ฝ่ายวิจัยปัญญาประดิษฐ์พื้นฐานของ Meta หรือทีม FAIR เผยแพร่ Meta Motivo โมเดล AI ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของคนในโลกเสมือนให้สมจริงมากยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานใน Metaverse
Meta Motivo ถูกเทรนด้วยชุดข้อมูลที่ไม่มีป้ายกำกับเบื้องต้น แล้วเรียนรู้แบบ Unsupervised Reinforcement ในรูปแบบพฤติกรรมท่าทางเลียนแบบมนุษย์ ผลลัพธ์คือการเคลื่อนที่ออกท่าทางในแต่ละส่วนได้เองตามที่สั่ง โดยไม่ต้องเทรนข้อมูลหรือฝึกฝนเพิ่มเติม
จุดเด่นของ Motivo คือการแสดงออกได้ตามสภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคที่กำหนดได้อย่างสมจริง เช่น ระบุว่าแรงโน้มถ่วงเปลี่ยนแปลง, มีลมพัด หรือมีการกำหนดทิศทาง จึงรองรับการใช้งานในโลกเสมือน เช่น การสร้าง NPC หรือรูปแบบที่ไม่มีการกำหนดเฉพาะ ได้มากรูปแบบยิ่งขึ้น
Meta ประกาศจัดงาน Meta Connect 2024 ในวันที่ 25-26 กันยายนนี้ ซึ่งปีที่แล้ว Meta ใช้งานนี้ในการเปิดตัว Meta Quest 3 และ Ray-Ban Meta Smart Glasses
ในโพสต์ที่ Threads นั้น Meta บอกว่ามีสินค้าใหม่ที่รอเปิดตัว ส่วนบน X บอกยาวกว่าว่าในงานจะมีอัปเดตทั้ง AI และ Mixed Reality ตลอดจนแผนงานในอนาคตของการสร้าง Metaverse
คาดว่าสินค้าหลักเกี่ยวกับเฮดเซต VR ที่จะเปิดตัวคือ Quest 3S ซึ่งมีข้อมูลหลุดออกมาก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดฮาร์ดแวร์
Mozilla Corporation ประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอ โดย Mitchell Baker ซีอีโอที่รับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2020 จะกลับไปเป็นประธานบอร์ดอีกครั้ง (เธอเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Mozilla และเป็นซีอีโอมารอบหนึ่งในปี 2003-2008) และไปทำงานด้านนโยบาย การเป็นตัวแทนองค์กรบนเวทีสัมมนา การพบปะกับภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น
Meta Platforms บริษัทแม่ของ Facebook ซึ่งเปลี่ยนชื่อบริษัทตั้งแต่ปี 2021 เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นบริษัท Metaverse แต่ผ่านมาเกือบสามปี ส่วนธุรกิจ Reality Labs ที่รับผิดชอบด้าน Metaverse ยังมีรายได้น้อยกว่า 1% ของรายได้รวมทั้งหมด ก็อาจสะท้อนว่าตลาดโลกเสมือนนั้นยังไม่ได้ออกสู่กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปแบบธุรกิจโซเชียลมีเดีย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Mesh for Teams บริการประชุมโลกเสมือนด้วยร่างอวตาร ตั้งแต่ปลายปี 2021 และเปิดทดสอบจริงๆ แบบ public preview เมื่อเดือนตุลาคม 2023
วันนี้ Microsoft Mesh ปรับสถานะเป็นรุ่นเสถียร เปิดใช้งานทั่วไป (general availability) เรียบร้อยแล้ว รองรับการใช้งานบนพีซี (แอพ Microsoft Mesh) และผ่านแว่น Oculus Quest (Quest Store)
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศว่าหน่วยงานจะเริ่มการสืบสวน ว่าตลาดด้านเทคโนโลยีสองอย่างได้แก่ Virtual Worlds หรือโลกเสมือน และ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหา มีการแข่งขันในตลาดที่เป็นปกติหรือไม่ หรือต้องใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลการแข่งขันเพิ่มเติม
ในแถลงการณ์นี้มีการระบุชื่อบริษัทเพียงกรณีเดียวคือ Microsoft และ OpenAI ซึ่งคณะกรรมการยุโรปจะสืบสวนเพิ่มเติมว่าความร่วมมือนี้ส่งผลให้ตลาดเป็นของผู้เล่นรายใหญ่หรือไม่ และอาจเข้าข่ายต้องใช้กฎหมายการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ (ปัจจุบัน Microsoft ถือหุ้นหลักใน OpenAI ส่วนธุรกิจ For-Profit)
