กสทช.
หลังจากเมื่อวานนี้เป็นวันกำหนดชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิตอล งวดที่ 2 วันสุดท้าย และมีบริษัทไทยทีวี ในเครือทีวีพูล เจ้าของช่อง ไทยทีวี และ LOCA ไม่มาจ่ายเงินเพียงรายเดียว ล่าสุดมีรายงานว่าทางบริษัทได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอบอกเลิกใบอนุญาตทีวีดิจิตอลทั้ง 2 ช่องแล้ว และขอให้มีผลภายใน 15 วัน
บริษัทไทยทีวี ระบุว่านโยบาย กสทช. มีความบกพร่องและไม่เป็นไปตามแผนงาน เช่นการขยายโครงข่าย MUX และการแจกคูปองล้วนล่าช้า ทำให้จำนวนผู้ชมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงทำให้บริษัทตัดสินใจขอคืนใบอนุญาตและจะกลับไปผลิตรายการทางทีวีดาวเทียมแทน
หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บอร์ด กสทช. กลับลำ ลงมติไม่ให้เลื่อนจ่ายค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอล งวดที่ 2 วันนี้ (25 พ.ค.) เวลา 16:30 น. ถือเป็นเส้นตายที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 กัน
ผลสรุปคือผู้ประกอบการ 22 ช่องจากทั้งหมด 24 ช่องมาจ่ายเงินกันตามกำหนด ขาดไป 2 ช่องคือช่อง ไทยทีวี และช่อง LOCA ซึ่งมาจากบริษัทในเครือทีวีพูลเหมือนกัน พร้อมกับข่าวตามหน้าสื่อหลายแห่งว่า ทีวีพูลตั้งใจจะไม่จ่ายเงินค่าประมูลในงวดนี้ (คิดเป็นจำนวนเงิน 288.472 ล้านบาท)
ขั้นต่อไปคือ กสทช. จะส่งหนังสือเตือนให้บริษัทรีบมาชำระเงิน พร้อมเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
วันนี้ (22 พ.ค.) บอร์ด กสทช. มีประชุมวาระพิเศษในประเด็นเรื่องการเลื่อนจ่ายค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 หลังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานอัยการสูงสุด ทำหนังสือตอบกลับ กสทช. ว่าเลื่อนจ่ายไม่ได้
ผลการประชุมคือบอร์ด กสทช. มีความเห็นพ้องกับทั้งสองหน่วยงานข้างต้น และลงมติไม่ให้เลื่อนการจ่ายค่าธรรมเนียมการประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 และให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตทั้ง 24 รายมาชำระเงินตามกำหนด ซึ่งตอนนี้มีผู้ประกอบการมาชำระเงินแล้ว 3 รายคือ ช่อง 7HD, Workpoint TV, Mono 29
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ให้หลังจากที่ บอร์ด กสทช. เห็นชอบในหลักการ เลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่สองไปอีก 1 ปี เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุดมีหนังสือสำคัญด่วนที่สุดที่ อส 0005/6086 จากสำนักงานอัยการสูงสุด ส่งตรงถึง กสทช. ระบุว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลื่อนการจ่ายค่าใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลงวดที่สองออกไป ตามที่ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัลเรียกร้องมา
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แจ้งต่อที่ประชุมผู้บริหารของ กสทช. ว่ายื่นใบลาออกต่อ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการ กสทช. แล้ว การลาออกจะมีผลวันที่ 1 กันยายน 2558 ส่วนเหตุผลบอกเพียงว่าต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารงานแทน
ทั้งนี้ Thai PBS อ้างแหล่งข่าวในสำนักงาน กสทช. ว่ามีความเป็นไปได้ที่นายฐากรจะลาออกไปรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งขึ้น เพราะนายฐากรก็เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญกับการผลักดันกฎหมายดิจิทัลชุดนี้
เมื่อเย็นวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนที่ใช้ AIS ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน 3G ได้ชั่วคราวโดยไม่รู้สาเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร โดยในเรื่องนี้ สำนักงาน กสทช. ได้เชิญ AIS ให้เข้ามาชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ (27 เมษายน) ที่ผ่านมา
ทาง AIS ระบุว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูล ISP ในประเทศกัมพูชา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีการเชื่อมโยง และไหลย้อนกลับเข้ามาในประเทศไทยผ่าน ISP ในประเทศ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบเครือข่ายของ AIS และเครือข่ายอื่นๆ เริ่มมีปัญหาในทันที แต่ด้วยความที่ AIS มีจำนวนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ระบบเครือข่ายของ AIS ล่มลงไปเมื่อเวลา 17.00 น. ก่อนจะกู้ระบบให้กลับมาทำงานตามปกติเมื่อเวลา 18.00 น.
