MIPS Technology ผู้พัฒนาชิปสถาปัตยกรรม MIPS ถูกสตาร์ทอัพ Wave Computing ซื้อไปตั้งแต่ปี 2018 แต่สุดท้าย Wave Computing กลับล้มละลาย ล่าสุดบริษัทเตรียมออกจากสถานะล้มละลายและเดินหน้าทำธุรกิจออกแบบชิปต่อไป แต่รอบนี้บริษัทจะหันมาออกแบบชิปในสถาปัตยกรรม RISC-V แทนแล้ว
บริษัทที่ออกจากแผนฟื้นฟูจะเปลี่ยนชื่อจาก Wave Computing กลายเป็น MIPS อีกครั้ง
MIPS เคยเป็นสถาปัตยกรรมสำคัญในโลกคอมพิวเตอร์ ทาง Wave Computing เมื่อซื้อ MIPS ไปแล้วก็เคยประกาศว่าจะโอเพนซอร์สสถาปัตยกรรมมาแข่งกับ RISC-V แต่สุดท้ายแผนการไม่สำเร็จจนบริษัทล้มละลายไปเสียก่อน ขณะที่ช่วงปีที่ผ่านมาสถาปัตยกรรม RISC-V ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
MIPS สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง (Insrtruction Set Architecture - ISA) เคยเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมหลัก แต่ก็ลดความสำคัญลงไปมากหลังจาก ARM เริ่มครองตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างเบ็ดเสร็จ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา Wave Computing สตาร์ตอัพด้านปัญญาประดิษฐ์เข้าซื้อ MIPS Technologies และตอนนี้ทาง Wave ก็ออกมาประกาศเตรียมโอเพนซอร์สทั้งสถาปัตยกรรม R6 รุ่นล่าสุด ภายใต้โครงการ MIPS Open
หากเป็นไปตามแผน MIPS จะกลายเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง โดยปีที่แล้ว WD ผู้ผลิตสตอเรจรายใหญ่ก็ประกาศใช้ชิป RISC-V
Imagination เปิดตัวซีพียู MIPS I6500 ซีพียูที่เน้นระบบที่ต้องการการประมวลผลขนานมากๆ และต้องการหน่วยประมวลผลเฉพาะทาง เช่น ระบบ machine learning, การวิเคราะห์ภาพเคลื่อนไหว
คอร์ I6500 จะทำงานได้พร้อมกัน 4 เธรด และแต่ละคอร์จะเชื่อมกันเป็นคลัสเตอร์ และตัวคลัสเตอร์จะสามารถเชื่อมต่อกับคลัสเตอร์อื่นๆ ได้ผ่านการเชื่อมต่อ Coherent Fabric บางคลัสเตอร์อาจจะมีเฉพาะหน่วยประมวลผลเฉพาะทาง หรือหน่วยประมวลผลกราฟิก PowerVR ของ Imagination เองก็ได้
ตัว Imagination ไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปโดยตรงแต่ขายพิมพ์เขียวของชิปให้ผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง ตอนนี้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึง I6500 ได้แล้ว และคาดว่าจะมีชิปจริงต้นปี 2017
ปัญหาข้อกำหนดการปรับแก้เฟิร์มแวร์เราท์เตอร์จาก FCC ทำให้ผู้ผลิตหลายรายที่เคยเปิดเราท์เตอร์ให้ติดตั้งเฟิร์มแวร์โอเพนซอร์สได้ กลับล็อกเราท์เตอร์ของตัวเองเสีย ตอนนี้ Imagination ผู้พัฒนาชิป MIPS ที่ได้รับความนิยมสูงในเราท์เตอร์ก็ออกมาสาธิตเฟรมเวิร์ค prplSecurity ที่แยก virtual machine ของตัวระบบปฎิบัติการหลัก ออกจากไดรเวอร์ Wi-Fi ทำให้ตัวระบบปฎิบัติการไม่สามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลงความแรงหรือช่องสัญญาณของ Wi-Fi ได้
