กสทช.
วันนี้ในที่ประชุมกสทช. (16 กันยายน) ได้มีมติให้ผ่านหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz เพื่อนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมประมูลในวันที่ 24 กันยายนถึง 25 ตุลาคม และเปิดให้ยื่นซองประมูลวันที่ 26 ตุลาคมนี้
รายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz โดยรวมจะคล้ายกับของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz แต่จะมีจุดแตกต่างไปบางส่วน สรุปโดยสังเขปมีดังนี้
วันนี้ กสทช. ได้เรียนเชิญผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และผู้ประกอบการดิจิทัลทีวีทั้ง 36 ช่องเข้ามารับทราบเงื่อนไขการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกใหม่ โดยสาระสำคัญหลักของเงื่อนไขนี้ คือการห้ามมิให้ช่องดิจิทัลทีวีทั้ง 36 ช่อง (ที่อยู่ตั้งแต่ช่อง 11-46) ขึ้นมาอยู่ช่อง 1-10 ของแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม
พร้อมกันนี้ กสทช. ยังออกข้อบังคับให้ช่องดิจิทัลทีวีที่ขึ้นมาอยู่ช่อง 1-10 ทำการย้ายช่องกลับไปอยู่ลำดับเดิมของตัวเอง (11-46) ตามปกติ หรือ แปลงสภาพตนเองให้เข้ากับกติกาของผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม ซึ่งก็คือลดเวลาโฆษณาจากเดิมไม่เกิน 12 นาที เป็นไม่เกิน 6 นาที และเข้ามาขอรับใบอนุญาตประกอบการทีวีดาวเทียมกับ กสทช. ถึงจะสามารถออกอากาศทางช่อง 1-10 ต่อไปได้ตามปกติ
การประมูลคลื่นยังไม่ทันจะเริ่ม แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายอนุชิต ธูปเหลือง ยังคงเดินหน้าคัดค้านการประมูลคลื่น 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรื่องนี้ก็ใกล้เข้าสู่กระบวนการทางชั้นศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลังจากที่ประชุม กสทช. อนุมัติหลักเกณฑ์การประเมินทั้งคลื่นความถี่ 900MHz และ 1800MHz พร้อมตั้งเป้าเปิดให้ประมูลในเดือนพฤศจิกายนนี้ ต่อเนื่องจากที่อนุมัติคำร้องขอคืนคลื่น 1800MHz จากกสท. โทรคมนาคม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมมาแล้ว
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กสทช. ได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ เข้ามารับซองเอกสารเพื่อเตรียมการยื่นซองอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งหลังการเปิดรับเอกสาร ก็มีเอกชนเข้ามารับซองเอกสารแล้วทั้งสิ้น 5 ราย จาก 4 ค่ายหลักดังต่อไปนี้
ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 5 ช่อง ได้แก่ GMM One, GMM Channel, PPTV, Thairath TV, Bright TV รวมกลุ่มยื่นฟ้องบอร์ด กสทช. และสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครองกลาง ในประเด็นว่า กสทช. ดำเนินการเปลี่ยนผ่านระบบส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลล่าช้า ทั้งเรื่องโครงข่าย คูปอง และการกำกับดูแล
กลุ่มผู้ประกอบการระบุว่า กสทช. ทำให้ผู้ประกอบการ "หลงเชื่อและเข้าร่วมประมูล" โดยหลงผิดในข้อมูลสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิการเลือกช่องรายการ ทำให้ผู้เข้าประมูลจ่ายเงินประมูล "ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง"
กลุ่มผู้ประกอบการขอให้ศาลปกครองสั่งให้ กสทช. ชดเชยค่าเสียหายแก่ทั้ง 5 บริษัทรวมเป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และออกมาตรการเยียวยาความเสียหายให้ผู้ประกอบการด้วย
วันนี้ (21 ส.ค.) ที่ประชุม กสทช. เห็นชอบ "หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1800 MHz" เรียบร้อยแล้ว โดยจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ขั้นตอนต่อไปของการประมูลความถี่ย่าน 1800MHz ที่ค้างคากันมานานคือ กสทช. จะประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูลในวันที่ 28 ส.ค. และเริ่มเปิดรับซองวันที่ 30 ก.ย.