ข่าวต่อเนื่องจากกสทช. เห็นชอบให้เลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล ในการประชุมวันเดียวกันทางกสทช. ก็อนุมัติเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นจำนวนเงินกว่า 47 ล้านบาท โดยผ่านการอนุมัติทั้งหมด 14 โครงการ แต่มีโครงการด้านไอที ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่
ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ (22 เมษายน 2558) เห็นชอบ "ในหลักการ" ข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ที่ขอเลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลงวดที่ 2 ออกไป โดยบอร์ด กสทช. ให้เหตุผลว่าผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ-การเมือง และการขยายโครงข่ายที่ไม่เป็นไปตามแผน
อย่างไรก็ตาม แนวทางของ กสทช. ยังไม่ชัดเจนว่าจะเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินงวดที่ 2 (งวดแรกจ่ายไปแล้วหลังประมูล) ออกไปอีก 1 ปีเพียงงวดเดียว หรือจะเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินงวดอื่นๆ ที่เหลือออกไปอีก 1 ปีพร้อมกันด้วย ซึ่ง กสทช. จะนำประเด็นนี้ไปรับฟังความเห็นสาธารณะให้เสร็จภายใน 15 วัน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
หลังจาก กสทช. สุทธิพล ทวีชัยการ ลาออกไปเป็น กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปีที่แล้ว ทำให้คณะกรรมการ กสทช. เหลือ 10 คนจากเดิม 11 คน และต้องสรรหากรรมการคนใหม่มาทำหน้าที่แทน
นายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า จากการที่ กสทช. จะเปิดประมูลคลื่นสำหรับกิจการโทรคมนาคมภายในปีนี้ กตป. ได้แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้ กสทช. เดินหน้าเปิดการประมูลตามแผนดังกล่าว เนื่องจากเล็งเห็นว่า คลื่น 1800 MHz ที่มีอยู่ในตอนนี้ ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปให้บริการจริง
สำนักงาน กสทช. เผยแพร่เอกสารนำเสนอของนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ที่ไปพูดในงานสัมมนาเชิงวิชาการ "ใครรอด ใครร่วง ชี้ชะตาทีวีดิจิตอลประเทศไทย" วันที่ 1 เม.ย. 2558 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เอกสารฉบับนี้มีสถิติที่น่าสนใจของทีวีดิจิตอลไทยหลายอย่าง ผมเลยนำมาเผยแพร่ต่อ พร้อมสรุปข้อมูลในประเด็นสำคัญดังนี้ครับ
สัดส่วนผู้ชมระหว่างทีวีแอนะล็อกแบบดั้งเดิมลดลงมาอยู่ที่ 74.3% (นับครึ่งแรกของเดือนมีนาคม 58) ส่วนทีวีดิจิตอลเพิ่มเป็น 25.73% เทียบง่ายๆ คือแอนะล็อกยังนำอยู่ด้วยสัดส่วน 3:1
เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่จัดจำหน่ายซิมการ์ดแบบเติมเงินห้ามทำการเปิดสัญญาณซิมการ์ดล่วงหน้าให้ลูกค้าใช้งาน แต่ยังสามารถขายได้ตามปกติเพียงแต่ลูกค้าจะต้องลงทะเบียนซิมการ์ดก่อนจึงจะเปิดสัญญาณใช้งานได้ หากเป็นลูกค้าที่ซื้อซิมการ์ดไปแล้วต้องลงทะเบียนให้เสร็จก่อนวันที 31 กรกฏาคมนี้
นอกจากนี้ กสทช. ยังเปิดให้ประชาชนสามารถลงทะเบียซิมการ์ดแบบเติมเงินผ่านแอพ "2แชะ" ได้ที่ร้าน 7-Eleven ทุกสาขา ใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้รับการอนุมัติจากทาง คสช. ให้เพิ่มเงื่อนไขในการใช้คูปองทีวีดิจิทัลนำไปแลกกล่องรับสัญญาญแบบไฮบริดได้แล้ว โดยกล่องแบบไฮบริดนั้นจะสามารถรับสัญญาณได้จากระบบดิจิทัลปกติคือ DVB-T2 และจานดาวเทียมคือ DVB-S2 ซึ่งทาง กสทช.กำลังเร่งตรวจสอบมาตรฐานและออกใบอนุญาตกล่องไฮบริดราวๆ 16,000 กล่อง ให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ยังมีการขยายอายุของคูปองแลกทีวีดิจิทัลชุดแรกที่แจก โดยจากปกติจะหมดอายุในเดือนพฤษภาคมนี้ให้มีอายุใช้งานได้อีก 2 เดือน
