Michael Lynton ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Amy Pascal ประธานกรรมการ บริษัท Sony Pictures ได้ออกแถลงการร่วมกันว่า เว็บ Sony Pictures โดนแฮ็ก ข้อมูลถูกขโมยกว่า 1 ล้านบัญชีจริง และบริษัทได้ติดต่อเอฟบีไอในการพยายามที่จะหาผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้
กลายเป็นข่าวประจำวันไปแล้วกับเว็บของโซนี่สักแห่งโดนเจาะ คราวนี้เป็นโซนี่ยุโรป (apps.pro.sony.eu) ถูกแฮ็กโดยแฮ็กเกอร์ชาวเลบานอนคนหนึ่งที่ชื่อ Idahc
เขาบอกว่าแรงจูงใจมาจาก "ความเบื่อ" เลยหันมาเล่นเกมที่กำลังนิยมในช่วงนี้ นั่นก็คือ "แฮ็กเว็บโซนี่"
แฮ็กเกอร์รายนี้อ้างว่าใช้เทคนิค SQL injection (อีกแล้ว) และเมื่อแฮ็กเข้าไปได้ก็เจอการเก็บรหัสผ่านแบบไม่เข้ารหัส (อีกแล้ว) ข้อมูลที่ได้มีบัญชีของผู้ใช้ รหัสผ่าน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ จำนวนทั้งหมด 120 บัญชี ถูกโพสต์ลงเว็บไซต์ pastebin.com เช่นเคย
บริษัทความปลอดภัย Sophos ที่รายงานข่าวนี้บอกว่านี่เป็นครั้งที่ 13 แล้วที่โซนี่ถูกแฮ็ก และแนะนำให้แอดมินของเว็บโซนี่ทั่วโลกแก้ปัญหาเรื่อง SQL injection โดยด่วน
กลุ่มแฮ็กเกอร์ Anonymous ที่เคยเป็นข่าวกรณีออกมาสู้เพื่อ WikiLeaks และประกาศสงครามกับโซนี่ ประกาศความสำเร็จในการเจาะเว็บของกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน
กลุ่มแฮ็กเกอร์ LulzSec เริ่มปฏิบัติการโจมตีเว็บไซต์ของโซนี่ตามที่ประกาศเอาไว้ และเว็บที่โดนโจมตีคือ SonyPictures.com
LulzSec ออกมาเปิดเผยว่า SonyPictures.com ถูกเจาะได้ง่ายๆ ด้วย SQL injection เพียงคำสั่งเดียว และ LulzSec ก็เข้าถึงข้อมูลได้ทุกอย่าง ได้แก่ บัญชีของผู้ใช้พร้อมข้อมูลส่วนตัวและรหัสผ่าน 1 ล้านบัญชี รวมถึงรหัสผ่านแอดมิน และคูปองส่วนลดซื้อเพลงผ่านเว็บของโซนี่กว่า 3.5 ล้านชิ้น
LulzSec บอกว่าไม่มีเวลาก็อปปี้ข้อมูลได้ทั้งหมด แต่นำข้อมูลออกมาบางส่วน ที่น่ากลัวคือ LulzSec บอกว่า Sony Pictures เก็บรหัสผ่านของผู้ใช้แบบไม่เข้ารหัส และข้อมูลเหล่านี้ถูกโพสต์บน The Pirate Bay เรียบร้อยแล้ว
กลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า LulzSec ที่ก่อนหน้านี้ได้ทำการแฮกหน้าเว็บ PBS ของสหรัฐอเมริกาและได้ออกมาบอกว่าพวกเขาจะเริ่มปฏิบัติการ "Sownage" ซึ่งเป็นคำย่อของ Sony Ownage เร็ว ๆ นี้และปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็น "การเริ่มต้นของจุดจบ" ของโซนี่ (The beginning of the end)
ล่าสุด กลุ่มแฮกเกอร์เหล่านี้ได้ทวีตข้อความบน Twitter ของตัวเองว่า "เฮ้ โซนี่ ตอนนี้พวกเรากำลังไล่ดูข้อมูลภายในของพวกแกอยู่ พวกแกยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำเหรอ?"
