จากข่าว Adobe เตรียมยุติ Flash ในปี 2020 เราเห็นท่าทีของ Chrome, Safari, Edge/IE ไปแล้ว
ฝั่งของ Firefox เคยประกาศแผนการเลิกใช้ Flash มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่หลังจาก Adobe ประกาศข่าวอย่างเป็นทางการ Mozilla ก็ปรับเปลี่ยนแผนการเล็กน้อย ดังนี้
ปีที่แล้ว Mozilla เปิดตัว Project Quantum โครงการอัพเกรดเอนจินของ Firefox ครั้งใหญ่ ภายใต้ Project Quantum มีโครงการย่อยๆ หลายตัว ที่เริ่มใช้งานไปแล้วคือ Quantum Compositor ใน Firefox 53 ช่วยให้การแสดงผลกราฟิกของ Firefox ดึงพลังจากจีพียูได้ดีขึ้น
ล่าสุดใน Firefox 55 ที่กำลังจะออกในเร็วๆ นี้ จะเริ่มเห็นผลของโครงการอีกตัว Quantum Flow ที่ช่วยให้ Firefox ตอบสนองรวดเร็วขึ้น
Mozilla เปิดตัว Common Voice โครงการเก็บตัวอย่างเสียงแบบ crowdsource โดยเป้าหมายคือการเก็บเสียงให้ได้ครบ 1 หมื่นชั่วโมงในลักษณะเสียงหลายรูปแบบ และเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้งานได้
สำหรับการสร้างฐานข้อมูลเสียงเพื่อทำการรู้จำเสียง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าจะเป็นแอพอย่างผู้ช่วยส่วนตัว หรือ speech-to-text ซึ่งทาง Mozilla หวังว่าจะมอบข้อมูลสาธารณะนี้ให้กับนักพัฒนาอิสระที่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการสร้างแอพได้ และในอนาคตมีแผนจะพัฒนาฐานข้อมูลให้ครอบคลุมสำเนียงและภาษาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
Mozilla ได้เปิดตัว Firefox Focus เบราว์เซอร์ใหม่ที่ชูจุดเด่นเรื่องความเป็นส่วนตัวบน iOS มาก่อนแล้ว ตอนนี้ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันสำหรับ Android
สำหรับ Firefox Focus สำหรับ Android นั้นจะมีฟีเจอร์เหมือนกับบน iOS โดยมีฟีเจอร์เพิ่มมาดังนี้
จากข่าว Firefox 54 แยกโพรเซสของเนื้อหาเพจแล้ว ทาง Ryan Pollock หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Mozilla ก็เขียนบล็อกอธิบายว่า สถาปัตยกรรมการแยกโพรเซสของ Firefox นั้นดีกว่าคู่แข่ง Chrome ซะอีก เพราะประหยัดแรมมากกว่า
Pollock อธิบายว่า Chrome ใช้แนวคิด 1 แท็บ 1 โพรเซส ดังนั้นถ้าเราเปิดแท็บเยอะๆ ก็จะมีโพรเซสเยอะตามไปด้วย โดยใน 1 โพรเซสจะต้องมีเนื้อที่ของเว็บเพจ + เอนจินของเบราว์เซอร์รันอยู่ในหน่วยความจำเสมอ ส่งผลให้ Chrome กินแรมเยอะ
Mozilla ออก Firefox 54 ของใหม่ที่สำคัญคือการแยกโพรเซสของแท็บออกจากกันแล้ว
การเปลี่ยนแปลงของ Firefox 54 เป็นผลจากโครงการ Electrolysis (e10s) ที่ทำกันมายาวนาน และเริ่มต้นใน Firefox 48 ที่แยกโพรเซสของเบราว์เซอร์กับเว็บเพจออกจากกัน คราวนี้ถึงเวลาดำเนินตามแผนขั้นที่สองคือ แยกโพรเซสของแต่ละเว็บเพจออกจากกัน โดย Firefox ยังกำหนดไว้สูงสุดที่ 4 โพรเซส
