กสทช.
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ กสทช. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายทั้งในแง่ตัวเลขเงินที่ประมูล และความยืดเยื้อยาวนานของการประมูลที่กินเวลารวมเกือบ 2 วันเต็ม
คำถามที่หลายคนสงสัยคือคลื่น 1800MHz มีอะไรน่าสนใจ จนบรรดาโอเปอเรเตอร์ต้องต่อสู้กันดุเดือดถึงเพียงนี้ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ขั้นต้นแบบด่วนๆ หลังประกาศผลประมูลครับ (ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนนัก และวิเคราะห์ด้วยยอดรวมการประมูลของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่ได้สนใจจังหวะการประมูลแต่ละขั้นตอนนะครับ)
Thailand's second telecommunication spectrum auction proves a spectrum auction could become fierce. Two 1800MHz spectrum licenses, allocated for 4G service, had been in auction for longer than 30 hours straight since the morning of 11th November without a break during the night. The executives from multi-billion baht companies have to stay in the auction rooms without any outside communication. Total bidding time is 28 hours.
The winners of the auction are AIS and True, the largest and the third largest mobile operators.
กินเวลากว่า 33 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 10.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน จนถึงตอนนี้ การประมูลคลื่น 1800 MHz จบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยราคาสุดท้ายพร้อมผู้ชนะมีดังต่อไปนี้ครับ
ส่วนราคาของผู้ที่ไม่ชนะการประมูลมีดังต่อไปนี้
การประมูลคลื่น 1800MHz วันที่สองยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ตัดสินใจหยุดพักการประมูลตั้งแต่เวลา 17.30 น. ของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้พักผ่อน และจะกลับมาประมูลต่อวันพรุ่งนี้ (13 พฤศจิกายน) เวลา 10.00 น.
ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทจะพักค้างคืนในสำนักงาน กสทช. โดยแยกห้องพักกันชัดเจน และมีเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. คอยดูแลไม่ให้แต่ละบริษัทติดต่อกันได้ ในกรณีผู้ร่วมประมูลที่ต้องการสิ่งของ เช่น เสื้อผ้าหรือยา จากที่บ้าน สามารถแจ้งทางเจ้าหน้าที่ให้ติดต่อแทนได้
ส่วนราคาประมูลล่าสุด ณ เวลาที่เขียนข่าว (17:20 น.) นับเป็นรอบที่ 79 คลื่นชุดที่หนึ่ง 37,802 ล้านบาท และคลื่นชุดที่สอง 38,598 ล้านบาท
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่น 1800 MHz แล้ว คณะกรรมการ กทค. จะเรียกประชุมด่วนเพื่อเตรียมการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เมื่อคืนวานนี้ต้องลงมติเร่งด่วนให้ประมูลกันแบบต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผู้ชนะ แทนการเข้ามาประมูลใหม่ในเวลา 9.00 น. ของวันนี้
และแล้วก็เข้าสู่วันประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดแรกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งแต่เช้า คณะกรรมการ กสทช. ได้ให้การต้อนรับตัวแทนของผู้เข้าประมูล ซึ่งก็คือ เอไอเอส, ดีแทค, ทรู และ แจสโมบาย ด้วยความยินดี ก่อนจะเริ่มจับฉลากลำดับการเรียกเข้าห้องประมูล และให้ตัวแทนขึ้นมาจับฉลาก Username/Password ที่ใช้ในการประมูลอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมายืนยันถึงแผนการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม แม้ว่าสหภาพฯ ทีโอที จะออกมายื่นฟ้อง และร้องเรียนขอความเป็นธรรม แต่ตนก็ยังยืนยันว่าแผนการประมูลควรเป็นไปตามแผนเดิม และถ้าหากใครเข้ามาขัดขวางก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที
ถึงแม้ว่ายังไม่มีความคืบหน้าจากบอร์ดของทีโอทีว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง แต่เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพฯ ทีโอที ได้เข้ายื่นฟ้อง กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พร้อมพวกรวม 24 คน ต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลชี้ขาดสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ กสทช. จะนำออกประมูลในเดือนธันวาคม
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (3 พ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อดำเนินการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรี ออกมาพิจารณาถึงความเสียหายที่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน และวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงมติเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz จากเดิม 12 พฤศจิกายน 2558 กลับไปเป็น 15 ธันวาคม 2558 ตามกำหนดการแรกสุด ด้วยเหตุผลว่าโดนวิจารณ์ถึงการจัดประมูลที่ติดกับคลื่น 1800MHz ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จนอาจส่งผลต่อการเคาะราคาประมูลของผู้รับใบอนุญาตทั้ง 4 รายที่ประมูลคลื่นทั้ง 2 ช่วงความถี่ได้
กสทช. ระบุว่าการเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz ออกไปอีกประมาณ 1 เดือน จะไม่ส่งผลต่อการเปิดบริการ 4G บนคลื่น 900MHz มากนัก และยังอยู่ในกรอบเวลาเดิมที่เคยกำหนดไว้ตั้งแต่แรกด้วย ส่วนคลื่น 1800MHz จะยังเดินหน้าประมูลวันที่ 11 พฤศจิกายนตามกำหนดเดิม
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
กทค. เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz เป็นกรอบเวลาเดิม 15 ธ.ค. 2558
ข่าวด่วนครับ เมื่อเวลา 0.00 ที่ผ่านมา ไทยพีบีเอส ในฐานะผู้ให้เช่าอุปกรณ์รวมสัญญาณไทยทีวีได้ดำเนินการตัดสัญญาณของช่องไทยทีวี และโลกา เข้าสถานะจอดำด้วยตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่มีคำสั่งจาก กสท.