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม กลุ่ม LulzSec อ้างว่าพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮกระบบ PlayStation Network ของโซนี่แต่อย่างใด จากทวีตของกลุ่มก่อนหน้านี้ที่บอกว่า "เจ้าพวกโซนี่พวกแกรู้ว่าพวกเราไม่เคยแตะต้องระบบเกมของรักของหวงของแกเลย จริงไหม?"
คำเตือน: ข่าวนี้มีศัพท์ทางเทคนิคเป็นส่วนประกอบ
เว็บ xda-developers ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของแฮกเกอร์ ที่สนใจในการแฮกอุปกรณ์มือถือ (Handheld) รายงานว่าสมาชิกคนนึงของเว็บได้ทำการพอร์ต Ubuntu ลง HTC Desire HD สำเร็จแล้ว
สมาชิกคนนี้ใช้ชื่อในเว็บว่า bergfex บอกว่าถึงแม้จะพอร์ตได้แล้ว แต่ยังทำงานไม่สมบูรณ์
ขณะนี้มีส่วนที่ทำงานได้ดังนี้
เว็บไซต์ของ Honda แคนนาดาเผย ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า Honda และ Acura ถูกขโมย โดยเป็นข้อมูลของลูกค้าตั้งแต่ปี 2009 ที่มีนโยบายส่งเสริมให้ลูกค้าลงทะเบียนบนเว็บไซต์ My Honda
ข้อมูลที่ถูกเข้าถึงได้มี ชื่อ ที่อยู่ รหัสตัวถัง ส่วนข้อมูลที่นำไปโกงได้เช่น วันเดือนปีเกิด บัตรเครดิต หรือหมายเลขบัญชี นั้นไม่ได้ถูกขโมย
บริษัทได้ออกมาขอโทษกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ และกำลังทำสุดความสามารถเพื่อปกป้องและเพิ่มความปลอกภัย นอกจากนี้บริษัทได้ย้ำอีกว่าบริษัทจะไม่ถามข้อมูลทางการเงินของลูกค้า และจะไม่เปิดเผยข้อมูลค้าให้บริษัทที่ไม่เกี่ยวข้อง
ปัญหาอย่างหนึ่งของแอปเปิลที่จะบุกตลาดลูกค้าประเภทองค์กรคือยังขาดฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเมื่อเทียบคู่แข่งอย่าง BlackBerry หนึ่งในความพยายามของแอปเปิลคือการเพิ่มฟีเจอร์การเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์ (hardware encryption) เข้าไปใน iOS 4 และมี API ให้เหล่านักพัฒนาสามารถเรียกใช้ได้ แต่ล่าสุดบริษัท ElcomSoft แห่งประเทศรัสเซียได้หาวิธีที่จะงัดเอากุญแจเข้ารหัสเพื่อใช้ถอดรหัสข้อมูลได้แล้ว
ไม่รู้ว่าช่วงนี้เป็นเทศกาลแฮกกระหน่ำรับหน้าฝนของไทยหรือยังไง หลังจากที่โซนี่โดนเจาะระบบไปชุดใหญ่แล้ว คราวนี้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระบบควบคุมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Hosting Control Panel) รายใหญ่อย่าง DirectAdmin ก็โดนเจาะกับเค้าบ้าง
รายงานว่าเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมช่วงบ่ายตามเวลาในสหรัฐอเมริกา (ช่วงหลังเที่ยงคืนของไทยในวันที่ 26) ได้มีอีเมลส่งไปหาลูกค้าของ DirectAdmin แจ้งว่าระบบของ DirectAdmin มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งลิงก์ไปยังหน้าเว็บที่ฝังมัลแวร์ไว้ (รูปตัวอย่างอีเมลอยู่ท้ายข่าว)