ผลคือประสิทธิภาพของ Firefox จะดีขึ้นมาก เพราะเว็บเพจที่โหลดหนักๆ จะไม่ดึงทรัพยากรจากเว็บเพจอื่น ใครที่ทนกับปัญหา Firefox อืดตอบสนองล่าช้ามานาน น่าจะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้
Mozilla ประกาศว่า Firefox 55 ที่จะออกในช่วงเดือนสิงหาคม จะเปิดใช้ WebVR มาเป็นค่าดีฟอลต์ ช่วยให้เจ้าของแว่น VR (ตอนนี้รองรับ HTC Vive กับ Oculus Rift) สามารถสวมแว่นแล้วชมเนื้อหาแบบ VR ผ่านเว็บได้
Firefox เป็นผู้เสนอสเปกของ WebVR บนเบราว์เซอร์ และได้รับการสนับสนุนจากทั้ง Chrome และ Edge เพียงแต่ Firefox จะเป็นเบราว์เซอร์แรกที่เปิดใช้ WebVR ในรุ่นเสถียร
ในปี 2015 Mozilla ประกาศแยก Thunderbird ออกเป็นอีกองค์กรหนึ่ง โดยจะใช้เวลาหาแนวทางที่เหมาะสม เวลาผ่านมาเกือบสองปี ในที่สุด Mozilla ก็ได้ข้อสรุปสักที
Firefox ได้ออกรุ่น 53 สำหรับแพลตฟอร์ม Windows, Mac, Linux และ Android แล้ว โดยรอบนี้ Mozilla ชูโรงในเรื่องความเร็ว ซึ่ง Mozilla ได้พัฒนาใน Project Quantum คือการพัฒนาเอนจินเบราว์เซอร์เพื่อให้ใช้งานประสิทธิภาพจากฮาร์ดแวร์สมัยใหม่ได้เต็มที่ โดยจะแยกส่วนแก่นของเอนจินกราฟิกออกมา เรียกว่า Quantum Compositor และรันบนโพรเซสแยกบน GPU ทำให้ประมวลผลได้เร็ว และเมื่อเกิดการแครชจะไม่ดึงแท็บนั้นหรือ Firefox ให้แครชตามไปด้วย ซึ่ง Mozilla พบว่าสามารถลดการแครชลงได้ 10%
ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ มีดังนี้
ที่ผ่านมา Firefox มี channel หรือระดับของความเสถียรอยู่ 4 ระดับคือ Nightly, Aurora (เทียบได้กับ Alpha), Beta และ Stable
ล่าสุด Mozilla ประกาศยกเลิกระดับ Aurora ด้วยเหตุผลว่าต้องการลดความซับซ้อนของรอบการออกรุ่นลง ทำให้ต่อจากนี้ไป Firefox Nightly จะเข้าสถานะ Beta แล้วต่อที่ Stable เลย (เหลือแค่ 3 ระดับจากเดิม 4 ระดับ)
Mozilla ให้เหตุผลว่าเดิมที Aurora ถูกออกแบบมาให้เป็นช่องทางทดสอบโปรแกรมที่มีคนใช้เยอะกว่า Nightly ประมาณ 10 เท่า ซึ่งแผนการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงตัดสินใจตัดรอบ Aurora ออกไปเพื่อให้กระบวนการออกรุ่นเสถียรสั้นลงจากเดิม 6-8 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มมีผลกับ Firefox 55 เป็นต้นไป โดยในช่วงเดือนมิถุนายน Firefox 55 จะขยับจากสถานะ Nightly ข้ามเป็น Beta เลย
Mozilla ได้ออก Firefox 52 ตามรอบการอัพเดตทั้งบนเดสก์ท็อปและ Android โดยรอบนี้มาพร้อมกับฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง โดยบนเดสก์ท็อปมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
