Daniel Moghimi นักวิจัยความปลอดภัยของกูเกิล ค้นพบช่องโหว่ในซีพียูอินเทลจำนวนมาก ตั้งแต่ Core 6th Gen (Skylake) มาถึง Core 11th Gen (Tiger Lake) รวมถึงซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ Xeon, ซีพียู Atom ที่ออกขายในช่วงเดียวกัน รายชื่อทั้งหมด
อินเทลยุคใหม่ภายใต้การนำของ Pat Gelsinger กำลังไล่ดึงตัววิศวกรระดับหัวกะทิกลับมายังบริษัท ล่าสุดประกาศดึง Shlomit Weiss อดีตหัวหน้าทีมออกแบบ Sandy Bridge และ Skylake กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าทีมออกแบบชิปสายคอนซูเมอร์ทั้งหมด
เส้นทางชีวิตของ Weiss น่าสนใจตรงที่เธอเป็นผู้หญิงแถวหน้าของวงการออกแบบซีพียู เธอเป็นวิศวกรชาวอิสราเอลที่ทำงานกับอินเทลมาตั้งแต่ปี 1989 โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาซีพียูฝั่งศูนย์ข้อมูล ในปี 2017 จึงย้ายงานไปพัฒนาหน่วยประมวลผลเครือข่ายให้ Mellanox ในอิสราเอล ก่อนที่ Mellanox ถูก NVIDIA ซื้อกิจการในปี 2019 ทำให้เธอย้ายมาเป็น Senior Vice President Silicon Engineering ให้ NVIDIA ด้วย
หนึ่งในข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวงการนักพัฒนาคือการย้ายสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของแอปเปิลจาก x86 ไป ARM ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไปว่า เพราะแอปเปิลต้องการรวมแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมของทั้ง iPhone/iPad และ MacBook ให้ไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม François Piednoël อดีตวิศวกรของ Intel ให้สัมภาษณ์กับ PCGamer เผยว่าหนึ่งในสาเหตุที่แอปเปิลเปลี่ยนไปใช้ ARM เพราะปัญหาเรื่องคุณภาพที่เกิดขึ้นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Skylake ของ Intel (Comet Lake เป็น Skylake รุ่นที่ 4) ที่แอปเปิลต้องคอยแก้ เลยเป็นเหมือนฟางที่ค่อย ๆ ขาดในมุมของแอปเปิล โดย Piednoël ใช้คำว่า Skylake นั้นแย่แบบผิดปกติ (abnormally bad) ขณะที่แอปเปิลก็เป็น OEM ที่ยื่นเรื่องว่าเจอปัญหาเยอะที่สุดด้วย
ที่มา - PCGamer
หลังจากที่เปิดตัวแบบแง้มๆ มาพักใหญ่ สำหรับซีพียู 28 คอร์ 56 เธรด ล่าสุดอินเทลเปิดตัวอออกมาแล้วในชื่อ Intel Xeon W-3175X ที่ปลดล็อกตัวคูณ โอเวอร์คล็อกได้ ราคาเฉพาะซีพียูอยู่ที่ 2,999 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 94,000 บาท, ราคาขายต่อหนึ่งพันหน่วย) ส่วนสเปคที่น่าสนใจมีดังนี้
นอกจากซีพียู Core 9th Gen รุ่นสำหรับตลาดคอนซูเมอร์คือ Core i9/i7/i5 อินเทลยังเปิดตัว Core X-series รุ่นที่สองมาพร้อมกัน
Core X-series เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 (พร้อม Core i9 ตัวแรกสุดในประวัติศาสตร์) มันถูกวางตัวให้อยู่เหนือกว่าซีพียู Core i3/i5/i7/i9 รุ่นปกติ โดยมีจุดเด่นที่จำนวนคอร์เยอะๆ และสมรรถนะด้าน I/O จับกลุ่มตลาด content creator ที่เน้นงานด้านประมวลผลวิดีโอ/กราฟิก
อินเทลออกแพตช์แก้ปัญหาช่องโหว่ Spectre รอบใหม่ หลังพบปัญหาทำเครื่องรีบูต จนต้องระงับแพตช์ตัวเก่าชั่วคราว
