ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 25967 (Canary Channel) มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือถอดฟีเจอร์ Cortana ออกเป็นการถาวรแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศในเดือนมิถุนายน 2023 ว่าหยุดรองรับ Cortana บนระบบปฏิบัติการ Windows เพื่อเปลี่ยนมาเป็น Windows Copilot แทน ส่วน Cortana บนมือถือนั้นหยุดพัฒนามาตั้งแต่ปี 2020 แล้ว
เว็บไซต์ Neowin รายงานว่า Windows 11 Insider Preview Build 25905 ตัวใหม่ล่าสุดใน Canary Channel เปิดให้ผู้ใช้สามารถถอนการติดตั้ง Cortana ออกได้เองแล้ว โดยคลิกที่ชื่อแอพแล้วเลือก Uninstall ได้ตามปกติเหมือนแอพทั่วไป จากเดิมที่ไม่สามารถทำได้เพราะถือว่า Cortana เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ
ทิศทางของไมโครซอฟท์นั้นประกาศออกมาชัดๆ ว่าหยุดสนับสนุน Cortana แล้ว เพื่อเตรียมเปลี่ยนมาใช้ Windows Copilot แทน
ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดการสนับสนุน Cortana ระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ บน Windows 10 และ Windows 11 ภายในปี 2023 นี้ ซึ่งข่าวนี้อาจไม่แปลกใจมากนัก เพราะสัปดาห์ก่อนไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัว Windows Copilot ฟีเจอร์ผู้ช่วย AI ใน Windows 11 ที่น่าจะมาแทน Cortana
ทั้งนี้ไมโครซอฟท์บอกว่าผลกระทบจะมีเฉพาะ Cortana ใน Windows เท่านั้น (ในตอนนี้) แต่ Cortana ใน Microsoft 365 ยังคงใช้งานได้ทั้งใน Outlook mobile, Teams mobile, Microsoft Teams display และ Microsoft Teams room
Sandeep Paruchuri อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ Big Bets เล่าถึงประวัติการพัฒนา Cortana แอปผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งเปิดตัวพร้อมกับ Windows Phone 8.1 ที่ตอนนี้ไมโครซอฟท์ได้ลดบทบาทความสำคัญลง
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Scheduler ช่วยดูตารางนัดของคนในองค์กร แล้วหาเวลาว่างที่ตรงกันมาจัดสล็อตประชุม
ไมโครซอฟท์บอกว่าพนักงานองค์กรเสียเวลากับการนัดประชุมเฉลี่ย 6-29 นาที กว่าจะหาเวลาที่เหมาะสมมานัดประชุมกันได้ จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ Scheduler มาเพื่อแก้ปัญหานี้
ตัว Scheduler เป็นบริการฝั่ง backend แต่ก็สามารถเชื่อมต่อกับ Cortana ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นบริการฝั่งองค์กร เพื่อทำงานเป็น frontend ให้ช่วยหาตารางประชุมได้ง่ายขึ้น เพียงแค่พูดว่า
ชะตากรรมของ Cortana อับเฉามาสักพักใหญ่ๆ และไมโครซอฟท์ก็เคยประกาศปรับทิศทาง Cortana มาเน้นภาคธุรกิจแทนคอนซูเมอร์ มาก่อนแล้ว
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดให้บริการ Cortana ฝั่งคอนซูเมอร์หลายด้าน ดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวแอพ Cortana ตัวใหม่ของ Windows 10 พร้อม Windows 10 May 2020 Update (v2004) ที่เปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อคืนนี้