Mozilla ประกาศว่า ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Read It Later, Inc. ผู้สร้างแอพลิเคชันและบริการเซฟบทความยอดนิยม Pocket โดย Read It Later จะเข้ามาเป็นบริษัทลูกของ Mozilla Corporation (ซึ่งเป็นหน่วยงานลูกของมูลนิธิ Mozilla อีกทีหนึ่ง) และ Pocket จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการโอเพนซอร์สของ Mozilla
แผนการของ Mozilla กับ Firefox ในปีนี้คือเปลี่ยนมาใช้เอนจินแสดงผลตัวใหม่ Project Quantum แทนเอนจิน Gecko ของเดิม ช่วยให้ประสิทธิภาพโดยรวมของ Firefox ดีขึ้นกว่าปัจจุบันมาก
Project Quantum เขียนด้วยภาษา Rust และส่งผลให้ซอร์สโค้ดของ Firefox ต้องผูกติดกับภาษา Rust ตามไปด้วย ล่าสุดทีมพัฒนา Firefox จึงปรับเงื่อนไขการคอมไพล์ Firefox บังคับให้ต้องมีคอมไพเลอร์ของภาษา Rust ติดตั้งอยู่ด้วย
ต้นปีที่แล้ว Mozilla ประกาศเลิกพัฒนา Firefox OS บนมือถือ หันไปทำระบบปฏิบัติการสำหรับ connected devices แทน เวลาผ่านไปหนึ่งปี Mozilla ยกเลิกโครงการ Firefox OS ทั้งหมด และปลดพนักงานในทีมนี้ 50 คนออก ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงหัวหน้าทีม Air Jaaksi ด้วย
โฆษกของ Mozilla แถลงว่าปรับยุทธศาสตร์ด้าน IoT ใหม่ จากเดิมที่เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เปลี่ยนมาเป็นการวิจัยและมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ แทน
ปัจจุบัน Mozilla มีพนักงานอยู่ประมาณ 1,000 คน ข่าวนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของทีม Firefox OS และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าแผนการของ Mozilla ที่จะขยาย Firefox ไปยังอุปกรณ์ใหม่ๆ ยังไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง
ไฟร์ฟอกซ์ออกรุ่น 51.0 ตามรอบการอัพเดตปกติ แต่รอบบนี้มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการแสดงสัญลักษณ์เตือนว่าเว็บ HTTP ไม่ได้เข้ารหัสเป็นเว็บไม่ปลอดภัย หากเว็บนั้นมีแบบฟอร์มให้ใส่รหัสผ่าน
แนวทางนี้เป็นแนวทางเดียวกับ Chrome ที่จะปรับรูปแบบการแสดง URL ของเว็บไม่เข้ารหัสว่าไม่ปลอดภัยตั้งแต่ Chrome 56 เป็นต้นไป
สำหรับฟีเจอร์อื่นๆ ที่ปรับปรุงในรุ่นนี้ เช่น ปุ่มซูมเว็บจะแสดงในช่อง URL เมื่อผู้ใช้ปรับซูม, ปรับปรุงความเร็วในการเล่นวิดีโอ, รองรับไฟล์เสียง FLAC, และรองรับ WebGL 2 เพิ่มเติม
ที่มา - Mozilla
Mozilla องค์กรผู้ดูแลโครงการ Firefox ประกาศเปลี่ยนโลโก้ใหม่ จากรูปไดโนเสาร์เดิมกลายเป็นตัวอักษรที่เล่นกับเครื่องหมาย URL ://
พร้อมกับโทนสีไฮไลต์
