Imagination Technologies
Imagination Technologies บริษัทที่สร้างชื่อมาจากจีพียูตระกูล PowerVR (แอปเปิลนำไปใช้ในชิป AX ของตัวเองอยู่พักใหญ่ๆ และยังซื้อสิทธิบัตรมาใช้งานต่อ) ประกาศหวนคืนวงการซีพียู โดยเปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ใช้แบรนด์ว่า Catapult
Imagination บอกว่าเลือกใช้สถาปัตยกรรม RISC-V ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิด ปรับแต่งได้อิสระ ทำให้สามารถเสนอสินค้าได้หลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้าหลายๆ กลุ่ม และไม่ถูกล็อคกับสถาปัตยกรรมเพียงแบบเดียว แถมบริษัทเองมีสินค้ากลุ่มจีพียู, neural network, Ethernet อยู่แล้ว การได้ซีพียูเข้ามาเติมเต็มจึงช่วยให้เกิดโซลูชัน SoC แบบครบจบในตัวเอง
Imagination Technologies ผู้พัฒนาส่วนกราฟิก PowerVR ออกแถลงสั้นๆ รับปีใหม่ว่า แอปเปิลได้ตกลงซื้อสิทธิ์การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา แทนที่สัญญาเดิมที่มีมาตั้งแต่ปี 2014 โดยสัญญาใหม่จะครอบคลุมสินค้ามากกว่าเดิม
บริษัท Imagination นั้นเคยเป็นผู้พัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม MIPS แต่ขายออกไปเมื่อปี 2017 สินค้าหลักที่ยังขายอยู่คือส่วนกราฟิก PowerVR พร้อมวงจรเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์ โดยปัจจุบันเจ้าของ Imagination คือ Canyon Bridge Capital Partners ที่เป็นบริษัทลงทุนจากจีน
บอร์ดของบริษัท Imagination Technologies ผู้ผลิตจีพียูแบรนด์ PowerVR (ที่แอปเปิลเพิ่งเลิกใช้ เพราะหันไปทำเอง) ตอบรับข้อเสนอขายกิจการให้ CBFI Investment Limited กองทุนที่บริหารโดยบริษัทลงทุน Canyon Bridge Capital Partners
ข้อตกลงซื้อกิจการครั้งนี้มีมูลค่า 550 ล้านปอนด์ (2.5 หมื่นล้านบาท) โดย CBFI ซื้อในราคาหุ้นละ 182 เพนนี
แอปเปิลประกาศหยุดใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิบัตรเกี่ยวกับจีพียูของบริษัท Imagination Technologies หรือที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้ผลิตจีพียูแบรนด์ PowerVR ที่แอปเปิลใช้มาตลอดตั้งแต่ iPhone 4 จนถึงปัจจุบัน
แอปเปิลระบุว่าจะเลิกใช้เทคโนโลยีของ Imagination ภายใน 15-24 เดือน และจะไม่จ่ายค่าไลเซนส์ให้กับ Imagination อีก อย่างไรก็ตาม แอปเปิลไม่ได้เปิดเผยว่าจะใช้เทคโนโลยีใดมาแทน Imagination แต่ก็คาดว่าแอปเปิลน่าจะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง
ชุด API OpenVX เป็น API มาตรฐานสำหรับการประมวลผลภาพ เช่น การจับวัตถุในภาพ, การจดจำใบหน้า, และการตรวจจับการเคลื่อนไหว ตอนนี้ Imagination ก็ออกมาประกาศว่าส่วนกราฟิก PowerVR ผ่านการทดสอบ OpenVX 1.1 เป็นรายแรก
ตัว API ของ OpenVX จะคล้ายกับ OpenCV ในหลายส่วน ทั้ง data type สำหรับการเก็บภาพถ่าย การปรับขนาดภาพ และการประมวลผลภาพในระดับต่ำ API เหล่านี้เปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์พัฒนาฮาร์ดแวร์ให้เร่งความเร็วการประมวลผลเหล่านี้ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ชิปตัวแรกที่ผ่านการทดสอบ คือ Allwinner A80 ที่ใช้ส่วนกราฟิก PowerVR G6230 ชิปตัวนี้มีใช้ในบอร์ดหลายตัว ใครสนใจอยากใช้ OpenVX คงหามาใช้งานกันได้ไม่ยาก