ไมโครซอฟท์โชว์แอพตัวใหม่มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยปรับทิศทางของ Cortana ใหม่ 2 เรื่องคือ เน้นการพิมพ์คุยแทนการสั่งงานด้วยเสียง (ที่ไม่ค่อยมีใครใช้) และโฟกัสลูกค้าธุรกิจ Microsoft 365 แทนลูกค้าคอนซูเมอร์ (รายชื่อฟีเจอร์ทั้งหมด)
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศทิศทางใหม่ของ Cortana ว่าจะโฟกัสงานฝั่งธุรกิจ และตัดฟีเจอร์คอนซูเมอร์อย่างการสั่งเล่นเพลงหรือสมาร์ทโฮมออก
ล่าสุด Petri เว็บไซต์สายข่าวไมโครซอฟท์ ให้ข้อมูลวงในว่าตอนนี้เอกสารของไมโครซอฟท์เอง ใช้คำว่า "Microsoft 365 assistant" แทนคำว่า Cortana แล้ว แม้ไมโครซอฟท์ยังไม่ประกาศเรื่องการรีแบรนด์อย่างเป็นทางการในตอนนี้
Petri ยังบอกว่าไมโครซอฟท์กำลังพัฒนา Microsoft 365 assistant ให้เชื่อมโยงกับ Microsoft Teams มากขึ้น เช่น การสั่งให้ส่งไฟล์ แชท หรือนำเสนอในการประชุม เป็นต้น
ที่มา - Petri
Microsoft ได้ประกาศแผนของ Cortana ว่าจะเริ่มเน้นกลุ่มลูกค้า Office 365 แทนกลุ่มคอนซูเมอร์ที่ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเข็นไม่ขึ้น ซึ่งตามทิศทางนี้ทำให้ Microsoft เตรียมถอด Cortana ออกจากแอป Launcher บน Android แล้ว
Microsoft ระบุว่าทางบริษัทจะยกเลิกบริการ Cortana สำหรับ Launcher บน Android ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ ส่วนทางฝั่ง Windows ระบบ Cortana จะยังให้บริการต่อไป และจะเน้นฟีเจอร์ฝั่ง Office 365 จึงต้องถอด skill และฟีเจอร์ฝั่งคอนซูเมอร์ออก รวมถึงเลิกซัพพอร์ต Cortana สำหรับ Windows 10 ที่หมดช่วง end-of-services ซึ่งถ้าผู้ใช้ต้องการใช้งาน Cortana จะต้องอัพเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด
ไมโครซอฟท์ประกาศทิศทางใหม่ของ Cortana ที่หันไปเน้นลูกค้าองค์กร (ผูกกับ Microsoft 365) แทนตลาดคอนซูเมอร์เดิมที่เข็นไม่ขึ้น
Cortana เวอร์ชันใหม่ใช้ฐานจากแอพเวอร์ชันใหม่ที่เน้นพิมพ์คุยมากกว่าใช้เสียงพูด ฟีเจอร์เน้นไปที่การใช้งานเชิงธุรกิจ เช่น นัดหมาย อีเมล ตารางงานที่ต้องทำ
ฟีเจอร์เดิมของ Cortana ที่ถูกตัดออกไปเป็นด้านคอนซูเมอร์ เช่น เปิดเพลง, เชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม หรือ skill ของนักพัฒนาภายนอก ส่วนฟีเจอร์เดิมที่ยังคงใช้ได้อยู่คือฟีเจอร์สายข้อมูล เช่น หาข้อมูลจาก Bing, เปิดแอพ ตั้งค่าแอพ เป็นต้น
ASUS เปิดตัวโน้ตบุ๊กสำหรับธุรกิจในงาน CES 2020 ใช้ชื่อ ExpertBook B9450 เป็นโน้ตบุ๊กภายใต้ Project Athena ของ Intel น้ำหนัก 865 กรัม หนา 14.9 มิลลิเมตร ใช้งานต่อเนื่องนานสุด 24 ชั่วโมง มีไฟหน้าเครื่องสำหรับแจ้งการทำงานของซอฟต์แวร์ผู้ช่วย อย่าง Microsoft Cortana หรือ Amazon Alexa
