Mozilla ออก Firefox 78 มีของใหม่ดังนี้
Firefox 78 เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Extended Support Release (ESR) และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ซัพพอร์ต macOS 10.9, 10.10, 10.11
มอซิลล่ารับเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Comcast เข้าโครงการ Trusted Recursive Resolver (TRR) ซึ่งทำให้ลูกค้าของ Comcast ที่ใช้เบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์จะใช้งานเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Comcast ต่อไป จากเดิมที่การเปิด DNS-over-HTTPS (DoH) จะทำให้เบราว์เซอร์ใช้เซิร์ฟเวอร์ภายนอก เช่น Cloudflare หรือ NextDNS ทันที
TRR เปิดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแสดงความโปร่งใส โดยสามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และห้ามนำข้อมูลไปขายหรือมอบให้บุคคลภายนอก รวมถึงการบล็อคโดเมนนั้นหากผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้ร้องขอเอง ผู้ดำเนินการเซิร์ฟเวอร์ DNS จะต้องเปิดเผยข้อมูลว่าบล็อคโดเมนอะไรไปบ้าง
Mozilla ประกาศหยุดซัพพอร์ต Firefox เวอร์ชันหลักบน macOS 10.9 (Mavericks), 10.10 (Yosemite), 10.11 (El Capitan)
Mozilla ระบุว่าแอปเปิลไม่มีนโยบายการซัพพอร์ตแพตช์ให้ OS เวอร์ชันเก่าออกมาชัดๆ แต่ปกติแล้วจะออกแพตช์ให้กับ OS 3 รุ่นล่าสุด (N, N-1, N-2) ซึ่งกรณีของ macOS 10.11 ออกแพตช์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2 ปีก่อน (เดือนกรกฎาคม 2018) จึงถือว่าไม่มีการแพตช์อีกแล้ว
Mozilla แนะนำให้อัพเกรดเป็น macOS 10.12 ขึ้นไป แต่ผู้ใช้ OS เหล่านี้ยังสามารถใช้ Firefox Extended Support Release (ESR) ที่เป็นเวอร์ชันเก่าและสนับสนุนยาวนานได้ต่อไป (เวอร์ชัน ESR ล่าสุดในตอนนี้คือ Firefox ESR 68.9.0 เทียบกับรุ่นปกติที่เป็นเวอร์ชัน 77 แล้ว)
Mozilla เป็นอีกองค์กรที่ออกมาประกาศนโยบายเรื่องสีผิวและการเหยียดเชื้อชาติ โดยมีแผนการดังนี้
Mozilla เปิดบริการ VPN ของตัวเองมาได้สักพักใหญ่ๆ (ยังจำกัดเฉพาะในสหรัฐ) โดยใช้ชื่อว่า Firefox VPN หรือ Firefox Private Network ล่าสุดมันถูกรีแบรนด์ใหม่เป็นผลิตภัณฑ์แยกต่างหากคือ Mozilla VPN เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้ที่กว้างขึ้น
Mozilla บอกว่าต้องการสร้างบริการ VPN ที่รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จริงๆ โดยไม่ตามรอยผู้ใช้เลย และจะการันตีไม่ทำธุรกิจจากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานด้วย
Firefox VPN จะปลดสถานะเบต้าในเร็วๆ นี้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Mozilla VPN โดยยังคงค่าบริการเดือนละ 4.99 ดอลลาร์ ใช้งานได้ 5 อุปกรณ์พร้อมกัน รองรับ Windows, Android, iOS, Chromebook และในอนาคตจะรองรับ Mac กับ Linux ด้วย
ข่าวเก่าครับ: Mozilla ประกาศว่าตั้งแต่ 31 มกราคม 2562 เป็นต้นไป Firefox Focus จะถูกถอดออกจาก Google Play Store ของ 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
ในประกาศดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลแต่อย่างใด เพียงแต่แจ้งว่าให้ไปใช้ Firefox Lite (ชื่อเดิม Rocket) แทน ตัวผมเองพยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก GitHub, Mozilla wiki, และ mailing list (ร้าง) แต่ก็ไม่พบเหตุผลเช่นเดียวกัน
Mozilla ออก Firefox 77 รุ่นเสถียร ซึ่งเวอร์ชันนี้ไม่ค่อยมีของใหม่มากนัก
