ออกมาอย่างเงียบๆ เมื่อหลายวันก่อน จากบันทึกการเปลี่ยนแปลงของรุ่นอัปเดต การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นการแก้บั๊กตัวเล็กๆ ในส่วนแสดงผล
จากแหล่งข่าวเก่าๆ เป็นที่คาดกันว่าอัปเดตใหม่ๆ จากรุ่นนี้ไป ซันจะเริ่มแคมเปญโปรโมตให้ผู้ใช้ทั่วไปเปลี่ยนมาใช้ JRE 6 มากขึ้น
ที่มา - SDN
ทีมงาน Grails จัดทำเบนช์มาร์กทดสอบสมรรถภาพการใช้งาน Grails เทียบกับ Rails ขึ้น ผลลัพธ์เป็นไงลองเดาดูครับ : )
Grails เป็นเฟรมเวิร์กที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Rails แต่เกิดมาเพื่อ Groovy ที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์ม แม้ Grails ยังใหม่มากเมื่อเทียบกับ Rails ทั้งในแง่ของอายุ และเรื่องความใส่ใจด้านสมรรถภาพการทำงาน แต่ทีมงาน Grails ก็หาญกล้าอยากวัดรอยเท้ากับผู้จุดประกายของตัวเอง
การทดสอบเป็นการวัดสมรรถภาพของการทำงาน CRUD ของเฟรมเวิร์ก ในแง่ของความเร็วและความสามารถในการให้บริการ โดยใช้การยิง request พร้อมๆ กันทีละ 50 ตัวเข้าไปจนครบ 1000 ตัวเพื่อดูความเร็วการตอบสนอง
Nimbus L&F (Look & Feel) ตัวใหม่ของจาวาออกสเป็กแบบร่างแล้วครับ
อัปเดตข่าวเพิ่มเติมจากคราวที่แล้ว ผมว่าน่าจะมีบางคนที่สนใจสเป็กตัวนี้บ้าง แม้ตัวสเป็กยังอยู่ในขั้นตอนร่างเบื้องต้นเท่านั้น ที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ความสวยงามของ L&F อย่างเดียว แต่รวมทั้งการให้รายละเอียดในสเป็กสำหรับส่วนต่อประสานกราฟิกที่ไม่ได้เจอกันบ่อยๆ
ที่มา - Nimbus Project
ประเด็นมันเริ่มจากข่าวเก่า กรณี JBoss จับมือกับ Exadel แล้วโอเพนซอร์สเครื่องมือพร้อมกับชุด JSF ทั้งหมดของ Exadel ในรูปแบบไลเซนส์ GPL
การเปิด GPL ครั้งนี้เป็นไปอย่างตั้งใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ JBoss ต้องการจะเอาคืนสิ่งที่ MyEclipse ได้ทำไว้กับ Hibernate Tool ปลั๊กอินโอเพนซอร์สของ JBoss ที่ MyEclipse เอาไปแก้ไขแล้วรวมเข้ากับชุดเครื่องมือเพื่อการค้าของตัวเอง
Dojo Javascript Toolkit เป็น javascript Toolkit ที่กำลังมาแรง ได้รับทุนสนับสนุนจาก Sun , IBM ,Aol
ผมรอมานานเนื่องจาก 0.4.1 มี bug ไม่ compatibleกับ IE6/7 บางส่วน (แต่สนับสนุนกับ firefox แทบจะ 100%)
Feature ใหม่ของ version นี้ -Creating a Custom Distribution ทำให้ไม่ต้องโหลด library ที่ไม่เกี่ยวข้อง set เป็น profile ได้ -Cross Domain Resource Loading โหลด library dojo จากเว็บชาวบ้านมาแล้วไม่ต้องมาโหลดของเราอีก
ที่มา Dojo
ข้อดีของเว็บเซอร์วิสคือสามารถทำให้โปรแกรมต่างภาษา ต่างแพลตฟอร์ม ติดต่อทำงานร่วมกันได้ เว็บเซอร์วิสหนึ่งที่พัฒนาโดยคนไทยคือเว็บเซอร์วิสของ ปตท ซึ่งอยู่ที่ http://www.pttplc.com/pttinfo.asmx โดยที่มีเอกสารที่อธิบายเว็บเซอร์วิส (WSDL) อยู่ที่ http://www.pttplc.com/pttinfo.asmx?WSDL
ี่เว็บเซอร์วิสของ ปตท พัฒนาโดยใช้ Microsoft .NET แต่ เราสามารถที่จะเขียนโปรแกรมทั้งในภาษา Java และ ภาษา PHP เพื่อดูราคาน้ำมันในปัจจุบันได้
// file call_pttws1.php
งาน Desktop Matter จบลงแล้ว ช่วงนี้งานสัมนาจาวาที่น่าสนใจค่อนข้างชุม ในงานมีการประกาศยั่วน้ำลายให้รู้จัก Nimbus ซึ่งจะเป็นโอเพนซอร์ส L&F (Look and Feel) ตัวใหม่ ชนิดทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม และมีความเป็นไปได้สูงจะกลายเป็นจาวา L&F ตั้งต้นมาตรฐานตัวต่อไปในอนาคต