Imagination ผู้ถือสิทธิ์ซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด CI40 อัพเดตจาก CI20 เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่าตัวบอร์ดจะยังไม่วางขาย แต่ทางบริษัทก็เปิดเผยซอฟต์แวร์ที่จะซัพพอร์ตแล้ว
ตัวสำคัญที่สุดคือ Brillo ของกูเกิล ที่เปิดตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางแอนดรอยด์รองรับสถาปัตยกรรม MIPS มาได้พักใหญ่ การซัพพอร์ต Brillo ด้วยจึงทำได้ไม่ยากมาก
อีกสองแพลตฟอร์มที่รองรับ คือ OpenWRT ที่รองรับชิป MIPS มานานเพราะถูกใช้งานในเราท์เตอร์จำนวนมาก และตัวสุดท้ายคือเดเบียนที่รองรับ MIPS เต็มรูปแบบมานานแล้วเช่นกัน
ตัวบอร์ดยังไม่เปิดวันวางจำหน่าย ระหว่างนี้มีเพียงให้ลงทะเบียนอีเมลแสดงความสนใจ
FireWRT เราท์เตอร์รองรับ OpenWRT สุดแรงใช้ซีพียู MT7621 สถาปัตยกรรม MIPS สัญญาณนาฬิกา 880MHz ใส่แรมได้ถึง 512MB
จุดเด่นของ FireWRT มีสองด้าน คือ การเชื่อมต่อภายนอกที่มีหลากหลายมาก ทั้ง SATA 3.0 ถึงสองพอร์ต, USB 3.0, USB 2.0, PCIe x1, รวมไปถึงพอร์ตเชื่อมต่อเช่น GPIO, I2C, และ NFC
อีกด้านหนึ่งคือความแรงของ Wi-Fi เอง ตัว FireWRT รองรับทั้งคลื่น 2.4GHz แบบ 802.11b/g/n และคลื่น 5GHz แบบ 802.11a/n/ac แบนวิดท์สูงสุด 867Mbps รวมทั้งสองคลื่นแยกเสากันสี่เสา โดยใช้เสาภายนอกทั้งหมด
MIPS ประกาศเปิดซอร์สซีพียู MIPSfpga โค้ดออกแบบซีพียูระดับ RTL พร้อมสำหรับการคอมไพล์ลงบอร์ด FPGA ทั้ง Altera และ Xilinx ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถสำรวจสถาปัตยกรรมภายในของซีพียูได้ทุกส่วน ดัดแปลงและแก้ไขเพื่อการทดลองเพื่อการศึกษาได้
MIPSfpga จะเป็นสัญญาอนุญาตเพื่อการศึกษา ทาง Imagination มีเงื่อนไขการใช้งานคือห้ามนำไปผลิตเป็นซิลิกอนโดยตรง (ต้องทดสอบผ่าน FPGA เท่านั้น) และหากต้องการจดสิทธิบัตรการดัดแปลงแก้ไข จะต้องได้รับอนุญาตจากทาง Imagination ก่อน แต่หากจะทดลองเพื่อการเรียนในห้องเรียนก็สามารถทำได้แทบทุกอย่าง
โค้ดชุดแรกจะเป็นซีพียู MIPS ที่ดัดแปลงในตระกูล MIPS microAptiv ที่ใช้ในชิป PIC หลายรุ่น
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Ingenic Semiconductor ผู้ผลิตและพัฒนา semiconductor สำหรับสถาปัตยกรรม MIPS ในประเทศจีน ได้เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ นั่นคือซีพียู M200 และบอร์ดแพลตฟอร์ม Newton2
Imagination เพิ่งเปิดตัวบอร์ดพัฒนา MIPS ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตอนนี้กลับมาใหม่ด้วยการเปิดตัวคอร์ซีพียู MIPS I6400 คอร์สถาปัตยกรรม MIPS64 ตัวล่าสุด โดยแต่ละคอร์เป็น dual-issue (ทำงานทีละสองคำสั่ง) ทำให้รันสองเธรดได้พร้อมกันคล้ายกับ hyperthreading ของอินเทล
ทางบริษัทแสดงตัวเลขประสิทธิภาพระบุว่า I6400 ประสิทธิภาพต่อคอร์ต่อสัญญาณนาฬิกาดีกว่าคู่แข่ง (ไม่ระบุว่าเป็นใครแต่ใช้สีเขียวเหมือนโลโก้ ARM) 30% ถึง 50% ขณะที่ตัวคอร์กินพื้นที่ซิลิกอนพอๆ กัน
Imagination ผู้ผลิตชิปกราฟิกสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัวและผู้ถือสิทธิ์ในซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด MIPS Creator CI20 บอร์ดพัฒนาที่ฟีเจอร์คล้ายกับ Raspberry Pi หลายอย่าง โดยมีสเปคดังนี้