ที่มา - ไทยรัฐออนไลน์
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเผยรายละเอียดการประมูลคลื่น 1800 MHz (TrueMove/DPC) และ 900 MHz (AIS) โดยมีกรอบเวลาเบื้องต้นคือประมูลคลื่น 1800 MHz ในเดือนพฤศจิกายน 2558 และประมูลคลื่น 900 MHz เดือนธันวาคม 2558
ทั้งนี้ กสทช. ยอมรับว่าไม่สามารถจัดประมูลคลื่น 900 MHz ได้ทันการหมดสัญญาสัมปทานระหว่าง AIS กับ TOT วันที่ 30 กันยายน 2558 จึงต้องปรับปรุง ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 ที่เคยใช้คุ้มครองตอนสัญญาสัมปทาน TrueMove 2G หมดอายุในปี 2556 มาใช้ด้วย คาดว่าประกาศจะแก้เสร็จในเดือนกรกฎาคม 2558
คลื่น 1800 MHz
นายซิคเว่ เบรกเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ให้สัมภาษณ์ว่าดีแทคยินดีคืนคลื่น 1800MHz ชุดที่สำรองไว้ใช้งาน 25MHz ให้ กสทช. นำไปประมูลร่วมกับคลื่น 25MHz ที่ กสทช. เตรียมจัดประมูลอยู่แล้ว (ชุดของ TrueMove และ GSM 1800 ที่หมดอายุไปแล้ว) เพื่อให้ความกว้างช่วงคลื่นที่จะประมูลเพิ่มเป็น 50MHz
นอกจากนี้ ดีแทคยังยินดีขยับคลื่นความถี่ให้เป็นก้อนเดียวกัน เพื่อให้คลื่นไม่เหลือเศษ จัดสรรได้ง่ายขึ้น และยินดีนำคลื่น 1800MHz อีก 25MHz ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน (สำหรับลูกค้า 2G) และคลื่น 850MHz อีก 10MHz มาประมูลก่อนหมดอายุสัมปทานปี 2561 ด้วย
ที่มา - ไทยรัฐ
แผนภาพคลื่นย่าน 1800MHz
และแล้วผลงานแรกของ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ออกสู่สายตาประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ เมื่อในวันนี้ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เปิดเผยผลการประชุมของคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลฯ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ว่า รัฐบาลจะเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับใช้ทำ 4G โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคมนี้ครับ
เมื่อวานนี้ (9 มี.ค. 2558) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงช่วงคลื่น 900MHz ของ AIS ในปัจจุบัน ที่เดิมมีความกว้างคลื่น 17.5MHz ให้ขยายเป็น 20MHz เพื่อเตรียมการประมูล 4G ในเร็วๆ นี้
ความกว้างคลื่นเดิมของ AIS คือ 17.5MHz นั้นไม่เหมาะสมกับการใช้งานในยุค 3G/4G ที่นิยมใช้คลื่นที่หาร 5 ลงตัว ส่วนวิธีการปรับปรุงคือลด guard band ที่เคยสงวนไว้เพื่อป้องกันคลื่นรบกวนกัน โดยจะต้องแก้ใน "ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ" ที่ กสทช. ต้องปรับแก้ให้ทันสมัยทุก 2 ปีอยู่แล้ว
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ภาพประกอบจาก Jow's Blog คลื่นส่วนของ AIS คือสีแดงในภาพ
คุณเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ช่องพีพีทีวี เอชดี เปิดเผยว่าทั้งบริษัทและบรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล จะเตรียมยื่นหนังสือต่อ กสทช. อีกครั้งเพื่อขอความเห็นใจในการดำเนินธุรกิจ หลังจากการยื่นหนังสือเมื่อครั้งที่แล้วไม่ได้รับการพิจารณา
ทั้งนี้การไปยื่นหนังสือครั้งที่สองอาจเป็นการทำในนามกลุ่มผู้ประกอบการเองโดยตรง ไม่มีสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มาเข้าร่วมเหมือนรอบที่แล้ว ซึ่งคุณเขมทัตต์บอกว่าตอนนี้กลุ่มผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมาก ส่วนหนึ่งเพราะ กสทช. เองก็ไม่เข้าใจกลไกตลาดและปัญหาที่เกิดในทีวีดิจิทัล