NTT DOCOMO ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Meiji และบริษัท H2L เปิดตัวเทคโนโลยีต้นแบบที่สามารถสร้างรสชาติเลียนแบบขึ้นมาได้ โดยอาศัยข้อมูลของรสชาติอาหารที่เชื่อมต่อผ่านแพลตฟอร์ม FEEL TECH ของ DOCOMO
FEEL TECH เป็นแพลตฟอร์มที่จำลองการส่งต่อข้อมูลประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ระหว่างผู้ใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีล่าสุดของ DOCOMO นี้ เป็นการส่งต่อรสชาติอาหาร โดยอาศัยข้อมูลประมาณ 25 ตำแหน่ง เพื่อจำลองการสร้างรสชาติขึ้นมาจาก 5 รสชาติพื้นฐาน (หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ) ด้วยของเหลว 20 ชนิด ทำให้ได้รสชาติที่ใกล้เคียงต้นแบบมากขึ้น และไม่ได้อาศัยแค่คำบรรยาย
รายงานของ Mark Gurman แห่ง Bloomberg ในจดหมายข่าวประจำสัปดาห์ Power On ตอนล่าสุด พูดถึงแผนการณ์พัฒนาเฮดเซต VR ในอนาคตของ Meta ซึ่งเขาบอกว่าตอนนี้การทำงานภายในของ Meta อยู่ในโหมดกลัวการมาของแอปเปิล และบอกว่าแตกต่างไปจากท่าทีของอุตสาหกรรมโทรศัพท์ที่มอง iPhone เมื่อปี 2007
ปัจจุบันแอปเปิลเปิดตัวเฮดเซต Mixed Reality Vision Pro แต่สินค้าจะเริ่มส่งมอบลอตแรกในต้นปีหน้า สถานะตอนนี้คือขั้นตอนทำงานร่วมกับนักพัฒนา
Meta ประกาศว่า Horizon Worlds แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สของบริษัท จะรองรับการใช้งานนอกจากเหนือจากเฮดเซต VR แล้ว โดยเพิ่มการใช้งานผ่านเว็บและมือถือ
ทั้งนี้สถานะบริการยังเป็นขั้นทดสอบ ผู้สนใจต้องสมัครยื่นขอใช้งานก่อน
การเพิ่มแพลตฟอร์มใช้งาน Horizon Worlds น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น จากที่ต้องมีเฮดเซต Quest ซึ่งก็จำกัดกลุ่มอยู่แล้ว ที่ผ่านมา Meta ไม่เคยเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งาน Horizon Worlds ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้ชีวิตในโลกเสมือน สนทนา เล่นเกมกับผู้ใช้งานคนอื่น สามารถสร้างไอเท็มเพื่อขายในโลกเสมือน โดย Meta หักส่วนแบ่ง 47.5%
Reuters รายงานเนื้อหาจากการประชุมพนักงานทาวน์ฮอลล์ของ Meta หลังจากบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาส ซึ่งบริษัทมีทิศทางรายได้เติบโตดี กำไรเพิ่มขึ้น
ซีอีโอ Mark Zuckerberg พูดถึง Threads แอปโซเชียลตัวหนังสือที่หวังแข่งกับ Twitter/X ของ Elon Musk ว่าแม้ตอนนี้มีคนสมัครใช้งานมากกว่า 100 ล้านบัญชี แต่จะดีกว่านี้ถ้าทั้งหมดหรือสักครึ่งหนึ่ง ยังใช้งานแอปนี้อยู่ตลอด ซึ่งเรายังไปไม่ถึงจุดนั้น แม้เป็นเรื่องไม่เกินคาด แต่เขาก็หวังว่าตัวเลขการใช้งานจะดีขึ้น เมื่อแพลตฟอร์มใส่ฟีเจอร์ใหม่มากขึ้น เช่น การใช้งานผ่านเดสก์ท็อป หรือปรับปรุงระบบเสิร์ช
หลังการเปิดตัว Vision Pro เฮดเซต Mixed Reality ของแอปเปิล ซึ่งอาจเป็นคำตอบของผลิตภัณฑ์โลกเสมือน ล่าสุด Mark Zuckerberg ผู้จุดกระแสคำว่า Metaverse ก็ออกมาให้ความเห็นต่อ Vision Pro แล้ว
โดยมีรายงานจากการประชุมพนักงาน Meta ล่าสุด ซึ่ง Zuckerberg ให้ความเห็นต่อ Vision Pro ว่า เทคโนโลยีที่นำเสนอไม่มีเรื่องใหม่ที่เกินคาดคิด Meta เคยศึกษาแนวทางเหล่านี้มาทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้เขายังให้ความเห็นกับราคาเฮดเซต 3,499 ดอลลาร์ ว่าสิ่งนี้สะท้อนแนวทางแอปเปิลที่แตกต่างจาก Meta มาก เพราะบริษัทต้องการทำสินค้าที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดย Quest 3 มีราคา 499 ดอลลาร์ ส่วน Quest Pro ราคา 999 ดอลลาร์
