The New York Stock Exchange (NYSE) หรือตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นกับราคาหุ้นของบริษัท Berkshire Hathaway คลาส A (BRK.A) บริษัทด้านการลงทุนของ Warrent Buffett เมื่อคืนนี้ ซึ่งราคาปรับลดลงมากกว่า 99.9% จากราคากว่า 620,000 ดอลลาร์ เหลือประมาณ 185 ดอลลาร์เท่านั้น ทำให้ NYSE สั่งหยุดการซื้อขายหุ้น BRK.A ชั่วคราว
NYSE ชี้แจงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางเทคนิค จากการเชื่อมต่อข้อมูลกับ Consolidated Tape Association (CTA) บริษัทที่ให้บริการข้อมูลราคาหุ้นเรียลไทม์ โดย CTA ชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีการออกอัปเดตซอฟต์แวร์ใหม่ และเกิดความผิดพลาดส่วนกำหนดราคาสูงสุด-ต่ำสุดของหุ้น จึงได้เปลี่ยนกลับมาซอฟต์แวร์เวอร์ชันก่อนหน้าคืน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กสั่งหยุดซื้อขายหุ้น Berkshire Hathaway แบบ A (BRK.A) หลังราคาหุ้นร่วงลงไปถึง 99.97% จากหุ้นละกว่า 620,000 ดอลลาร์ หรือ 23 ล้านบาท เหลือเพียง 185 ดอลลาร์หรือ 7,000 บาทเท่านั้น
หุ้น BRK.A มีการซื้อขายบนกระดานไม่เยอะนักเนื่องจากราคาสูงมาก นับแต่เปิดตลาดวันนี้มีการซื้อขายเพียงไม่ถึง 4,000 หุ้นเท่านั้น
ล่าสุดตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาเปิดซื้อขายเหมือนเดิม หลังปิดไป 1 ชั่วโมง โดยราคาเด้งกลับมาที่เดิม ยังไม่มีแถลงว่าสาเหตุของราคาผิดปกติเช่นนี้เกิดจากอะไร
ที่มา - CNBC
Reddit แพลตฟอร์มชุมชนออนไลน์รายใหญ่ ยื่นเอกสารไฟลิ่งกับ SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ เพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นแล้ว หลังจากมีรายงานมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีประเด็นสำคัญเพราะ Reddit จะเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่บริษัทแรกที่ไอพีโอในตลาดหุ้นสหรัฐปีนี้ และเป็นโซเชียลมีเดียที่เข้าตลาดหุ้นในรอบหลายปี (ล่าสุดคือ Pinterest ปี 2019)
Didi ประกาศจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ โดยมีวาระสำคัญเรื่องการขอเพิกถอนบริษัท ออกจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ในอเมริกา ตามที่มีข่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว
บริษัทระบุว่าในระหว่างการขอเพิกถอนหลักทรัพย์ บริษัทจะไม่นำบริษัทไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นที่อื่นก่อน จนกว่ากระบวนการนี้จะแล้วเสร็จ แต่หลังจากนั้นอาจพิจารณานำบริษัทไปซื้อขายที่ตลาดหุ้นแห่งอื่น (รายงานข่าวก่อนหน้านี้คือฮ่องกง)
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Didi ถูกหน่วยงานกำกับดูแลของจีนสั่งให้ระงับการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพื่อทำการตรวจสอบการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน จนนำมาสู่การสั่งให้เพิกถอนบริษัทออกจากตลาดหุ้น
มีรายงานว่า Intercontinental Exchange หรือ ICE เจ้าของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ได้แสดงความสนใจเบื้องต้นที่จะซื้อกิจการทั้งหมดของ eBay โดยมูลค่าอาจสูงกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าเหตุผลที่ ICE สนใจซื้อกิจการของ eBay เพื่อกระจายธุรกิจไปยังหมวดอื่น และลดแรงกดดันจากนโยบายลดค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ โดย ICE สนใจซื้อเฉพาะธุรกิจมาร์เก็ตเพลสของ eBay เท่านั้น ไม่ต้องการซื้อธุรกิจโฆษณา (Classified) ซึ่ง eBay ก็มีแผนจะขายส่วนธุรกิจนี้ออกไปอยู่แล้ว
ตัวแทนของ ICE และ eBay ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
Intercontinental Exchange หรือ ICE บริษัทเจ้าของ NYSE ประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ Bakkt เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขาย, เก็บ และใช้จ่ายสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างเช่นบิตคอยน์ ตามข่าวลือก่อนหน้า
แพลตฟอร์มของ Bakkt จะใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ของ Microsoft ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนาแพลตฟอร์ม Bakkt การให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลแก่สถาบัน, ผู้ค้า และผู้บริโภค โดยจะเน้นโปรโมตที่ความมีประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย และประโยชน์ใช้สอยของแพลตฟอร์ม ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของแพลตฟอร์มนี้คือใช้เพื่อเทรดหรือแปลงบิตคอยน์เป็นสกุลเงินทั่วไป