เว็บไซต์ของ Sony Ericsson ประเทศแคนาดาโดนแฮ็ก และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าระบบซื้อสินค้าออนไลน์ของ Sony Ericsson ประมาณ 2,000 บัญชีถูกขโมยออกไป
ข้อมูลส่วนตัวได้แก่อีเมล รหัสผ่าน และหมายเลขโทรศัพท์ แต่ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิต
ในแถลงการณ์ของ Sony Ericsson ระบุว่าเว็บไซต์นี้ฝากไว้กับเซิร์ฟเวอร์ภายนอก และไม่ได้อยู่บนเครือข่ายหลักของบริษัท
คล้อยหลังเหตุการณ์ เว็บ Sony Music Greece โดนแฮ็ก ไม่นาน ก็มีข่าวมาทันทีว่า Sony Music Japan (sonymusic.co.jp) โดนแฮ็กเช่นกัน
รอบนี้เป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อ LulzSec Hacking หรือ Lulz Security ซึ่งเคยมีผลงานเจาะระบบเว็บไซต์ Fox.com เมื่อเดือนก่อน ใช้วิธี SQL injection เช่นเดิม และนำฐานข้อมูลของโซนี่มาโพสต์บนเว็บไซต์ pastebin.com แสดงหลักฐานว่าเจาะได้เรียบร้อย
ข่าวดีในข่าวร้ายนี้คือฐานข้อมูลที่โพสต์ไม่มีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ใดๆ กลุ่ม Lulz บอกว่าไม่มีความประสงค์ร้ายต่อข้อมูล เพียงแค่อยากให้โซนี่อับอายเท่านั้น
เราอาจเรียกปี 2011 ว่าเป็น "ฝันร้ายอันยาวนานของโซนี่" ได้แล้ว เพราะหลังจากมีข่าวว่าเว็บไซต์ของโซนี่ประเทศไทยโดนแฮ็ก ก็มีคนอ้างว่าแฮ็กเว็บของ Sony Music สาขาประเทศกรีซได้
รอบนี้ตัวเว็บไม่แสดงหน้าที่ถูกแฮ็ก แต่มีคนนำฐานข้อมูลสมาชิกของ Sony Music อันประกอบด้วยชื่อจริง ชื่อผู้ใช้ และอีเมล ไปโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ pastebin.com ซึ่งเป็นเว็บสำหรับแปะโค้ดต่างๆ
บริษัทความปลอดภัย Sophos คาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้เทคนิคการสแกนเว็บในเครือโซนี่ (ซึ่งมีอยู่มากมาย) ไปเรื่อยๆ เมื่อพบจุดอ่อนก็ยิง SQL injection เข้าไปโจมตี
มีผู้ใช้ Android รายงานว่าไม่สามารถเล่นไฟล์ภาพยนตร์ที่เช่าจาก Google Movies บนมือถือ Android ที่ถูก root แล้วได้
ทางกูเกิลเองได้ยืนยันปัญหานี้บนเว็บไซต์ Android Market ว่าเป็นความตั้งใจของกูเกิลเองที่จะปิดกั้นไม่ให้มือถือที่ถูก root เล่นไฟล์ภาพยนตร์ได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างกูเกิลกับบริษัทภาพยนตร์ทั้งหลายในเรื่องลิขสิทธิ์
ที่มา - Android Central
บริษัทความปลอดภัย F-Secure รายงานข่าวว่าเว็บของโซนี่ประเทศไทย (sony.co.th) โดนแฮ็ก และซับโดเมนหนึ่งคือ hdworld.sony.co.th ถูกปลอมเป็นเว็บบริษัทบัตรเครดิตของประเทศอิตาลีชื่อ CartaSi ซึ่งมีเจตนาชัดเจนว่าต้องการหลอกถามข้อมูล (phising) ของผู้ใช้เว็บ
ตอนนี้ hdworld.sony.co.th เข้าไม่ได้แล้ว แต่ดูภาพหน้าจอของเว็บที่โดนแฮ็กได้ท้ายข่าวครับ