ช่วงแรกตัวบอร์ดจะรองรับเฉพาะ Debian 7 เท่านั้น แต่ทาง Imagination สัญญาว่าจะรองรับ Android 4.4 ในภายหลัง
กลุ่มผู้ผลิตซีพียูสถาปัตยกรรม MIPS ที่นำโดยบริษัท Imagination Technologies ประกาศตั้งมูลนิธิ prpl Foundation (อ่านว่า Purple) เพื่อผลักดันสถาปัตยกรรม MIPS ในภาพรวม
สมาชิกก่อตั้ง prpl Foundation มีทั้งหมด 10 บริษัท นอกจาก Imagination แล้วยังมี Broadcom, Quacomm และ Calvium เป็นต้น เป้าหมายของกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี MIPS ในศูนย์ข้อมูล อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเน็ต และอุปกรณ์ฝังตัว
งานของ prpl Foundation จะเน้นไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลัก โดยใช้นโยบายพัฒนาแบบโอเพนซอร์ส และอิงอยู่บนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต้นแบบ ของบริษัทในกลุ่ม
การแข่งขันกันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่ออุปกรณ์สวมใส่ได้ช่วงหลัง ARM ยังคงกินตลาดไปเกือบทั้งหมด แม้อินเทลจะพยายามชิงส่วนแบ่งด้วยชิป Quark บ้างแต่ยังไม่มีสินค้าใช้งานจริง ตอนนี้ค่ายที่สามคือ MIPS ก็ไล่ตามมาแล้ว
Imagination ผู้ถือสิทธิ์ MIPS ร่วมมือกับบริษัทชิปจีนที่ชื่อว่า Ingenic ออกบอร์ดพัฒนา Inegic Newton เป็นบอร์ดขนาดเล็กมาก (ประมาณเหรียญสิบสองเหรียญ) สำหรับพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ได้
ภายในบอร์ดเป็นซีพียู Ingenic JZ4775 สัญญาณนาฬิกา 1 GHz แรม 384 เมกกะไบต์ หน่วยความจำแฟลช 4 กิกะไบต์ พร้อมการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wi-Fi, Bluetooth, วิทยุ FM, และ NFC ส่วนเซ็นเซอร์นั้นมีชิป Accelerometer และ ECG มาให้ในตัว พร้อมกับซ็อกเก็ตติดตั้งจอภาพสัมผัส และเซ็นเซอร์เพิ่มเติม
นับแต่ MIPS ถูก Imagination ผู้ผลิตชิปกราฟิก PowerVR ซื้อไป ก็ได้เวลาออกสินค้าตัวแรกภายใต้การบริหารของ Imagination คือ MIPS P5600 ซีพียูระดับเดียวกับ ARM Cortex-A15 โดยมีสามฟีเจอร์หลักได้แก่
Imagination Technologies ได้เปิดตัวหน่วยประมวลผล Warrior P-Class ในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย P-Class มีแกนประมวลผล MIPS P5600 ซึ่งเป็นแกนแบบ MIPS Series-5 รุ่นแรกและถูกออกแบบมาบน ISA แบบ MIPS Release 5
Warrior P-Class เป็นซีพียูแบบ 32-bit แบบกินพลังงานต่ำและใช้พื้นที่บนดายน้อยกว่าูคู่แข่ง 30% โดยแกน MIPS P5600 นั้นรองรับชุดคำสั่ง SIMD แบบ 128-bit, virtualization แบบ hardware, และรองรับการเชื่อมต่อ 6 แกนต่อคลัสเตอร์
Imagination Technologies ได้ระบุว่าทางบริษัทจะเปิดตัวหน่วยประมวลผลในตระกูล Warrior เพิ่มอีกในช่วงปีหน้า โดยจะมีทั้งรุ่นที่เป็น 32-bit และ 64-bit