ในคีย์โน้ตของงาน WWDC23 ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตว่าแม้แอปเปิลจะเปิดตัวเฮดเซต Apple Vision Pro ที่ใช้งานโลกเสมือนผสมผสาน Mixed Reality (MR) แต่ในการนำเสนอนั้น กลับไม่มีคำว่า Metaverse ออกมาแม้แต่ครั้งเดียว
คำพูดที่ Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล และผู้นำเสนอคนอื่นใช้บ่อยครั้งคือการพูดถึงยุคสมัยใหม่ของ Spatial Computing มากกว่า ซึ่งนิยามก็คือการกระทำและโต้ตอบกันระหว่างเครื่องจักร บุคคล วัตถุ และสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น
ในงานเปิดตัวเฮดเซต Mixed Reality (MR) Vision Pro ของแอปเปิล แอปเปิลได้นำเสนอคำตอบ ของหนึ่งในโจทย์ที่ท้าทายทุกผลิตภัณฑ์โลกเสมือน ก็คือคอนเทนต์ที่นำมาใส่จะน่าสนใจแค่ไหน โดยแอปเปิลประกาศความร่วมมือกับดิสนีย์ และได้ซีอีโอ Bob Iger มาเป็นผู้นำเสนอเอง
ดิสนีย์ประกาศว่าจะนำคอนเทนต์ต่าง ๆ มาให้รับชมในรูปแบบประสบการณ์ Immersive แบบครบทุกมิติ ผ่านบริการสมัครสมาชิก Disney+ (ในอเมริกา) ซึ่งสามารถรับชมได้ตั้งแต่วันแรกที่เฮดเซต Vision Pro ขาย
แอปเปิลเปิดตัวแว่น mixed reality (MR) ของตัวเองตามข่าวลือก่อนหน้านี้ในชื่อ Apple Vision Pro ตัวแว่นทำงานแบบแว่น VR ความละเอียดสูง พร้อมกล้องด้านหน้าทำให้สามารถถ่ายภาพสภาพแวดล้อมเข้าไปแสดง ผสมกันระหว่างโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือน
ภายในแว่นเป็นจอแสดงผลความละเอียดสูงถึง 23 ล้านพิกเซลเพื่อให้แสดงภาพได้เหมือนจริง สามารถแสดงภาพเหมือนมีหน้าจอขนาด 30 เมตรอยู่ตรงหน้า โดยมีปุ่มปรับได้ว่าจะผสมโลกความเป็นจริงเข้ามาในภาพที่แสดงผลมากน้อยแค่ไหน
Financial Times รายงานสถานการณ์ของการลงทุนในบริษัทด้าน VR/AR/Metaverse ช่วงหลังว่าลดลงจากเดิมมาก หากนับเป็นตัวเลขเม็ดเงินลงทุน ระหว่างเดือนตุลาคม 2022-มีนาคม 2023 อยู่ราว 800 ล้านดอลลาร์ ลดลง 74% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตัวเลขจาก PitchBook)
ช่วงพีคของการลงทุนใน VR/AR คือปลายปี 2021 ที่บริษัท Facebook ถึงขั้นเปลี่ยนชื่อเป็น Meta แต่ตอนนี้คำว่า Metaverse ไม่ใช่คำเซ็กซี่ที่ใช้ดึงดูดนักลงทุนได้อีกแล้ว
กองทุน Super Ventures ที่เน้นการลงทุนด้าน AR ยอมรับว่าธุรกิจนี้เดินหน้าช้ากว่าเดิมมาก แต่ก็คาดหวังว่าการเปิดตัวแว่น VR/AR ของแอปเปิลจะช่วยปลุกกระแสกลับมาได้
Bloomberg รายงานข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พนักงานของ Meta จำนวนหนึ่ง พบว่าพนักงานแทบไม่ใช้แว่น Meta Quest ในการทำงานเลย แม้ว่าบริษัทพยายามขายโซลูชันการใช้แว่น VR ในการทำงานให้กับบริษัทอื่นๆ (ที่ระบุชื่อคือ Walmart และ Accenture) ในการประชุม-ฝึกอบรมก็ตาม
การปฏิเสธไม่ใช้แว่น VR เกิดขึ้นแม้ในฝ่ายพัฒนา VR เอง รวมถึงผู้บริหารระดับสูงอย่าง Nick Clegg (ตำแหน่งคือ President of Global Affairs ดูแลงานด้านภาครัฐทั้งหมด) เคยลองประชุมด้วย VR แล้วเลิกไปเพราะรู้สึกว่าไม่เวิร์ค นอกจากนี้ นโยบายด้านสุขภาพพนักงานของ Meta เองก็เตือนว่าไม่ควรใช้แว่น VR ต่อเนื่องเกิน 30 นาทีด้วย
