Software Freedom Conservancy (SFC) องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ผลักดันเรื่องโอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ OpenWrt โครงการลินุกซ์สำหรับเราเตอร์ไร้สาย เปิดตัว OpenWrt One ฮาร์ดแวร์เราเตอร์ไร้สายตัวแรกของโลกที่ออกแบบมาเพื่อรัน OpenWrt โดยเฉพาะ
จุดเด่นสำคัญของ OpenWrt One ที่ต่างจากเราเตอร์อื่นๆ ในตลาด คือความเป็นอิสระในการใช้งาน ปรับแต่ง แก้ไข ไม่ถูกล็อคใดๆ และการออกแบบมาให้บำรุงรักษาได้ง่าย
สเปกของ OpenWrt One ใช้ชิป MediaTek Filogic 820 SoC, แรม 1GB DDR4 RAM, สตอเรจ 256 MiB NAND, รองรับการเชื่อมต่อ M2 SSD, รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6 dual-band, พอร์ตเชื่อมต่อ Ethernet 1x 2.5Gbit LAN, 1x 1Gbit LAN, USB-C Serial console, USB 2.0
เว็บบอร์ด OpenWRT ถูกร้ายล็อกอินในบัญชีระดับผู้ดูแลระบบได้สำเร็จ แต่ไม่ได้สิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยตรงแต่อย่างใด ทำให้ข้อมูลที่หลุดออกไปได้แก่ ชื่อผู้ใช้, อีเมล, และสถิติการใช้งานเว็บบอร์ด
ทาง OpenWRT ระบุว่าบัญชีผู้ดูแลระบบนี้ใช้รหัสผ่านที่ดีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เปิดการล็อกอินสองขั้นตอนเอาไว้ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าคนร้ายล็อกอินได้อย่างไร ระหว่างนี้ทางเว็บบอร์ดประกาศมาตรฐาน 1) บังคับรีเซ็ตรหัสผ่าน 2) แจ้งเตือนผู้ใช้ว่าคนร้ายจะรู้อีเมล 3) แนะนำให้ผู้ใช้รีเซ็ต OAuth token
บริการส่วนอื่นเช่น wiki นั้นใช้บัญชีแยกจากกันและทาง OpenWRT เชื่อว่าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ที่มา - OpenWRT
AWS IoT Greengrass ประกาศรองรับ OpenWRT อย่างเป็นทางการ หลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมารองรับ Ubuntu เพิ่มเติมไปแล้ว การรองรับ OpenWRT จะทำให้ Greengrass ทำงานในอุปกรณ์ขนาดเล็กลงได้
Greengrass เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับรันโค้ด AWS Lambda บนอุปกรณ์ของลูกค้า การที่อุปกรณ์ขนาดเล็กรองรับ Greengrass จะทำให้ในอนาคตเราจะมีอุปกรณ์ IoT เช่น กล้องวงจรปิด ที่สามารถตัดสินใจเบื้องต้นได้เอง หรือบันทึกข้อมูลเมื่อถึงเงื่อนไขที่ระบุ
โครงการ LEDE แยกตัวออกจาก OpenWRT ตั้งแต่ปี 2016 จากความไม่พอใจที่นักพัฒนารับโค้ดช้า แต่เพียงปีเดียวก็มีการพูดคุยว่าจะกลับมารวมโครงการกัน ตอนนี้กระบวนการรวมโครงการก็เรียบร้อยแล้ว