แพตช์รอบสองถูกส่งให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM และพาร์ทเนอร์เรียบร้อยแล้ว โดยยังครอบคลุมเฉพาะซีพียูสองรุ่นคือ Skylake กลุ่ม Core (รหัส H/S) และ Core m (รหัส U/Y) เท่านั้น ส่วนซีพียูรุ่นอื่นๆ ทั้งที่ใหม่กว่าอย่าง Skylake-X กับ Kaby Lake และซีพียูรุ่นเก่ากว่า จะตามมาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
สำหรับผู้ใช้ต้องรออัพเดตเฟิร์มแวร์จากผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง หลังจากรับโค้ดของอินเทลเพื่อนำไปอัพเดตเฟิร์มแวร์ของตัวเอง
AWS เปิดตัวเรื่องตระกูล C ประมวลผลสูงรุ่นล่าสุด C5 ใช้ซีพียู Skylake-SP (ตามหลังกูเกิลประมาณครึ่งปี) นอกจากจะอัพเกรดตัวคอร์แล้ว ยังเพิ่มขนาดสูงสุด จากรุ่น c4 ที่จำกัด 36 คอร์ เป็น 72 คอร์ และแรมสูงสุดจากเดิม 60GB เป็น 144GB
เครื่องกลุ่ม C5 เริ่มต้นที่ 2 คอร์ แรม 4GB ราคาชั่วโมงละ 0.085 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 61.2 ดอลลาร์ ไปจนถึงเครื่องใหญ่สุด 72 คอร์ ชั่วโมงละ 3.06 ดอลลาร์หรือเดือนละ 2203.2 ดอลลาร์
ช่วงแรกยังใช้งานได้เฉพาะ 3 โซน ได้แก่ US-East (N. Virginia), US-West (Oregon), และ EU (Ireland)
เว็บไซต์ Debian มีรายงานการค้นพบบั๊กร้ายแรงบนซีพียูอินเทลเจเนอเรชัน 6 และ 7 (Skylake และ Kaby Lake) ทั้งตระกูล Core และ Xeon ที่สามารถทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดและการสูญหายของข้อมูลได้ หากมีการเปิดใช้งานระบบ Hyper-Threading อยู่
อินเทลได้เพิ่มรายละเอียดของบั๊กนี้ในเอกสารสเปก (ของซีพียูตระกูล Core รุ่นที่ 6) แล้วเมื่อเดือนก่อน โดยให้รายละเอียดว่า ลูปขนาดเล็กที่มีคำสั่งน้อยกว่า 64 คำสั่ง ที่มีการเรียกใช้รีจิสเตอร์ AH, BH, CH, DH และรีจิสเตอร์ที่เกี่ยวข้อง (RAX, EAX หรือ AX) สามารถทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ หาก logical processor ทั้งคู่ทำงานพร้อมกันบน physical processor ตัวเดียวกัน
Google Cloud ประกาศเพิ่มซีพียู Skylake ในสามโซน คือ Western US, Western Europe, และ East Asia Pacific (ไต้หวัน) ทำให้ได้เปรียบกับซอฟต์แวร์ที่เร่งความเร็วกับชุดคำสั่ง AVX-512 กูเกิลให้ซีพียูรุ่นใหม่เป็นโปรโมชั่นสองเดือนโดยไม่คิดราคาเพิ่ม แต่หลังจากช่วงโปรโมชั่น เครื่อง Skylake จะแพงกว่าเครื่องปกติ 6-10%
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลทั้งหมดก็อัพเกรดซีพียูตามรอบโดยมีซีพียู Broadwell ทุกศูนย์ และสามารถสร้างเครื่องขนาด 64 vCPU ได้ทั้งหมดแล้ว
เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับชีพียู Core i9 ที่ลือกันมาก่อนหน้านี้ ตอนนี้อินเทลเปิดตัวซีพียูกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการในชื่อ Intel Core X-series Processor Family หนึ่งในหลายรุ่นคือมีชิปเรือธง คือ Core i9-7980XE (Extreme Edition) ที่เป็นซีพียู 18 คอร์ 36 เธรด ราคา 1,999 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 68,300 บาท) กับรุ่นอื่นลดหลั่นลงไปลงไปจนถึง i5-7640X 4 คอร์ 4 เธรด ราคา 242 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8,300 บาท) มีหลายรุ่น สเปคหลากหลายมาก ร้อนหลักร้อยวัตต์ เปิดดูด้านในครับ
Intel Core X-Series ทุกรุ่นทำงานบนเมนบอร์ดชิปเซ็ตใหม่ X299 กับซ็อกเก็ตซีพียู LGA2066 แยกเป็น Skylake-X และ Kaby Lake-X ใช้งานกับแรม DDR4-2666 แบบ 2 แชนแนลในรุ่นล่าง และ 4 แชนแนลในรุ่นสูง