โทนสีและสัญลักษณ์ใหม่จะเปิดให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถสร้างโลโก้ภายใต้แบรนด์เดียวกัน โดยทาง Mozilla จะระบุกรอบสำหรับการใช้งานให้ไปทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี การใช้โลโก้ใหม่นี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และทาง Mozilla กำลังรับฟังความคิดเห็นต่อไป
Mozilla ให้ทุนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยโค้ดของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอยู่เป็นระยะ และโค้ดชุดล่าสุดที่ตรวจสอบคือ Dovecot เมลเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก (68% ของเซิร์ฟเวอร์ IMAP เป็น Dovecot) รายงานทดสอบนี้ทดสอบเฉพาะส่วนสำคัญๆ เช่น ส่วนโปรโตคอล POP และ IMAP, ส่วนการเข้ารหัส SSL โดยทดสอบ Dovecot 2.2.26.0 ที่ออกมาในวันเริ่มการทดสอบพอดี
รายงานชื่นชมโค้ด Dovecot ว่ามีความปลอดภัยสูง และการตรวจสอบพบจุดให้แก้ไขเพียง 3 จุดที่เป็นปัญหาระดับต่ำ เช่น ช่องโหว่การตรวจสอบฟอร์แมตสตริง ที่ป้องกันการฟอร์แมตสตริงเข้ามาในข้อความ แต่กระบวนการตรวจสอบนี้กลับทำไม่ครบถ้วนทำให้แฮกเกอร์อาจจะใส่ฟอร์แมตสตริงเข้ามาได้อยู่ดี อีกช่องโหว่เช่นการคอมไพล์ไม่ได้เปิด flag คอมไพล์โดยใช้ฟีเจอร์ความปลอดภัยเอาไว้
Mozilla ประกาศแผนการของ Firefox บน Windows XP และ Windows Vista ว่าจะหยุดซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการเหล่านี้ในปี 2017 แล้ว
Mozilla อัพเดตแผนการเปิดใช้งาน multi-process ให้กับ Firefox ที่เริ่มมาตั้งแต่ Firefox 48
แผนการเดิมของ Mozilla จะค่อยๆ ขยายจำนวนผู้ใช้ Firefox ที่ได้ฟีเจอร์ multi-process อย่างช้าๆ สถานะล่าสุดคือ Firefox 50 เปิดฟีเจอร์นี้ให้กับผู้ใช้ที่มีส่วนขยายที่ "ยืนยันได้" ว่าทำงานร่วมกับ multi-process ได้
ขั้นต่อไปใน Firefox 51 จะขยาย multi-process ให้ผู้ใช้ทั่วไป ยกเว้นผู้ที่ติดตั้งส่วนขยายที่ "ยืนยันได้" ว่าทำงานร่วมกับ multi-process ไม่ได้ (นั่นคือกลุ่ม extension ที่ยืนยันไม่ได้ว่าพัง ก็จะสันนิษฐานว่าทำงานได้ไปก่อน)
Mozilla Foundation เผยรายงานประจำปี 2015 (ที่ออกมาช่วงปลายปี 2016) เปิดเผยให้เห็นข้อมูลทางการเงินขององค์กร
ผลคือปี 2015 Mozilla มีรายได้เยอะเป็นประวัติการณ์ถึง 421 ล้านดอลลาร์ โดยรายได้เกือบทั้งหมดมาจากค่าตอบแทนการใช้งาน (royalty payment) จากเว็บค้นหาต่างๆ ซึ่ง Mozilla เพิ่งเซ็นสัญญาฉบับใหม่ช่วงปลายปี 2014 โดยมี Yahoo!, Yandex, Baidu เป็นเครื่องมือค้นหาหลักในแต่ละภูมิภาค เปลี่ยนจากสัญญาฉบับเดิมที่เซ็นสัญญากับกูเกิลมานานหลายปี
Mozilla ประกาศพบช่องโหว่สำคัญเกี่ยวกับฟังก์ชัน SVG ใน Firefox ซึ่งถูกใช้งานโจมตีเบราว์เซอร์ Tor (ที่พัฒนาขึ้นบน Firefox) เพื่อค้นหาตัวตนของผู้ใช้งานแล้ว