แม้จะบอกว่าเป็นการรวมโครงการกัน แต่ในทางปฎิบัติแล้วเหมือนว่า LEDE จะเป็นผู้ชนะ โดยโค้ดหลักจะมาจาก LEDE รวมถึงกติกาชุมชน แต่ในแง่ขององค์กร OpenWRT เป็นโครงการภายใต้ Software in the Public Interest (SPI) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสิทธิรับบริจาคเพื่อลดภาษีอยู่
คาดว่าจะมี OpenWRT เวอร์ชั่นใหม่ภายใต้โครงการที่รวมกันแล้วในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
โครงการ LEDE แยกตัวออกมาจาก OpenWRT ตั้งแต่ปีที่แล้ว หลังจากนักพัฒนาจำนวนหนึ่งแสดงความไม่พอใจที่โครงสร้างโครงการ OpenWRT เข้าถึงได้ยาก นักพัฒนาที่มีสิทธิ์ commit มีจำนวนน้อยและไม่ค่อยจะมีเวลาให้กับโครงการนัก ตอนนี้การเจรจาระหว่างสองโครงการให้กลับมารวมกันอีกครั้งก็ดูจะใกล้ความเป็นจริงเมื่อทั้งสองโครงการเปิดโหวตแนวทางการรวมโครงการ
แนวทางการรวมโครงการน่าจะทำให้โครงการกลายเป็น OpenWRT อันเดียว แต่โครงสร้างการพัฒนาเช่น Git หรือ issue tracker จะไปใช้ของ LEDE เดิม รวมถึงเซิร์ฟเวอร์สำหรับคอมไพล์โค้ดต่างๆ ด้วย แต่ชื่อโดเมนจะกลายเป็น OpenWRT
ข้อเสนอนี้เปิดให้นักพัฒนาออกเสียงอีกสองสัปดาห์ แต่แนวโน้มเป็นไปในทางที่ดี อนาคตผู้ใช้ทั่วไปก็คงกลับมาใช้ OpenWRT ตัวเดียวเหมือนเดิมอีกครั้ง
ปัญหาข้อกำหนดการปรับแก้เฟิร์มแวร์เราท์เตอร์จาก FCC ทำให้ผู้ผลิตหลายรายที่เคยเปิดเราท์เตอร์ให้ติดตั้งเฟิร์มแวร์โอเพนซอร์สได้ กลับล็อกเราท์เตอร์ของตัวเองเสีย ตอนนี้ Imagination ผู้พัฒนาชิป MIPS ที่ได้รับความนิยมสูงในเราท์เตอร์ก็ออกมาสาธิตเฟรมเวิร์ค prplSecurity ที่แยก virtual machine ของตัวระบบปฎิบัติการหลัก ออกจากไดรเวอร์ Wi-Fi ทำให้ตัวระบบปฎิบัติการไม่สามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลงความแรงหรือช่องสัญญาณของ Wi-Fi ได้
เมื่อปลายปีที่แล้ว FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐ ออกกฎใหม่ จำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 5GHz บางช่วง ที่อาจรบกวนระบบเรดาร์ตรวจสอบสภาพอากาศสำหรับการบิน กฎข้อนี้มีผลต่อการลงเฟิร์มแวร์ของเราเตอร์เอง (เช่น โครงการพวก WRT ทั้งหลาย) เพราะไม่มีอะไรการันตีว่าเฟิร์มแวร์ที่ผู้ใช้ติดตั้งเอง จะไม่ส่งผลกระทบในแง่การกวนกันของคลื่น
กฎของ FCC ไม่ได้ห้ามลงเฟิร์มแวร์เอง แต่กำหนดให้เราเตอร์ต้องมีระบบป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นรบกวน (มีผลกับเราเตอร์ที่วางขายหลังวันที่ 2 มิถุนายนนี้) ซึ่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แต่ละรายก็มีวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป (เช่น TP-Link ใช้วิธีหักดิบ ห้ามติดตั้งเฟิร์มแวร์เอง)