สำนักข่าว New York Times รายงานว่า ตอนนี้ Intercontinental Exchange หรือ ICE บริษัทแม่ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กหรือ NYSE กำลังเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายบิตคอยน์ โดยจะเป็นการซื้อขายบิตคอยน์เข้าบัญชีจริง ๆ ไม่ใช่แค่ฟิวเจอร์ที่วิ่งตามราคาบิตคอยน์
ตอนนี้ ICE เริ่มพูดคุยกับสถาบันการเงินเกี่ยวกับระบบใหม่แล้ว โดยระบบซื้อขายบิตคอยน์ของ NYSE จะให้สถาบันการเงินซื้อสัญญา (ที่เรียกว่า swap) และลูกค้าจะได้บิตคอยน์ในวันถัดไป ซึ่งจะยุ่งยากกว่าการซื้อบิตคอยน์โดยตรงแต่ทำให้การซื้อขายสอดคล้องกับตามกฎหมายปัจจุบันมากกว่า แต่แผนธุรกิจยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาซึ่งเป็นความลับ และอาจล้มเลิกได้ตลอดเวลาหากกฎหมายเข้มงวดมากขึ้นจนทำให้การทำธุรกิจลำบาก
เมื่อคืนนี้ Spotify ได้นำหุ้นบริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยตัวย่อ SPOT ซึ่ง Spotify ใช้วิธีนำหุ้นตลาดแบบโดยตรง (Direct Listing) ตามที่เคยรายงานก่อนหน้านี้ มีการตัดขั้นตอนการตั้งราคาไอพีโอหุ้น ทำให้ไม่มีเงื่อนไขต่างๆ แบบหุ้นอื่นเวลาเข้าตลาดหุ้น
ถ้าอธิบายง่ายๆ ให้เห็นภาพ แทนที่ Spotify จะออกหุ้นเพิ่มทุน นำหุ้นนั้นโรดโชว์จำหน่าย Spotify กลับเลือกเอาหุ้นทั้งหมดของบริษัท เข้าไปในตลาดหุ้น โดยไม่มีการเพิ่มทุนใดๆ เลย ผลคือผู้ถือหุ้นดั้งเดิมสามารถนำหุ้นออกมาขายได้ทันที ไม่ติด Silent Period
Spotify บริการฟังเพลงสตรีมมิ่ง ได้เปิดเผยไฟลิ่งเพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กแล้ว ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ โดยจะใช้ตัวย่อในการซื้อขายคือ SPOT คาดว่าจะสามารถเพิ่มทุนได้อีก 1 พันล้านดอลลาร์จากการเข้าตลาดหุ้น
ปัจจุบัน Spotify มีผู้ถือหุ้นหลักได้แก่ ซีอีโอ Daniel Ek (25.7%), Tencent (7.5%), กองทุน Tiger Global (6.9%) และ Sony Music (5.7%) รายได้หลักของ Spotify มาจากภูมิภาคยุโรป (Spotify มาจากสวีเดน) ตอนนี้ให้บริการแล้วใน 61 ประเทศ มีผู้ใช้งาน 159 ล้านคน และเป็นผู้ใช้งานแบบเสียเงิน 71 ล้านคน การใช้งานเฉลี่ย 25 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน ปีที่ผ่านมารายได้รวม 5 พันล้านดอลลาร์ และขาดทุน 1.46 พันล้านดอลลาร์
มีรายงานว่า Spotify ได้ยื่นเอกสารกับ SEC หรือ กลต. ของสหรัฐ เพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว โดยคาดจะเริ่มนำหุ้นบริษัทซื้อขายได้ภายในไตรมาสปัจจุบัน 1/2018 หลังจากที่มีข่าวก่อนหน้านี้
Snap Inc. บริษัทแม่ของ Snapchat จะเริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กคืนนี้ด้วยตัวย่อ SNAP มีราคาไอพีโอหุ้นละ 17 ดอลลาร์ ระดมทุนได้ 3,400 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นมูลค่ากิจการ 23,800 ล้านดอลลาร์ สูงที่สุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ Alibaba เข้าตลาดหุ้น
ในแง่ของวงการสตาร์ทอัพ การเข้าตลาดหุ้นของ Snap มีความหมายสูงมาก เพราะถ้าผลตอบรับออกมาดี ก็ย่อมส่งผลดีต่อเนื่องสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีแผนจะเข้าตลาดหุ้นในอนาคตด้วย รวมทั้ง Uber และ Airbnb ที่มีมูลค่ากิจการสูงกว่า Snap
สิ่งที่ท้าทาย Snap หลังเข้าตลาดหุ้นก็คืออนาคตการเติบโตบริษัทจะเป็นไปในทิศทางใด เนื่องจาก Snapchat เป็นแอพเครือข่ายสังคมที่เน้นกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่น โดยมีกรณีเทียบเคียงในอดีตอย่าง Facebook ก็เคยถูกตั้งคำถามว่าจะไปได้ดีบนมือถือหรือไม่ แต่ตอนนี้ไม่ต้องอธิบายแล้ว กับ Twitter ที่ยังประสบปัญหาการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานอยู่จนถึงตอนนี้
ข่าวนี้น่าสนใจมากสำหรับคนที่ตามเรื่อง cloud computing ครับ เพราะเป็นบริการกลุ่มเมฆที่ไม่ได้ทำโดยบริษัทไอทีโดยตรง และมีฐานลูกค้าเฉพาะของตัวเอง
บริษัท NYSE Technologies ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ NYSE Euronext (บริหารตลาดหุ้นนิวยอร์กและอีกหลายแห่งในยุโรป) ประกาศเปิดตัวบริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆสำหรับตลาดการเงินและตลาดทุนโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า Capital Markets Community Platform
บริษัทค้าหุ้น ค้าหลักทรัพย์ ที่ต้องการสร้างโซลูชันไอทีของตัวเองแต่ไม่อยากลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที สามารถ "เช่าใช้" บริการของ Capital Markets Community Platform ได้โดยคิดราคาเป็นจำนวนซีพียูต่อชั่วโมง (เหมือนกับ EC2)