ด้านประสิทธิภาพ ใน Fact sheet ระบุว่างานเธรดเดี่ยวดีกว่าเจนก่อน 10%, งานหลายเธรดดีกว่าเจนก่อน 15% เรื่องโอเวอร์คล็อกมีการเปิดให้ปรับแต่งมากขึ้นมากกว่าปลดล็อกตัวคูณ
หลายสัปดาห์ก่อนหน้าเราเคยเล่าถึงข่าวลือชิป Skylake-X, Kaby Lake-X ล่าสุดมีความคืบหน้าว่าจะใช้ชื่อรุ่นเป็น Intel Core i9 กับสเปคหลายรุ่น วางตัวในกลุ่ม HEDT ครับ ทุกรุ่นลงท้าย K และ X นั่นแสดงว่าเอื้อกับการโอเวอร์คล็อก มี Turbo Clock 3.0 เร่งสปีดได้อีกสเต็ป และใช้แรม DDR4-2666MHz ทีละ 4 โมดูล สเปคความร้อนที่ 112 และ 160 วัตต์ รับชุดคำสั่ง AVX-512
ถ้าประสานกับข่าวลือชิ้นก่อน คือจะมีเมนบอร์ดชิปเซ็ต X299 กับซ็อกเก็ต LGA2066 ก็เตรียมเปลี่ยนตัวยึดฮีตซิงก์กันตามระเบียบ
สเปคตัวเริ่มต้นคือ i7-7640K 4 คอร์ 4 เธรด ไล่ยาวไปจนถึง i9-7920X 12 คอร์ 24 เธรด มีผลเบนช์มาร์กหลุดมาบ้างด้วยครับ
ตามประเพณีของโลกฮาร์ดแวร์ที่จะหมุนมาเจอของใหม่ในช่วงงาน Computex ที่ไต้หวัน ซึ่งงานปีนี้ในวันที่ 30 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2017 มีข่าวของซีพียูกลุ่มใหม่จากทางอินเทลในชื่อแพลตฟอร์มรวมว่า Basin Falls ที่จะใชซีพียู Skylake-X และ Kaby Lake-X และร่นการผลิต Coffee Lake จากมกราคม 2018 มาผลิตในเดือนสิงหาคม 2017 นี้เลย ขอแยกไฮไลท์ที่ลือกันออกเป็นรุ่นๆ ดังนี้
ที่มา - Digitimes
ในอดีต เราอวดกันว่าคอมพิวเตอร์ของเราใช้ซีพียูรุ่นล่าสุดที่แรงกว่าใคร พอมาถึงในยุคสมัยของคลาวด์ที่เปลี่ยนจากการซื้อเครื่องมาเป็นการเช่าเวลา พฤติกรรมนี้อาจยังคงอยู่เหมือนเดิม
Google Cloud Platform ออกมาประกาศว่าเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ "รายแรก" ที่ใช้ Intel Xeon รุ่นล่าสุดบนสถาปัตยกรรม Skylake (Xeon v5 ตอนนี้ยังเปิดตัวเฉพาะรุ่น E3 แต่กูเกิลจะใช้รุ่นที่สูงกว่าที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้) ช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด และฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างชุดคำสั่ง Intel Advanced Vector Extensions (AVX-512) ประมวลผลข้อมูลทศนิยมขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น
อินเทลเตรียมเปิดตัวซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ Xeon E5 โค้ดเนม Skylake-EP กลางปี 2017 ซึ่งรุ่น E5-2699 V5 จะวางตัวเป็นเรือธงในยุคที่จะถึงนี้ (ต่อจาก E5-2699 V4A) ทว่ามีชิปรุ่นนี้ในแบบตัว Engineering Sample (ES) วางจำหน่ายในเว็บไซต์ Taobao ของจีน ในราคา 26,500 หยวน (ประมาณ 1.36 แสนบาท)
Xeon E5-2699 V5 ตัว ES ตามที่หน้าร้านดังกล่าวระบุ มากับ 32 คอร์ 64 เธรด ที่ความเร็ว 2.10GHz ทำงานบนซอกเก็ต LGA3647 โดยวางตัวชนกับแพลตฟอร์ม AMD Naples ที่เป็นชิปที่พัฒนาบนสถาปัตยกรรม Zen ที่เน้นประสิทธิภาพจากจำนวนคอร์ แต่ยังไม่เปิดตัวเช่นกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ Shad Larsen หัวหน้าฝ่ายวางแผนธุรกิจของไมโครซอฟท์ ได้ออกมาประกาศนโยบายใหม่ของบริษัท หลังจากที่ประกาศเรื่องการปรับให้ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ต้องทำงานบน Windows 10 ได้เท่านั้นไปก่อนหน้านี้ ซึ่งประกาศล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ตัดสินใจขยายระยะเวลาการสนับสนุน Windows 7 และ Windows 8.1 ออกไปเพิ่มเติมแล้ว แต่เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ Skylake เท่านั้น