ตัวเครื่องของ ASUS ExpertBook B9450 เป็นแมกนีเซียม ดีไซน์ให้เมื่อกางเครื่องออก ส่วนท้ายจอจะยกโน้ตบุ๊กเฉียงขึ้นเล็กน้อยช่วยให้พิมพ์สะดวกขึ้น ผ่านการทดสอบ MIL-STD 810G ด้านการสั่นสะเทือน, ตกกระแทกพื้นและอุณหภูมิที่สูงและต่ำกว่าปกติ ติดตั้งชิปรักษาความปลอดภัยของข้อมูล Trusted Platform Module 2.0 (TPM) ไว้ในเครื่อง
ASUS ExpertBook B9450 มีสีดำ วางขายในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 แต่ยังไม่ประกาศราคา ส่วนสเป็กมีดังนี้:
Harman Kardon Invoke เป็นลำโพงอัจฉริยะที่ Harman Kardon ร่วมมือกับไมโครซอฟท์และวางขายเมื่อปี 2017 ล่าสุดเกิดบั๊กจนผู้ใช้ไม่สามารถสั่ง Cortana ในลำโพง Harman Kardon Invoke เช่นตั้งเวลาแจ้งเตือนหรือเพิ่มรายการเข้าปฏิทินอย่างที่เคยทำได้
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผู้ใช้ไม่สามารถสั่ง Cortana ให้ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่นการตั้งปฏิทินหรือเพิ่มรายการจดบันทึกได้ นอกจากนี้ผู้ใช้บางคนยังเรียก Alexa ให้เรียก Cortana ไม่ได้ด้วย (แต่ยังใช้งาน Cortana ในคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ แปลว่าปัญหาไม่ได้มาจากตัว Cortana เอง) ในตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
ที่มา: MSPoweruser
ไมโครซอฟท์ระบุในเอกสาร Cortana Support ของประเทศต่างๆ นอกสหรัฐอเมริกา ว่าจะปิดแอพ Cortana บนสมาร์ทโฟน Android/iOS ในวันที่ 31 มกราคม 2020
เอกสารของไมโครซอฟท์ระบุว่าจะผนวก Cortana เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft 365 แทน ไม่มีแอพแยกอีกต่อไป (ตัวอย่างล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวคือ Outlook เพิ่มฟีเจอร์ Cortana อ่านอีเมลให้ฟัง) ส่วนแอพ Cortana บน Windows ที่เพิ่งยกเครื่องใหม่ ยังได้ไปต่อ แต่ก็เน้นการแชทมากกว่าการสนทนาด้วยเสียง
การตอบอีเมลปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน กลายเป็นสิ่งที่พนักงานออฟฟิศยุคนี้ต้องเผชิญ ล่าสุดไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้ Outlook สามารถใช้ Cortana ช่วยอ่านอีเมลให้เราฟังได้ เหมาะสำหรับการเคลียร์อีเมลระหว่างขับรถหรือนั่งรถไปทำงาน
ฟีเจอร์นี้มีชื่อเรียกว่า Play My Emails เริ่มใช้ได้แล้วกับ Outlook for iOS ก่อน (เวอร์ชัน Android กำลังตามมา) โดย Cortana จะสรุปให้เราฟังว่ามีตารางนัดหมายอะไร มีอีเมลจากใคร เรื่องอะไรบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร โดย personalized ตามรูปแบบการใช้งานของเรา แถมเราสามารถสั่งงานบอก Cortana ให้ปักธง (flag) อีเมลฉบับนั้น หรือตอบเมลตามเสียงพูดของเราได้ทันที
