กสทช.
ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขียนวิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz โดยมีประเด็นสำคัญว่าผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายจริงจังกับการประมูล ไม่ใช่แค่การดันราคาต้นทุนของคู่แข่ง ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป
การประมูลคลื่น 900 MHz ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด หลังจากเคาะเดือดเลือดสาดกันมาตั้งแต่เช้าวันที่ 15 ธันวาคม ผ่านมาสองวันราคาคลื่นทะลุแสนล้านบาท กสทช. เลยจัดแถลงข่าวในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการหลังจบการประมูลรอบที่ 113
กสทช. ชี้ว่า แนวทางในการเปลี่ยนผ่านระบบสัมปทานสู่การมอบใบอนุญาตประกอบการนั้นเป็นการเดินทางที่ถูกต้อง ประชาชน และประเทศชาติได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจน และ กสทช. ขอยืนยันแนวทางเดิมว่าจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ แต่เราจะเดินหน้าดำเนินการต่อไปเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้งานคลื่นความถี่อย่างเต็มที่
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จบวันที่สองไปแล้วและยังไม่มีทีท่าจะยุติง่ายๆ โดยผ่านไปรอบล่าสุดคือรอบที่ 108 มีผลการเสนอราคาดังนี้
ราคารวมตอนนี้อยู่ที่ 96,890 ล้านบาท โดยในการเสนอราคารอบที่ 106 นั้น ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาครบทั้ง 4 ราย เป็นการยืนยันว่ายังไม่มีผู้ประมูลรายใดที่ใช้สิทธิ Waiver ครบหมดจนต้องถอนตัว
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เข้าสู่วันที่สอง โดยเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 9 นาฬิกา และเพิ่งพักการประมูลไปเมื่อเวลา 21 นาฬิกา โดยรอบล่าสุดคือรอบที่ 90 นั้น มีผลการเสนอราคา ดังนี้
ทำให้ราคารวมตอนนี้พุ่งสูงถึง 85,298 ล้านบาท มากกว่าการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งจบที่ 80,778 ล้านบาท โดยมีการประมูล 86 รอบ
ความน่าสนใจเริ่มขึ้นในรอบที่ 84 ซึ่งไม่มีผู้เสนอราคาในสล็อตที่ 1 เป็นครั้งแรก จากที่ผ่านมามีการเสนอราคาต่อเนื่องกันทั้ง 2 สล็อต และราคาของสล็อตที่ 1 ก็ไม่ขยับเลยจนกระทั่งถึงรอบที่ 89 ที่มีผู้เสนอราคาเพิ่มอีกครั้ง
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากจบรอบที่ 36 ก็เริ่มทำการประมูลต่อตั้งแต่เมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา โดยถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผู้เข้าประมูลแม้แต่รายเดียวถอนตัว ราคาล่าสุดหลังจบรอบที่ 54 เมื่อเวลา 5:55 น. เป็นดังนี้
การประมูลจะพักอีก 3 ชั่วโมง และเริ่มทำการประมูลต่อรอบที่ 55 ในเวลา 9:00 น. โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่าเท่าที่ทำการตรวจสอบ พบการขอสิทธิไม่เสนอราคาหรือ Waiver รวมทั้งหมด 2 ครั้ง จากที่แต่ละบริษัทสามารถใช้สิทธิได้ 3 ครั้งตลอดการประมูล
และแล้วก็มาถึงการประมูล 900 MHz เสียที โดยกติกาในการประมูลรอบนี้ยังคงเหมือนกับรอบ 1800 MHz คือเปิด 15 นาที พัก 5 นาที ผู้เข้าประมูลเลือกเสนอราคาในสล็อตที่ตัวเองสนใจดังนี้
การประมูลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนบัดนี้ครบ 12 ชั่วโมง การเคาะผ่านไปทั้งหมด 36 ครั้ง โดยที่ยังไม่มีคนขอใช้สิทธิ์ถอนตัว ราคาเสนอล่าสุดคือ 26,066 ล้านบาทเท่ากันทั้งสองสล็อต ราคารวมอยู่ที่ 52,132 ล้านบาทครับ
โดย กสทช. ได้ให้พักการประมูลตั้งแต่เวลา 20.55 น. และจะเริ่มการประมูลใหม่อีกครั้งในเวลา 0.00 น. เป็นต้นไป
หลังจากที่ประกาศบังคับเรียงช่องตรงกันทุกแพลตฟอร์ม เริ่มมีผลทางปกครองตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่า คณะกรรมการ กสท. ได้ลงมติให้ กสทช. ไปดำเนินการศึกษารายละเอียด เพื่อกำหนดบทลงโทษให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสทช. อย่างชัดเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยให้ยื่นแนวทางเพื่อทำการพิจารณาในที่ประชุม คณะกรรมการ กสท. ครั้งถัดไป
