง Maintech ยังไม่ออกมาตอบโต้ใดๆ
ออราเคิลออกระบบปฏิบัติการ Solaris 11.1 ซึ่งเป็นการอัพเดตใหญ่ครั้งแรกหลังออก Solaris 11.0 เมื่อหนึ่งปีก่อน
ออราเคิลบอกว่าฟีเจอร์ใหม่ของ Solaris 11.1 มีมากกว่า 300 จุด (นับแบบแอปเปิล) ที่สำคัญๆ ได้แก่
หลังจากที่พรีวิวความสามารถในงาน Oracle OpenWorld เมื่อเดือนก่อน วันนี้ Solaris 11 ออกรุ่นจริงแล้ว
งาน Oracle OpenWorld 2011 รอบนี้ ออราเคิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่างมาก คัดมาเฉพาะอันที่น่าสนใจนะครับ (เช่น Oracle Big Data Appliance)
อีกหนึ่ง "ความเปลี่ยนแปลง" หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน
ทางออราเคิลได้ประกาศบนเว็บไซต์ของตัวเองว่าตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2011 เป็นต้นไป ผู้ที่จะสอบใบรับรองด้าน Java Architect, Java Developer, Solaris System Administrator และ Solaris Security Administrator จะต้องลงเรียนคอร์สสอนเนื้อหาและปฏิบัติจริง (Hands-on Course) เพิ่มด้วย
คอร์สเหล่านี้มีระยะเวลา 3-5 วัน ราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มอยู่ที่ 2,000-4,000 ดอลลาร์ สมัครเรียนได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของออราเคิล เช่น Oracle University Training Center และ Oracle Authorized Education Center
ต่อจากข่าว OpenSolaris ถึงทางแพร่ง, ถ้า Oracle ไม่เข้ามาร่วมวงก็ต้องเลิกโครงการ และ ลาก่อน OpenSolaris
หลังจาก Oracle ตัดสินใจเลิกพัฒนา OpenSolaris ทางคณะกรรมการของโครงการ OpenSolaris (OpenSolaris Governing Board) ได้ประชุมกันและลงมติเอกฉันท์ในการลาออกยกคณะ (อ่านคำประกาศได้ในบล็อกของ Simon Phipps อดีตหัวหน้าฝ่ายโอเพนซอร์สของซัน)
การโอเพนซอร์สครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในหลายปีที่ผ่านมาคือการโอเพนซอร์ส Solaris จนเกิดโครงการ OpenSolaris ที่เป็นส่วนโอเพนซอร์สของ Solaris ที่มีซอฟต์แวร์อื่นๆ ร่วมไปด้วย แต่อีเมลภายในของออราเคิลก็แสดงถึงท่าทีที่จะหยุดโครงการ OpenSolaris ไว้แต่เพียงเท่านี้ โดยมีรุ่นฟรีคือ Solaris Express มาแทนที่
แทนที่จะเป็นโครงการแยกและมีกระบวนการที่เปิดเผยเช่นทุกวันนี้ Solaris จะถูกพัฒนาโดยออราเคิลเป็นหลัก แต่ซอร์สโค้ดนั้นจะยังคงถูกแนบไปกับตัวซอฟต์แวร์ในรูปแบบไลเซนส์ CDDL ของซันแต่เดิม
ซันเคยทำให้คนจำนวนมากได้ตื่นเต้นกับการประกาศโอเพนซอร์ส OpenSolaris ไปเมื่อห้าปีที่แล้ว แต่วันนี้ภายใต้การเข้าครอบครองทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดของ OpenSolaris โดยออราเคิล ทาง OpenSolaris Governing Board (OGB) กลับไม่สามารถติดต่อออราเคิลเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ OpenSolaris ได้ จนมีการผ่านมติยื่นคำขาดสุดท้ายว่าให้ออราเคิลส่งตัวแทนเข้ามาทำงานร่วมกับ OpenSolaris ไม่เช่นนั้น OGB จะยุบตัวเองแล้วส่งทุกอย่างกลับสู่ออราเคิล
หลังจากที่ซันเปิดตัว Solaris 10 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และหลังจากออราเคิล ซึ่งเข้าทำการซื้อซันเมื่อปลายปีที่แล้ว ประกาศว่าจะสู้ต่อในศึก Solaris/SPARC (ข่าวเก่า) สิ่งแรกที่ออราเคิลทำคือแก้สัญญาอนุญาตจากที่เคยอนุญาตให้ใช้ Solaris ได้ฟรี กลายมาเป็นว่าใช้ฟรีได้ 90 วัน และถ้าต้องการใช้ต่อ ต้องขอซื้อบริการจากออราเคิล
ส่วน OpenSolaris ยังฟรีและโอเพนซอร์สอยู่เช่นเดิมครับ (แต่จะมีคนใช้เหรอ ?)