บริการ "ปัญญาประดิษฐ์" สามารถสร้างบริการใหม่ๆ เช่น การแปลงเสียงเป็นข้อความ, รับคำสั่งให้คอมพิวเตอร์, และแปลภาษาอัตโนมัติ แต่ช่วงหลังกลับมีการเปิดโปงว่าบริการเหล่านี้ที่จริงแล้วใช้มนุษย์ทำงานอยู่เบื้องหลังบางส่วน ล่าสุดเว็บไซต์ Motherboard ก็ระบุว่าได้เอกสารที่แสดงให้เห็นว่า Cortana และ Skype ของไมโครซอฟท์ก็ใช้คนฟังเสียงเหมือนกัน
ทาง Motherboard ระบุว่าได้เอกสารเหล่านี้จากพนักงานสัญญาจ้างของไมโครซอฟท์ โดยทางเว็บไซต์ไม่เปิดเผยตัวตนของพนักงานผู้นี้เพราะเขาเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูลกับไมโครซอฟท์เอาไว้
ประเด็นการใช้พนักงานฟังบริการข้อความเสียงเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ยังมีมาเรื่อย ๆ ล่าสุด มีพนักงานสัญญาจ้างของไมโครซอฟท์รายหนึ่ง ออกมาเปิดเผยกับเว็บไซต์ Motherboard ว่า เขาได้รับมอบหมายงานตรวจสอบไฟล์เสียงที่มีการพูดคุยโดยใช้เครื่องแปลภาษาผ่าน Skype ตลอดจนข้อความที่ส่งไปยังบริการผู้ช่วย Cortana
เรื่องราวนี้คล้ายคลึงกับกรณีของ กูเกิล แอปเปิล และ Amazon โดยพนักงานดังกล่าวบอกว่าข้อมูลเสียงที่ได้ยินนั้นมีทั้งข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ สิ่งที่ให้ Cortana เสิร์ชหาเป็นต้น แต่ไฟล์เสียงนั้นไม่ได้ระบุว่าเป็นของผู้ใช้งานคนใด
หลังจาก ไมโครซอฟท์จับแยก Cortana ออกจาก Search บน Windows 10 ล่าสุดก็ออก Windows 10 Insider Preview Build 18945 (20H1) ที่มี Cortana เวอร์ชันยกเครื่องใหม่ เน้นการแชทมากกว่าการสนทนาด้วยเสียง
หน้าตา UI ของ Cortana ตัวใหม่จะคล้ายๆ Google Assistant บนสมาร์ทโฟน ที่เน้นการแชทคุยด้วยข้อความเป็นหลัก แต่ก็ยังรองรับการสนทนาด้วยเสียงเช่นเดิม
ไมโครซอฟท์ยอมรับว่า Cortana เวอร์ชันใหม่ยังมีฟีเจอร์บางอย่างน้อยกว่า Cortana ตัวเดิม (แต่ฟีเจอร์หลักๆ อย่างการสั่งงานด้วยเสียงเพื่อเปิดแอพ ถามคำถาม ตั้งเวลา ยังอยู่กันครบ) และจะค่อยๆ เพิ่มฟีเจอร์อื่นเข้ามาในอนาคต โดยจะเป็นการอัพเดตผ่าน Microsoft Store ไม่ต้องรอรอบการอัพเดตของ Windows อีกต่อไป
Cortana ดูจะเป็นผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สังเกตได้จากช่วงหลังที่ไมโครซอฟท์ลดความสำคัญของมันลงมาก ล่าสุดใน Windows 10 ก็จับแยก Search และ Cortana ออกจากกัน และเตรียมถอด Cortana ออกจากแกนของ Windows ให้ไปดาวน์โหลดแยกกันเอง
อนาคตของ Cortana บน Xbox One ก็ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะซอฟต์แวร์ Xbox เวอร์ชันล่าสุดก็ถอดฟีเจอร์ Cortana ออกจาก Xbox อย่างถาวร ผู้ใช้จะไม่สามารถคุยกับ Cortana โดยตรงใน Xbox ได้อีกต่อไป แต่ยังสามารถสั่งงาน Xbox ด้วยเสียงได้ผ่านแอพ Cortana บนมือถือ (ซึ่งทำได้กับแอพสาย Alexa เช่นกัน)
Microsoft พยายามรวมระบบผู้ช่วยส่วนตัว Cortana เข้ากับ Windows 10 เพื่อผลักดันการใช้งานมาโดยตลอด แต่ความพยายามดูเหมือนจะไม่เป็นผล จนทำให้ Microsoft ถอด Cortana ออกจากกล่องค้นหาบน Windows 10 แล้ว