ที่มา - Mozilla
Mozilla ออก Firefox 76 รุ่นเสถียร ของใหม่ในเวอร์ชันนี้เน้นที่ระบบจัดการรหัสผ่าน Lockwise แจ้งเตือนผู้ใช้ทันทีหากพบว่าเว็บไซต์ถูกเจาะ รหัสผ่านรั่ว นอกจากนี้ Firefox 76 ยังเพิ่มเมนู Logins and Passwords เข้ามาในเมนูหลักให้กดกันง่ายๆ (หรือเข้าได้จากหน้า about:logins)
ของใหม่อีกอย่างที่สำคัญคือรองรับ Audio Worklets ช่วยให้ Firefox ประมวลผลไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดมาได้ ฟีเจอร์นี้ยังช่วยให้ Firefox สามารถคุยวิดีโอคอลล์ผ่าน Zoom ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Zoom บนเครื่องอีกแล้ว
Mozilla เปิดตัวส่วนขยายใหม่ในชื่อว่า Firefox Private Relay บริการสร้าง email alias สำหรับใช้ครั้งเดียวเพื่อความเป็นส่วนตัวในการใช้บริการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์
หน้าที่หลักของ Firefox Private Relay คือเมื่อกดปุ่มแล้วระบบจะสร้างอีเมลแอดเดรสเป็นแบบใช้ครั้งเดียว และกรอกลงเว็บไซต์เมื่อเว็บไซต์ต้องการอีเมลแอดเดรสในการใช้บริการต่าง ๆ โดยเมื่อมีอีเมลส่งเข้ามาทางอีเมลที่สร้างมาใหม่นี้ Mozilla จะส่งต่อไปยังอีเมลแอดเดรสของผู้ใช้งานที่กำหนดไว้ หรือถ้าไม่ต้องการใช้งานอีเมลแอดเดรสที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ ก็สามารถสั่งทำลายทิ้งได้ทันที
มาถึงตอนนี้ทุกคนคงใช้แอพประชุมออนไลน์กันหมดแล้ว โดยมีผู้เล่นในตลาดมากมายทั้งบริษัทเล็กใหญ่ ซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่ดังขึ้นมาในช่วงโรคระบาดคือ Zoom แต่ดังได้ไม่นานก็มีข่าวด้านลบเกี่ยวกับความปลอดภัยของแอพนี้เข้ามาหลายเรื่อง ซึ่ง Zoom ก็ได้รีบจัดการกับประเด็นดังกล่าวและร่วมมือกับหลายบริษัทในการยกเครื่องความปลอดภัย
นอกจากนี้ก็มี Microsoft Teams ที่ตัวเลขผู้ใช้ก้าวกระโดดเช่นกัน โดยการใช้งานประชุมออนไลน์เพิ่มขึ้น 200% ในเวลาเพียงครึ่งเดือน หรือซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นกันถ้วนหน้า เช่น Google Meet, BlueJeans, Cisco Webex ฯลฯ
Mozilla Corporation ประกาศตั้ง Mitchell Baker ประธานบอร์ดและรักษาการซีอีโอ เป็นซีอีโอถาวร
Mitchell Baker เป็นผู้ก่อตั้ง Mozilla มาตั้งแต่ปี 2003 และเป็นซีอีโอคนแรกขององค์กรจนถึงปี 2008 จากนั้นเลื่อนชั้นไปรับตำแหน่งประธานบอร์ด
หลังจาก Chris Beard ซีอีโอคนก่อนของ Mozilla ลาออกในเดือนสิงหาคม 2019 Baker ก็มารักษาการซีอีโอชั่วคราว ระหว่างสรรหาซีอีโอคนใหม่ แต่หลังเวลาผ่านมาเกือบปี ผนวกกับสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บอร์ดได้ข้อสรุปว่า Baker เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดกับการเป็นซีอีโอในตอนนี้
Mozilla ออก Firefox 75 เวอร์ชันเสถียร การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือแถบ address bar ที่ปรับโฉมให้ช่องใหญ่ขึ้นตอนค้นหา, แนะนำคำค้นที่เกี่ยวข้อง และแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่เข้าบ่อย (Top Site) เพิ่มเติมในรายการด้วย
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่ รองรับแพ็กเกจแบบ Flatpak บนลินุกซ์แล้ว ทำให้ติดตั้ง Firefox บนดิสโทรรุ่นใหม่ๆ (โดยเฉพาะสาย Red Hat/Fedora) ได้ง่ายขึ้น
เราเห็นข่าว Chrome ขอหยุดพักการอัพเดตเวอร์ชันไปหลายวัน เพราะทีมพัฒนาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส
ฝั่งของ Firefox (ที่สำนักงานใหญ่ Mozilla ก็อยู่ไม่ห่างจากกูเกิลนัก) เลือกใช้นโยบายที่ต่างไป คือ ยังรักษาตารางการออกเวอร์ชันใหม่ที่เคยประกาศเอาไว้ แต่อาจลดจำนวนฟีเจอร์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเวอร์ชัน เพื่อป้องกันปัญหาเจอบั๊กแล้วไม่สามารถแก้ได้ทัน
Firefox เวอร์ชันถัดไปคือ Firefox 75 มีกำหนดออกวันที่ 7 เมษายน 2020
Mozilla ได้แย้มรายละเอียดบริการอ่านข่าวที่ร่วมมือกับ Scroll เมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว วันนี้ Mozilla เริ่มทดสอบ Scroll อย่างเป็นทางการภายใต้โครงการ Test Pilot ในชื่อ Firefox Better Web with Scroll
Mozilla ระบุว่า ทุกวันนี้สำนักข่าวยังคงพบกับปัญหาของระบบโฆษณา เพราะสำนักข่าวต้องการให้ผู้ใช้งานมากที่สุดแต่ไม่ต้องการให้ติดตามโดยบุคคลที่สาม Mozilla จึงร่วมมือกับ Scroll สตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจสมัครสมาชิกอ่านข่าวเพื่อมอบประสบการณ์อ่านข่าวให้ผู้ใช้งานไม่ว่าผู้ใช้จะใช้เบราว์เซอร์ใดก็ตาม (ไม่จำกัดเฉพาะ Firefox)
วันนี้ Mozilla ปล่อย Firefox 74 อย่างเป็นทางการแล้วทุกแพลตฟอร์ม โดยฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้คือเพิ่มกฎสำหรับ add-on ที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงปิดการใช้งาน TLS 1.0 และ TLS 1.1 เป็นค่าเริ่มต้น
ในเรื่อง add-on ถือเป็นประเด็นใหญ่ในอัพเดต 74 โดย Firefox จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเท่านั้นที่มีสิทธิ์ติดตั้ง add-on บน Firefox และ Add-on Manager จะสามารถลบ add-on ทุกตัวที่ติดตั้งจากแอปภายนอกได้ทั้งหมด (เข้าไปที่ about:addons บน Firefox) ซึ่งกฎใหม่นี้จะช่วยลดการติดตั้ง add-on ที่ไม่พึงประสงค์และไม่ปลอดภัยได้ เนื่องจาก add-on เหล่านี้มักจะติดตั้งอัตโนมัติจากโปรแกรมภายนอก
แนวคิดการทำ sandbox เพื่อจำกัดขอบเขตความเสียหายกรณีโปรแกรมโดนแฮ็ก กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายกรณีก็มีข้อจำกัด เช่น การเรียกใช้ไลบรารีที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกโพรเซสได้ แต่ไลบรารีก็ไม่ได้เขียนเองทำให้ควบคุมคุณภาพโค้ดไม่ได้
Mozilla ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งคือ University of California San Diego, University of Texas Austin, Stanford University พัฒนาเทคนิคใหม่ชื่อ RLBox แก้ปัญหานี้ด้วยการแปลงโค้ด C/C++ เป็น WebAssembly ก่อน เพื่อรันใน sandbox ของ WebAssembly แทน
วันนี้ Mozilla ประกาศเตรียมเปิดใช้งาน DNS over HTTPS ระบบ DNS เข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งาน Firefox ในสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ โดยจะทยอยปล่อยฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้งานทีละกลุ่ม
Mozilla ระบุว่า DNS ถูกออกแบบมานานหลายทศวรรษแล้ว ซึ่งแม้ว่าเบราว์เซอร์จะใช้ HTTPS แต่การ lookup เพื่อหาไอพีแอดเดรสโดย DNS ยังคงไม่ได้เข้ารหัส ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนสำคัญเพราะอุปกรณ์อื่นสามารถเก็บ ไปจนถึงบล็อคหรือเปลี่ยนคำขอ DNS ก็ย่อมได้
เราเห็น Mozilla เปิดบริการ Firefox VPN แบบส่วนขยายบนเบราว์เซอร์เดสก์ท็อปมาได้สักระยะ โดยยังมีสถานะเป็น Beta, จำกัดประเทศ และประกาศตัวชัดเจนว่าเป็นบริการแบบเสียเงิน (เพราะเป็นช่องทางหารายได้ใหม่ๆ ของ Mozilla)
Firefox for Android เวอร์ชันยกเครื่องใหม่เริ่มเข้าสถานะการทดสอบแบบ Nightly และมีแผนจะออกรุ่นเสถียรช่วงกลางปีนี้