หลัง Imagination ผู้ผลิตส่วนกราฟิก PowerVR เข้าซื้อ MIPS ที่งาน Hot Chips 2013 ทางผู้บริการ Imagination ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าบริษัทยังทำตลาด MIPS อยู่ และหวังว่าจะครองตลาดที่เกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ได้, ตลอดจนเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก
ผู้บริหาร Imagination ระบุว่าปีหน้า MIPS Series 5 Warrior ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตจะเริ่มออกสู่ตลาด
ก่อนหน้านี้มีข่าวการขายกิจการบริษัท MIPS โดยแยกออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่ถือสิทธิบัตรทั้งหมด และส่วนที่ถือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ และพนักงานที่ทำหน้าที่พัฒนาสินค้า ในส่วนแรกดูจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนบริษัทที่ดำเนินกิจการจริงๆ กลับมีข่าวว่าจะถูกขายให้ Imagination ในราคาเพียง 60 ล้านดอลลาร์ ทำให้มีบริษัท CEVA ที่พัฒนาชิปเฉพาะทางมาก่อนเข้ามาประมูลแข่งขัน
ไม่แน่ชัดว่ารอบแรกที่ CEVA เข้ามาได้เสนอราคาเพิ่มเท่าใด แต่รอบหลังทาง Imagination เพิ่มราคาเป็น 80 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่ทาง CEVA จะเพิ่มราคาอีกเป็น 90 ล้านดอลลาร์ จนทำให้ทาง Imagination เพิ่มราคาให้อีกรอบจนเป็น 100 ล้านดอลลาร์
ความยิ่งใหญ่ของ ARM ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ไล่เบียดที่ยืนของคู่แข่งในตลาดพลังงานต่ำอย่าง MIPS ที่แข่งกันมาโดยตลอดจนแทบไม่มีที่ยืน สุดท้ายตอนนี้ บริษัท Imagination ผู้ออกแบบคอร์กราฟิกอย่าง PowerVR ที่ใช้กันในซีพียูคอมพิวเตอร์กินพลังงานต่ำจำนวนมาก ก็เป็นผู้เข้ามาซื้อกิจการ MIPS ไปในราคา 60 ล้านดอลลาร์
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2008 จีนเริ่มพัฒนาระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตัวเอง โดยใช้ซีพียูตระกูล Loongson หรือ Goson ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง (โดยอิงบน MIPS อีกทีหนึ่ง)
เวลาผ่านมาหลายปี ตอนนี้ Loongson เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 3 ในชื่อ Loongson-3 โดยข้างในเป็นสถาปัตยกรรม MIPS64 แบบควอดคอร์ ทำงานที่ 1GHz, ผลิตที่ 65 นาโนเมตร และมีอัตราการใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์
ซีพียูตัวนี้กำลังจะตาม Loongson รุ่นพี่ๆ เข้าไปอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์แล้ว (แน่นอนว่าเป็นฝีมือนักพัฒนาจีน มาจากบริษัทคอมพิวเตอร์ Lemote) ถึงแม้อาจเข้าไม่ทันเคอร์เนล 3.7 แต่ก็ยังน่าจะทันเคอร์เนล 3.8 สบายๆ ครับ
เพิ่งมี ZTE N880E ที่อัพเดต Jelly Bean เป็นตัวแรกที่ไม่ใช่ซีรีส์ Nexus ไปไม่นาน ก็ถึงคิวของแท็บเล็ตตัวแรกที่จะได้อัพเดตเป็น Jelly Bean กับเจ้า Karbonn Smart Tab 1 จากผู้ผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาอีกตระกูลอย่าง MIPS อีกด้วย
ตัว Smart Tab 1 รูปร่างก็ใกล้เคียงกับ Novo 7 ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปีก่อน และไม่ใช่แท็บเล็ตเน้นสเปคนัก ดังนี้