โดยเมื่อประกาศถูกบังคับใช้ ก็จะมีผลโดยตรงกับ บริษัท ทรูวิชันส์ กรุ๊ป จำกัด ในทันที เนื่องจากทรูวิชันส์ ยังเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่ยังไม่มีการเรียงช่องใหม่นับตั้งแต่ประกาศนี้ถูกบังคับใช้ ในขณะที่แพลตฟอร์มอื่นๆ ได้จัดการให้เสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาแล้ว
เหลือเวลาอีกสองวัน ก็จะถึงวันประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งนับเป็นการประมูลที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองในปีนี้ แต่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา แจ้งผลวินิจฉัยข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที (สรท.) ว่าทีโอทีเป็นผู้มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าว
ถ้าจำกันได้ เมื่อกลางเดือนที่แล้ว สหภาพฯ ทีโอที ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครอง โดยขอให้ศาลปกครองชี้สิทธิ์ขาดว่าใครมีสิทธิ์ถือครองคลื่นกันแน่ ล่าสุดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ร้บฟ้องในคดีนี้เรียบร้อย
เหตุผลของศาลก็เป็นอย่างที่หลายๆ ท่านได้คาดเดากันไว้ คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงแค่นิติสัมพันธ์กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เท่านั้น และสหภาพฯ เองก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในเรื่องนี้โดยตรง จึงทำให้ไม่มีสิทธิ์ในการยื่นฟ้องร้องในเรื่องนี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลจึงลงความเห็นในการปัดตกและจำหน่ายคดีนี้ออกไป
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทย เมื่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ประกาศความร่วมมือในการยุติระบบการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก เพื่อก้าวเข้าสู่การออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลแบบเต็มตัวอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจากอำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมถึงอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่แรกเมื่อคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เวลา 0.00 น. ที่ผ่านมา
วันนี้ (4 ธันวาคม) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเครือข่าย "AIS 4G Advanced" อย่างเป็นทางการ โดยเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ AWN เข้ามารับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
AWN กล่าวว่าจะเริ่มเปิดทดลองใช้งานเครือข่าย AIS 4G Advanced ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปในบางพื้นที่ โดยลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่จะได้รับข้อความแจ้งให้อัปเกรดมาใช้บริการ ซึ่งลูกค้าสามารถทดลองใช้งานได้ฟรีโดยไม่ไปยุ่งกับแพ็คเกจปัจจุบันที่ตนเองใช้งานอยู่ โดยในส่วนของรายละเอียดทาง AWN จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
วันนี้เป็นวันแรกที่กฎเรียงช่องทีวีดิจิทัลบนแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมและเคเบิลที่ให้ผู้ให้บริการต้องเรียงช่องให้ตรงกับเลขช่องที่แต่ละช่องประมูลมานั้นมีผลใช้บังคับ แต่ปัญหาก็ไม่ได้จบเพียงแค่นั้น เมื่อกลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมหลายราย และ บริษัท บิ๊กโฟร์ แซทเทลไลท์ กรุ๊ป จำกัด ได้เข้ายื่นฟ้องสำนักงาน กสทช. เพื่อขอให้เพิกถอนประกาศนี้เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการให้บริการตามที่ เจริญ เคเบิลทีวี เคยเรียกร้องมาแล้วรอบหนึ่ง
หลังจากเป็นประเด็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องกลุ่ม True ยังไม่ยื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล 1800MHz งวดที่ 2-3 วันนี้ทาง True เข้ามายื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล ตามที่ออกข่าวไว้ว่าเป็นฤกษ์มงคล 2 ธันวาคม เวลา 13.00 น.