รูปแบบการโจมตีคือแฮ็กเกอร์จะหลอกผู้ใช้ Tor ให้เข้าเว็บเพจที่มีไฟล์ SVG ฝังไว้ ไฟล์นี้จะอาศัยช่องโหว่ตัวนี้เก็บค่า IP และ MAC ของผู้ใช้ ส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์ได้ ทาง Mozilla ระบุว่าการโจมตีลักษณะนี้คล้ายกับเทคนิคที่ FBI เคยใช้ตามหาผู้ใช้ Tor และมีคนตั้งข้อสงสัย (แต่ไม่มีหลักฐาน) ว่าเป็นไปได้ที่คนใช้ช่องโหว่นี้คือ FBI
Mozilla ได้ทำเบราว์เซอร์ใหม่สำหรับ iOS แยกออกมาจาก Firefox ปกติในชื่อ Firefox Focus โดยตัวเบราว์เซอร์นี้ชูจุดเด่นในเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยจะมีการบล็อกโฆษณาและคุกกี้ในตัว รวมถึงมีการลบประวัติการเข้าชมหลังจากจบเซสชั่น
ตัวเบราว์เซอร์ Firefox Focus นี้จะมีแค่ address bar เท่านั้น เปิดมาก็ให้ผู้ใช้พิมพ์เพื่อค้นหาได้ทันที รวมถึงยังชูจุดเด่นด้านการดาวน์โหลดที่เร็ว แม้ว่าจะมีการบล็อกโฆษณา เนื่องจากเบราว์เซอร์ที่มีการบล็อกโฆษณาหลายตัวนั้น มักจะส่งผลต่อประสิทธิภาพด้วย
Mozilla ออก Firefox 50 รุ่นฉลองครบครึ่งร้อย (และเป็นรุ่นเสถียรตัวสุดท้ายของปีนี้) ของใหม่บนเวอร์ชันพีซีได้แก่
ส่วนเวอร์ชัน Android ปรับอินเทอร์เฟซเล็กน้อย โดยรวมหน้า Recent Tabs และ History เข้าด้วยกัน
ที่มา - Mozilla
Mozilla ประกาศทำโครงการ Project Quantum เอนจินเบราว์เซอร์ตัวใหม่ของ Firefox ที่จะใช้แทนเอนจิน Gecko ในปัจจุบัน
Project Quantum เป็นโครงการใหญ่ที่ประกอบด้วยหลายส่วนประกอบ ซึ่งรวมเอา Project Servo ระบบเอนจินตัวใหม่ที่เขียนด้วยภาษา Rust ซึ่ง Mozilla เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2013
Mozilla บอกว่า Project Quantum จะให้ประสบการณ์ใช้งานที่เร็วและลื่นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (quantum leap) ทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์พกพา ปัญหาเรื่องการโหลดหน้าจอ การเลื่อนหน้าจอ แอนิเมชันและการตอบสนองที่ช้าหรือกระตุก จะหมดไป
Mozilla ประกาศทำโครงการ Mortar เพื่อให้ Firefox สามารถนำปลั๊กอินบางตัวของ Chrome มาใช้งานได้ เพื่อลดภาระการดูแลโค้ดของทีมงาน Mozilla ลง
ในอดีต เว็บเบราว์เซอร์มีระบบปลั๊กอินที่เรียกว่า NPAPI ที่ใช้กันมานานมากแล้ว (ใช้กันมาตั้งแต่ยุค Netscape) ส่งผลให้ปลั๊กอินยอดนิยมทั้ง Flash หรือ Java ต่างก็สื่อสารกับเบราว์เซอร์ด้วยวิธีนี้ แต่ปลั๊กอินแบบนี้ล้าสมัยและมีปัญหาหลายอย่าง ส่งผลให้ Chrome พยายามผลักดันระบบปลั๊กอินแบบใหม่ PPAPI (หรือ Pepper) มาตั้งแต่ปี 2013 และปัจจุบันปลั๊กอินอย่าง Flash หรือตัวอ่าน PDF ของ Chrome ก็ใช้ระบบ PPAPI ทั้งหมด