Imagination เปิดตัวซีพียู MIPS I6500 ซีพียูที่เน้นระบบที่ต้องการการประมวลผลขนานมากๆ และต้องการหน่วยประมวลผลเฉพาะทาง เช่น ระบบ machine learning, การวิเคราะห์ภาพเคลื่อนไหว
คอร์ I6500 จะทำงานได้พร้อมกัน 4 เธรด และแต่ละคอร์จะเชื่อมกันเป็นคลัสเตอร์ และตัวคลัสเตอร์จะสามารถเชื่อมต่อกับคลัสเตอร์อื่นๆ ได้ผ่านการเชื่อมต่อ Coherent Fabric บางคลัสเตอร์อาจจะมีเฉพาะหน่วยประมวลผลเฉพาะทาง หรือหน่วยประมวลผลกราฟิก PowerVR ของ Imagination เองก็ได้
ตัว Imagination ไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปโดยตรงแต่ขายพิมพ์เขียวของชิปให้ผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง ตอนนี้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึง I6500 ได้แล้ว และคาดว่าจะมีชิปจริงต้นปี 2017
ปัญหาข้อกำหนดการปรับแก้เฟิร์มแวร์เราท์เตอร์จาก FCC ทำให้ผู้ผลิตหลายรายที่เคยเปิดเราท์เตอร์ให้ติดตั้งเฟิร์มแวร์โอเพนซอร์สได้ กลับล็อกเราท์เตอร์ของตัวเองเสีย ตอนนี้ Imagination ผู้พัฒนาชิป MIPS ที่ได้รับความนิยมสูงในเราท์เตอร์ก็ออกมาสาธิตเฟรมเวิร์ค prplSecurity ที่แยก virtual machine ของตัวระบบปฎิบัติการหลัก ออกจากไดรเวอร์ Wi-Fi ทำให้ตัวระบบปฎิบัติการไม่สามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลงความแรงหรือช่องสัญญาณของ Wi-Fi ได้
Imagination Technologies เผยสเปคของว่าที่จีพียูซีรีส์ PowerVR Series8XE สำหรับใช้กับอุปกรณ์พกพาราคาย่อมเยาโดยเฉพาะ
เป้าหมายหลักของการอัพเดตจีพียูครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการขยับให้อุปกรณ์พกพารุ่นถูกให้รองรับมาตรฐานกราฟิกในปัจจุบันให้ครบถ้วนอีกด้วย โดยใน Series8XE ยืนยันแล้วว่าจะรองรับทั้ง OpenGL ES 3.2 และ Vulkan เท่าเทียมกับรุ่นท็อปตัวปัจจุบันอย่าง Series7XT
สำหรับสเปคของ Series8XE ยังคงใช้สถาปัตยกรรม Rogue แต่ขนาดเล็กลง 25% จากรุ่นเดิม (30%-45% เมื่อเทียบกับคู่แข่ง) และได้ประสิทธิภาพต่อขนาดสูงขึ้นราว 60%-100% โดยเคลมว่าใช้งานกับคอนเทนต์ความละเอียดระดับ 4K ได้
Imagination เปิดตัวบอร์ด Ci40 ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Brillo มาตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่ยังไม่แจ้งวันจำหน่าย ตอนนี้ก็หันมาเปิดแคมเปญใน KickStarter ระดมทุน 20,000 ปอนด์เพื่อผลิตบอร์ดตัวนี้แล้ว โดยมีกำหนดส่งมอบเดือนเมษายนปีหน้า
ชุด CreatorCi40 แต่ละชุดจะมาพร้อมกับบอร์ด Ci40 หนึ่งบอร์ด, บอร์ด 6LoWPAN สองบอร์ด, และบอร์ดเซ็นเซอร์/ควบคุม ที่ชื่อว่า Clicker อีก 3 บอร์ด ทั้งชุด 80 ปอนด์ แต่หากสั่งเฉพาะ Ci40 ก็จะราคาบอร์ดละ 35 ปอนด์
Imagination ผู้ถือสิทธิ์ซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด CI40 อัพเดตจาก CI20 เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่าตัวบอร์ดจะยังไม่วางขาย แต่ทางบริษัทก็เปิดเผยซอฟต์แวร์ที่จะซัพพอร์ตแล้ว
ตัวสำคัญที่สุดคือ Brillo ของกูเกิล ที่เปิดตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางแอนดรอยด์รองรับสถาปัตยกรรม MIPS มาได้พักใหญ่ การซัพพอร์ต Brillo ด้วยจึงทำได้ไม่ยากมาก