เงินประมูลของกลุ่ม True งวดแรก 20,493.72 ล้านบาท จ่ายให้ กสทช. เรียบร้อยตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ส่วนหนังสือค้ำประกันเงินประมูลงวดที่ 2 และ 3 รวมกันมูลค่า 21,288.72 ล้านบาท ยื่นให้ กสทช. ในวันนี้
ในวันนี้ (30 พฤศจิกายน) กสทช. ได้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนที่เดินทางข้ามไปเกาะสมุยจากอำเภอดอนสักเข้าร่วมรับชมทีวีดิจิทัล ที่เพิ่งจะเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ โดยตัวแทนของ บริษัท ซีทราน เฟอร์รี่ จำกัด กล่าวว่าบริษัทได้เริ่มติดตั้งระบบรับสัญญาณทีวีดิจิทัลบนเรือเฟอร์รี่ของบริษัทมาได้ระยะหนึ่ง และเริ่มทำการรับสัญญาณจริงเมื่อเร็วๆ นี้
จากกรณีที่กลุ่มทรูส่งจดหมายแจ้งเกี่ยวกับกรณีที่กลุ่มทรูไม่ยื่นแบงค์การันตีโดยให้เหตุผลว่าเกี่ยวเนื่องกับฤกษ์ยามที่ไม่เหมาะสม ล่าสุด นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ ผู้อำนวยการบริหารด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.ทรู คอร์ปเรชัน เปิดเผยว่ากลุ่มทรูได้ฤกษ์งามยามดีที่จะส่งมอบหนังสือรับรองจากสถาบันการเงินหรือแบงค์การันตี และฤกษ์ที่จะเข้ารับใบอนุญาตประกอบการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อวานนี้มีข่าวเครือข่ายทรูกับกสทช. สองข่าวได้แก่ ประเด็น 2G ที่อยู่ระหว่างการเยียวยา และการออกใบอนุญาต 1800MHz ตอนนี้ทางบริษัทได้ชี้แจงเพิ่มเติมมาแล้ว
สำหรับประเด็นใบอนุญาต 1800MHz บริษัทชี้แจงว่า
update: คำชี้แจงจากทางทรู
นอกจากประเด็นเรื่องฤกษ์มงคลแล้ว การออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ยังมีประเด็นน่าสนใจ เพราะเกี่ยวโยงไปกับการยกเลิกระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้งานตามสัญญาสัมปทาน 2G เดิม ที่หมดอายุไปตั้งแต่ปี 2556
คลื่น 1800MHz ชุดนี้มีผู้ครอบครองเดิม 2 รายคือ True และ AIS (DPC) ซึ่งหลังการประมูล กลุ่มบริษัทเดิมก็ชนะการประมูลทั้งคู่
ระยะเวลาระหว่างการหมดสัญญาสัมปทานจนถึงการออกใบอนุญาตใหม่ อยู่ภายใต้ "การเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ" ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งทั้งสองบริษัทมีความเห็นต่างกันว่าระยะเวลาคุ้มครองจะหมดอายุเมื่อใด (แปลว่าซิมเก่า 2G จะดับ)
update: คำชี้แจงจากทางทรู
การออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ของค่าย True เกิดอาการสะดุดซะแล้ว หลังจากที่ AIS เข้าไปชำระเงินค่าประมูลคลื่นงวดแรกและรับใบอนุญาตไปแล้ว เมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ฝั่งของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ที่เป็นผู้ชนะประมูลอีกรายหนึ่งก็นัดเข้าไปชำระเงินค่าประมูลกับ กสทช. เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม บริษัท ทรู มูฟ เอช ชำระเงินค่าประมูลงวดแรก 20,492.72 ล้านบาท แต่บริษัทกลับไม่ได้จัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลงวดที่สองและสามให้กับสำนักงาน กสทช. ด้วย ทำให้ กสทช. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ให้ได้แบบ AIS
เนื่องจาก การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ที่จะทำการประมูลในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 นี้ และทาง กสทช. ประกาศให้ใช้งานได้ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2558