วันนี้ (24 ก.พ.) สำนักงาน กสทช. เชิญผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 รายมาร่วมหารือเรื่องบริการอินเทอร์เน็ต โดย กสทช. ขอให้ผู้ประกอบการเลิกใช้คำว่า "unlimited" เพราะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าแพ็กเกจสามารถใช้ได้ไม่จำกัดด้วยความเร็วเท่าเดิม โดยขอให้ผู้ประกอบการปรับแก้ข้อความในโฆษณาให้ชัดเจนขึ้น เช่น ระบุว่าใช้เน็ตได้ 500MB แต่เมื่อใช้หมดแล้วสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องด้วยความเร็วที่ลดลง
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายยังระบุวิธีการคิดปริมาณข้อมูลในปัจจุบันว่าไม่ได้ปัดเศษอยู่แล้ว โดยวัดตามหน่วยย่อย 1KB และ 1 วินาที แล้วแต่ประเภทของแพ็กเกจ
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ สำนักงาน กสทช.
การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (18 ก.พ. 58) มีมติเห็นชอบข้อเสนอของ กสทช. ที่ขอให้ผลักดันการลงทะเบียนซิมแบบเติมเงิน และลงทะเบียนอินเทอร์เน็ต Free Wi-Fi เป็น "วาระแห่งชาติ" โดยให้ประชาชนที่ใช้มือถือแบบพรีเพด ต้องลงทะเบียนซิมภายในวันที่ 31 ก.ค. 2558 ตามประกาศของสำนักงาน กสทช. มิฉะนั้นจะไม่สามารถโทรออกได้
จากนี้ไป สำนักงาน กสทช. จะขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ ช่วยผลักดันการลงทะเบียนซิมทั่วประเทศ โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จะช่วยเร่งออกบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว เพื่อให้เป็นหลักฐานสำหรับการลงทะเบียนซิมด้วย
ในวันนี้ นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล 24 ราย ได้เข้ายื่นหนังสือทวงถามถึงสำนักงาน กสทช. ซึ่งมีจุดประสงคือเพื่อขอทวงถามถึงมาตรการในการเยียวยาผู้ประกอบการในกรณีความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านระบบการออกอากาศโทรทัศน์เป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งมีใจความเบื้องต้นดังต่อไปนี้ครับ
เราอ่านความเห็นของนักวิชาการหลายรายเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.เศรษฐกิจ-ความมั่นคงไซเบอร์ 10 ฉบับกันมาเยอะแล้ว คราวนี้มาดูความเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือกรรมการ กสทช. 3 ท่าน ได้แก่
ที่ร่วมกันแสดงความเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ชุดนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของ กสทช. คือ ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่, ร่าง พ.ร.บ.กองทุนดิจิทัลฯ และความสัมพันธ์ระหว่าง กสทช. กับคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติฯ ครับ
ความเห็นของ กสทช. อ่านได้จากเอกสารฉบับเต็มท้ายข่าว ประเด็นโดยสรุปมีดังนี้
ปัญหาของกระบวนการออกกฎหมาย
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ในส่วนของการวิจารณ์ร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล (ตอนที่ 1, ตอนที่ 2,
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ในส่วนของการวิจารณ์ร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล (ตอนที่ 1, ตอนที่ 2)
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" หลังจากการนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยผู้อำนวยการ สพธอ. ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยวิทยากร 3 ท่าน