ทางการจีนกำลังพิจารณาเลือกว่าจะใช้สถาปัตยกรรมซีพียู (instruction set architecture - ISA) สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล (ซึ่งรวมไปถึงโอเปอเรเตอร์ของรัฐอย่าง China Mobile ด้วย)
ตอนนี้ตัวเลือกมี 5 แบบคือ MIPS, Alpha, ARM, Power และ UPU ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมซีพียูที่จีนพัฒนาเอง อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเป็นไปได้อีกเหมือนกันว่ารัฐบาลจีนอาจตัดสินใจออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวเองใหม่ที่ไม่ใช่ UPU ได้เช่นกัน
ตอนนี้กระบวนการพิจารณายังเพิ่งเริ่มต้น และอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะสิ้นสุด
จีนมีความใกล้ชิดกับสถาปัตยกรรม MIPS และ Alpha มาอยู่ก่อน เช่น ซีพียู Loongson ใช้สถาปัตยกรรม MIPS, ซีพียู Sunway Bluelight ใช้สถาปัตยกรรม Alpha
ในการประชุม Linley Tech Mobile Conference Amit Rohatgi หัวหน้าสถาปนิกแผนก mobile ของ MIPS ได้กล่าวว่า Android กำลังจะรองรับสถาปัตยกรรมแบบ MIPS เร็ว ๆ นี้ ในปัจจุบันนี้ SoC (System of Chip) ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ MIPS เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในบรรดาแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฎิบัติการณ์ Android (เช่น Ainol Novo7)
คาดว่า Google จะเพิ่มการสนับสนุนสถาปัตยกรรมนี้ในระดับ ABI (Application Binary Interface) ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ปัจจุบัน Android ก็มีโค้ดที่รองรับสถาปัตยกรรมนี้อยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็น Transformer Prime หรือ Kindle Fire ต้องจับตามอง Ainovo NOVO7 แท็บเล็ตตัวใหม่จากบริษัท Ainovo ในจีน ที่มีหมัดเด็ดอยู่ที่ราคาเพียง 100 ดอลลาร์เท่านั้น
NOVO7 เป็นแท็บเล็ตขนาด 7 นิ้วที่อ้างว่าเป็นแท็บเล็ตตัวแรกของโลกที่รัน Ice Cream Sandwich ได้แล้ว และไม่ใช่แท็บเล็ตกระจอกๆ เพราะอัดสเปกมาเต็มที่
เรารู้กันมาก่อนหน้านี้แล้วว่า Android นั้นพัฒนาแบบขนานกันระหว่างซีพียู ARMv5 และ x86 แต่นอกจากซีพียูสองตระกูลนี้แล้ว ซีพียู MIPS นั้นยังได้รับความนิยมในโลกคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่สูงพอสมควร เช่น เราท์เตอร์จำนวนมากก็ยังใช้ MIPS อยู่ แต่เนื่องจากกูเกิลนั้นไม่ได้ซัพพอร์ต ทาง MIPS Technology จึงพัฒนา Android รุ่น MIPS ด้วยตนเอง
ทาง MIPS Technology ระบุว่าซอร์สโค้ดทั้งหมดจะเปิดให้ดาวน์โหลดภายใน 60 วันนี้ พร้อมกับเปิดตัวพันธมิตรเช่น Viosoft ที่จะวางตลาดเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Android บน MIPS โดยเฉพาะ
กรณีเช่นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งของการทำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มีบางความสามารถที่ผู้พัฒนาหลักไม่ต้องการซัพพอร์ตก็สามารถปล่อยให้กลุ่มคนที่สนใจเข้ามาซัพพอร์ตได้