บอร์ดเราท์เตอร์แรงๆ ในช่วงหลังมีตั้งแต่ Banana Pi BPI-R1 หรือ WiTi Board แต่บอร์ด Geek Force น่าจะทำลายสถิติความแรงของทุกบอร์ดก่อนหน้านี้ได้ง่ายๆ
ตัวบอร์ดใช้ซีพียู MediaTek MT7623A หรือ MT7623N แรม 2GB และหน่วยความจำแฟลช 2GB มีฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วสำหรับงานเน็ตเวิร์ค ได้แก่ NAT (ทำได้ 2Gbps), QoS มี 16 คิวในตัวสำหรับการจัดการทราฟิก, ฮาร์ดแวร์เข้ารหัส เร่งความเร็ว IPSec ไปได้ถึง 1Gbps
การเชื่อมต่อมีพอร์ตแลนกิกะบิต 6 พอร์ต, Wi-Fi+Bluetooth พร้อมช่องต่อสาอากาศ IPEX, HDMI 2 ช่อง, USB 3.0, และ GPIO แบบ Raspberry Pi
MediaTek ผู้ผลิตชิป ARM ราคาประหยัดหลายตัวหันมาบุกตลาดแพลตฟอร์มพัฒนาอุปกรณ์ IoT บ้างแล้วด้วยแพลตฟอร์ม LinkIt Smart 7688 โดยตัวแพลตฟอร์มรองรับ OpenWRT เป็นหลัก
ตัวบอร์ด LinkIt มีสองรุ่น คือรุ่นธรรมดาและรุ่น Duo ที่เพิ่มชิป ATmega32U4 เข้ามาไว้ใช้งานกับ Arduino IDE ทั้งสองรุ่นใช้ซีพียู MT7688 สถาปัตยกรรม MIPS ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 580MHz แรม 128MB หน่วยความจำแฟลช 32MB มีช่องต่อ micro SD ที่สำคัญคือมี Wi-Fi ในตัว ส่วนพอร์ตอีเธอร์เน็ตแม้ชิปจะรองรับแต่ไม่ได้ต่อพอร์ตเอาไว้หากต้องการใช้งานต้องซื้อบอร์ดเสริม
OpenWRT ที่ MediaTek เตรียมไว้ให้มีไลบรารีสำคัญๆ เช่น UVC USB สำหรับต่อกล้องวงจรปิด, Arduino Yun Bridge, libmraa สำหรับการใช้งาน I/O ผ่าน node.js และ Python
OpenWRT รุ่นล่าสุด 15.05 Chaos Calmer เปิดให้ดาวน์โหลดตัวจริงแล้ววันนี้
รุ่นนี้ปรับปรุงเคอร์เนลไปใช้ Linux 3.18.20 ปรับปรุงกระบวนการรับรองแพ็กเกจไปใช้การเข้ารหัส ed25519 รองรับมัลติคอร์ได้ดีขึ้น และเพิ่มฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ เข้ามาอีกมาก
Chaos Calmer เป็นชื่อค็อกเทลที่ประกอบไปด้วย จิน, Triple Sec (เหล้ารสส้ม), น้ำมะนาว, น้ำส้ม, น้ำเชื่อม Grenadine แล้วเขย่าให้เข้ากัน
ที่มา - OpenWRT
โครงการ WiTi Board จากทีมงาน MQ Maker ในเสิ่นเจิ้นระดมทุนเพื่อผลิตบอร์ดเราท์เตอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์ในบ้านได้สบายๆ
WiTi Board มีสเปคดังนี้
FireWRT เราท์เตอร์รองรับ OpenWRT สุดแรงใช้ซีพียู MT7621 สถาปัตยกรรม MIPS สัญญาณนาฬิกา 880MHz ใส่แรมได้ถึง 512MB
จุดเด่นของ FireWRT มีสองด้าน คือ การเชื่อมต่อภายนอกที่มีหลากหลายมาก ทั้ง SATA 3.0 ถึงสองพอร์ต, USB 3.0, USB 2.0, PCIe x1, รวมไปถึงพอร์ตเชื่อมต่อเช่น GPIO, I2C, และ NFC