อีกสองแพลตฟอร์มที่รองรับ คือ OpenWRT ที่รองรับชิป MIPS มานานเพราะถูกใช้งานในเราท์เตอร์จำนวนมาก และตัวสุดท้ายคือเดเบียนที่รองรับ MIPS เต็มรูปแบบมานานแล้วเช่นกัน
ตัวบอร์ดยังไม่เปิดวันวางจำหน่าย ระหว่างนี้มีเพียงให้ลงทะเบียนอีเมลแสดงความสนใจ
มีรายงานจาก JP Morgan Securities เผยว่าอินเทลมีแผนจะขายหุ้นทั้งหมดของ Imagination Technologies ผู้ผลิตจีพียูบนอุปกรณ์พกพาซีรีส์ PowerVR คู่แข่งรายสำคัญของจีพียูซีรีส์ Adreno จาก Qualcomm
ในรายงานที่ออกมา อินเทลมีแผนจะขายหุ้นจำนวนถึง 13.4 ล้านหน่วย หรือประมาณ 4.9% ของหุ้น Imagination Technologies ทั้งหมด ที่ซื้อมาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2006 เพื่อใช้งานกับชิป Atom ในยุคนั้น
คาดกันว่าการเทขายหุ้นครั้งนี้น่าจะมาจากทิศทางของอินเทลช่วงหลังที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานจีพียูของตัวเอง อย่างที่มีข่าวว่าชิป Atom รหัส Moorefield ตัวใหม่จะเปลี่ยนไปใช้จีพียู Intel HD ของตัวเองแบบเดียวกับที่ทำใน Atom รหัส BayTrail
Imagination Technologies บริษัทผู้ผลิตจีพียูบนอุปกรณ์พกพาชื่อดังในตระกูล PowerVR เปิดตัวสองจีพียูตัวใหม่ บนซีรีส์ใหม่ที่มาถึงเลข 7 แล้ว โดยในรอบนี้แบ่งเป็นสองโมเดลหลักสำหรับจับตลาดอุปกรณ์พกพา และอุปกรณ์แบบสวมใส่อีกด้วย
PowerVR ซีรีส์ 7 จะแบ่งเป็นสองโมเดลคือ XT รุ่นประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์รุ่นกลางไปจนถึงไฮเอนด์ และอีกโมเดลคือ XE สำหรับใช้กับอุปกรณ์ราคาย่อมเยา ลงไปจนถึงกลุ่ม Internet of Things (IoT) และอุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้
Imagination เพิ่งเปิดตัวบอร์ดพัฒนา MIPS ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตอนนี้กลับมาใหม่ด้วยการเปิดตัวคอร์ซีพียู MIPS I6400 คอร์สถาปัตยกรรม MIPS64 ตัวล่าสุด โดยแต่ละคอร์เป็น dual-issue (ทำงานทีละสองคำสั่ง) ทำให้รันสองเธรดได้พร้อมกันคล้ายกับ hyperthreading ของอินเทล
ทางบริษัทแสดงตัวเลขประสิทธิภาพระบุว่า I6400 ประสิทธิภาพต่อคอร์ต่อสัญญาณนาฬิกาดีกว่าคู่แข่ง (ไม่ระบุว่าเป็นใครแต่ใช้สีเขียวเหมือนโลโก้ ARM) 30% ถึง 50% ขณะที่ตัวคอร์กินพื้นที่ซิลิกอนพอๆ กัน
Imagination ผู้ผลิตชิปกราฟิกสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัวและผู้ถือสิทธิ์ในซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด MIPS Creator CI20 บอร์ดพัฒนาที่ฟีเจอร์คล้ายกับ Raspberry Pi หลายอย่าง โดยมีสเปคดังนี้
ช่วงแรกตัวบอร์ดจะรองรับเฉพาะ Debian 7 เท่านั้น แต่ทาง Imagination สัญญาว่าจะรองรับ Android 4.4 ในภายหลัง
ด้วยกระแสของอุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่ (Wearable Device), อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ผลิตจีพียูรายใหญ่ของโลกอุปกรณ์พกพาอย่าง Imagination Technologies ออกมาเปิดตัวจีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กโดยเฉพาะมาแล้ว