ทาง TOT3G จึงออกประกาศให้ลูกค้า GSM900 โอนย้ายเบอร์ก่อน 22 ธันวาคม 2558 เพื่อป้องกันการปิดเบอร์นั่นเองครับ
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่แข่งขันประมูลกันอย่างเข้มข้น หลายคนสงสัยว่าราคาชนะประมูลในระดับแปดหมื่นล้านบาทนั้นจะทำให้อัตราค่าบริการ 4G แพงขึ้นหรือไม่ และทำไมก่อนเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz บางค่ายก็โฆษณาบริการ 4G แล้ว สิ่งที่โฆษณานั้น ตกลงเป็น 4G แท้หรือ 4G เทียม
หนึ่งวันก่อนการประมูล เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อสหภาพฯ กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง กสทช. ขอระงับการประมูลคลื่น 1800 MHz กับศาลปกครองกลาง และในวันเดียวกันตุลาการศาลได้ลงมติรับคำร้องไว้พิจารณา แต่ไม่ออกคำสั่งคุ้มครอง ทำให้ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน มีการจัดการประมูลคลื่นตามปกติ และก็ได้ผู้ชนะอย่างเป็นทางการเรียบร้อย
หลังผ่านการประมูลไปสามวัน วันนี้คณะกรรมการ กทค. ได้รับรองผลการประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชัน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้ชนะอย่างเป็นทางการ
โดยในวันพรุ่งนี้ สำนักงาน กสทช. จะส่งหนังสือรับรองผลประมูลไปแจ้งต่อผู้ชนะการประมูล เพื่อให้เตรียมการเข้ามาจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก 50% (20,493 ล้านบาท) ภายใน 90 วันนับจากนี้ (สิ้นสุด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ กสทช. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายทั้งในแง่ตัวเลขเงินที่ประมูล และความยืดเยื้อยาวนานของการประมูลที่กินเวลารวมเกือบ 2 วันเต็ม
คำถามที่หลายคนสงสัยคือคลื่น 1800MHz มีอะไรน่าสนใจ จนบรรดาโอเปอเรเตอร์ต้องต่อสู้กันดุเดือดถึงเพียงนี้ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ขั้นต้นแบบด่วนๆ หลังประกาศผลประมูลครับ (ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนนัก และวิเคราะห์ด้วยยอดรวมการประมูลของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่ได้สนใจจังหวะการประมูลแต่ละขั้นตอนนะครับ)
Thailand's second telecommunication spectrum auction proves a spectrum auction could become fierce. Two 1800MHz spectrum licenses, allocated for 4G service, had been in auction for longer than 30 hours straight since the morning of 11th November without a break during the night. The executives from multi-billion baht companies have to stay in the auction rooms without any outside communication. Total bidding time is 28 hours.
The winners of the auction are AIS and True, the largest and the third largest mobile operators.
กินเวลากว่า 33 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 10.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน จนถึงตอนนี้ การประมูลคลื่น 1800 MHz จบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยราคาสุดท้ายพร้อมผู้ชนะมีดังต่อไปนี้ครับ
ส่วนราคาของผู้ที่ไม่ชนะการประมูลมีดังต่อไปนี้