เดิมที Nimbus เป็นเพียง GTK theme ที่ใช้ใน OpenSolaris เท่านั้น แต่ในงาน Desktop Matter คุณ Ben Galbraith ประกาศว่า ซันจะพอร์ต Nimbus มาเป็น Swing L&F ที่ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มตัวต่อไป ดูตัวอย่าง Nimbus แล้ว คนแถวนี้ที่เกลียด Metal/Ocean คงจะรู้สึกดีขึ้นบ้าง :)
กูเกิล Guice (อ่านออกเสียงเหมือน Juice) เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กที่โดดร่วมเข้าแข่งขันในสนาม IoC เฟรมเวิร์ก โดยมีไอเดียคือใช้แต่ annotation ล้วนๆ
IoC (Inversion of Control) หรืออีกชื่อที่เท่กว่า dependency Injection กลายเป็นแบบรูปที่ฮิตติดลมบน ตั้งแต่ Rod Johnson นำเสนอ Spring ซึ่งเป็นทางเลือกที่แตกต่างจาก JavaEE 4 แต่ Spring โตมาในยุคที่ใครๆ ก็ใช้ XML ในการทำคอนฟิคไฟล์
การมาของ Java 5 ได้ทิ้งมรดกที่สำคัญหลายอย่างไว้ หนึ่งในนั้นคือ annotation การใช้ annotation โผล่มาได้จังหวะที่คนทนไม่ไหวกับ XML พอดี และการนำ annotation มาใช้แก้เกมใน Java EE 5 ช่วยลดขั้นตอน เป็นอะไรที่ตรงตัวและช่วยให้การทำงานเป็นสามัญสำนึกมากขึ้น
ข่าวดีจากงาน EclipseCon อีกแล้ว คราวนี้ออราเคิลประกาศโอเพนซอร์ส TopLink ORM ให้ Eclipse เป็นผู้ดูแลแบบยกกระบิแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น EclipseLink ส่วน TopLink จะเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ออราเคิลไว้อินทริเกรตใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ในเครือของตัวเอง
JBoss และ Exadel ประกาศพันธมิตรต่อกันในงาน EclipseCon โดยเครื่องมือ Exadel Studio Pro จะรวมเข้ากับ JBossIDE และประกาศชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า RedHat Developer Studio
ข่าวนี้ทำผมแทบช็อก! Exadel Studio Pro เป็นหนึ่งใน Eclipse ปลั๊กอินเพื่อการค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีเครื่องมือพัฒนาครบวงจรสำหรับ (Spring, Struts, Hibernate, JSF, Facelet, Shale, AJAX) ส่วน JBossIDE ก็เป็นโอเพนซอร์สปลั๊กอินพัฒนา Hibernate, jBPM , AOP tools ต่างๆ โดยเครื่องมือทั้งสองจะรวมกันและใช้ชื่อใหม่ว่า RedHat Developer Studio โดยมีไลเซนส์เป็น GPL
ออกมาแล้วสำหรับ Apache Tomcat 6 Web Server และ Servlet Container แบบโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสำหรับการพัฒนาระบบด้วย Java โดยมีความสามารถใหม่ๆ ดังนี้
ใครสนใจก็ไปดาวน์โหลดที่ Apache ได้นะครับ อย่าลืมด้วยว่ามันทำงานกับ J2SE 5.0 ขึ้นไปเท่านั้นด้วย
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีก่อน Struts นับเป็นเว็บ MVC เฟรมเวิรกที่เป็นทางเลือกหลักของนักพัฒนา ในยุครุ่งเรืองสมัยนั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะหาเฟรมเวิรกตัวอื่นมาเทียบเคียงต่อกรได้ แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Struts เข้าสู่ยุคเสื่อมความนิยมอย่างรุนแรงอันเนื่องจากปัญหาการออกแบบที่สะสมมานานตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม เกิดการแข็งข้อในหมู่นักพัฒนาอย่างแพร่หลาย เฟรมเวิรกใหม่ๆ มากกว่า 20 ชื่อผุดขึ้นราวดอกเห็ด ต่างก็พยายามนำเสนอแนวคิดจุดเด่นของตัวเองเพื่อแย่งชิงตลาดและความนิยม อ่านต่อ...