สรุปเงื่อนไขการประมูลคลื่นดังนี้
เกิดเรื่องวุ่นกลางงานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จัดโดย กสทช. เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ เมื่อสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการประชาพิจารณ์ต่อคณะกรรมการ กสทช. พร้อมส่งหนังสือชี้แจงต่อผู้เข้าประชุมถึงสิ่งที่ สหภาพฯ ได้กระทำไปในวันนี้
สหภาพฯ ชี้ว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำคลื่น 900 MHz ออกประมูล เนื่องจากว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ในการยึดคลื่นคืนจากทีโอทีหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส (ที่จะหมดลงในเดือนกันยายนนี้) และทีโอทีควรมีสิทธิ์ในการใช้งานคลื่นหลังจากรับสัมปทานคืนต่อจนถึงปี พ.ศ. 2568 ตามอายุของใบอนุญาตประกอบการที่ทีโอทีถืออยู่
ชื่อบทความเดิม การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz กำลังจะทำให้ยุคสัญญาสัมปทานปิดฉากแบบไม่สวยงาม
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันนี้ (31 ก.ค.) เป็นวันสุดท้ายที่ กสทช. เปิดให้เจ้าของซิมเติมเงินมาลงทะเบียนเป็นวันสุดท้าย ถ้ายังไม่ลงทะเบียนแสดงตัวเป็นเจ้าของซิม ในวันพรุ่งนี้ (1 ส.ค.) ซิมที่ยังไม่ลงทะเบียนจะไม่สามารถโทรออกได้
สถิติของ กสทช. บอกว่าตอนนี้มีผู้มาลงทะเบียนซิมแล้ว 68.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 80.2% จากจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินทุกระบบทั้งหมดรวม 85.5 ล้านเลขหมาย ยังขาดอีก 16.9 ล้านเลขหมาย ที่จะซิมดับในวันพรุ่งนี้
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
นับถอยหลังวันสุดท้ายลงเบียนซิมเติมเงิน สำนักงาน กสทช. แนะผู้ใช้บริการอีก 16.9 ล้านเลขหมาย ลงทะเบียนศูนย์โทรศัพท์ในห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน ก่อนโทรออกไม่ได้พรุ่งนี้
เมื่อวานนี้ กสทช. ได้จัดงาน กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลของโครงการทีวีดิจิทัลในประเทศไทยที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยไฮไลต์สำคัญภายในงานนี้ คือการเข้าเยี่ยมชมห้องส่งสัญญาณกลางของทางไทยพีบีเอส ณ โรงแรมใบหยกสกาย (อาคารใบหยก 2) ถนนราชปรารภ ซึ่งผู้ให้บริการสัญญาณทุกเจ้าต้องเชื่อมสัญญาณจากตัวรวมสัญญาณหรือ MUX เข้าห้องนี้ ก่อนนำขึ้นเสาส่งสัญญาณที่ชั้น 85 ของโรงแรมต่อไป
ภายในการเยี่ยมชม ผมได้รับเกียรติจากคุณแมว ธนกร สุขใส ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและวางแผนวิศวกรรม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้ข้อมูลประกอบในครั้งนี้ครับ
ในที่ประชุม กสทช. ในวันนี้ ได้มีการอนุมัติร่างประกาศ กสทช. ทั้งหมดสองฉบับ คือ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 895-915 MHz/940-960 MHz และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่านความถี่ 895-915/940-960 MHz โดยหลังจากนี้จะนำไปทำประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์ในวันที่ 23 กรกฎาคมต่อไป
หลังจากที่เมื่อวานนี้ คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้เผยว่า กสท. โทรคมนาคม ได้ส่งหนังสือขอคืนคลื่น 1800 MHz จำนวน 4.8 MHz เพื่อเข้าร่วมประมูล พร้องส่งเรื่องขึ้นที่ประชุม กทค. ในวันเดียวกัน ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. ได้อนุมัติคำร้องขอคืนคลื่นจำนวน 4.8 MHz ของ กสท. โทรคมนาคม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีมติเพิ่มเติมดังนี้
หลังจากการอนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz ของบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ได้มีการอนุมัติแผนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นที่เรียบร้อย กล่าวคือ กสทช. ต้องเปิดประมูลคลื่นความถี่ให้ได้ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้
นอกจากนี้ บอร์ดดีอี ยังได้สั่งตรงไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการหาแนวทางที่จะให้ กสท. โทรคมนาคม ทำการคืนคลื่น 1800 MHz ของดีแทคจำนวน 5 MHz กลับคืน กสทช. เพื่อนำมาประมูลโดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อที่ กสทช. จะได้จัดสรรให้ลงล็อกที่ใบอนุญาตละ 15 MHz แทนที่จะเป็น 12.5 MHz ตามแผนเดิม
จากที่ทางกทค. ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz เพื่อเข้าที่ประชุมในวันนี้ (14 กรกฎาคม) ตอนนี้กสทช. ได้ประกาศเห็นชอบหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ก่อนนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 18 กรกฎาคมต่อไป
รายละเอียดร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz จะเปิดประมูลวันที่ 11 พฤศจิกายนปีนี้ โดยจะมีให้ประมูลทั้งสิ้น 2 ใบอนุญาต ใบละ 12.5MHz ราคาเริ่มต้นที่ 11,600 ล้านบาท ซึ่งคำนวณมาจาก 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่ หากมีผู้ประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับใบอนุญาต จะเพิ่มราคาตั้งต้นไปที่ 16,570 ล้านบาทแทน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งต่ออายุการคุ้มครองผู้ใช้โทรศัพท์ระบบ 1800MHz (TrueMove เดิมและ DPC/GSM1800) ไปอีกไม่มีกำหนด จนกว่าจะสามารถประมูลคลื่น 1800MHz รายใหม่ได้
สัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ชุดนี้หมดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 โดย กสทช. ใช้วิธีออกประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการชั่วคราวไปอีก 1 ปี (จบกันยายน 2557) เพื่อรอการประมูลความถี่ใหม่ แต่หลังเหตุการณ์รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 คสช. ได้สั่งเลื่อนการประมูลออกไป และสั่งขยายเวลาคุ้มครองออกไปอีก 1 ปี (จบ 17 กรกฎาคม 2558)
คำสั่งวันนี้คือ คสช. สั่งต่ออายุการคุ้มครองออกไปอีก แต่รอบนี้ไม่มีกำหนดสิ้นสุดเป็นระยะเวลา โดยระบุเป็นเงื่อนไขว่าจนกว่า กสทช. จะสามารถจัดการประมูลได้เสร็จสิ้นแทน
ในวันนี้ที่ประชุม กทค. ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนจะนำประกาศนี้ขึ้นที่ประชุม กสทช. ในวันที่ 14 กรกฎาคม ก่อนที่จะเข้าสู่การทำประชาพิจารณ์ในวันที่ 17 กรกฎาคมที่จะถึงนี้
หลังจากการจับกุมตัว 14 นักศึกษา หรือกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลคสช. และได้มีข่าวลือในโลกสังคมออนไลน์อย่างหนาหูว่าจะมีการห้ามนำเสนอข่าวดังกล่าว วันนี้คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ก็ได้ยืนยันถึงการมีอยู่จริงของข่าวลือดังกล่าวแล้ว
สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวี ได้ยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง พร้อมเรียกค่าเสียหายราว 700 ล้านบาท จากการประกอบธุรกิจทีวีดิจิตอล รวมทั้งขอคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการประมูลงวดที่ 2 ซึ่ง กสทช. จะเรียกเก็บเงินจากแบงก์การันตี
