Tokio รันไทม์เน็ตเวิร์คแบบ asynchronous ยอดนิยมของภาษา Rust ประกาศออกเวอร์ชั่น 1.0 เป็นเวอร์ชั่นแรกในรอบ 4 ปีนับแต่เปิดตัวโครงการที่จะคง API ให้เสถียรสำหรับการใช้งานในระยะยาว
Tokio ถูกใช้งานในโครงการใหญ่ๆ จำนวนมาก เช่น AWS ที่จ้างนักพัฒนา Rust เข้าบริษัทจำนวนมากก็ใช้ Tokio ในบริการ Lambda หรือ Discord ก็เปลี่ยนมาใช้ Tokio เพื่อลดระยะเวลาหน่วงของระบบ
นโยบายการรักษาเสถียรภาพของ API ของโครงการ Tokio ระบุว่าทางโครงการจะบำรุงรักษาเวอร์ชั่น 1.x ไปอย่างน้อยอีก 5 ปี โดยจะเลื่อนเวอร์ชั่น Rust ต่ำสุดไม่ถี่กว่า 6 เดือน ขณะที่การออกเวอร์ชั่นที่ API เข้ากันไม่ได้ เช่นเวอร์ชั่น 2.0 จะไม่ออกก่อน 3 ปีข้างหน้า
Google ประกาศความร่วมมือกับ American Library Association (ALA) เปิดโครงการ Libraries Ready to Code ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่จะช่วยให้บรรณารักษ์ทั่วสหรัฐฯ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ ในการค้นพบโลกวิทยาการคอมพิวเตอร์
ปัจจุบัน 40% ของโรงเรียนในสหรัฐฯ มีคอร์สสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการเขียนโปรแกรมด้วย แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงนัก ซึ่งห้องสมุดก็จะช่วยขยายการเข้าถึงให้มากขึ้น โดยปัจจุบัน สหรัฐฯ มีห้องสมุด 1 แสนแห่ง ทั้งห้องสมุดสาธารณะและห้องสมุดในโรงเรียน ซึ่งให้บริการประชาชนที่อยู่ในละแวกทั้งหมดรวมแล้วกว่า 306 ล้านคน การที่จะเปิดให้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงต้องให้ทรัพยากร และเข้าใจในการเลือกและใช้งานในสิ่งที่เหมาะกับความต้องการของชุมชน
หนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษ ตีพิมพ์บทความของ John McTernan อดีตเลขานุการการเมืองสมัยที่ Tony Blair เป็นนายกรัฐมนตรี และปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ โดยเขาระบุว่าการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ทำให้ห้องสมุดล้าสมัย และจะหมดไป (obsolete) ในไม่ช้า
ห้องสมุดนิวยอร์ค (New York Public Library) เปิดให้บริการใหม่โดยให้ยืม pocket Wi-Fi สำหรับผู้ที่บ้านไม่มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์, เป็นสมาชิกห้องสมุด, หรือกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาผู้ใหญ่
ทางห้องสมุดเตรียม pocket Wi-Fi ไว้ให้บริการทั้งหมด 10,000 ตัว และทางกูเกิลยังสนับสนุน Chromebook เพิ่มเติมอีก 500 เครื่องสำหรับเด็กและวัยรุ่น
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์กรการกุศล 500,000 ดอลลาร์ และกูเกิลอีก 1,000,000 ดอลลาร์ โดยก่อนหน้านี้ทางห้องสมุดได้เปิดโครงการทดสอบมาก่อนแล้วและพบว่า 55% ของผู้เข้าร่วมไม่มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในบ้าน และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในห้องสมุดส่วนใหญ่ยังเป็นผู้มีรายได้น้อย
จากข่าวเดิมเมื่อต้นปีที่ผ่านมาตามโครงการแปลงเอกสารในหอสมุดวาติกันเป็นไฟล์ดิจิทัล มาบัดนี้หอสมุดวาติกันได้เปิดให้ชมเอกสารดังกล่าวได้ฟรีผ่านทางเว็บไซต์ได้แล้วครับ
โครงการแปลง Vatican Library Digitization Project นี้เป็นผลงานของบริษัทญี่ปุ่น NTT DATA ในการสแกนเอกสารโบราณและพัฒนาระบบแอพพลิเคชันในการค้นหาและเรียกดูเอกสารความละเอียดสูงเหล่านี้ผ่านทางเว็บไซต์ของหอสมุดวาติกัน โดยชุดแรกที่เปิดให้ชมฟรีผ่านทางเว็บไซต์มีสี่พันชิ้นและคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นถึงแปดหมื่นสองพันชิ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ
Mozilla แนะนำเครื่องมือใหม่เป็นไลบรารี JavaScript แบบ open source ด้วยชื่อ TogetherJS