ล่าสุด Mozilla ประกาศแผนเรื่องส่วนขยาย (add-on) ของ Firefox for Android ตัวใหม่ว่าจะยังจำกัดมากๆ ในช่วงแรก
ณ ปัจจุบัน Firefox for Android ตัวใหม่รองรับส่วนขยายเพียงตัวเดียวคือ uBlock Origin แต่ Mozilla มีแผนจะรองรับส่วนขยายยอดนิยม Recommended Extensions ประมาณ 100 ตัว (เช่น NoScript, LastPass, HTTPS Everywhere, DownThemAll!, FoxyProxy) ในช่วงที่ออกรุ่นเสถียร
Mozilla ออก Firefox 73 ตามนโยบายใหม่ที่ปรับรอบการออกรุ่นให้เร็วขึ้น ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Mozilla ประกาศแผนหยุดซัพพอร์ตโปรโตคอล Transport Layer Security (TLS) เวอร์ชันเก่า 1.0 และ 1.1 บน Firefox โดยจะเริ่มมีผลใน Firefox 74 ที่จะออกตัวจริงช่วงเดือนมีนาคม 2020
เหตุผลที่เลิกใช้ TLS 1.0 และ 1.1 เป็นเพราะพบช่องโหว่ที่ถูกใช้โจมตีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ช่องโหว่ BEAST, CRIME, POODLE ในขณะที่โปรโตคอลเวอร์ชันใหม่ TLS 1.3 ออกตั้งแต่ปี 2018 และรองรับตั้งแต่ Firefox 63
Mozilla เปิดตัว Hello WebXR ช่องทางรวมกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเล่นโดยใช้แว่น VR ไม่ว่าจะเป็นเข้าดูสถานที่จริง สิ่งแวดล้อมจริงของสถานที่ใดที่หนึ่ง ชมงานศิลปะ เล่นดนตรี วาดรูป โดยใช้เคอเซอร์ควบคุมกิจกรรม
Hello WebXR สามารถเปิดได้ในหลากหลายบราวเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Oculus Browser บน Oculus Quest หรือ Google Chrome บน Oculus Rift รวมถึง Firefox Reality ของ Mozilla เองด้วย
มูลนิธิ Mozilla Foundation ประกาศตั้งองค์กรใหม่ MZLA Technologies Corporation มารับผิดชอบการพัฒนาโปรแกรมอีเมล Thunderbird
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Mozilla หันไปทุ่มให้กับ Firefox เป็นหลัก และพยายามหา "บ้านใหม่" ให้ Thunderbird โดยปรับนโยบายมาหลายรอบ (รอบล่าสุดคือปี 2017)
หลังจากเปิดให้ชุมชนผู้ใช้งานเข้ามาช่วยพัฒนาโปรแกรมมากขึ้น ทางมูลนิธิจึงตัดสินใจตั้ง MZLA Technologies Corporation ที่มีสถานะเป็นบริษัทลูก ดูแล Thunderbird อย่างจริงจัง และสามารถหารายได้จากช่องทางใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมการพัฒนา Thunderbird อีกด้วย
เมื่อกลางปีที่แล้ว Mozilla ประกาศ "ยกเครื่อง" Firefox for Android ใหม่ ใช้เอนจินใหม่ GeckoView, ดีไซน์หน้าตาใหม่ และมีฟีเจอร์ใหม่ๆ หลายอย่าง แต่เนื่องจากมันเพิ่งเริ่มพัฒนา จึงแยกมันเป็นแอพอีกตัวชื่อ Firefox Preview ที่ต่างจาก Firefox for Android ตัวปัจจุบัน
ล่าสุด Firefox Preview พัฒนามาพอสมควร ทีมงาน Mozilla จึงเริ่มขยับมันเข้ามาใน Firefox for Android ตัวหลักแล้ว แต่ยังเฉพาะในรุ่นทดสอบแบบ Nightly เท่านั้น หลังจากทดสอบจนพอใจแล้วจะค่อยๆ ขยับมันเข้ามาในรุ่น Beta ช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ประมาณเดือนมีนาคมเป็นต้นไป) และออกเป็นรุ่น Stable ภายในครึ่งแรกของปี 2020 นี้
Mozilla ประกาศปลดพนักงานออกจำนวนหนึ่ง (ตัวองค์กรไม่ได้เปิดเผย แต่ TechCrunch รายงานว่าประมาณ 70 คน) หลังโครงการใหม่ๆ ไม่เวิร์คอย่างที่คาดไว้
Mozilla พยายามพัฒนาโครงการใหม่ๆ มาหารายได้นอกเหนือจากการเปิดประมูล search engine ของ Firefox ที่เป็นช่องทางหารายได้หลัก โดยเน้นไปที่การหาเงินแบบ subscription (ก่อนหน้านี้เคยเปิดตัว Firefox Premium, VPN และ บริการอ่านข่าวแบบเสียเงิน)