IBM developerWorks มีบทความคาดการณ์แนวโน้มจาวาในปี 2007 สรุปคร่าวๆ มาบางส่วน
ในที่สุด WebLogic Server 10 Technology Preview ของ BEA หนึ่งใน Top 2 ของ Java EE ก็ผ่านการรับรองว่าสนับสนุน Java EE 5 ตาม JBoss Application Server 5.0 ไปอีกตัวแล้ว
สำหรับเวอร์ชั่น 10 นี้มีความสามารถใหม่ๆ มากมายเช่น ระบบจัดการเวลาใช้ jar ที่เวอร์ชั่นไม่เข้ากัน และ Kodo ที่เป็น JDO ของ BEA เอง เป็นต้นครับ
ที่มา - TheServerside.com
หลายคนที่มีอาการ "อาหารแช่แข็งไม่อร่อย" กับจาวาคงไม่คุ้นเคยกับรูปโลโก้เริ่มต้น Applet แบบปัจจุบันนัก เพราะจะว่าไปแล้วมันเพิ่งมีใน Java 5 นี่เอง
มาวันนี้ไม่ทันไรซันเตรียมออกโลโก้เริ่มต้นแบบใหม่ซะแล้ว สีส้มสดใส ดูโฉบเฉี่ยวกว่าเดิมเยอะ นอกจากนี้หากไม่พอใจ นักพัฒนาสามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนรูปโลโก้ตามต้องการได้ โดยโลโก้นี้จะเริ่มใช้ใน Java 6 update 1 ที่จะออกในอนาคต และใน Java 7
ชั่วโมงนี้ RIA แอพลิเคชันหลายเจ้าก็ทะยอยออกมาให้เราเห็นมากขึ้น ที่เว็บคอมพิวเตอร์เวิรลด์ได้จัดทำบทวิจารณ์ชุดเครื่องมือออฟฟิซออนไลน์ที่ให้บริการฟรีเจ้าต่างๆ ในตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย Ajax13 เจ้าของ AjaxWrite, Google Docs & SpreadSheet, ThinkFree, Zoho
เป็นบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างละเอียด โดยมีประเด็นให้คำนึงหลายจุดด้วยกัน เช่น ความเร็วในการตอบสนองกับผู้ใช้ของโปรแกรม ความสามารถในการให้บริการ ความร่ำรวยความสามารถของโปรแกรมเมื่อเทียบกับชุดออฟฟิซออฟไลน์ ความเข้ากันได้กับเอกสารไมโครซอฟต์ออฟฟิซ ความสามารถของโปรแกรมในการติดต่อกับบริการออนไลน์อื่นๆ เช่น บริการฝากไฟล์ แบ่งปันเอกสาร เป็นต้น
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า Prototype นั้นเริ่มเป็นที่นิยมในบรรดา JavaScript Library ทั้งหลาย แต่สำหรับ Java programmer แล้ว การใช้ Prototype เป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อยครับ พอดีไปเจองานของ Jason Bell ออก alpha release ของ JSP Tag library ใหม่ใน sourceforge.net ตั้งชื่อว่า "prototaglib" เห็นชื่อก็คงเดาออกว่าเป็น JSP tag library สำหรับเรียกใช้ prototype
การทำงานเจ้าตัวคุยว่าเหมือน Ruby On Rails แถมมี screencast แสดงตัวอย่างคล้ายๆกับตัวอย่างยอดนิยมของ Ruby on Rails ออกมาบนเว็ปไซต์ด้วย เป็นการสร้าง web application ทั้งตัวโดยใช้ Flickr API โดยทำงานทั้งหมดบน NetBeans IDE ใช้เวลาสร้าง web application ตัวอย่างนี้แค่ 6 นาที
ในปัจจุับันเราจะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ดังนั้นนักพัฒนาโปรแกรมจำเป็นจะต้องเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรม XML parser ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าไปอ่าน แก้ไข และสร้างข้อมูลในภาษา XML ในช่วงแรก DOM (Document Object Model) และ SAX (Simple API for XML) เป็น API ที่คนนิยมใช้กัน แต่ทั้ง 2 ตัวมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันคนละแบบ ข้อดีของ DOM คือใช้ง่าย แต่ต้องการพื้นที่หน่วยความจำเยอะ ในขณะที่ SAX ใช้ยาก และทำงานได้เร็ว และไม่ได้ต้องการพื้นที่หน่วยความจำเยอะ
มาได้จังหวะ codenone.com เตรียมเปิดตัว ในที่สุด Groovy ได้ฤกษ์เปิดตัวรุ่น 1.0 ซะที หลังจากรอมานานหลายปี
Groovy เป็นภาษาพลวัตออกแบบมาสำหรับจาวาโดยเฉพาะ ได้รับแรงบันดาลใจจาก Python, Ruby, Smalltalk เป็นตัวจุดประกาย โค้ดที่ถูกคอมไพล์แล้วจะกลายเป็นจาวาไบต์โค้ดทำให้สามารถทำงานและสื่อสารร่วมกับจาวาโปรแกรมได้อย่างไม่มีปัญหา
are you Groovy?