โดยเรื่องหลักๆ ที่ ไมโครซอฟท์ประกาศออกมามีทั้งหมด 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ
หลังจากไมโครซอฟท์ได้ยืดเวลาการซัพพอร์ต Windows 7/8.1 บนหน่วยประมวลผล Intel Skylake ไปเป็นวันที่ 17 กรกฎาคม 2018 (จากเดิมที่ประกาศไว้ตอนแรก 17 กรกฎาคม 2017)
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้ต่ออายุการซัพพอร์ตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ไปจนเท่ากับอายุการสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 คือวันที่ 14 กรกฎาคม 2020 และ Windows 8.1 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 มกราคม 2023 โดยจะได้รับแพตช์ความปลอดภัยจนกว่าจะถึงวันสิ้นสุดการสนับสนุน
ทั้งนี้ สำหรับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่ๆ จากทั้งฝั่ง Intel Kaby Lake และ AMD Bristol Ridge รวมไปถึงรุ่นใหม่หลังจากนั้น จะรองรับเพียงแค่ Windows 10 เท่านั้น
Colorful ผู้ผลิตเมนบอร์ดและกราฟิกการ์ดรายหนึ่งจากจีนโชว์เมนบอร์ดสำหรับซีพียูช็อกเก็ต LGA1151 อย่าง Skylake ของอินเทล ที่ใช้ชิปเซ็ต B150 และมากับกราฟิกการ์ด GeForce GTX 1070 บนเมนบอร์ดเดียวกันนี้เลย ดูจาก Form Factor แล้วไม่ได้มาในมิติของ ATX, Micro ATX หรือ Mini ITX แต่อย่างใด คาดว่าน่าจะเอาไว้ประกอบเป็นเครื่องแนว NUC ขนาดไม่ใหญ่ และน่าจะกินไฟทั้งระบบราว 180-200 วัตต์ เท่านั้น
ตัวเมนบอร์ดมากับสล็อตแรม DDR4 แบบ SODIMM และสล็อต Mini-PCIE พอร์ต SATA และหัวเสียบพัดลม 3-pin ตามมุมบอร์ดครับ
ที่มา - Extreme Tech
อินเทลเปิดตัว Xeon E3-1500 v5 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผล Xeon ที่ใช้สถาปัตยกรรม Skylake ตัวที่สอง ถัดจาก Xeon E3-1200 ที่เคยเปิดตัวมาก่อนแล้ว
Xeon E3-1500 v5 ชูจุดเด่นเรื่องการประมวลผลกราฟิกและวิดีโอ มาพร้อมกับจีพียู Intel Iris Pro P580 ให้ประสิทธิภาพด้านกราฟิกดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีตัวเร่งประมวลผลวิดีโอ AVC และ HEVC มาให้ในตัว
Xeon E3-1500 v5 มีทั้งหมด 5 รุ่นย่อยคือ E3-1585 รุ่นท็อปสุด ความถี่ 3.5GHz, E3-1585L, E3-1565L, E3-1578L, E3-1558L รายละเอียดแต่ละรุ่นดูตามตารางครับ
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศว่า คนที่ใช้ซีพียู Intel Skylake รุ่นล่าสุด จะสามารถใช้ Windows 7/8.1 ได้ถึงช่วงกลางปี 2017 เท่านั้น หลังจากนั้นไมโครซอฟท์จะหยุดซัพพอร์ต Windows 7/8.1 บน Skylake แล้ว (เพื่อให้คนใช้คอมรุ่นใหม่ๆ ย้ายไปใช้ Windows 10 กัน)
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศนโยบายใหม่ ขยายระยะเวลาซัพพอร์ตให้อีก 1 ปี จากเดิม 17 กรกฎาคม 2017 มาเป็น 17 กรกฎาคม 2018
หลังวันที่ 17 กรกฎาคม 2018 ไมโครซอฟท์จะมอง Windows 7/8.1 บน Skylake ว่าเข้าระยะ extended support และจะออกเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยสำคัญ (critical) เท่านั้น โดยแพตช์ของ Windows 7 จะออกถึงวันที่ 14 มกราคม 2020 และของ Windows 8.1 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2023