ที่มา: OSnews
หลังจากการเข้าซื้อกิจการครั้งประวัติศาสตร์เสร็จสิ้นลงด้วยดี ออราเคิลก็เดินหน้าเต็มที่ทันที โดยเริ่มจากสร้างความเชื่อมั่นให้กับฐานลูกค้าของซันเดิม
ออราเคิลซื้อพื้นที่โฆษณาใน Wall Street Journal ฉบับที่ขายในยุโรป มีข้อความว่าออราเคิลจะลงทุนใน SPARC และ Solaris มากกว่าที่ซันเคยจ่าย เพิ่มฝ่ายขาย ปรับปรุงประสิทธิภาพ จบท้ายด้วยข้อความจาก Larry Ellision ซีอีโอของออราเคิลว่า "ไอบีเอ็ม เราจะเข้าสู่ตลาดฮาร์ดแวร์แล้วนะ เตรียมตัวดีๆ"
โฆษณาชิ้นนี้สามารถหาดูได้จากเว็บของออราเคิลเช่นกัน (ภาพอยู่ด้านใน) น่าเสียดายไม่ตอบคำถามที่ทุกคนอยากรู้คือเรื่อง MySQL แฮะ
ที่มา - TechCrunch
เอชพีออกโปรแกรมใหม่ที่เรียกว่า
เนื่องจากกระแสเน็ตบุ๊กและโทรศัพท์มืผลต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่ระบบปฎิบัติการหลายๆ ตัวพากันพอร์ตตัวเองไปยังชิป ARM ที่ครองตลาดโทรศัพท์มือถือ แต่การรองรับชิป ARM จาก OpenSolaris นั้นก็คงเป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของหลายๆ คนอยู่ดี
OpenSolaris นั้นมีฐานจาก Solaris ที่ซันใช้ทำตลาดในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่เป็นหลัก แม้การโอเพนซอร์สจะทำให้ OpenSolaris ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากกว่าเดิม แต่การกระโดดข้ามไปบุกตลาดผู้บริโภคทั่วไปอย่างโทรศัพท์มือถือและเน็ตบุ๊กนั้นดูจะเป็นก้าวกระโดดที่ออกจะไกลจากความเป็นจริงไปสักหน่อย
OpenSolaris มีแอพลิเคชั่นรองรับทั้งหมดประมาณ 1,700 ตัวเทียบกับ 26,000 ตัวของโครงการ Debian
Oracle ประสบความสำเร็จในการซื้อ Sun Microsystems หลังจากที่ IBM เพิ่งล้มเหลวไปได้ไม่กี่วัน ท่ามกลางความลุ้นของแฟนๆ Java, MySQL, OpenOffice.org และ Solaris
ข่าวเอาลินุกซ์ไปลงโน้ตบุ๊กที่ใหญ่ที่สุดในช่วงหลังคือเป็นเดลล์ที่เลือกใช้ Ubuntu ค่อนข้างครบช่วงแทบทุกรุ่น แต่ระบบปฎิบัติการโอเพนซอร์สอย่าง OpenSolaris นั้นกลับได้รับเลือกจากโตชิบาให้ใช้ติดตั้งในโน้ตบุ๊กของโตชิบารุ่นต่อไป
ไม่ชัดเจนนักว่าทำไมทางโตชิบาจึงเลือก OpenSolaris ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก แต่ถ้าการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฎิบัติการสมบูรณ์จริงก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย
OpenSolaris นี่ความสามรถที่น่าสนใจที่สุดคงเป็น ZFS แต่หากใช้งานในโน้ตบุ๊กที่มีฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวก็อาจจะไม่มีประโยชน์นัก
ที่มา - OSTATIC
ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งใน OpenSolaris คือ ZFS ที่เป็นระบบไฟล์ที่มีความสามารถล้นเหลือ เช่นการรวมดิสก์หลายๆ ลูกเข้าด้วยกัน หรือจะเป็นความสามารถในการย้อนเวลาของดิสก์กลับไปดูได้ว่าก่อนหน้านี้ไฟล์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ความสามารถเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดี ปัญหาคือมันใช้งานค่อนข้างลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้ทางซันเลยทำปลั๊กอินให้กับ Nautilus ซึ่งเป็นไฟล์บราวเซอร์ของทาง Gnome เพื่อให้ใช้งานกันได้ง่ายขึ้นชื่อว่า time slider
เดโมดูได้ในที่มาข่าวนี้ แต่โดยหลักแล้วก็แค่มี slider ขึ้นมาด้านบนของ Nautilus ว่าอยากย้อนเวลาไปดูไฟล์เมื่อวันที่เท่าใหร่ และสามารถนำไฟล์รุ่นเก่านั้นไปวางไว้ที่อื่นเช่น Desktop ได้
น่าใช้จริงๆ หวังว่า Ubuntu 9.04 น่าจะรวมความสามารถนี้ไว้
หลังจากซันประกาศโอเพนซอร์ส Solaris ไปเมื่อปี 2005 (ข่าวเก่า) โครงการ OpenSolaris (opensolaris.org) มีหน้าที่พัฒนาตัวระบบปฏิบัติการอย่างเดียว โดยซันจะนำผลงานไปใส่ไว้ใน Solaris Express Developer Edition ซึ่งเป็น snapshot ที่ออกเป็นระยะ และมีโครงการโอเพนซอร์สอื่นๆ อย่างเช่น Nexenta (ข่าวเก่า) ซึ่งนำเคอร์เนลของ OpenSolaris ไปออกเป็นดิสโทรของตัวเอง