อีกด้านหนึ่งคือความแรงของ Wi-Fi เอง ตัว FireWRT รองรับทั้งคลื่น 2.4GHz แบบ 802.11b/g/n และคลื่น 5GHz แบบ 802.11a/n/ac แบนวิดท์สูงสุด 867Mbps รวมทั้งสองคลื่นแยกเสากันสี่เสา โดยใช้เสาภายนอกทั้งหมด
OpenWRT มีพื้นฐานมาจากลินุกซ์สำหรับเราท์เตอร์ของซิสโก้ จนตอนนี้มีเราท์เตอร์รองรับมากมาย แต่ A5-V11 น่าสนใจกว่าตัวอื่นๆ เพราะราคาขายปลีกของมันพร้อมส่งฟรีอยู่ที่ 8.25 ดอลลาร์เท่านั้น ทำให้น่าจะเป็นคอมพิวเตอร์รองรับ OpenWRT ที่ถูกที่สุดในตอนนี้
สเปคของ A5-V11 ได้แก่
OpenWRT รอมสำหรับเราท์เตอร์ตามบ้านกำลังออกรุ่นต่อไป 14.07 Barrier Breaker เพิ่มความสามารถสำคัญคือการรองรับ IPv6 มาตั้งแต่เริ่มต้น
การรองรับ IPv6 ของ OpenWRT จะแบ่งเป็นสองระดับ คือ การรองรับที่แกนกลาง จะรับ RA, DHCPv6, และ PD (Prefix Delegation) ส่วนการรองรับเพิ่มเติมจะรองรับการทำงาน Dual-Stack Lite (RFC6333), 6to4, 6in4, และ 6rd
สำหรับชื่อรุ่น Barrier Breaker เป็นเหล้าผสมกาแฟ ประกอบด้วย Galliano, กาแฟเย็น, เหล้ารัมดำ, และครีมโกโก้ ผสมในแก้วกาแฟไอริชและใส่น้ำแข็ง
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Linksys ได้เปิดตัวเราท์เตอร์ซีรีย์ WRT รุ่นใหม่อย่าง WRT1900AC ทายาทของรุ่นในตำนาน WRT54G ที่อัพเกรดทุกส่วนให้ทันสมัย พร้อมก้าวไปสู่ยุคของมาตรฐานไร้สาย 802.11ac และตอนนี้เจ้าเราท์เตอร์รุ่นที่ว่าก็เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทย พร้อมวางขายอย่างเป็นทางการแล้ว
ว่าด้วยสเปคของ WRT1900AC ปรับสเปคไปใช้ ARM ดูอัลคอร์ความถี่ 1.2GHz หน่วยความจำแฟลช 128MB และแรม 256MB มีพอร์ต eSATA/USB 2.0 หนึ่งพอร์ต และ USB 3.0 หนึ่งพอร์ต แน่นอนว่ามีพอร์ต Gigabit LAN และ WAN อีกสี่พอร์ตมาตรฐาน
ก่อนงาน CES ทาง LinkSys ชิงเปิดตัวเราท์เตอร์รุ่นใหม่ WRT1900AC ทายาทในตระกูล WRT54G อันโด่งดัง โดยอัพเกรดเต็มรูปแบบ เปลี่ยนซีพียูจาก MIPS มาใช้ ARM สองคอร์ 1.2GHz พร้อมแรม 256MB และแฟลช 128MB
ในส่วนของ Wi-Fi ตัว WRT1900AC รองรับ 802.11ac ที่คลื่น 5GHz ทำความเร็วสูงสุด 1.3Gbps และ 802.11n ที่คลื่น 2.4GHz ทำความเร็วสูงสุด 600Mbps รองรับ USB 3.0 และ eSATA การใช้งานคงพอสำหรับการใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ในบ้านเต็มตัวได้สบาย
ทาง LinkSys สัญญาว่าจะโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ภายในออกมาหลังวางขาย และตัวถังของ WRT1900AC ยังสามารถวางซ้อนบนอุปกรณ์ในชุดได้เหมือนเดิม (แต่ห้ามเอาชิ้นอื่นมาวางด้านบนเพราะปัญหาความร้อน)
ราคาประมาณ 300 ดอลลาร์ ในไทยน่าจะเกินหมื่นบาท