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. (กสทช. ด้านโทรคมนาคม) ได้ลงมติอนุมัติให้ทีโอที นำคลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz มาทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี LTE ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบการเดิม
จากกรณีที่บอร์ดทีโอทีเตรียมยื่นฟ้อง กสทช. เพื่อทวงสิทธิ์ในการบริหารคลื่น 900 MHz กลับมาจากการนำออกไปประมูล ในการประชุมบอร์ดทีโอทีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ยังไม่ได้ผลสรุปเกี่ยวกับคำฟ้องที่จะยื่นฟ้องในเร็วๆ นี้ โดยบอร์ดคาดว่าจะมีการสรุปผลอีกครั้งในวันที่ 30 ตุลาคม (13 วันก่อนการประมูล)
วันนี้ (22 ต.ค. 2558) กสทช. เปิดรับเอกสารเข้าร่วมการประมูลคลื่น 900MHz โดยต้องวางหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสด 644 ล้านบาท หลังปิดรับเอกสารเวลา 16.30 น. สรุปแล้วมีผู้ยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูล 4 ราย ได้แก่
บริษัททั้ง 4 รายเป็นบริษัทเดียวกับที่ยื่นเอกสารเข้าประมูลคลื่น 1800MHz ก่อนหน้านี้ คาดว่าคลื่น 900MHz จะจัดประมูลจริงในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากการประมูลคลื่น 1800MHz หนึ่งวัน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
การดำเนินงานเกี่ยวกับคลื่น 900 MHz จากทางฝั่ง กสทช. ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามารับซองประมูลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน (ซึ่งเข้ามาเอาแล้ว 6 บริษัท) และทิ้งท้ายว่าจะนำเรื่องวันประมูลไปหารือในที่ประชุม กทค. อีกครั้งเพื่อให้ได้วันที่เร็วขึ้น ซึ่งวันนี้ก็มีการลงมติในเรื่องนี้เป็นที่เรียบร้อย
โดยที่ประชุมกทค. วันนี้ ได้มีมติให้เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz จากเดิมคือวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เข้ามาเร็วขึ้นเป็นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเปิดประมูลต่อจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ทันที
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอรรถชัย วุฒพันธ์ ได้เข้าร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ให้ช่วยตรวจสอบค่าบริการโทรศัพท์ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ของบริษัท เรียลมูฟ จำกัด (เครือข่าย TrueMove H) ที่สูงผิดปกติถึง 53,166.16 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยค่าบริการรายเดือน 199 บาท ค่าบริการรายเดือนส่วนอื่น 100 บาท และค่าบริการส่วนเกินที่สูงผิดปกติถึง 49,200 บาท ซึ่งค่าบริการในส่วนนี้ เป็นค่าบริการที่ถูกเรียกเก็บจากการโหวตผู้เข้าแข่งขันในรายการ True Academy Fantasia ปี 12 ของช่อง True4U จำนวน 123 ครั้ง
จริงๆ ข่าวนี้มาก่อนข่าวแสดงจุดยืนของทีโอที (เพราะเป็นข่าวเดียวกันกับข่าวประกาศผู้ยื่นซองเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz) เลยนำเอามาเสนอในอีกมุมของกรณีพิพาทในเรื่องนี้ครับ
คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า จากกรณีพิพาทเรื่องที่ สหภาพฯ ทีโอที ต้องการล้มประมูลเพื่อเอาสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ 900 MHz กลับมาเป็นของทีโอทีนั้น กสทช. ขอยืนยันว่าจะดำเนินการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz ต่อไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งถ้าไม่มีคำสั่งจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ศาลปกครอง ก็จะไม่หยุดดำเนินการในเรื่องนี้
กรณีพิพาทเรื่องคลื่น 900 MHz ของเอไอเอสที่หมดสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ถ้าทราบกันดีเรื่องนี้มีความคืบหน้าจากทั้งฝั่ง กสทช. ที่ต้องการเดินหน้าเปิดประมูล และฝั่งสหภาพฯ ทีโอทีต้องการนำคลื่นกลับมาให้บริการด้วยตัวเอง และแสดงทีท่าว่าต้องการล้มประมูลในรอบนี้ ความคืบหน้าล่าสุดของเรื่องนี้ คือเมื่อช่วงเช้า ทีโอที ได้จัดประชุมนัดพิเศษเพื่อแสดงจุดยืนในเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้ว