จีพียูตัวนี้รหัส PowerVR GX5300 ใช้ซิลิคอนขนาด 0.55 ตารางมิลลิเมตร ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 28 นาโนเมตร รองรับ OpenGL ES 2.0 เพียงพอสำหรับการใช้งานร่วมกับ Android และ Android Wear อย่างสบาย ตัวจีพียูนี้แม้จะขนาดเล็ก แต่ก็สามารถแสดงผลที่ความละเอียด 480p และ 720p ซึ่งเพียงพอสำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กพวกนี้
กลุ่มผู้ผลิตซีพียูสถาปัตยกรรม MIPS ที่นำโดยบริษัท Imagination Technologies ประกาศตั้งมูลนิธิ prpl Foundation (อ่านว่า Purple) เพื่อผลักดันสถาปัตยกรรม MIPS ในภาพรวม
สมาชิกก่อตั้ง prpl Foundation มีทั้งหมด 10 บริษัท นอกจาก Imagination แล้วยังมี Broadcom, Quacomm และ Calvium เป็นต้น เป้าหมายของกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี MIPS ในศูนย์ข้อมูล อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเน็ต และอุปกรณ์ฝังตัว
งานของ prpl Foundation จะเน้นไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลัก โดยใช้นโยบายพัฒนาแบบโอเพนซอร์ส และอิงอยู่บนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต้นแบบ ของบริษัทในกลุ่ม
Imagination Technologies ได้เปิดตัวหน่วยประมวลผล Warrior P-Class ในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย P-Class มีแกนประมวลผล MIPS P5600 ซึ่งเป็นแกนแบบ MIPS Series-5 รุ่นแรกและถูกออกแบบมาบน ISA แบบ MIPS Release 5
Warrior P-Class เป็นซีพียูแบบ 32-bit แบบกินพลังงานต่ำและใช้พื้นที่บนดายน้อยกว่าูคู่แข่ง 30% โดยแกน MIPS P5600 นั้นรองรับชุดคำสั่ง SIMD แบบ 128-bit, virtualization แบบ hardware, และรองรับการเชื่อมต่อ 6 แกนต่อคลัสเตอร์
Imagination Technologies ได้ระบุว่าทางบริษัทจะเปิดตัวหน่วยประมวลผลในตระกูล Warrior เพิ่มอีกในช่วงปีหน้า โดยจะมีทั้งรุ่นที่เป็น 32-bit และ 64-bit
เว็บไซต์ AnandTech รายงานข้อมูลที่ยังไม่ยืนยันว่า Exynos 5 Octa ชิปรุ่นล่าสุดของซัมซุงที่เพิ่งเปิดตัว เปลี่ยนหน่วยประมวลผลกราฟิกจาก ARM Mali มาเป็น Imagination PowerVR (ตัวเดียวกับที่ชิป AX ของแอปเปิลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน)
ซัมซุงเคยใช้จีพียู PowerVR มาแล้วครั้งหนึ่งใน Galaxy S รุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส "Hummingbird" แต่หลังจากนั้นใน Galaxy S II เป็นต้นมา ก็เปลี่ยนมาใช้จีพียู Mali ของบริษัท ARM โดยตรง
ใน Exynos 5 Dual รุ่นที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้ ซัมซุงยังเลือกใช้งาน Mali-T604 แต่พอมาเป็น Exynos 5 Octa กลับเปลี่ยนเป็น PowerVR อีกครั้ง
AMD ประกาศจับมือกับ ARM และผู้ผลิตชิป ARM อีกสามรายคือ Imagination, MediaTek, Texas Instruments ประกาศตั้งองค์กร HSA Foundation (Heterogeneous System Architecture Foundation) เพื่อสร้างมาตรฐานกลางของการประมวลผลแบบใหม่ "Heterogeneous Processing"
Heterogeneous Processing คือชิปประมวลผลที่ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลต่างชนิดกัน (เช่น CPU+GPU) อยู่บนชิปแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ AMD ผลักดันมาตลอดกับซีพียูตระกูล Fusion/APU และไปกันได้กับทิศทางเรื่อง SoC ในโลกอุปกรณ์พกพา