นอกจากกรณีของเว็บโซนี่ประเทศไทยแล้ว ยังมีข่าวว่าบัญชีของลูกค้าโซนี่ในญี่ปุ่น ถูกขโมยเงินไปประมาณ 1 แสนเยน โดยมีแฮ็กเกอร์บุกเข้าไปในระบบเซิร์ฟเวอร์ของโซนี่ และขโมยแต้มของลูกค้าจำนวนหนึ่งออกไป
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าววงในว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ถล่ม PlayStation Network และขโมยข้อมูลส่วนตัวออกไป ใช้วิธีเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่าน Amazon EC2 เพื่อเป็นฐานในการโจมตี PSN อีกทอดหนึ่ง
ตามข่าวบอกว่า แฮ็กเกอร์เหล่านี้ใช้ชื่อปลอมไปเปิดบัญชี EC2 ใช้งานเหมือนบุคคลอื่นทั่วไป ไม่ได้แฮ็กเข้าระบบ EC2 แต่อย่างใด ตอนนี้บัญชีปลอมเหล่านี้ถูกปิดไปแล้ว ส่วน Amazon ยังไม่มีแถลงการณ์ต่อข่าวนี้
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง ก็จะเกิดคำถามต่อบริการแบบ EC2 และ cloud computing อีกเช่นกัน ว่าจะป้องกันการนำคอมพิวเตอร์พลังสูงไปใช้ในทางที่เป็นภัยต่อผู้อื่นได้อย่างไร
Apple Mac Pro รุ่นล่าสุดที่วางขายในปี 2010 นั้นมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Xeon ชื่อรหัส Westmere ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลที่มีคอร์ตั้งแต่ 4 ถึง 6 คอร์ แต่สำหรับบางคนที่ซื้อ Mac Pro ในรุ่นก่อนหน้ามาอาจจะช้ำใจเพราะว่า Apple ไม่ยอมออกเฟิร์มแวร์ที่รองรับ Westmere ให้กับ Mac Pro รุ่นดังกล่าว
มีแฮกเกอร์หัวใสแห่งเว็บบอร์ด Netkas.org นามว่า MacEFIRom พบว่า Mac Pro รุ่นที่วางขายในปี 2009 และ 2010 มีความแตกต่างกันน้อยมาก แต่ว่าเฟิร์มแวร์ของ Mac Pro รุ่นปี 2009 นั้นไม่รองรับ Westmere เขาจึงเขียนสคริปท์ตัวหนึ่งเพื่อหลอกโปรแกรมอัพเดตเฟิร์มแวร์ของ Mac Pro ว่าเป็นรุ่น 2010 เพื่อที่จะติดตั้งเฟิร์มแวร์ของ Mac Pro รุ่นใหม่ซึ่งรองรับ Westmere ลงไป
ช่วงแรกสมัยวางขาย PS3 ใหม่ๆ โซนี่เคยชูจุดขายหนึ่งคือรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ได้ ก่อนที่โซนี่จะเปลี่ยนใจถอดฟีเจอร์นี้ออกในภายหลัง (และเป็นต้นเหตุของมหากาพย์กับ geohot คู่กรณี) อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถดัดแปลงให้ PS3 กลับมารันลินุกซ์ได้อีกครั้ง
โครงการนี้มีชื่อว่า OtherOS++ มีเป้าหมายเพื่อนำระบบปฏิบัติการอื่นไปรันบน PS3 ตอนนี้ยังสนับสนุนเพียงลินุกซ์ (และยังไม่สมบูรณ์นัก) แต่อนาคตมีแผนจะทำ FreeBSD ด้วย
รวมสามข่าวที่เกี่ยวกับกรณีเซิร์ฟเวอร์ของโซนี่ถูกแฮ็กนะครับ
ข่าวแรก หลังโซนี่ชี้แจ้งกับวุฒิสภาของสหรัฐว่า กลุ่ม Anonymous อาจเป็นคนเจาะระบบของ PlayStation Network ทางกลุ่ม Anonymous ก็ออกแถลงการณ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว และยืนยันว่าแกนนำของกลุ่มไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลบัตรเครดิต
แนวทางที่ผ่านมาของกลุ่ม Anonymous จะเน้นโจมตีบริษัทที่เป็นศัตรูกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (เช่น กรณีของ Wikileaks) อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Anonymous เป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ จึงยังมีความเป็นไปได้ว่าสมาชิกบางส่วนไม่ได้ยึดตามมติของกลุ่ม - VentureBeat
หลังจากมีข่าว Google Talk บน Android 2.3.4 รองรับการคุยผ่านวิดีโอแล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อน มาวันนี้ก็มีแฮกเกอร์ได้ทำการพอร์ต Google Talk จาก Nexus S มาลงบน Android 2.3+ ได้แล้ว
สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Android ที่ได้รับการอัพเกรดเป็น Android 2.3+ แล้ว สามารถทำการติดตั้ง Google Talk ที่อยู่บน Android 2.3.4 ได้แล้ว ทำให้สามารถ Voice Call และ Video Call ได้เหมือนบน Google Talk บน Android 2.3.4 แต่อาจจะยังมีปัญหาบางอย่าง เช่นสลับมาใช้กล้องหน้าไม่ได้ และปัญหาอื่นๆ อย่างไรก็ดี ผมได้ทดลองใช้ Voice Call แล้ว สามารถใช้ได้ตามปรกติ ได้อารมณ์เหมือนคุยโทรศัพท์เลย
ชมรูปภาพได้ที่ท้ายข่าว และวิธีติดตั้งได้จากที่มาครับ
นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยจาก Trend Micro รายงานว่าแฮ็กเกอร์กลุ่มหนึ่งได้กล่าวอ้างในเว็บบอร์ดเฉพาะแห่งหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความประกาศขายข้อมูลบัตรเครดิตที่แฮ็กได้จาก PlayStation Network จำนวน 2.2 ล้านใบ โดยข้อมูลจำนวนนี้มีรหัส 3 ตัวของบัตรที่เรียกว่า CVV/CSC อยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม Trend Micro ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างนี้จริงหรือไม่
แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ยังอ้างว่าเคยเสนอขายข้อมูลชุดนี้คืนให้โซนี่ แต่โซนี่ปฏิเสธ ส่วนโฆษกของโซนี่บอกว่าไม่รู้เรื่องนี้ คำแถลงอย่างเป็นทางการของโซนี่บอกว่าไม่ได้เก็บ CVV/CSC ไว้ และข้อมูลบัตรเครดิตถูกเข้ารหัสทั้งหมด
ปัญหา PlayStation Network ล่มติดต่อกันสามวัน กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปเสียแล้ว เพราะโซนี่ออกมาเปิดเผยว่าแฮ็กเกอร์ที่ถล่มระบบของโซนี่ สามารถบุกเข้ามาในระบบรักษาความปลอดภัย และเชื่อว่าได้ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก PlayStation Network/Qriocity ไปด้วย
ข้อมูลเหล่านี้คือชื่อ, ที่อยู่, อีเมล, วันเกิด, ชื่อล็อกอินและรหัสผ่านของ PSN/Qriocity, ID ของ PSN ส่วนข้อมูลที่อาจโดนเจาะไปด้วยคือประวัติการซื้อสินค้า, ที่อยู่สำหรับส่งใบแจ้งหนี้, คำถามสำหรับรีเซ็ตรหัสผ่าน
