Verisign ผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมน .com เตรียมขึ้นราคาค่าโดเมนวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยขึ้นราคาแบบขายส่ง จาก 8.97 ดอลลาร์ต่อปีเป็น 9.59 ดอลลาร์ ตามข้อตกลงระหว่าง Verisign กับ ICANN ที่อนุญาตให้ขึ้นราคาได้ไม่เกินปีละ 7%
ทาง Namecheap ผู้ให้บริการจดโดเมนรายย่อยประกาศขึ้นราคาพร้อมกัน โดยจะขึ้นราคาขายปลีกประมาณ 9% เป็น 15.88 ดอลลาร์ต่อโดเมน
ผู้ถือโดเมนเดิมยังคงต่ออายุโดเมนได้ที่ราคาเดิมต่อไปจนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ที่มา - Domain News Wire, Namecheap
Bluesky บริการโซเชียลแบบกระจายศูนย์ของ Jack Dorsey อดีตซีอีโอของ Twitter ประกาศรับเงินทุนรอบ seed round จำนวน 8 ล้านดอลลาร์ ที่นำโดยบริษัทลงทุน Neo และมีนักลงทุน angel investor อื่นๆ อีกหลายราย
Bluesky บอกว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปพัฒนาโปรโตคอล AT Protocol และตัวแอพ Bluesky รวมถึงส่วนงานต่างๆ ในบริษัท (สถานะของแอพตอนนี้ยังเป็น waitlist)
นอกจากนี้ Bluesky ยังประกาศความร่วมมือกับบริษัทจดโดเมน Namecheap เปิดให้ผู้ใช้งาน Bluesky สามารถซื้อโดเมนเนมที่ต้องการทำ custom domain ได้สะดวก (เช่น อยากได้บัญชีเป็น @username.mydomain.com แทนที่จะเป็น @username.bsky.social หรือมีโดเมนเนมขององค์กรใช้งานอยู่แล้ว) ถือเป็นบริการแบบเสียเงินตัวแรกของ Bluesky ด้วย
Namecheap ผู้ให้บริการโฮสติ้งและโดเมนรายใหญ่ประกาศหยุดให้บริการชาวรัสเซียทั้งหมด โดยลูกค้ามีเวลาย้ายโดเมนออกจาก Namecheap ถึงวันที่ 6 มีนาคมนี้
นอกจากลูกค้าโดเมนแล้ว บริการโฮสติ้ง, WordPress, และอีเมล ของโดเมนที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย ได้แก่ .ru, .рф, бел, และ .su จะหยุดให้บริการทันที ตัวเว็บจะแสดงหน้า 403 Forbidden เท่านั้น และลูกค้าต้องติดต่อซัพพอร์ตเพื่อย้ายไปใช้งานที่อื่น
ซีอีโอ Namecheap ระบุว่าตอนนี้บริการโดเมนยังคงใช้งานได้ แต่ก็ขอให้ลูกค้าย้ายออกโดยเร็ว หากมีใครติดขัดก็สามารถขอเวลาเพิ่มเติมได้ แต่เนื่องจากธุรกิจในรัสเซียของ Namecheap ต้องส่งภาษีให้รัสเซียด้วย ทางบริษัทจึงไม่ต้องการไปยุ่งเกี่ยวกับการทำสงครามกับยูเครน
ผู้ให้บริการจดโดเมน Namecheap ประกาศว่าจะไม่รับจดโดเมนใหม่ภายใต้ชื่อ coronavirus, covid และ vaccine รวมถึงโดเมนที่มีคำหรือวลีสื่อไปในทางเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 อีกต่อไป
Namecheap ระบุว่าการระงับจดโดเมนนี้เพื่อป้องกันการคุกคาม, หลอกลวง, หลอกขายสินค้า หรือการเผยแพร่ข้อมูลปลอมโดยฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ระบาดครั้งรุนแรงนี้
ทั้งนี้หากผู้ที่ต้องการจดโดเมนเป็นบริษัทหรือเจ้าของเว็บไซต์ที่ต้องการใช้ชื่อโดเมนจริง ๆ จะยังคงสามารถกระทำได้ โดยจะต้องติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตของ Namecheap เพื่อให้ตรวจสอบและอนุมัติเป็นรายกรณีไป
ที่มา - The Verge
เฟซบุ๊กประกาศยื่นฟ้อง Namecheap บริษัทรับจดโดเมนเนม รวมถึงบริการลูกอย่าง Whoisguard ฐานรับจดโดเมนเนมที่มีความใกล้เคียงหรือทำให้ผู้ใช้งานหลงคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก ซึ่งมักจะถูกนำไปใช้งานในเชิงหลอกลวงหรือ phishing