ที่มา - Groovy
Charles Ditzel ผู้เชี่ยวชาญด้าน Java ของ Sun (ทำหน้าที่ช่วย partners ของ Sun ในเรื่องการใช้ Java) ได้สรุปข่าวใหญ่เกี่ยวกับ Java ในปีที่ผ่านมาไว้ 10 เรื่องอย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้
ประกาศโอเพนซอร์สได้ซักระยะ ก็ได้เวลาเปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดกันสักที
Java ตัวแรกที่เปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดกลับเป็น Java ME ไม่ใช่ Java SE แต่อย่างใด โดยซันใช้ชื่อโครงการโอเพนซอร์ส Java ME ว่า phoneME (คาดว่าติดประเด็นเครื่องหมายการค้า)
phoneME จะแบ่งเป็น MR (Milestone Release) และ DR (Development Release) โดยปัจจุบันออกถึง MR2 ซึ่งก็ยังมีรุ่นปกติและรุ่น advance แยกให้ดาวน์โหลด แพลทฟอร์มที่สนับสนุนคือ Windows/x86, Linux/x86 และ Linux/ARM
ที่มา - Slashdot
หลังจากอยู่ในกระบวนการทดสอบมานานพอควร ซันก็ตัดสินใจปล่อย Java SE 6 ออกมาเสียที เรื่องฟีเจอร์ต่างๆคงมีการพูดกันไปบ่อยแล้ว โดยส่วนปรับปรุงหลักๆ ในเวอร์ชันนี้จะเป็นการปรับปรุงการจัดการส่วนเดสก์ท็อป โดยมี API เพิ่มตรงจุดนี้หลายส่วน และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ ที่ซันการันตีว่าเร็วกว่าเดิม
ของใหม่ที่น่าสนใจที่เพิ่มเข้ามาอีกอันคือ ในเวอร์ชันนี้เราสามารถพัฒนาโค้ดบางส่วนด้วย Scripting Language ซึ่งจะทำให้พัฒนางานบางอย่างได้รวดเร็วกว่าเดิม โดยภาษาที่สนับสนุนตอนเริ่มแรกนี้จะเป็น JavaScript ส่วนภาษาอื่นๆอย่าง Python, Perl ซํนแอบเพิกเฉย แล้วบอกว่าให้ไปทำปลั๊กอินเพิ่มกันเอาเอง ใครสนใจพัฒนาไปดูได้ืที่ Scripting Project
จากที่ช่วงนี้กระแสภาษาสคริปต์มาแรงทั้ง Ruby และ Python ซันเลยนำ Groovy มาปัดฝุ่นอีกครั้งหลังทิ้งไปนาน ตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ออก RC1 มาแล้วล่ะครับ อ่านรายละเอียดของเวอร์ชั่นนี้ได้ที่ Blog ของคุณ Guillaume Laforge
ใครที่สนใจภาษาสคริปต์น่าจะลองดูตัวนี้บ้างนะครับ ไม่แน่ซันอาจจะดันจนดังขึ้นมาก็ได้
ที่มา - Theserverside.com
ในที่สุด RedHat ก็ปล่อยตัว JBoss Application Server beta1 ออกมาแล้ว ในตลาดตอนนี้ AS ที่สนับสนุน JavaEE 5 เต็มตัวแล้วผ่านการรับรองก็มีเพียง Glassfish และ AS ของ SAP เท่านั้น
รุ่น 4.0 ที่ผ่านมาถึงแม้จะใช้ความสามารถของ JavaEE 5 ได้บางส่วนแต่ก็ยังไม่ทั้งหมด สำหรับคนที่สนใจเรื่องนี้ ผมอยากให้จับตามองศึกระหว่าง JBoss 5.0 กับ BEA WebLogic ตัวใหม่เป็นพิเศษ ผมคาดว่่าในอนาคตคงมีการขับเคี่ยวกันพอสมควร
ผมหายจากการโพสข่าวไปสักพัก ข่าวจาวาช่วงนี้ก็ยังทรงๆ ครับ ไม่ค่อยมีข่าวชาวบ้านทั่วไปอ่านรู้เรื่องออกมาเท่าไหร่ แต่ก็ยังพอจะหยิบจับมาได้บ้าง