ด้วย TogetherJS ผู้สร้างเว็บสามารถเพิ่มเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เข้าชมเว็บตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้ โดยในการใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวผู้เข้าชมเว็บจะสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้หลากหลาย อย่างเช่น
ในยุคที่หนังสือเริ่มแปลงเป็น E-Book ยุคที่ทุกอย่างดูเหมือนสวยหรูเหมือนหนัง Sci-fi ข้อมูลขนส่งกันทางอิเล็กทรอนิกส์ ประหยัดทั้งเชื้อเพลิง และต้นทุนการพิมพ์ ผู้คนเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายดาย แม้จากในห้องนอนตัวเอง E-Book ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทุกกลุ่ม ยกเว้น… "ห้องสุมด"
การมาของ E-Book สร้างปัญหาให้กับห้องสมุดมาอย่างเนิ่นนาน ในขณะที่คนเข้าถึงในง่ายขึ้น ทำให้ยอดหมุนเวียนของการยืมหนังสือสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะสามารถยืมหนังสือได้ง่ายขึ้น และส่งผลสะท้อนกลับไปทางสำนักพิมพ์เพราะคนจะซื้อหนังสือน้อยลง เพราะเช่าเอาไม่เสียสตางค์ และสะดวกสบายกว่าเดิมมาก
Amazon ประกาศวันนี้ว่าผู้ใช้งานอุปกรณ์ Kindle และแอพ Kindle บนแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถยืมหนังสือในรูปแบบ Kindle ได้แล้วจากห้องสมุดมากกว่า 11,000 แห่งในอเมริกา โดยสามารถใช้ Whispersync กับหนังสือที่ยืมในรูปแบบ Kindle นี้ได้ด้วย และข้อมูลอย่าง บันทึกเพิ่มเติมหรือไฮไลท์ ก็จะยังอยู่เมื่อผู้ใช้งานยืมหนังสือในคราวถัดไป หรือซื้อหนังสือเล่มจริง ซึ่ง Amazon กล่าวว่าปกติแล้วหนังสือที่ยืมในห้องสมุดจะมาขีดเขียนอะไรลงไปไม่ได้ แต่ไม่ใช่กับหนังสือ Kindle นี้
ในส่วนขั้นตอนการยืมนั้น ผู้ใช้งานเพียงค้นหาหนังสือที่ต้องการจากเว็บของห้องสมุดที่เปิดให้บริการนี้ และเลือกส่งหนังสือมายัง Kindle จากนั้นผู้ใช้งานก็รอรับหนังสือส่งเข้ามาใน Kindle ได้เลย
ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เดิมทีมีหนังสือ 80,000 เล่ม แต่หลังจากมหาวิทยาลัยปรับปรุงห้องสมุดแห่งนี้ใหม่ จำนวนหนังสือลดลงเหลือแค่ 10,000 เล่มเท่านั้น
ฟังดูแปลกๆ แต่หลายคนคงเดากันได้ว่าเพราะอะไร
หัวหน้าฝ่ายห้องสมุดของสแตนฟอร์ดให้สัมภาษณ์ว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา มีหนังสือจำนวนมากที่ถูกวางทิ้งไว้บนชั้น โดยไม่มีใครยืมออกไปเลย บวกกับแนวทางของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ใช้ประโยชน์จากหนังสือเฉพาะบางหน้าเท่านั้น (เช่น หาสูตรคำนวณเพียงสูตรเดียว) ทางห้องสมุดจึงตัดสินใจเปลี่ยนหนังสือจำนวนมากเป็นหนังสือดิจิทัล เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นข้อมูลได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องมาห้องสมุด
ห้องสมุดหลาย ๆ แห่งในสหราชอาณาจักรได้เริ่มให้บริการยืมหนังสือที่แตกต่างไปจากเดิมนัก โดยเริ่มแจกให้สมาชิกหรือผู้มีสิทธิใช้ห้องสมุดในท้องที่นั้นดาวน์โหลด eBook ไปใช้แทน
ที่เจ๋งคือผู้ใช้ไม่ต้องที่จะไปห้องสมุดอีกต่อไป ส่วนเรื่องลิขสิทธิก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะว่าตัวหนังสือเองจะทำการลบตัวเองภายใน 14 วัน โดยหนังสือ eBook เหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้บนหลายแพลตฟอร์ม ตั้งแต่ Sony Reader ไปจนถึง Nook ของ Barnes and Noble ที่เพิ่งเปิดตัวไปนี้
ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ผู้ใช้ Kindle ก็คงต้องเศร้าต่อไป เมื่อทราบว่าจะไม่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ เนื่องจาก Kindle เป็นระบบปิด