เฟซบุ๊กบอกว่าพบโดเมนเนมกว่า 45 โดเมนบน Whoisguard ที่มีความคล้ายคลึงกับแบรนด์เฟซบุ๊กหรือผลิตภัณฑ์ในเครือ เช่น instagrambusinesshelp.com, facebo0k-login.com และ whatsappdownload.site โดยที่ผ่านมาเฟซบุ๊กได้แจ้งเตือนไปยัง Whoisguard ระหว่างเดือนตุลาคม 2018 ถึง กุมภาพันธ์ 2020 หลายครั้ง ทว่านอกจากทาง Whoisguard จะไม่แจ้งบริษัท (เรื่องการจดโดเมนที่ใกล้เคียง) แล้วยังไม่ให้ความร่วมมือด้วย
ลูกค้าโดเมน Namecheap หลายรายแจ้งปัญหาว่าไม่สามารถโอนโดนเมน .uk ได้ แต่ขณะเดียวกันสถานะของโดเมนกลับถูกแจ้งว่าโอนออกไปแล้ว ทำให้โดเมนค้างกลางอากาศ ไม่สามารถใช้งานได้
ทาง Namecheap ยอมรับปัญหานี้ และระบุกับ The Register ว่าปัญหาเกิดจาก Enom ที่ทาง Namecheap ขายโดเมนจำนวนหนึ่งให้ กลับมีปัญหาและไม่ได้สื่อสารกับทาง Namecheap ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร นอกเหนือไปจากข้อมูลใน Enom Status
ส่วนทาง Enom ก็ตอบกลับ The Register ว่ากำลังทำงานร่วมกับ Namecheap แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยหน้า status ระบุว่าปัญหาเกิดจากการอิมพลีเมนต์โด้ดเพื่อรองรับ GDPR แต่กลับทำให้การย้ายโดเมนบาง TLD มีปัญหา
ธุรกิจขายโดเมนนั้นเป็นธุรกิจที่เฉือนราคากันค่อนข้างหนัก ทำให้ผู้ให้บริการส่วนมากจะคิดค่าบริการเสริม เช่นบริการโฮสต์เว็บหรือบริการปกปิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อโดเมนที่ต้องเปิดเผยทาง WHOIS
การประกาศนี้จะทำให้ผู้ซื้อโดเมนใหม่สามารถเพิ่มบริการ WhoisGuard ได้ฟรี และเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น ส่วนผู้ใช้เดิมต้องกดซื้อเพิ่มเข้าไปในโดเมนเดิมด้วยตัวเอง (แต่ก็ฟรีอยู่ดี) อย่างไรก็ดีบาง TLD นั้นไม่อนุญาตให้ล็อกข้อมูลเจ้าของโดเมน เช่น .cn, .uk, .sg, .au, .de, .vote, .paris เป็นต้น
ก่อนหน้านี้บริการคู่แข่งจำนวนหนึ่งก็ให้บริการปิดบังข้อมูลเจ้าของโดเมนฟรีเช่นกัน เช่น Google Domains หรือ Route 53
ที่มา - Namecheap
โครงการใบรับรองดิจิตอลฟรี Let's Encrypt เพิ่งเปิดให้บริการต่อสาธารณะไม่กี่วัน กลุ่มอำนาจเก่าผู้เสียผลประโยชน์ อย่าง GoDaddy และ Namecheap ก็ออกมาเคลื่อนไหว
ฝั่ง Namecheap นั้นออกมาเขียนบล็อกโจมตี ระบุข้อเสียของใบรับรองดิจิตอลฟรี ระบุว่าใบรับรองฟรีนั้นเพียงแค่เพิ่มการเข้ารหัสท่านั้น และไม่ได้ตรวจสอบผู้รับใบรับรองก่อนที่จะมอบใบรับรอง (ซึ่งไม่จริง เพราะ Let's Encrypt นั้นตรวจสอบผู้ถือครองโดเมน)
ขณะที่ GoDaddy ก็ออกหน้าเปรียบเทียบใบรับรอง และระบุว่าการทำเว็บเพื่อการค้านั้นต้องใช้ใบรับรองแบบ Extended Validation เท่านั้น
บริษัทรับจดโดเมนรายใหญ่ Namecheap รับการจ่ายเงินผ่าน Bitcoin แล้ว ผู้ใช้สามารถใช้ Bitcoin ในการซื้อบริการของ Namecheap ได้ ทั้งโดเมนเนม, เว็บโอสติ้ง, ใบรับรอง SSL และโปรแกรมรักษาความปลอดภัย
เหตุผลที่ Namecheap ยอมรับ Bitcoin คือคำเรียกร้องของเหล่าผู้ใช้งาน โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ที่รับ Bitcoin ก็มี WordPress และ Mega
ที่มา - Namecheap ผ่าน The Next Web
หลังจากที่ผู้จดทะเบียนโดนเมนหลายรายเริ่มมีปฏิกิริยาไม่พอใจต่อ GoDaddy ทาง EFF เองก็ได้ออกแคมเปญ #MoveYourDomain โดยผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนรายอื่นๆ ได้ลดแลกแจกแถมและหักรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้ EFF งานนี้ Namecheap หนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ได้ออกคูปอง #SOPAsucks ประกาศจำนวนโดเมนที่ย้ายเข้าไปกว่า 25,000 ชื่อ พร้อมกับยอดบริจาคจำนวน $64,180 ($2 ต่อโดเมน)