Digital Ventures (DV) บริษัทลงทุนในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศความร่วมมือกับเครือซีเมนต์ไทย (SCG) พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้าง B2P (Blockchain Solution for Procure-to-Pay)
ระบบ B2P พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี Blockchain ของบริษัท R3 ซึ่งเป็นสตาร์ตอัพในสหรัฐที่พัฒนาระบบ Blockchain สำหรับธนาคาร (โซลูชันของ R3 ชื่อว่า Corda ซึ่งหน่วยงานอื่นในไทยที่ใช้งานคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารกรุงเทพ)
นับจากกระแสเงินคริปโตเริ่มถูกจับตามองทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ก็พยายามศึกษาว่าบล็อคเชนจะเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานและเปลี่ยนแปลงโลกการเงินการธนาคารได้จริงหรือไม่ เราเห็นข่าวโครงการทดลองหลายโครงการทั่วโลก โดยทั่วไปแม้จะประกาศความสำเร็จต่างๆ แต่ในความเป็นจริงโครงการเหล่านั้นก็ยังไม่ได้ถูกใช้งานเป็นวงกว้างหรือหลอมรวมเข้ากับระบบการเงินจริงนัก
เมื่อวันอังคารที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสร่วมงาน Corda Meetup ที่ธนาคารกรุงเทพ และคุณ Ian Guy Gillard ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพก็ได้มาเล่าถึงประสบการณ์ก่อนเลือกร่วมมือกับ R3
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศร่วมมือกับบริษัท R3 และธนาคารอีก 8 แห่ง (กรุงเทพ, กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กสิกรไทย, ไทยพาณิชย์, ธนชาต, สแตนอาร์ดชาร์เตอร์ด, ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบ้งกิ้ง) ร่วมกันพัฒนาระบบต้นแบบการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน โดยใช้เงินสกุลจำลองที่ออกโดยธนาคารกลาง (Wholesale Central Bank Digital Currency) โดยเลือกพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Corda ของ R3
โครงการนี้เป็นการทดสอบโดยมีการจัดการสภาพคล่องและความเสี่ยงไปพร้อมกัน คาดว่าจะทดสอบเรียบร้อยในไตรมาสแรกของปี 2019 หรืออีก 6 เดือนจากนี้ และต่อจากนี้อาจจะมีการทดลองโอนเงินสำหรับลูกค้า และการทดสอบโอนเงินข้ามประเทศต่อไป
เกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 สตาร์ตอัพชื่อดังแห่งวงการ blockchain เมื่อบริษัท R3 ยื่นฟ้องคู่แข่ง Ripple Labs ในประเด็นสัญญาการซื้อขายเงินดิจิทัลสกุล XRP ของ Ripple
เรื่องมีอยู่ว่า สองบริษัทเคยทำสัญญากันในเดือนกันยายนปี 2016 ว่า R3 จะมีสิทธิซื้อเงินสกุล XRP จำนวน 5 พันล้านหน่วยจาก Ripple ในราคาหน่วยละ 0.0085 ดอลลาร์ โดยจะซื้อเมื่อไรก็ได้ภายในเดือนกันยายน 2019
แต่เมื่อตลาด cryptocurrency บูมในปี 2017 ส่งผลให้ราคา XRP แพงขึ้นหลายเท่า (ขณะที่เขียนข่าว ราคาหน่วยละ 0.21 ดอลลาร์ ขึ้นมาประมาณ 25 เท่าจากราคาที่ตกลงไว้) ทำให้ฝั่ง Ripple พยายามบอกเลิกสัญญานี้ และส่งผลให้ R3 ยื่นฟ้องต่อศาลนั่นเอง
ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ JPMorgan Chase ได้ออกจากกลุ่ม R3 ซึ่งเป็นกลุ่มที่พัฒนาเทคโนโลยี blockchain มาตรฐานกลางสำหรับนำมาใช้กับธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินแล้ว
ก่อนหน้า JPMorgan Chase นั้นก็มีสถาบันการเงินรายใหญ่หลายแห่งที่ถอนตัวจาก R3 อย่าง Goldman Sachs, Banco Santander, Morgan Stanley และ National Australian Bank แต่สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังมีส่วนร่วมในสตาร์ทอัพ blockchain อื่น ๆ
JPMorgan Chase นั้นปัจจุบันยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม blockchain อื่น ๆ อย่างเช่น Enterprise Ethereum Alliance ซึ่งตั้งขึ้นมาภายหลัง รวมถึงมีการลงทุนในสตาร์ทอัพ Axoni กับ Digital Asset Holdings และยังมีส่วนร่วมพัฒนา Hyperledger Project ซึ่งเป็นโครงการนำโดย The Linux Foundation อีกด้วย
ไมโครซอฟท์เริ่มจริงจังกับเทคโนโลยี blockchain มากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงปลายปีที่แล้วเราเห็นบริการ Blockchain as a Service บน Azure กันไปแล้ว วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับกลุ่มธนาคาร นำระบบนี้ไปทดสอบในวงกว้างมากขึ้น
กลุ่มธนาคารที่ไมโครซอฟท์ไปเป็นพันธมิตรด้วยคือ R3 Consortium ซึ่งมีสมาชิกเป็นธนาคารกว่า 40 รายทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือนี้ ไมโครซอฟท์จะทำหน้าที่ให้บริการคลาวด์และเครื่องมือด้าน blockchain แก่สมาชิกของ R3 ในการพัฒนาเทคโนโลยี blockchain ต่อไป ในทางกลับกัน R3 จะเลือก Azure เป็นคลาวด์ที่แนะนำให้ธนาคารใช้งาน