อินเทลเปิดตัวแพลตฟอร์ม 5x5 เมนบอร์ดขนาด 147x140 ตารางมิลลิเมตร มีซ็อกเก็ต LGA เปลี่ยนซีพียูได้เอง ใช้แรม SODIMM และดิสก์แบบ M.2
5x5 จะมีขนาดเล็กกว่า mini-ITX และใช้ตัวจ่ายไฟแบบกระแสตรงแบบโน้ตบุ๊ก แต่ผู้ใช้ยังมีช่องทางอัพเกรดซีพียูได้เอง ขณะที่แพลตฟอร์ม NUC จะมีขนาดเพียง 102x102 ตารางมิลลิเมตร แต่ไม่สามารถเปลี่ยนซีพียูเองได้ ข้อเสียสำคัญของ 5x5 เทียบกับ mini-ITX คือจะไม่มีสล็อต PCIe ให้ใส่การ์ดกราฟิกเพิ่มเติมอีกต่อไป สำให้อาจจะไม่เหมาะกับเกมนัก
สเปคของ 5x5 จะระบุขนาดเมนบอร์ด, จุดยึดน็อต, และตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้ผู้ผลิตเคสสามารถผลิตเคสที่ระบายความร้อนจากซีพียูสู่เคสได้โดยตรง ปริมาตรของเคสโดยรวมจะเล็กกว่า 1 ลิตร ขณะที่รองรับซีพียูได้สูงสุดถึง Core i7
งาน IDF ปีนี้อินเทลนำเสนอประเด็น Internet of Things (IoT) อย่างมาก ฮอลหลักมีงานนิทรรศการแสดงผลงานประกวดหลายรายการ และบนเวทีเองอินเทลก็นำเสนอไอเดียว่าเราจะใช้ IoT มาทำอะไรได้บ้างในอนาคต
แม้ว่าอินเทลจะเสนอโดยใช้ชิปของอินเทลอย่าง Quark หรือ Curie แต่ไอเดียเหล่านี้ก็น่าจะใช้กับชิปอะไรก็ได้ โอกาสนี้เลยขอรวมไอเดียที่อินเทลเอามาเสนอบนเวที IDF ไว้ในบทความนี้
อินเทลเปิด Discovery Peak แพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวมเอาทั้งระบบประมวลข้อมูล, การแสดงผลการประมวล, และแพลตฟอร์มพัฒนาแอพพลิเคชั่นจากข้อมูล เข้าเป็นชุดซอฟต์แวร์
พร้อมๆ กับการเปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ ทางอินเทลประกาศร่วมมือกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัวคลาวด์เพื่อความร่วมมือการวิจัยมะเร็ง (Collaborative Cancer Cloud) เป็นความร่วมมือระหว่างสามศูนย์วิจัยทั่วสหรัฐฯ ที่จะแชร์ข้อมูลคนไข้อย่างปลอดภัย เพื่อพัฒนาการรักษาที่เจาะจงกับคนไข้แต่ละคน
Collaborative Cancer Cloud จะเริ่มเปิดให้บริการปีหน้า โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจาก Discovery Peak และทางอินเทลระบุว่าซอร์สโค้ดบางส่วนในโครงการจะเปิดซอร์สออกมาให้นักพัฒนาภายนอกช่วยกันพัฒนาด้วยเช่นกัน
เก็บตกจากงาน IDF เมื่อคืนนี้ อินเทลจับมือกับไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Wake-on-voice สำหรับผู้ที่ใช้งานชิป Core i รุ่นที่หกร่วมกับ Windows 10 จะสามารถเปิดเครื่องได้ด้วยเสียงจริงๆ แล้ว
การสั่งเปิดเครื่องด้วยเสียงบน Windows 10 และชิป Skylake เป็นผลมาจากความสามารถในการรับฟังคำสั่งเสียงตลอดเวลาที่ได้มาด้วยการยัดชิปประมวลผลเสียงพลังงานต่ำ (DSP) เข้าไปไว้ใน Skylake ทำให้สามารถสั่งงานตัวเครื่องผ่านผู้ช่วยอัจฉริยะ Cortana ให้เปิดเครื่องได้ โดยฟีเจอร์นี้มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งเปิดตัว Core M แล้ว แต่ด้วยความที่ต้องใช้งานกับ Windows 10 ที่ยังไม่ออก ทำให้ยังไม่ถูกพูดถึงในขณะนั้น
อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยี 3D XPoint โดยระบุว่าเป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ในรอบหลายสิบปีที่จะเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก แต่จนตอนนี้นอกจากตัวเลขประสิทธิภาพแล้ว ข้อมูลอื่นๆ ก็ยังไม่ได้เปิดเผยออกมามากนัก วันนี้ที่งาน IDF2015 Bill Liszenske ผู้บริหารอินเทลที่ดูแลฝ่ายหน่วยความจำถาวร (non-volatile memory) ก็พูดคุยกับสื่อถึงประเด็นของเทคโนโลยีนี้ ผมรวบรวมคำถามที่น่าสนใจมาไว้ในบทความนี้
เมกเกอร์มักเป็นเรื่องของนักประดิษฐ์ วิศวกรที่ใช้เวลาว่างทำเรื่องที่ตัวเองชอบ แต่หลังจากนี้เมกเกอร์อาจจะกลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขี้นเมื่อ Mark Burnett ผู้สร้างรายการทีวีสำคัญๆ เช่น The Voice, The Appentice ประกาศสร้างรายการเรียลลิตี้สำหรับเมกเกอร์ ชื่อว่า America's Greatest Makers
รายการนี้จะออกฉายในปีหน้า ตอนนี้อยู่ระหว่างการรับสมัคร โดยเงินรางวัลใหญ่ที่สุดคือหนึ่งล้านดอลลาร์ ใหญ่กว่าปีก่อนๆ ที่ผู้ชนะอย่าง Nixie ได้รับเงินรางวัลไป 500,000 ดอลลาร์
อินเทลประกาศเตรียมส่งมอบชิป Curie ต้นแบบให้กับผู้ผลิตบางรายภายในปีนี้ โดยชิป Curie จะเป็นชิปขนาดเล็กที่สุดของอินเทลในตอนนี้มาแข่งขันกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ได้รับความนิยมในหมู่เมกเกอร์อย่างสูงหลายรุ่น อย่าง AVR ของ Atmel หรือ ESP8266 หน่วยความจำแบบแฟลชของ Curie จะอยู่ที่ 384kB ขณะที่แรมอยู่ที่ 80kB เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรันลินุกซ์เหมือนชิปอินเทลรุ่นอื่นๆ ที่ใหญ่กว่าได้ แต่ความได้เปรียบคือ Curie จะมีเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวมาในตัวพร้อมวงจรชาร์จแบตเตอรี่ทำให้มันแทบจะเป็นโมดูลสำเร็จรูปในชิปเดียว
อินเทลประกาศหน่วยความจำ 3D XPoint เมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้อินเทลประกาศชื่อแบรนด์สำหรับหน่วยความจำรุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อ Optane จะเริ่มวางขายในปีหน้า
Optane จะมีขายทั้งแบบ SSD และแบบ DIMM ให้เสียบคู่กับแรม แต่ต้องใช้งานร่วมกับ Xeon รุ่นที่รองรับ
เวที IDF2015 เริ่มต้นวันนี้ อินเทลสาธิตกล้อง RealSense อีกครั้งและประกาศสนับสนุนกล้อง RealSense ให้ใช้งานได้แทบทุกแพลตฟอร์มรวมถึง ROS (robot operating system), ลินุกซ์, และแมค
โทรศัพท์ Tango ของกูเกิลเองก็ใช้กล้อง RealSense และแท็บเล็ตหลายรุ่น ส่วนกล้องแยกในต้นปีหน้าทาง Razr จะวางตลาดกล้อง RealSense แยกสำหรับใช้งานกับพีซี
อินเทลสาธิตการใช้งานกล้องเว็บแคม RealSense สำหรับนักแคสเกมที่ต้องการใส่ภาพตัวเองลงไปในวิดีโอ เพราะกล้อง RealSense สามารถแยกตัวเกมเมอร์ที่กำลังแคสเกมออกจากฉากหลังได้โดยไม่ต้องมีฉากพิเศษใดๆ และการสาธิตอีกแบบคือการตรวจจับใบหน้าของคนเล่นเกมว่าหันหน้าไปทางใด ทำให้สามารถแสดงภาพตามทิศทางการหันหน้าของผู้เล่นได้