Meta รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2023 รายได้รวม 28,645 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมามีรายได้เพิ่มขึ้น หลังจากรายได้ลดลงติดต่อกันมาสามไตรมาส และมีกำไรสุทธิ 5,709 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานรวมในทุกแพลตฟอร์ม (Family Monthly Active People) เพิ่มเป็น 3.81 พันล้านคน ส่วนจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAU) ของ Facebook อย่างเดียว เพิ่มขึ้นเป็น 2,037 ล้านบัญชี และเติบโตในทุกภูมิภาค
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าปลดพนักงานอีกระลอก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปลด 10,000 คน ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนมกราคม (อยู่ในโควต้าเดิมแต่เพิ่งตามมาปลดทีหลัง) จำนวนทั้งหมดยังไม่แน่ชัด แต่เฉพาะในเขตเมืองซีแอทเทิลใกล้กับสำนักงานใหญ่มี 617 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไมโครซอฟท์แจ้งต่อสำนักงานแรงงานของรัฐ
แผนกที่โดนมีทั้ง Surface, HoloLens, Xbox โดยการปลดคนในแผนก HoloLens ทำให้ทีมที่เหลืออยู่ตั้งคำถามว่าตกลงแล้วบริษัทยังจะทำ HoloLens เวอร์ชัน 3 ต่อหรือไม่
The Verge ได้บันทึกภายในของ Andrew Bosworth ซีทีโอของ Meta ส่งถึงพนักงานช่วงปลายปี 2022 ซึ่งเขายอมรับว่าบริษัทจ้างพนักงานมากเกินไป ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน (overhead) ที่ทำให้ทุกอย่างช้าลง จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจฝั่ง Metaverse ที่เรียกว่า Reality Labs เดินหน้าช้าเกินไป
ปัจจุบัน Reality Labs มีพนักงานมากถึง 18,000 คน โดย Bosworth บอกว่าทุกสัปดาห์เขาจะได้เห็นเอกสารที่มีคนร่วมแก้ไขมากกว่า 100 คน และการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คน ซึ่งกว่าจะว่างตรงกันต้องใช้เวลาเป็นเดือน บางครั้งต้องมีการประชุมเพื่อเตรียมการประชุม (pre-meeting) ด้วยซ้ำ เขาบอกว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่เวิร์คสำหรับองค์กร
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้เปิดกระทู้ตอบคำถาม Ask Me Anything (AMA) บน Reddit ว่าเขาใช้สมาร์ทโฟน Samsung Galaxy Z Fold4 ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
มีผู้ใช้คนหนึ่งถามว่า Gates คิดว่าขณะนี้มีเทคโนโลยีอะไรที่สำคัญมากๆ บ้าง โดยเขาตอบว่า AI เป็นสิ่งสำคัญและจะมาปฏิวัติวงการ (AI is quite revolutionary) ในขณะที่ Web3 นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ รวมถึง Metaverse ก็ไม่ใช่ของที่จะปฏิวัติวงการ (I don't think Web3 was that big or that metaverse stuff alone was revolutionary) นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้อีกคนถามว่า Gates คิดอย่างไรกับ ChatGPT ซึ่งเขาตอบว่านี่เป็นเพียงน้ำจิ้มของสิ่งที่กำลังจะมาในอนาคต และเขาประทับใจในความเร็วของการพัฒนา
Meta จะยังคงเดินหน้าใช้เงินลงทุนราว 20% ไปกับ Reality Labs ในปีหน้าเพื่อพัฒนา VR/AR แม้ว่าจะมีการตั้งคำถามมากมายถึงการที่ Meta ทุ่มเทเงินลงไปกับ Metaverse ส่วนเงินที่เหลือจะยังคงใช้ไปกับแอปพลิเคชันอย่าง Facebook, Instagram, WhatsApp และ Messenger
การทุ่มทุนพัฒนา Metaverse ของ Mark Zuckerberg ถูกตั้งคำถามและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก รวมถึงเรื่องที่บริษัทต้องการลดต้นทุนในด้านอื่น ๆ อย่างการปลดพนักงานออกด้วย
