Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ประกาศว่าตั้งแต่สิงหาคม 2022 เป็นต้นไป จะมีระบบบัญชีใหม่เรียกว่า Meta account เพื่อให้ผู้ใช้งานเฮดเซต VR และผลิตภัณฑ์ metaverse อื่น ของ Meta ใช้ล็อกอิน จากเดิมต้องใช้บัญชี Facebook หรือบัญชี Oculus เท่านั้น
สิ่งที่ Zuckerberg ย้ำคือการแยกบัญชีช่วยให้ผู้ใช้งาน มีประวัติและข้อมูลที่แยกจากกันกับ Facebook และบัญชี Meta ใหม่นี้ ไม่ใช่บัญชีสำหรับโซเชียล แต่ใช้สำหรับจัดการรายการอุปกรณ์และการจ่ายเงิน ส่วนข้อมูลด้านโซเชียลจะแยกเป็น Meta Horizon profile ต่างหาก รวมทั้งระบบรายชื่อเพื่อน การตั้งค่าต่าง ๆ จึงช่วยให้ผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการนำบัญชี Facebook มาใช้งานสบายใจขึ้น
Financial Times สัมภาษณ์นักพัฒนาแอพ-เกมสาย VR หลายราย ที่บ่นว่าบริษัท Meta เก็บค่าธรรมเนียมสโตร์ (Oculus Store เดิม หรือ Quest Store ในปัจจุบัน) ในอัตรา 30% ซึ่งถือว่าแพงเทียบเท่ากับสโตร์แอพมือถือของแอปเปิล-กูเกิล ทั้งที่ Mark Zuckerberg เองก็ออกมาวิจารณ์เรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
โฆษกของ Meta ระบุว่านโยบายของบริษัทคือ ผู้ใช้สามารถ sideload แอพนอกสโตร์ได้เสมอ (สโตร์ทางเลือก เช่น SideQuest) นักพัฒนาจึงมีทางเลือกว่าจะเผยแพร่แอพของตัวเองผ่านช่องทางไหน
อย่างไรก็ตาม Financial Times อ้างข้อมูลจาก Sensor Tower ว่าตัวแอพของ Oculus มีคนดาวน์โหลด 19 ล้านครั้ง ส่วน SideQuest มีเพียง 4 แสนครั้งเท่านั้น ในทางปฏิบัตินักพัฒนาก็ไม่มีทางเลือกมากนักอยู่ดี
Mark Zuckerberg โชว์ต้นแบบแว่น VR ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บของบริษัท Meta จำนวนทั้งหมด 4 รุ่น โดยทั้ง 4 รุ่นไม่ใช่แว่นรุ่นที่จะวางขายจริง
Meta ประกาศเปิดร้านขายฮาร์ดแวร์แห่งแรกของบริษัท ใช้ชื่อว่า Meta Store เปิดที่เมือง Burlingame ในแคลิฟอร์เนีย ไม่ไกลจากซานฟรานซิสโก และสำนักงานใหญ่ของ Meta ที่เมือง Menlo Park
สินค้าที่วางขายในร้านคือฮาร์ดแวร์ของ Meta ที่มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ ในยุคหลัง ไม่ว่าจะเป็นแว่น VR Oculus/Meta Quest, แว่น Ray-Ban Stories แบบติดกล้อง, หน้าจออัจฉริยะ Portal สำหรับคุยวิดีโอคอลล์ เป็นต้น
Meta บอกว่าเปิดร้าน Meta Store เพื่อให้ลูกค้าได้ลองสัมผัสสินค้าฮาร์ดแวร์จริงๆ ก่อนซื้อ เช่น มีพื้นที่สำหรับลองเล่นเกม VR ด้วยแว่น Quest ด้วย
Meta ประกาศทดลองขายไอเทมในโลกเสมือน Horizon Worlds โดยเปิดให้ผู้เล่น (ตอนนี้ยังจำกัดแค่ครีเอเตอร์บางคน) สามารถสร้างไอเทมมาขายให้ผู้เล่นคนอื่นๆ ได้
การซื้อไอเทมเสมือนใน Horizon Worlds เรียกว่า in-world purchase ตอนนี้ยังจำกัดเฉพาะในสหรัฐและแคนาดาเท่านั้น ผู้ซื้อต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดย Meta จะหักส่วนแบ่งรายได้ 25%
Meta ประกาศเลิกใช้แบรนด์ Oculus ตามที่เคยแถลงไว้ตอนเปลี่ยนชื่อบริษัท โดยแว่น Oculus Quest 2 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Meta Quest (ไม่มีเลข 2) และบัญชีทวิตเตอร์ของ @Oculus ก็เปลี่ยนมาใช้ @MetaQuestVR แทน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โดเมนเนม oculus.com ยังถูกใช้งาน และหน้าเว็บยังใช้ชื่อ Oculus Quest 2 อยู่
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถูกวิจารณ์จากผู้ใช้ Oculus จำนวนมาก จนทาง Meta ต้องออกมายอมรับว่าได้ฟังเสียงวิจารณ์แล้ว การเปลี่ยนชื่อเป็นสิ่งที่ยากเพราะคนผูกพันกับแบรนด์เดิม
เกมสร้างเมืองยอดนิยม Cities: Skylines กำลังจะออกเวอร์ชัน VR ในชื่อ Cities: VR สำหรับแว่น Meta Quest 2 (แบรนด์ Oculus เดิมจะเลิกใช้แล้ว) เกมจะเปิดให้เล่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2022
เกม Cities: VR พัฒนาโดยสตูดิโอ Fast Travel Games จากสวีเดน ที่เชี่ยวชาญเรื่องเกม VR และเคยมีผลงานอย่างเกม Wraith: The Oblivion - Afterlife, The Curious Tale of the Stolen Pets, Apex Construct มาก่อน ส่วนเกม Cities: Skylines ภาคหลักเป็นผลงานของสตูดิโอ Colossal Order จากฟินแลนด์
รูปแบบเกมเพลย์ของ Cities: VR ยังเป็นเกมสร้างเมืองเหมือนเดิม ที่เพิ่มเข้ามาคือการเข้าไปสัมผัสบรรยากาศในมุมของคนในเมืองโดยตรง และการปรับคอนโทรลให้เหมาะสมกับการควบคุมแบบ VR
Facebook กำลังทยอยออกอัพเดตใหม่ v34 ให้กับผู้ใช้ Oculus Quest อัพเดตนี้มาพร้อมฟีเจอร์ Space Sense ระบบที่จะทำงานร่วมกับ Guardian System ที่ให้ผู้เล่นตั้งค่าบริเวณที่จะใช้เล่น VR ได้
Space Sense ช่วยไฮไลท์วัตถุที่เข้ามาในบริเวณการเล่น (Guardians bound) ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือเก้าอี้ที่ถูกเลื่อน โดยจะไฮไลท์เป็นขอบสีชมพูเรืองแสง แม้จะเล่นเกมอยู่ มีระยะการทำงาน 9 ฟุต สามารถเข้าไปเปิดได้ในการตั้งค่าส่วน “Experimental Features” หลังอัพเดตเป็น v34 แล้ว
สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook เป็น Meta บริษัทก็ประกาศเลิกใช้แบรนด์ Oculus และเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Meta แทน
Andrew Bosworth หัวหน้าฝ่าย AR/VR ที่เรียกว่า Facebook Reality Labs ประกาศแนวทางการเปลี่ยนชื่อแบรนด์ดังนี้