หลังจากที่รอลุ้นกันมาพักใหญ่ว่า Lenovo จะนำเอา Motorola ที่ซื้อมาจากกูเกิลกลับเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอีกครั้งหรือไม่ ล่าสุดทาง Lenovo ประเทศไทยได้ยื่นเรื่องให้ กสทช. ดำเนินการตรวจสอบสมาร์ทโฟน Motorola 3 รุ่นที่จะนำมาวางขายในประเทศไทยครับ
3 รุ่นที่กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบคือ Moto X Play (XT1562), Moto X Style แบบ Dual Sim (XT1572) และรุ่นที่คาดว่าน่าจะใช้ชื่อ Moto X Force หรือโค้ดเนม Bounce ที่เคยหลุดออกมาก่อนหน้านี้ (XT1580) ที่ยังไม่เปิดตัว
อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องการสั่งแบบ custom ผ่านหน้า MotoMaker ในบ้านเรา รวมถึงยังไม่มีรายละเอียดว่าจะนำ Moto G เข้ามาจำหน่ายด้วยครับ
ความคืบหน้าของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz หลังจากมีผู้รับเอกสารการประมูลไปทั้งหมด 7 บริษัทจาก 5 ค่าย วันนี้ กสทช. เปิดให้ยื่น "คำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่" พร้อมค่าพิจารณาคำขอจำนวน 535,000 บาท และหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสด 796 ล้านบาท ผลสรุปคือมี 4 บริษัทที่เข้ามายื่นเอกสารและจ่ายเงิน ได้แก่
ความคืบหน้าล่าสุดของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต วันนี้ กสทช. เปิดให้มารับเอกสารการประมูลเป็นวันสุดท้าย สรุปแล้วมีทั้งหมด 7 บริษัท (5 ค่าย) มารับเอกสารการประมูลไปพิจารณา ก่อนจะเข้ามายื่นเอกสารตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2558 (บางบริษัทอาจรับเอกสารแต่ไม่ยื่นประมูล)
หัวข้ออาจจะดูคุ้นๆ แต่ข่าวนี้ คือคลื่น 900 MHz ครับ
เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา กสทช. ได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz มารับซองเอกสารเพื่อเตรียมการยื่นซองขอเข้าประมูลในวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ต่อไป ซึ่งในวันดังกล่าว ก็มีเอกชนเข้ามารับซองเงื่อนไขแล้วทั้งสิ้น 6 ราย ดังต่อไปนี้ครับ
และแล้วก็จบลงด้วยดี สำหรับกรณีการขอคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 4.8 MHz ของดีแทค ซึ่งเมื่อวานนี้คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้เปิดเผยว่า กระทรวง ไอซีที ได้ส่งหนังสือตอบรับว่า กสท โทรคมนาคม ได้ส่งมอบคลื่นความถี่จำนวน 4.8 MHz คืนมาให้เรียบร้อยแล้ว
โดยในหนังสือตอบรับ กระทรวงไอซีทียังได้ลงความเห็นจากบอร์ด กสท โทรคมนาคมมาให้ด้วย กล่าวคือ การคืนคลื่นความถี่ในครั้งนี้ เป็นการคืนโดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใดๆ ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาตามมาตรา 43 ของ พรบ. ร่วมทุนเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการคืนคลื่นในครั้งนี้ยังส่งผลให้มีจำนวนคลื่นให้บริการประชาชนที่มากขึ้น และยังสร้างรายได้เข้ารัฐได้มากกว่า 6,000 ล้านบาทอีกด้วย
รองประธาน กสทช. พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย ชี้แจงประเด็น Single Gateway โดยระบุว่าเป็นการดึงให้เอกชนเข้ามาใช้ช่องทางเชื่อมต่อแทนที่จะไปเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และควรเรียกว่า "ฮับ" หรือศูนย์กลางดิจิตอล
ในแง่การดำเนินการ "ฮับ" นี้จะดำเนินการโดย CAT หรือ กสท โทรคมนาคม
พ.อ.เศรษฐพงศ์ เป็นหนึ่งในกสทช. ที่ออกมาให้ข่าว ระบุว่าการที่ดีแทคออกมาเปิดเผยว่ากสทช. เป็นผู้สั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อคเฟซบุ๊กทั้งประเทศในปีที่แล้วเป็นเรื่องที่ไม่สมควรและไม่เคารพกติกามารยาท
จากประกาศบังคับให้ทีวีเคเบิลและดาวเทียมทำการเรียงช่องใหม่ทั้งหมด และยกช่องทีวีดิจิทัลขึ้นมาเป็นช่อง 1-36 เหมือนกันทุกระบบ ล่าสุดเริ่มมีเสียงตอบรับจากฝั่งผู้ให้บริการท้องถิ่นว่ากฎข้างต้นนี้ไม่เป็นธรรมอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการให้บริการธุรกิจอย่างรุนแรง