หุ้นของ Meta ราคาตกลงเกือบ 65% ในปีนี้ ส่วน Reality Labs ก็ใช้เงินไปกับการพัฒนา Metaverse 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ในทางกลับกัน ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฝั่งแอปพลิเคชันกลับทำกำไรให้กับ Meta ราว 3.2 หมื่นล้านเหรียญ
ฝ่ายให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของคณะกรรมการธิการสหภาพยุโรปจัดงานเลี้ยงใน Metaverse โดยใช้งบประมาณราว 400,000 เหรียญสหรัฐเพื่อการพัฒนา Metaverse แต่มีคนมางานแค่ประมาณ 5 คนเท่านั้น
งานนี้ถูกจัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อโปรโมทโครงการ Global Gateway ซึ่งเป็นกองทุนพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีเป้าหมายว่าจะใช้เงินราว 3.15 แสนล้านเหรีญสหรัฐไปกับโครงการนี้ นอกจากนี้ ยังจัดขึ้นเพื่อเพิ่มความตระหนักในหมู่คนที่อายุราว 18-35 ปีที่เล่น TikTok และ Instagram ที่ไม่ค่อยรู้จัก EU และไม่ค่อยรับรู้ถึงบทบาทของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในเวทีโลก
อีกประเด็นที่ Mark Zuckerberg พูดในงานสัมมนาของ The New York Times คือการลงทุนใน metaverse ที่หลายคนมองว่าเขาทุ่มกับเรื่องนี้มากไป
Zuckerberg อธิบายว่าเงินลงทุน 80% ของบริษัทยังใช้กับธุรกิจหลัก ได้แก่ Facebook, Instagram, WhatsApp, Messenger และบริการโฆษณาต่างๆ ส่วนเงินที่ลงกับ Reality Labs ที่เกี่ยวกับ VR/AR มีเพียง 20% เท่านั้น เขาบอกว่าบริษัท Meta จะยังโฟกัสกับธุรกิจด้านโซเชียลไปอีกพักใหญ่ๆ จนกว่า metaverse จะเติบโตมากพอ
เขาบอกว่าเราสามารถเถียงกันได้ว่า 20% เป็นตัวเลขที่มากไปหรือไม่ แต่ก็ยืนยันได้ว่าสิ่งที่ Meta ทำตอนนี้ยังเป็นเรื่องโซเชียลเป็นหลัก
ประเทศ Tuvalu หนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทรบจากปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงได้ออกมาแถลงเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว โดย Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของ Tuvalu ได้กล่าวต่อผู้ร่วมงานประชุม COP27 ว่า Tuvalu จะหันมาใช้เทคโนโลยี Metaverse เพื่อช่วยเก็บความทรงจำอันล้ำค่าของชาติตนเองไว้ก่อนที่แผ่นดินจะจมหายไปในทะเลที่นับวันจะมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
Tuvalu เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาค Polynesian อยู่กลางมหาสมุทร Pacific ประกอบไปด้วยเกาะทั้งหมด 9 เกาะ พื้นที่แผ่นดินทั้งหมดของประเทศรวมกันมีขนาด 26 ตารางกิโลเมตร โดยมีจุดที่สูงที่สุดอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 4.6 เมตร และมีประชากรรวมประมาณ 12,000 คน โดยครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวงบนเกาะ Funafuti
Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta ประกาศปลดพนักงาน 11,000 รายหรือราว 13% ของพนักงานทั้งหมดของบริษัท พร้อมกล่าวว่าเขามองโลกในแง่ดีเกินไปเรื่องผลกระทบของโควิด-19 ต่อการเติบโตของบริษัทเพราะอีคอมเมิร์ชเติบโตสูงมากในช่วงที่มีการกักตัวทำให้ Meta เพิ่มการลงทุนอีก
Zuckerberg กล่าวว่าบริษัทจะยังคงรักษาพนักงานในส่วนที่มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างฝ่าย AI โฆษณา และจะยังให้ความสำคัญกับการลงทุนและพัฒนา Metaverse ส่วนทีมทรัพยากรบุคคลจะได้รับผลกระทบอย่างมาก การปลดพนักงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่สุดตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2004