ไทยทีวีให้เหตุผลว่าการทำงานของ กสทช. ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ก่อนการประมูล อาทิ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ ปัญหาการแจกคูปอง และคุณภาพโครงข่าย
ทางไทยทีวีได้ยื่นฟ้อง กสทช. รวมทั้งหมด 7 ประเด็น ซึ่งรวมถึงการขอให้การจัดประมูลทีวีดิจิตอลที่ผ่านมาเป็นโมฆะด้วย
ที่มา: ไทยรัฐ
หลังจากสำนักงาน กสทช. ส่งหนังสือเตือนไทยทีวีให้เข้ามาชำระค่าประมูลใบอนุญาตในวันที่ 22 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ล่าสุดนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ชัย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ก็ได้ออกมาแถลงในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว
โดยนางพันธุ์ทิพา ยืนยันว่าจะไม่จ่ายค่าประมูลใบอนุญาตทั้งหมดตามที่ กสทช. ได้ส่งหนังสือแจ้งมา และจะปล่อยให้ไทยทีวีและเอ็มวีทีวีแฟมิลี่ (โลกา เดิม) จอดำพร้อมกันทั้งบนทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียมในวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ ซึ่งหลังจากนี้นางพันธุ์ทิพาจะเดินหน้าหาพันธมิตรร่วมดำเนินการและจะพาช่องไทยทีวีกลับมาออกอากาศบนทีวีดาวเทียมเต็มรูปแบบต่อไป และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานยังคงทำงานกันต่อ
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. วันนี้ ได้มีการลงมติหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องที่ยังค้างอยู่อย่างเรื่องการขอถอนใบอนุญาตประกอบการดิจิทัลทีวีของช่องไทยทีวี ที่ กสท. มีมติให้ยุติดำเนินการได้ แต่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตให้ครบก่อน ซึ่งทางช่องก็ยังยืนยันว่าจะไม่จ่าย และจะดำเนินการบนดาวเทียมต่อไป
หลังจากที่เรื่องดีแทคแสดงความประสงค์ขอคืนคลื่นที่ไม่ได้ใช้งาน 25 MHz ให้ กสทช. เอากลับไปจัดสรรใหม่ กลับไม่มีความคืบหน้า แต่มีแผนสองอย่างการตัดคลื่น 15 MHz ที่ใช้งานอยู่มาทำ 4G เรื่องนี้เลยกลายเป็นข้อสงสัยว่าตกลงดีแทคจะเอายังไงกันแน่กับเรื่องนี้
หลังจากที่ในวันนี้ คณะกรรมการ กสทช.
ในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ได้มีการหยิบวาระในเรื่องการขออนุมัติการยุติการดำเนินการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบแอนาล็อกของสถานีโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อก 4 ช่อง ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาก็คือ กสท. อนุมัติแผนข้างต้นทั้งหมด โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังต่อไปนี้ครับ
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เสนอมา 6 ระยะ ได้แก่
ในวันนี้คณะกรรมการ กสท. ได้มีวาระการประชุมพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ไทยทีวีส่งหนังสือพิจารณาขอยุติการดำเนินการทีวีดิจิทัลทั้งสองช่อง ซึ่งผลการประชุมในนัดนี้ ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่า ให้ไทยทีวี ยุติการทำทีวีดิจิทัลได้ และประกาศให้ทั้งสองช่องพ้นสภาพการเป็นทีวีดิจิทัลประเภทบริการธุรกิจระดับชาติในทันที
อย่างไรก็ตาม กสท. ยังได้ออกคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อให้ไทยทีวีนำไปดำเนินการต่อ ซึ่งหลังจากนี้ไทยทีวีจะต้องดำเนินการตามคำสั่งของ กสท. ดังต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อด้วยครับ