ท่ามกลางการแข่งขันของผู้ช่วยอัจฉริยะ 3 ค่ายใหญ่อย่าง Google Assistant, Alexa และ Cortana ที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดว่า Cortana ของไมโครซอฟท์ตามคู่แข่งไม่ทันและแทบจะแพ้ในสนามนี้ไปกลายๆ แล้ว จนมีการวิเคราะห์ว่าไมโครซอฟท์อาจจะถึงขึ้นเลิกทำเลยด้วยซ้ำ
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ออกมาแสดงทัศนะเรื่องนี้เป็นครั้งแรก เกี่ยวกับมุมมองและยุทธศาสตร์ของบริษัทที่มีต่อ Cortana ในเชิงกึ่งๆ ยอมแพ้ว่า ไม่ได้มอง Cortana เป็นคู่แข่งของ Alexa และ Google Assistant อีกแล้ว พร้อมยอมรับการแข่งขันด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (ลำโพง+ผู้ช่วยอัจฉริยะ) ค่อนข้างท้าทายมาก
ความพยายามรวม Search กับ Cortana ของไมโครซอฟท์ดูจะล้มเหลว ล่าสุดใน Windows 10 Insider Preview Build 18317 (19H1) มันถูกจับแยกออกจากกันแล้ว
ไมโครซอฟท์อธิบายว่ารูปแบบการใช้งาน Search กับ Cortana เป็นคนละอย่างกัน มีกลุ่มเป้าหมายต่างกัน โดย Search เป็นเรื่องการค้นหาข้อมูล ส่วน Cortana คือการสั่งงานด้วยเสียง การจับแยกออกมาจะช่วยให้ตรงกับการใช้งานมากขึ้น และไมโครซอฟท์ยังแยกส่วน Settings ของทั้งสองออกจากกันด้วย
Loup Ventures บริษัทลงทุนในด้านการวิจัยได้จัดการทดสอบวัดความสามารถของผู้ช่วยอัจฉริยะ 4 รายได้แก่ Google Assistant, Siri, Alexa และ Cortana ซึ่ง Google Assistant ก็ยังคงสามารถตอบคำถามได้มากที่สุดและเข้าใจทุกคำถามได้เหมือนเดิม ไม่แตกต่างจากการทดสอบเมื่อกลางปี
ระเบียบวิธีทดสอบยังคงเหมือนเดิมคือ ถามคำถาม/คำสั่งทั้งหมด 800 ชุดแก่ผู้ช่วยอัจฉริยะแต่ละตัว แบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ได้แก่ ข้อมูลในท้องที่ต่างๆ (Local), สั่งของออนไลน์ (Commerce), นำทาง (Navigation), ข้อมูลทั่วไป (Information) และคำสั่ง (Command) โดยรอบนี้ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ทั้งลำโพงที่ใช้สั่งงาน รวมถึงสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ในบ้านก็หลากหลายมากขึ้น
เว็บไซต์ Computerworld มีบทวิเคราะห์ว่า ไมโครซอฟท์น่าจะเลิกทำผู้ช่วยส่วนตัว Cortana ในไม่ช้า
เหตุผลคือ Cortana ตามหลังคู่แข่งไกลมาก ในกลุ่มของผู้ช่วยส่วนตัวบนลำโพงอัจฉริยะ Alexa และ Google Assistant นำไปไกลมากในแง่ยอดขาย ในขณะที่ Cortana มีลำโพงแค่รุ่นเดียวคือ Harman Kardon Invoke ที่วางขายเมื่อปีที่แล้ว และไม่มีใครพูดถึงอีกเลย
ฝั่งของมือถือก็ไม่ต่างกัน เพราะ Windows Phone/Mobile ถือว่าล่มสลายลงไปแล้ว ไม่มีระบบปฏิบัติการมือถือที่ผูกกับ Cortana อีกแล้ว ตรงนี้ต่างจากฝั่งแอปเปิลที่ยอดขาย HomePod ก็ไม่เยอะนัก แต่ Siri ยังพอเอาตัวรอดไปได้จากฐานผู้ใช้ iOS จำนวนมาก
Microsoft ออกอัปเดตให้ Microsoft Launcher รุ่น 5.1 ให้กลุ่มทดสอบแล้ว โดยในรุ่นนี้มีของใหม่หลายอย่าง
Xbox One ปล่อยอัพเดตใหญ่ October 2018 มีฟีเจอร์เพิ่มมาหลายอย่าง ดังนี้
ที่มา - Xbox Wire