ไมโครซอฟท์ยังเตือนให้ลูกค้าที่มีฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ แบบ Skylake ย้ายไปใช้ Windows 10 กันแทน เพราะออกแบบมาให้เข้ากันได้กับ Skylake มากกว่า ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพ แบตเตอรี่ และความปลอดภัย
เดือนที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศข่าวสำคัญว่า ซีพียู Skylake จะรองรับ Windows 7/8 อีกแค่ 18 เดือน จากนั้นจะต้องอัพเกรดไปใช้ Windows 10 สถานเดียว และซีพียูรุ่นหน้าของอินเทลคือ Kaby Lake จะใช้ได้เฉพาะกับ Windows 10 เท่านั้น
ประกาศนี้ส่งผลให้เกิดคำถามว่าแล้วผู้ใช้ Windows Server จะต้องปฏิบัติตามนโยบายเดียวกันหรือไม่ คำตอบออกมาแล้วคือ Windows Server ที่ยังอยู่ในระยะซัพพอร์ต (2008, 2008 R2, 2012, 2012 R2) จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และยังสามารถใช้งานบน Skylake ได้ตามปกติ
ไมโครซอฟท์ใช้เวลาไม่นาน ทำตามสัญญา ออกอัพเดตเฟิร์มแวร์และไดรเวอร์ Intel Skylake แก้ปัญหาการจัดการพลังงานให้ Surface Book และ Surface Pro 4 แล้ว
อัพเดตชุดนี้มีทั้งตัวเฟิร์มแวร์, UEFI, ไดรเวอร์ Intel Precise Touch Device ที่แก้ไขเรื่องการเปลี่ยนสถานะหลับ-ตื่นของตัวอุปกรณ์ แต่ในชุดยังอัพเดตไดรเวอร์อื่นๆ ของ Intel เกือบทุกอย่างไปพร้อมกันด้วยครับ
ใครที่ใช้ Surface Book/Pro 4 สามารถเช็คได้จาก Windows Update ได้แล้ว อัพเดตลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2016
เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เหล่าผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายเจ้า ได้ปล่อย BIOS เวอร์ชันที่สามารถโอเวอร์คล็อกให้กับซีพียูตระกูล Skylake ที่ไม่ใช่ตัว K ได้ ผ่านการปรับ base clock บนเมนบอร์ดชิปเซ็ต Z170
ล่าสุด อินเทลได้ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดปิดช่องทางนี้แล้ว ผ่านการอัพเดต BIOS พร้อมเผยว่า บริษัทไม่แนะนำให้โอเวอร์คล็อกกับซีพียูที่ไม่ได้รองรับการทำเช่นนี้ และจะไม่อยู่ในประกันหากเกิดปัญหาขึ้นมา
ที่มา - PC World
หลังจากปล่อยซีพียูตระกูล Core สายพันธุ์ลำดับที่ 6 ในชื่อ Skylake ให้ผู้ใช้กลุ่มอื่นได้ใช้กันตั้งแต่ปีกลาย ล่าสุดอินเทลเข็นชิปตระกูลนี้ในกลุ่มพีซีธุรกิจออกมาแล้ว เช่นพวกตระกูล vPro ซึ่งเพิ่มความแตกต่างจากรหัสปกติตรงที่จะมี Intel Authenticate ฟังก์ชั่นใหม่เน้นความปลอดภัยของตัวเครื่องและองค์กร รองรับแล้วทั้งกลุ่มชิปบนพีซีแล็ปท็อป อัลตร้าบุ๊ก ทูอินวัน ออลอินวัน และเดสก์ทอป
หลังจากข่าวหน่วยประมวลผลตระกูล Skylake พบปัญหาหยุดทำงานเมื่อประมวลผลแบบซับซ้อน ซึ่ง Intel ก็ได้ออกมายอมรับแล้ว และเตรียมแก้ไขปัญหาด้วยการอัพเดตผ่าน BIOS
ล่าสุด MSI หนึ่งในผู้ผลิตเมนบอร์ดที่ใช้กับหน่วยประมวลผลนี้ ได้เริ่มออกอัพเดต BIOS ให้กับเมนบอร์ดรุ่น Z170A XPower Gaming Titanium Edition และ Z170A Gaming M7 พร้อมสัญญาว่าเมนบอร์ดรุ่นอื่นๆ จะตามมาทีหลัง
ที่มา - OC3D
Microsoft ชี้แจงการสนับสนุน Windows 7/8.1/10 ในอนาคต ดังนี้