ส่วนข้อมูลสำคัญอย่างเครดิตการ์ด ทางโซนี่บอกว่าไม่มีหลักฐานว่าถูกเจาะไปด้วย แต่ก็ไม่กล้าการันตีว่ายังปลอดภัย 100%
โซนี่แนะนำว่า
หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียได้รับแจ้งจาก CIA และ FBI ว่าคอมพิวเตอร์ของ Julia Gillard นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหม อาจจะถูกแฮ็ก และอีเมลนับพันฉบับอาจจะรั่วไหลไปแล้ว ซึ่งตอนนี้หน่วยข่าวกรองฯ ก็กำลังสอบสวนอยู่ครับ
ข่าวบอกว่าการโจมตีนั้นเกิดขึ้นที่คอมพิวเตอร์ในรัฐสภาและที่ระบบอีเมลของรัฐสภา ซึ่งมีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบอีเมลระหว่างกระทรวง และเป้าหมายอาจจะอยู่ที่ข้อมูลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของออสเตรเลีย
ผมกำลังพยายามไม่นึกถึงท่าน ๆ ในรัฐสภาไทยนะ
ที่มา - BBC
ช่างอู่ซ่อมเรือชาวรัสเซียมีอันต้องติดคุกหนึ่งปีหกเดือน เนื่องจากอัปโหลดภาพยนตร์โป๊เปลือยขึ้นป้ายโฆษณาขนาด 6 x 9 ตารางเมตรกลางกรุงมอสโคว์ จนทำให้การจราจรติดขัด
ข่าวบอกว่านายคนนี้แฮ็กป้ายโฆษณาจากบ้านตนเองที่อยู่ห่างออกไปกว่า 1,200 กิโลเมตร โดยเจ้าตัวบอกว่าตนเองทำไปแค่เพราะ "อยากหาอะไรทำ" และไม่ได้เปิดเผยต่อนักข่าวถึงวิธีทำเพราะว่า "คงต้องอธิบายยาว"
ที่มา - BBC
ช่วงหลังเราเห็นข่าว Kinect ถูกแฮ็กมาทำโน่นนี่กันเยอะจนเริ่มน่าเบื่อ แต่กรณีนี้ถือว่าน่าสนใจและควรค่าแก่การเป็นข่าว เพราะนักพัฒนาชื่อ Shantanu Goel ได้แปลง Kinect ให้มันใช้ควบคุมเครื่องคอนโซลคู่แข่ง PS3 ได้แล้ว!
จากวิดีโอสาธติของ Goel เราเห็นเขาใช้ Kinect ควบคุมหน้าจอ XMB ของ PS3 ด้วยการเลื่อนมือไปยังทิศทางต่างๆ และดันมือไปข้างหน้าแทนการกดปุ่ม x จากนั้นเขาได้แสดงการเล่นเกม Killzone 3 ด้วย Kinect ให้ดู วิดีโออยู่ท้ายข่าวครับ
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโค้ดของ Goel ได้จาก Github
สินค้าที่ได้รับความนิยมมากตัวหนึ่งของ RSA คือ SecurID ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเพิ่มจากการใส่รหัสผ่านตามปรกติ โดย SecurID จะมาในรูปแบบของพวงกุญแจที่แสดงตัวเลขสี่หลักที่จะเปลี่ยนไปทุกๆ 30 วินาที แต่ Arthur W. Coviello ก็เขียนบล็อกแถลงในวันนี้ว่าแฮกเกอร์ได้เจาะเข้าไปในเซิร์ฟเวอร์ของ RSA เพื่อขโมยข้อมูลบางอย่างที่ถูกใช้เพื่อลดความปลอดภัยของ SecurID ลงได้
ทาง RSA กำลังติดต่อลูกค้าเพื่อแจ้งขั้นตอนการเสริมความปลอดภัยให้กับ SecurID ต่อไป และบริษัทยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกไปนั้นไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าอื่นๆ
บ้านเราก็เห็นมีบริษัทใช้ SecurID อยู่หลายเจ้า อาจจะต้องติดต่อตัวแทนขายเพื่ออัพเดตปัญหาและทางแก้กันก่อนที่จะถูกบุกรุกครับ