Arduino YÚN เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่จนวันนี้ก็ยังไม่มีสินค้าขาย ล่าสุดทาง Arduino เพิ่งประกาศปรับสเปคใหม่ และระบุวันวางตลาดว่าจะวางตลาดในวันที่ 10 กันยายนนี้
รุ่นแรกของ Arduino YÚN ที่เปิดตัวไปนั้นมีแรม 8 เมกกะไบต์และแฟลชอีก 32 เมกกะไบต์ แต่ทาง Arduino พบว่าหน่วยความจำที่เหลือแทบไม่พอรันแอพพลิเคชั่นอีกจึงตัดสินใจเพิ่มแรมเป็น 64 เมกกะไบต์และแฟลชเป็น 32 เมกกะไบต์
พื้นที่ให้บริการ 3G ในบ้านเราแม้จะยังจำกัดค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีประโยชน์กับคนพื้นที่ให้บริการค่อนข้างมาก เช่นคอนโดหรือหอพักที่ไม่อาจติดตั้งสายโทรศัพท์ด้วยตัวเองได้ โดยทั่วไปแล้วทางเลือกที่ง่ายที่สุดก็คือการซื้อ USB dongle มาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในบ้าน แต่ก็จะจำกัดอยูกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้น
หนึ่งในเราท์เตอร์ในตำนานที่หลายๆ คนเห็นกันทุกวันคงเป็น WRT54GL ที่สามารถลงลินุกซ์ได้หลากหลาย แต่ช่วงหลังนี้สินค้าในตระกูลนี้ไม่ค่อยมีการอัพเดตเท่าใหร่ ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ เช่น ASUS นั้นเริ่มบุกตลาดหนักขึ้นเรื่อยๆ แต่วันนี้ Linksys ก็กลับมาอีกครั้งด้วย WRT160NL ที่รองรับลินุกซ์และรับส่งข้อมูลด้วยมาตรฐาน 802.11n ได้
ฟีเจอร์ที่ควรมีก็มีครบไม่ต่างจาก WRT160N ที่ไม่ได้ใช้ลินุกซ์มากนัก แต่สำหรับแฮกเกอร์และนักพัฒนาทั้งหลาย ผมหาฟีเจอร์ภายในมาเติมให้คือ
นักพัฒนาหลายๆ คนใน Blognone อาจจะใช้ OpenWRT เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนางานที่เคยอยู่ในระบบฝังตัวกัน แต่ปัญหาหลักที่เจอกันคือการแสดงผลนั้นทำได้ค่อนข้างลำบาก ส่วนจอภาพแบบ LCD นั้นพัฒนาซอฟต์แวร์ยาก แถมการแสดงผลจำกัด และราคาค่อนข้างสูง แต่เร็วๆ นี้เราอาจจะใช้งานจอภาพ VGA เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปกันได้ไม่ยากนัก
เทคโนโลยีสำคัญในเรื่องนี้คือ DisplayLink ที่เป็นชิปสำหรับแสดงผลออกจอ VGA ผ่านทางพอร์ต USB โดยทาง DisplayLink เพิ่งเปิดไดร์เวอร์ให้กับลินุกซ์ในชื่อโครงการ libdlo เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ช่วงหลายปีให้หลังมานี้ลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่างเงียบๆ ตัวหนึ่งก็คือ OpenWRT ที่มีการใช้งานกันในเราท์เตอร์ราคาถูกตามบ้านจำนวนมาก แต่การใช้งาน OpenWRT ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เนื่องจากจะส่งผลให้หมดประกันทันทีหลังการติดตั้ง และขั้นตอนการติดตั้งก็เป็นการลองผิดลองถูกกันเอง